หลุมอุกกาบาตนี้ถูกค้นพบอยู่บริเวณทะเลทรายซาฮาร่า และการค้นพบครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการพบหลุมอุกกาบาตที่สภาพดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โดยหลุมอุกกาบาตนี้ชื่อว่า Kamil ผู้ค้นพบคือนักวิจัยชาวอิตาลี และเขาได้ใช้โปรแกรมที่เรารู้จักกันดีอย่าง Google Earth ในการสำรวจ
หลุมอุกกาบาตนี้มีขนาดกว้างที่สุดอยู่ที่ 147 ฟุต(45 เมตร) และ ลึกที่สุดที่ 52 ฟุต(16 เมตร) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหลุมอุกกาบาตนี้เกิดจากอุกกาบาต ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.2 ฟุต(1.3 เมตร) พุ่งเข้าชนพื้นโลกด้วยความเร็ว 8,000MPH (12,875 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต่างประหลาดใจก็คือ โดยปกติหลุมอุกกาบาตจะถูกกัดเซาะจากสภาพแวดล้อมและกาลเวลา แต่ในกรณีของหลุมอุกกาบาต Kamil นั้นกลับยังคงสภาพของรูปทรงชามไว้ได้ คือมีการกระเซ็นของหินโดยรอบๆ ลายกระเซ็นแบบนี้เรียกว่า รังสี ejecta ซึ่งโดยปกติแล้วจะเห็นได้บ่อยบนดาวเคราะห์และดวงจันทร์ แต่ไม่พบบนโลก
ที่มา - Gizmodo
Comments
น่าจะเรียกว่า หลุมอุกกาบาต
+1 crater แปลตาม longdo ได้ว่าปล่องภูเขาไฟ แต่จากภาพประกอบและกูเกิลพบว่ามันคือหลุมอุกกาบาตนี่เอง..
จากรูปผมก็ว่ามันแปลกๆ เหมือนกัน เพราะในข่าวเขียนว่า crater นะครับ ถ้าหลุมอุกกาบาตต้อง impact crater ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า = = ถ้าผิดจะได้แก้ไขเลยครับ
หลุมอุกกาบาตน่าจะถูกกว่าครับ ในทางดาราศาตร์ crater แปลว่า หลุมอุกาบาตได้ครับ
Jusci - Google Plus - Twitter
คือถ้าอุกาบาตตกใส่จนเป็นหลุม มันก็คือหลุมอุกาบาตครับ
ขอบคุณทุกคนครับ แก้ตามนั้นแล้วครับ ^^
ได้รูปประกอบแล้วครับ พิกัดอยู่ที่ N 22°1'6" E 26°5'16" อยู่บริเวณใกล้ๆชายแดนอียิปต์กับซูดาน
เด๋วก่อน 3.5 กิโลเมตร ต่อวินาที!
เห็นภาพแล้วชวนให้จินตนาการณ์ว่าเป็นฐานทัพลับองค์กรก่อการร้าย
หรือเป็นทางเข้าโครงการทดลองพิศดารอะไรของปรเทศไหนรึเปล่า..
ป.ล.เป็นทะเลทรายที่กว้างและเวิ้งว้างดีจริง ๆ :D
หึ หึ
พอคุณพูดถึง ผมเลยสังเกต
:D
Jusci - Google Plus - Twitter
เขาเรียกสองมาตรฐานหรือเปล่า LOL
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
แก้ไขแล้วครับ
ทำไมไม่เอาในโลกล่ะครับ -*-
ดาวเคราะห์ที่เรารู้จัก มี 2 ประเภทหลักๆ นะครับ
คือดาวเคราะห์ที่ทั้งดาวมีส่วนประกอบหลักเป็นแก๊ส (เช่น ดาวพฤหัส ดาวเสาร์)
กับดาวเคราะห์ที่ทั้งดาวมีส่วนประกอบหลักเป็นของแข็ง (เช่น ดาวพุธ ดาวอังคาร)
ซึ่งเราอาจเรียกชื่อดาวพวกนี้ได้อีกชื่อนึงว่า "ดาวเคราะห์ชั้นใน" เนื่องจากดาวเคราะห์เหล่านี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
จึงถูกลมสุริยะพัดแก๊สปลิวออกจากตัวดาวไปเกือบหมด จนเห็นแกนที่เป็นของแข็งบนดาวได้ชัดเจน
