พอดีเห็นว่าบทความนี้มีประเด็นที่โดนใจ ถึงแม้บทวามนี้จะเก่าไปซักหน่อยเพราะได้รับการตีพิมพ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็อยากผู้อ่านใน Blognone ลองอ่านดูครับ
เมื่อสองปีก่อน คุณนิโคลัส คาร์ ได้เขียนบทความ "กูเกิลกำลังทำให้พวกเราโง่ลงหรือเปล่า" (Is Google Making Us Stupid?) ลงในนิตยสาร ดิ แอตแลนติก ซึ่งเป็นนิตยสารอเมริกันที่มีอายุยาวนานมาราว 150 ปี (ลิงก์บทความต้นฉบับ)
เขาตั้งข้อสังเกตว่าการใช้อินเทอร์เน็ตไปนานๆ ทำให้การทำงานของสมองเปลี่ยนไป โดยทุกวันนี้เขาไม่ได้คิดด้วยวิธีคิดเหมือนสมัยก่อน ที่เห็นชัดที่สุดคือเมื่อเขาอ่านหนังสือ ซึ่งสมัยก่อนการอ่านหนังสือหรือบทความ บทกวีนั้นสามารถนำตัวเองเข้าไปในสิ่งที่อ่านและมีความคิดแตกยอดต่อจากเนื้อหาที่ได้รับจากการอ่านได้มากมาย แต่ทุกวันนี้การอ่านอย่างลึกซึ้งหายไป สมาธิของเขาแตกซ่านเมื่ออ่านไปได้แค่สองสามหน้า และมองหาอะไรอย่างอื่นเพื่อทำต่อแทน
เขากล่าวว่าปัญหาคือ เมื่อไม่สามารถจดจำอะไรไว้ได้แล้วจะคิดอะไรต่อไปได้อย่างไร โดยเขาได้ยกประเด็นของกูเกิลขึ้นมาว่า ปัจจุบันนี้อะไรก็สามารถ "กูเกิล" ได้หมด แม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ในโทรศัพท์ก็ยังสามารถซิงค์กับ Gmail ได้
คุณศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ นักเขียนของมติชน ผู้ที่นำบทความดังกล่าวมาเขียนและตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้กล่าวเสริมว่า คำถามที่คุณคาร์ตั้งมาว่า กูเกิลกำลังทำให้พวกเราโง่ลงหรือเปล่า เป็นคำถามที่กว้างกว่านั้น เพราะไม่ใช่แต่กูเกิล แต่หมายถึงว่า "อินเทอร์เน็ตมันทำให้เราโง่ลงหรือเปล่า" มันได้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและการทำงานของสมองของเราหรือไม่ ซึ่งคุณศิริพงษ์ก็ได้ยืนยันว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง แต่ว่าจะทำให้เราโง่ลงหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่มา: นิตยสาร ดิ แอตแลนติก ผ่าน มติชนออนไลน์
Comments
ผมคิดว่ามันไม่เชิงกูเกิลอย่างเดียวนะ เพราะเทคโนโลยรหลายๆ อย่างในตอนนี้มันทำให้เราสะดวกสบายขึ้น
แทบจะไม่ต้องคิดหรือจำในการทำหลายๆ อย่าง จำเป็นก็แค่ไว้สั่งให้ทำงาน (execute)
อย่างตอนนี้เบอร์โทรศัพท์ก็จำได้แค่ของครอบครัวแล้วก็คนสำคัญ ต่างจากเมื่อก่อนที่แทบจะจำของเพื่อนทั้งกลุ่มได้หมด
ไม่มี search engine หาข้อมูลไม่เจอ
โง่กว่าเยอะ
เทคโนโลยีไม่ผิด
ผมว่าไม่เลย เพราะว่าคนเราต้องคิดก่อนว่าจะหาอะไรด้วย Google แล้วเอาคำตอบมาต่อยอดคำถามในหัวเราอีกที
ถ้าให้เทียบกับการดูทีวี นั่นโง่ยิ่งกว่าเยอะเลย เพราะไม่ต้องคิดหรือถาม ทีวีก็ยัดใส่หัวเรามาเลย ทำให้ไม่มีความคิดแล้วยังสมาธิสั้นอีกด้วย
น่าจะเป็นระบบการคิดของเราเปลี่ยนไปมากกว่านะครับ ถึงเราจะจำบางอย่างได้น้อยลงแต่เราก็ไปทำอย่างอื่นได้เยอะขึ้นแทน มี search engine เราก็อาจเพิ่มการคิดแล้วอะไรต้องการ search เอา น่าจะดีกว่าเสียเวลานั่งจำๆอีก ท่องได้เยอะๆมันอาจจะเท่มั้งแต่ต้องยอมรับว่าในยุคสมัยที่ข้อมูลหาง่ายขึ้นเรื่อยๆมันไม่ค่อยมีประโยชน์
ผมเป็นห่วงพวกเรื่องสุขภาพตาที่ต้องอ่านจอนานๆ มากกว่า
ผมต้องอ่านอะไรยาวๆ อยู่ดี จากแต่ก่อนนี้ไม่มีเน็ตก็ไม่มีอ่านเลย
อยากได้จอที่มันถนอมสายตาหน่อย และอ่าน pdf และ html ได้ดี
+1 สุขภาพตาย่ำแย่มากครับ บางทีก็ปริ๊นมาอ่านดีกว่า
หรือว่าเราแก่ไปหว่า (อายุยัง 20 กว่าๆอยู่เล้ยย อิอิ)
ผมอายุ 22 ยังรู้สึกเลย อยากได้จอแบบ eink มาใช้กับคอมที่บ้านเลย
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
+1
บางทีผมก็ print เหมือนกัน แต่มันจะมาลำบากตอนขนกับหาที่เก็บอีก
ผมโงอยู่แล้วน่ะสิ
ผมว่าบางทีการที่เราไม่ได้จดจำอะไรเลย มันจะทำให้จำอะไรไม่ค่อยได้ ถ้าได้ใช้บ่อยๆ ก็จะไม่มีปัญหา
"กูเกิล" ทำให้ผมรู้เรื่อง
- ที่พักโรงแรมในสมุยได้โดยไม่ต้องไปออกซื้อหนังสือไกด์
- หาที่เรียนฟรีภาษาอังกฤษได้แม้นั่งอยู่หน้าคอม
- รู้ความเป็นอยู่ของเพื่อนที่อยู่ในต่างแดนได้แทบจะทุกวินาที
- กูเกิลช่วยให้หลายๆชีวิตทั่วโลก ทำโปรเจ็คจนจบการศึกษาได้ทันกำหนด
- หาข้อมูลผลิตภัณท์ ข้อมูลบางอย่างต่อให้ถามคนทั้งหมู่บ้านก็อาจไม่มีใครรู้จัก
- ข้อมูลสัตว์เลี้ยงที่ผมเคยเลี้ยงไว้ โดยไม่ต้องไปหาตำรงตำราหรือถามใครๆเลย
กูเกิลไม่ได้ทำให้เราโง่ลง แต่ทำให้เราฉลาดขึ้น สะดวกขึ้น เพราะหากโลกนี้ไม่เคยมีกูเกิลมาก่อนเลย ชีวิตเราก็คงไม่ก้าวกระโดดได้เท่าทุกวันนี้ เราต้องจดจำทุกอย่างเอาไว้เอง ไหนจะต้องสะสมองค์ความรู้เองจากหลายๆทาง เพราะแต่เดิมเราโง่กันอยู่แล้ว กูเกิลเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้เราหาความรู้ได้ง่ายขึ้น
ส่วนเรื่องที่คุณนิโคลัส คาร์ ประสบนั้น ผมก็เป็น คล้ายๆโรคสมาธิสั้นแต่ที่จริงแล้วที่เราคิดลึกซื้งไม่ได้ ก็เพราะในแต่ละวันปริมาณข้อมูลที่เราได้รับนั้นมากมายเกินไปจนการคิดวิเคราะห์ที่ละเรื่องแทบเป็นไปไม่ได้
ผมว่า มันยังไม่ได้โต้ตอบกับ argument ของคาร์โดยตรงนะครับ
อย่าลืมว่า "เราต้องจดจำทุกอย่างเอาไว้เอง" ก็เป็นความสามารถของสมองอย่างหนึ่งครับ เราอาจจะ "หา" และ "รู้" อะไรได้เยอะขึ้น แต่ความสามารถของสมองอาจจะลดลงในส่วนนี้จริงๆ ก็ได้ (แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องเสียหาย)
เหมือนถ้าเราอ่านแล้วเรารู้ว่าเราจะกลับมาค้นมันได้ตลอดเวลา ความจำเป็นต้องที่จะต้องจดจำมันก็ลดลง
+1 ครับ เรารู้มากขึ้นแต่ความจำขั้นลึกนั้นลดประสิทธิภาพลงเพราะสมองเราไม่ได้ผ่านกระบวนการคิด
+10 Lightwave พูดถูก บางทีเราอ่านแล้วไม่ได้คิดทบทวนเลย ทำให้ลืมอะไรได้ง่ายมาก
+1 ท่านนี้ ผมขอเสริมนิดหนึ่ง