สำหรับดาวเคราะห์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นของแข็งนั้น ก็ยังแบ่งได้อีกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบที่มีชั้นบรรยากาศบนผิวหนาแน่น (ในระบบของเราเช่น ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดวงจัทนร์ไททันของดาวเสาร์)
และแบบที่มีชั้นบรรยากาศบนผิวดาวเบาบาง (เช่น ดาวพุธ ดวงจันทร์ ดาวพลูโต-ถ้ายังนับว่าเป็นดาวเคราะห์อยู่ :D)
และในดาวที่มีชั้นบรรยากาศหนาแน่นเฉกเช่นโลกเรานั้น เราจะพบหลุมอุกาบาตเหล่านี้ได้ยากมาก เนื่องจาก
มีชั้นบรรยากาศคอยเสียดสีกับอุกาบาตที่พุ่งเข้ามาหาโลก ทำให้อุกาบาตมีขนาดเล็กลงมากก่อนประทะผิวดาว
เมื่ออุกาบาตประทะผิวดาวแล้ว ลมและแก๊สในดาวจะพัดพาเศษฝุ่นต่างๆ ขัดกร่อนหลุมอุกาบาตจนมองเห็นได้ยาก (ใช้เวลาระดับพันปี+)
ดาวเคราะห์ที่จะมีชั้นบรรยากาศเป็นของตัวเองได้นั้นต้องมีขนาดใหญ่พอควร ส่งผลให้แกนกลางของดาวนั้นไม่เย็นจนเกินไป ดาวประเภทนี้มักมีของเหลวหนืด (ลาวา) อยู่ภายในดาว จึงมีการเคลื่อนที่ของผิวเปลือกดาวอยู่บ่อยๆ และมีการผลัดเปลี่ยนผิวดาวอยู่บ่อยครั้ง (ภูเขาไฟระเบิด)
ฯลฯ ฯลฯ อิอิ
ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะไม่พบในดาวเคราะห์ชั้นในที่มีชั้นบรรยากาศเบาบางเลย จึงทำให้เวลาโดนอุกบาตชนที หลุมอุกาบาตจะติดแน่น ทนนานครับ
(รอยเท้าบนดวงจันทร์ของเหล่านักบินอวกาศสหรัฐยังคงรูปอยู่เลยครับ!)
ดังนั้น จะเขียนข่าววิทยาศาสตร์ต้องมีฐานความรู้เยอะพอสมควรครับ และผมเห็นว่าการใช้คำว่า "ดาวเคราะห์" ในบทความนั้น ค่อนข้างกว้างเกินไปมากจนทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
เห็นว่าสมควรเปลี่ยนเป็น "ดาวเคราะห์หิน" น่าจะเป็นการจำกัดความที่สั้นที่สุด เท่าที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์อ่านแล้วจะทำเข้าใจได้อย่างง่ายที่สุดครับ
+1 ชอบมากเป็นหลักการมาก
รอยหยักขดขึ้นมา 1 มม. ขอบคุณครับ
ไม่รู้ว่าผมจะเข้าใจผิดเองหรือเปล่าครับว่าเหมือนเคยอ่านมาว่า“ดาวเคราะห์ชั้นในจะเริ่มนับจากโลกไปหาดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะเริ่มนับจากโลกออกไปจนถึงดาวพลูโต(ตอนนั้นยังนับดาวพลูโตเป้นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอยู่) ก็มีหลายกรณีเหมือนที่นักวิทยาศาสตร์มักจะเอาโลกของเราเป็นที่ตั้งเช่นการนับระยะหน่วยดาราศาสตร์ (AU) ก็นับระยะจากโลกเราไปถึงดวงอาทิตย์ อะไรประมาณนี้แหละครับ ส่วนของหินละลายที่อยู่ภายในโลกเราถ้ายังไม่ระเบิดออกมาจะเรียกว่า Magma เมื่อเวลาระเบิดออกมาสู่พื้นผิวโลกเราถึงจะเรียกว่า ลาวา” ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยตอบด้วยนะครับ
เข้าใจถูกแล้วครับ นั่นก็นับว่าเป็นวิธีนับอีกแบบหนึ่งได้เหมือนกัน ^^
แต่ถ้าจะเอาตามหลักการและลงรายละเอียดจริงๆ แล้ว ทั้งสองแบบนั้นมีวิธีเรียกที่ "คล้าย" กันมากจนเข้าใจผิดได้บ่อยๆ เลยครับ
แบบแรก ดาวเคราะห์ "วง" ในและวงนอก (Inferior and Superior planets)
แบบนี้จะเอาโลกเป็นที่ตั้ง โดยดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจะเป็นดาวเคราะห์วงใน ส่วนไกลกว่าก็จะเป็นดาวเคราะห์วงนอก