google หรือเทคโนโลยี ทำให้เราฉลาดแบบกว้างๆ (เป็นเป็ด) แต่ทำให้เราโง่ในส่วนที่ลึกๆ
ก็อย่างว่าล่ะน่ะสมองมันมีส่วนจำกัดแต่คนเราอยากรอบรู้อะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้องจำ หรือจำในส่วนที่อ้างอิงมันเท่านั้นไม่ต้องไปจำมาก แต่ถึงกระนั้นระดับความรู้ที่เป็นกลางๆ หรือเกี่ยวกับสายงานกับที่เรียนเราก็ต้องรู้มากกว่าที่จะต้องอ้างอิงถึงหรือต้องคนหาอยู่ดี เอาหน๋ามันก็แล้วแต่มุมมองและวิธีการใช้เทคโนโลยี
+1
- รู้ความเป็นอยู่ของเพื่อนที่อยู่ในต่างแดนได้แทบจะทุกวินาที
- กูเกิลช่วยให้หลายๆชีวิตทั่วโลก ทำโปรเจ็คจนจบการศึกษาได้ทันกำหนด
เห็นด้วยบางส่วนกับ article ครับ ใช้ Google คิดคำหาทีเดียวเจอ ถ้านั่งหาเองคงคิด 20+ ตลบ (แต่เจอเว็บไซท์ใหม่ๆโดยบังเอิญ in the process)
ส่วนตัวคิดว่า Internet ทำให้ "สมาธิสั้นลง" มากกว่า "โง่ลง" และ อ่านเยอะขึ้น = รู้เยอะขึ้น =ไม่ได้แปลว่าฉลาดขึ้น
+1 สมาธิสั้นลงจริงอะไรจริงครับ distractionมันเยอะมาก ยิ่งผมเป็นมนุษย์พวกอยากรู้อยากเห็นตลอด เจออะไรสงสัยก็อยากหาคำตอบ(แล้วอินเตอร์เนตมันก็มีคำตอบให้เสียด้วย เพียงปลายนิ้วคลิก) สรุปก็ลิ้งค์ไปเรื่อยๆทั้งวัน เช่นตอนอ่าน Wikipedia ถามว่าได้ความรู้ใหม่ๆมั้ย-ได้เยอะเลย ได้งานมั้ย-ไม่ค่อย 55+
ป.ล.เวลาทำงานผมต้องปิดเนตก่อนทุกที หรือไม่งั้นก็ต้องไปนั่งไกลๆคอมเลย
เรื่องสมาธิสั้นลง เห็นด้วยเลยครับ
ผมว่ามันคือคำถามเดียวกับ
สำหรับผม มันใช่และไม่ใช่ไปพร้อมๆ กัน เทคโนโลยีมีด้านมืดของมันเสมอ (อะไรไม่มี???) ในอีกด้านแล้วมันทำให้เราเข้าถึงสิ่งต่างๆ ที่เคยเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก ถ้าไม่มองด้านดี ถ้าไม่พิจารณาถึงความสามารถในการเข้าถึงความรู้ เช่นอินเทอร์เน็ตทำให้ผมเรียนวิชา Algorithm ของ MIT ได้ตั้งแต่สมัยอยู่ปี 2 เราคงไม่สามารถเรียกบทวิจารณ์เหล่านี้ว่าเป็นบทวิจารณ์ที่สมเหตุสมผลได้
เปรียบเทียบกับแนวทางการพัฒนาประเทศของหลายๆ ประเทศที่มักจะดึงคนออกจากเรื่องพื้นฐาน เช่น การเกษตร, อุตสาหกรรมพื้นฐาน ฯลฯ เข้าไปยังอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น มันมีส่วนคล้ายกัน ขณะที่เราความจำในเรื่องต่างๆ น้อยลงเช่นเบอร์โทรศัพท์ แต่เรากลับไม่ "ลืม" เบอร์เพื่อนของเราหลายๆ คนที่แม้จะไม่สนิทมาก เพราะเบอร์ยังคงอยู่ในโทรศัพท์ของเรา
lewcpe.com, @wasonliw
+1 มีดี ก็มีเสีย
แต่เหมือนเราใช้สมองในชีวิตประจำวันน้อยลงทุกวัน ๆ ๆ หึ หึ
เราว่ามันอยู่ที่คนใช้นะ
ถ้าใช้หาความรู้ สนใจอะไร หาเจอแล้วก็อ่านจริงๆ วิเคราะห์จริงๆ แล้วก็หาเพิ่มไปเรื่อยๆ แบบนี้ไม่โง่ และอินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเดียวที่รวมรวมความรู้ในโลกมาไว้ด้วยกันได้มากขนาดนี้
แต่ถ้าใช้หาแบบ หาการบ้าน แล้วก๊อปส่ง หาพรีเซ้นคนอื่นเพื่อจะไม่ต้องทำเองนี่ โง่ลงแน่ๆ
เคยลองคิดเล่นๆว่า สมัยก่อนคงมีการ re-invent the wheel มากมาย เพราะไม่รู้ว่ามีคนอื่นคิดไว้แล้ว แต่พอมีอินเตอร์เน็ตก็ทำให้คนต่อยอดความรู้จากคนอื่นได้ง่ายขึ้น น่าจะทำให้อะไรๆพัฒนาไปได้มาก
ผมค่อนข้างชอบข้อสรุปของคุณศิริพงษ์นะ คือสรุปแค่ว่าเปลี่ยน แต่ไม่สรุปว่ามันโง่หรือไม่โง่ (หรืออีกนัยนึง ไม่สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นลบหรือบวก)
ถ้าบอกไม่เปลี่ยนแปลงเลย มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว มนุษย์เองเคยอยู่ในป่ามาก่อน ถามว่าตอนนี้เรามีทักษะพอที่จะกลับไปทำอย่างนั้นไหม ก็คงไม่ แต่เราก็ยังไม่เห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่อะไร (จนกระทั่งหากเราต้องเข้าไปติดอยู่ในป่า)
มันเหมือนโทรศัพท์มือถือที่ทำให้ทุกวันนี้การนัดหมายเพื่อนแบบ "เป๊ะๆ" มีความจำเป็นน้อยลง เพราะเราสามารถ "เดี๋ยวไปถึงแล้วโทรหานะ" พฤติกรรมเราเปลี่ยนไหม เปลี่ยน แย่ลงกว่าเดิมไหม ก็ไม่แน่ (เพราะมันทำให้ชีวิตเรายืดหยุ่นขึ้นตั้งมากมาย)
แต่ถ้าเด็กบางคนที่ผมเคยสอน copy ข้อมูล จากเน็ตมาส่งรายงานทั้งดุ้น ไม่แก้ไม่ปรับ อันนี้อาจจะโง่ลงได้
แล้วตอนนี้ผมเป็นโรคความจำสั้นมากๆ ถ้าเกินสองวันจะจำไม่ได้เลย ต้องอาศัยเขียนลงบล็อกไว้ ไม่งั้นลืมทั้งที่แต่ก่อนจำแม่นมากๆ
คือถ้าใช้เทคโนโลยี แต่สอนแล้ววัดเกรดแบบบ้านเรา โรงเรียนหรือมหาลัยเกรดต่ำๆบ้านเรา มันจะยิ่งทำให้คนไม่พัฒนา (แต่ก็อาจจะเพราะเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ)
บางที เทคโนโลยี ก็ทำให้คนมักง่ายสะดวกในการทำอะไรลวกๆได้ง่ายขึ้่น
ผมว่ามันก็จริง ผมรู้สึกโง่ลงทั้งที่ไม่ค่อยได้ใช้กูเกิล แต่ก็อ่านหลายเว็บโดยเฉพาะข่าวและพวกความคิดเห็นนี่แหละ ที่ทำให้เป็นอย่างนั้นเพราะมันมีแต่ข้อมูลไม่มีตรรกะเท่าไหร่ ;)
ปล.อยากกลับมาเหมือนเดิม
ผมว่าคนเรารู้แค่กระจุกเดียวแบบสมัยก่อน กับรอบรู้ได้ทั่วโลกแม้ไม่ครอบคลุม ก็ไม่ได้แปลว่าเราโง่ลงนะครับ
ที่แน่ๆ คือเทคโนโลยีทำให้ขี้เกียจ คนโง่ก็จะโง่กว่าเดิม เพราะทำอะไรได้ง่ายกว่าเดิม ไม่ต้องคิดอะไรมาก search หาคำตอบ (ไปตอบการบ้าน รายงาน ที่ไม่ใช่อยากรู้ด้วยตนเอง) ไม่ต้องจำอะไร บางอย่างอยากรู้ก็แค่ตั้งกระทู้รอคนตอบ ไม่ search ก็ยังมี ส่วนคนใฝ่รู้ก็น่าจะฉลาดขึ้น เพราะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น มากขึ้น
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมเคยลองคิดเล่น ๆ นะ ว่าหากเราข้ามเวลาย้อนอดีต เราจะกลายเป็นคนโง่ หรือ คนฉลาดแบบพระเอก/นางเอกในละครล่ะ ผมว่าผมคนหนึ่งล่ะที่จะโง่มาก เพราะไม่รู้อะไรเลย รู้แต่ภาษาอังกฤษแบบธรรมดา สมุนไพรก็ไม่รู้จัก เพราะหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ปลูกอะไรกินเป็นมั่งไหมเนี่ย ยิ่งจบสายที่ทำงานกับคอมฯ ยิ่งโง่สุด ๆ เพราะยุคเก่า ไม่มีคอมฯ