ด้วยหลักนี้ เราจะมีดาวเคราะห์วงในคือ ดาวพุธกับดาวศุกร์ 2 ดวง ส่วนตั้งแต่ดาวอังคารเป็นต้นไปนั้นนับเป็นวงนอก (สังเกตว่า โลกเรา ไม่ถูกจัดเป็นวงในหรือวงนอกครับ)
การจัดหมู่แบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว เพราะสมัยนั้นไม่มีกล้องดูดาว/ยานอวกาศไว้สำรวจดาวพวกนี้ในเชิงโครงสร้าง
เราสามารถรับรู้ได้ว่าดาวเหล่านี้เป็น "ดาวเคราะห์" (planet: นิยามสมัยโบราณแปลว่า ดาวเพนจร) เนื่องจากเราสังเกตเห็นว่า ตำแหน่งของมันบนท้องฟ้าเปลี่ยนไปตามเวลา
โดยนักปราชญ์สมัยนั้นก็ได้สังเกตต่อไปอีกว่า มีดาวบางดวงเท่านั้นที่ไม่ยอมขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุดของท้องฟ้ายามค่ำคืนเลย
จนเมื่อนำข้อมูลที่เก็บได้ในสมัยนั้นมาคำนวณดู ก็พบว่า ดาวเคราะห์จำพวกนี้ใช้เส้นทางเดินบนท้องฟ้าร่วมกับกับดวงอาทิตย์ แถมยังไม่ยอมหนีห่างจากดวงอาทิตย์อีกต่างหาก! (ระลึกไว้ว่า สมัยนั้นพวกเขาเชื่อว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่งนะครับ)
พวกเขาจึงเรียกดาวเคราะห์พวกที่อยู่ใกล้ๆ ดวงอาทิตย์ว่า ดาวเคราะห์ชั้นผู้น้อย (Inferior planets)
ส่วนดาวเคราะห์ที่เหลือที่มีวงโคจรเป็นของตัวเองนั้น ก็ได้รับศักดิ์เป็น ดาวเคราะห์ชั้นผู้ใหญ่ (Superior planets) ครับ
ด้วยเหตุนี้ ชาวกรีกจึงตั้งชื่อให้ดาวเคราะห์ชั้นผู้น้อยตามชื่อเทพที่พวกเขานับถือคือ เฮอร์เมส (โรมัน: Mercury) ผู้ส่งสารของพระเจ้า เนื่องจากเคลื่อนที่ไวและไม่ออกมาให้เห็นได้โดยง่าย
ส่วนอีกดวงคืออโฟรไดที (โรมัน: Venus) เทพีแห่งความงาม เพราะแสงสว่างนวลตาที่ปรากฏให้ให้ตอนหัวค่ำ/รุ่งสาง
สำหรับดาวเคราะห์ชั้นผู้ใหญ่ได้แก่ เอเรส (โรมัน: Mars) เทพแห่งการสงคราม เนื่องจากชาวกรีกนิยมสงครามมาก และดาวดวงนี้ก็มีสีแดงดุดัน
ซีอัส (โรมัน: Jupiter) เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์ เทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตำนานกรีก-โรมัน ถูกตั้งให้ดาวนี้เพราะมีสีสว่างนวลตา เหมือนเทพผู้ปกครองที่อ่อนโยน แต่ก็เปี่ยมด้วยอำนาจบารมี
และโครนัส (โรมัน: Saturn) อดีตเทพผู้ยิ่งใหญ่ บิดาแห่งซีอัส ผู้กลืนกินบุตรธิดาแห่งตนเนื่องจากหวงแหนอำนาจ ภายหลังถูกซีอัสบุตรชายและพี่น้องโค่นลงได้ จึงมีแสงสว่างริบหรี่ลง
(สำหรับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ นั้น ไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ ชาวกรีกสมัยนั้นที่ใช้แต่ตาเปล่าดูดาวจึงไม่ได้เป็นผู้ตั้งชื่อให้ยูเรนัส เนปจูน และพลูโตนะครับ :P)
แบบแรก เวอร์ชันสอง เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้เกิดกลุ่มนักดาราศาสตร์ที่ปฏิเสธความเป็นศูนย์กลางของโลก
เนื่องจากพบความยุ่งยากในการคำนวณเส้นทางการโคจรของดาวเคราะห์ ประจวบเหมาะกับการเกิดขึ้นของกล้องส่องทางไกล
ทำให้เราพบสัจธรรมความจริงเพิ่มขึ้นมาว่า สิ่งเล็กย่อมเคลื่อนที่รอบสิ่งใหญ่ และโลกไม่ใช่สิ่งที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล
ดังนั้น เราจึงมีโมเดลระบบสุริยะที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี้ คือระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยดาวเคราะห์ต่างๆ และ "โลก" ของเรา
ในสมัยนี้ โลกเราจึงได้กลายเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง (เหมือนกับเพื่อนๆ) เป็นที่เรียบร้อย
และการแบ่งแยกดาวเคราะห์ชั้นในกับชั้นนอกนั้นก็ง่ายขึ้นมาก เพียงแค่ดาวเคราะห์ชั้นในคือดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ส่วนชั้นนอกก็อยู่ใกล้กว่า
(สมัยนี้กล้องโทรทัศน์มองเห็นอย่างมากก็แค่ดาวบริวารเป็นจุดๆ ไม่เห็นรายละเอียดพื้นผิวดาวครับ)
ข้อแตกต่างที่เราพบมากขึ้นระหว่างดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอกในยุคนี้ มีเพิ่มเพียงแค่ข้อเดียว
คือเมื่อส่องดูดาวด้วยกล้องโทรทัศน์นั้น พบว่าดาวเคราะห์ชั้นในมีการเกิดเป็นเสี้ยวบางๆ เหมือนดวงจันทร์ และไม่มีวันเต็มดวง
ในขณะที่ดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้น เห็นอย่างน้อยสุดก็ประมาณครึ่งดวง และสามารถเห็นดาวเคราะห์เต็มดวงได้ไม่ยาก
แบบที่สอง ดาวเคราะห์ "ชั้น" ในและชั้นนอก (Inner and Outer planets)
นิยามนี้เกิดขึ้นเมื่อโลกก้าวสู่ยุคอวกาศอย่างจริงจัง มีการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ที่มีกำลังขยายสูง มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงดาวต่างๆ และมีทฤษฎีทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ ขึ้นมา
เราพบว่า ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคารนั้น มีขนาดเล็กนิดเดียว ส่วนดาวพฤหัส เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูนนั้น มีขนาดใหญ่มากๆ
ทั้งนี้ก็เพราะว่าดาวเคราะห์กลุ่มแรกนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงถูกลมสุริยะหอบเอาแก๊สต่างๆ ออกจากดาวจนเกือบหมด
เหลือก็แค่ชั้นบรรยากาศบางๆ เท่าที่มวลของดาวจะสามารถกักเก็บเอาไว้ได้
ส่วนดาวเคราะห์กลุ่มหลังที่มีขนาดใหญ่โตมโหราฬนั้น ก็เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากพอที่ลมสุริยะจะมีผลน้อยลง
ส่งผลให้ดาวเคราะห์จำพวกนี้สามารถกักเก็บแก๊สไว้กับตัวเองได้มาก
(เชื่อว่า) ด้วยมวลอันมหาศาลของดาวพฤหัส มันได้ทำการฉีกดาวเคราะห์เล็กๆ เมื่อครั้งระบบสุริยะเกิดใหม่ๆ โน่น จนเกิดเป็นแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสขึ้นมา
เราจึงแบ่งดาวเคราะห์เป็น ดาวเคราะห์ชั้นใน เมื่อดาวดวงนั้นอยูใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อย (เนื่องจากแถบนี้ไม่สามารถเกิดดาวเคราะห์ได้)
ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้น ก็คือดาวที่อยู่เลยแถบดาวเคราะห์น้อยนี้ออกไป (สมัยนั้นยังมีดาวพลูโตครับ)
เมื่อครั้งล่าสุดที่มีการถกเถียงกันว่า ดาวพลูโตควรได้รับฐานะดาวเคราะห์หรือไม่ และได้มีการตัดดาวพลูโตออกไป
ทำให้ตอนนี้เหลือดาวเคราะห์ 8 ดวงเท่านั้น (เชื่อว่าไม่น่าจะสามารถหาดาวเคราะห์เพิ่มได้แล้ว) และจากกายภาพของดาวเคราะห์ก็ทำให้เราแบ่งแยกดาวได้ชัดเจนขึ้นคือ
ดาวเคราะห์ชั้นในนั้นจะมีพื้นผิวเป็นของแข็ง มีขนาดเล็ก มีชั้นบรรยากาศเบาบาง
ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่พื้นผิวเป็นแก๊ส มีขนาดใหญ่มาก (หรือจะบอกว่าเป็นดาวที่มีบรรยากาศหนาแน่นมากๆ ก็ได้ครับ)
ส่วนดาวพลูโตนั้น แท้จริงแล้วมันคือดาวหางนั่นเอง เนื่องจากที่ผิวดาวมีน้ำแข็งเกาะเต็มไปหมด เพียงแต่มันไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จึงไม่โผล่หางมาให้ได้ยลกันครับ :P
ส่วน Magma กับ Lava อันนี้ผมพลาดเองครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ^^"
ขอบคุณครับ
พึ่งรู้ว่ามีการแบ่งสองแบบ= ='
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อธิบายได้ละเอียดชัดเจนมากเลยครับ แถมยังอ่านเพลินดีอีกด้วย
/คาราวะ 1 จอก
Jusci - Google Plus - Twitter
ขอค้านเล็กน้อยครับ ผมเคยได้ยินว่า สมัยโบราณ ยุคกรีก มีการคำนวนทางดาราศาสตร์ที่แม่นยำ และจัดตำแหน่งให้โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อย่างถูกต้องครับ
จนสมัยโรมันยึดกรีก และมีการเผยแพร่ศาสนา ทำลายวิชาการ(น่าจะเป็นช่วงที่เผาหอสมุดอเล็กซานเดรีย) จึงมีการนำความรู้เรื่องโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลมาแทนที่(ตามทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก)
ครับ
โอ้ ครับผม ความรู้ใหม่เลยครับ ^^
..
เข้าใจว่าคนไทยชินกับหน่วยในระบบเมตริกมากกว่านะครับ ถ้าไม่ลำบากเกินไปจับยัด Wolfram Alpha
แปลงหน่วยพวกนั้นให้เป็นเมตร แล้วเลือกเอาว่าจะเขียนข่าวด้วยหน่วยฟุต แล้ววงเล็บหน่วยเมตรเอาไว้
หรือจะใช้ระบบเมตรทั้งข่าวเลย ส่วนหน่วยฟุตนั้นจะใส่วงเล็บครอบหรือไม่ก็ได้ครับ
ใส่ , คั่นตัวเลขทุก 3 ตัวครับ (12,874.8) ยกเว้นกรณีที่มีตัวเลขแค่ 4 ตัว ไม่ต้องใส่ก็ได้
หรือถ้าอยากเขียนให้ออกแนววิทยาศาสตร์จ๋าไปเลย ให้ใช้การเคาะแทน , ครับ (12 874.8)
กูเกิลก็พอแล้ว "147 feet in meter"
ก่อนวงเล็บอย่าลืมเคาะ 1 ครั้งนะครับ ^__^
Google Earth ทำเจ๋ง เปลี่ยนเป็น Google Earth เจ๋ง เฉยๆดีไหมครับอ่านครั้งแรกรู้สึกแปลกๆไงไม่รู้(หรือผมคิดมากไปเอง???)
รู้สึกเหมือนกัน ตอนแรกอ่านเป็น "Google Earth ทำเจ๊ง!"
เหมือนกันเลย
เป็นข่าวจับผิดกันไปแล้ว อิอิ จะเก็บทุกๆ คอมเมนต์ไว้เป็นประสบการ์ณนะครับ ^^
สนุก ๆ ครับ อย่าเครียด ; )
Jusci - Google Plus - Twitter
เป็นเรื่องธรรมชาติของที่นี่ครับ :-)
กระทู้ดาราศาสตร์แห่งปี..
คุณ neizod เขียนบล็อกอยู่ที่ไหนหรือเปล่าครับ จะไปตามอ่าน อิๆ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เขียนๆ ขาดๆ ครับ 555+
http://neizod.blogspot.com/
ดูรูปหน้าแรก นึกว่ามีใครเอารูปปากแบบนี้--> (:3) ไปวาดเล่นซะอีก! มีใครเห็นเหมือนผมไหมเนี่ย ยังกะหน้าหมีหันข้าง (ดูรูปใหญ่ก็เหมือนอยู่ดี)