Google ไม่ได้มีแค่ Search Engine
translate.google.co.th อาจทำให้เด็กไทยโง่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลงอีกเยอะเลยครับ
แต่ผมว่าเทคโนโลยี่ทำให้เราสมาธิสั่นจริงๆนะ
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q1/2009march13p6.htm
ความรู้กับคอมพิวเตอร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2552 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1491
"ที่เรียกว่า "รู้ลึก" ก็คือรู้ไปถึงกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของความรู้นี่แหละครับ"
"การค้นพบอะไรที่ใหญ่ๆ ในโลกนี้ ล้วนมาจากการมองเห็นความสัมพันธ์ที่ดูเหมือนจะไม่สัมพันธ์ทั้งนั้น"
"คอมพิวเตอร์ มองเห็นความสัมพันธ์ได้แค่นี้แหละครับ ฉะนั้น ยิ่งค้นอินเตอร์เนทเท่าไร
ก็ยิ่งจะรู้อะไรกว้างขึ้นๆ ไปเรื่อยจนเลยจุดที่สนใจไป"
"รู้ได้ทุกเรื่อง แต่รู้ดีไม่ได้สักเรื่อง
ผม ไม่ได้หมายความว่าเราไม่อาจหาความรู้ที่ลึกได้จากอินเตอร์เนทนะครับ แต่จะหาได้เราต้องมีความรู้ก่อน เป็นแนวให้เราเจาะค้นลึกขึ้นไปได้"
"ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนทจึงมีประมาณ ดินสอ เราต้องเขียนเป็นก่อน ไม่งั้นดินสอก็มักทำให้เปรอะเปื้อนกระดาษและฝาผนังเท่านั้น"
"อินเตอร์เน็ตให้ได้แต่ความรู้เหมือนเป็ด คือกว้างแต่ไม่ลึก ซ้ำยังอาจตกเป็นเหยื่อของตลาดได้ง่ายเสียอีกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ให้เด็กใช้ก็ดีแล้ว แต่ต้องสอนให้รู้จุดอ่อนของความรู้ในคอมพิวเตอร์ด้วย โดยการนำเด็กไปสู่คำถามเชิงลึกของความรู้ต่างๆ ไม่ใช่พอใจเพียงการตัดข้อความในคอมฯ มาแปะให้ครูอ่าน"
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q1/2009march13p6.htm
น่าจะเรียกว่าเปลี่ยนวิธีจำมากกว่า
ยุคก่อน ADSL ผมแทบจะจำสาระอะไรได้ข้ามปี
ตอนนี้จดจำอะไรได้มากขึ้น เพราะมันยิ่งต้องอ้างอิงบ่อย
แต่คิดว่าส่วนนึงเป็นเพราะ internet นอกจากจะทำให้เข้าถึงข้อมูลแล้ว
หลังๆ มามันทำให้เข้าถึงคน (โดยเฉพาะคนอื่นติดต่อผม) ได้มากกว่า
มันเลยเป็นเหตุให้งานเข้าบ่อย ซึ่งจะบอกว่าให้กูเกิ้ลหรือ internet ช่วยอย่างเดียว
โดยไม่จำก็ไม่ไหว เท่ากับต้องหามันทุกครั้ง เลยต้องจำไปโดยปริยาย ^^'
google ทำให้เด็กไทย (และชาติอื่นๆที่มีปัญหาตาม)
Copy + Paste
ส่งงานอาจารย์ (ไอ้แบบนี้ ทำให้โง่ลง ของจริงเพราะเด็กมันไม่ได้ตั้งใจค้นหาความรู้มาจดจำ)
copy & paste ส่งงานประจำ ได้ตังค์แล้ว
อันนี้ผมมองว่าเป็นความสามารถและความเอาใจใส่ของครูครับ
เราต้องพัฒนาครูให้เท่าทันกับกลยุทธ์เหล่านี้ แล้วปิดช่องให้การกระทำเช่นนี้มีผลติดลบ
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องที่ตลกกว่านั้นคือมีอาจาร์ยที่สั่งการบ้านที่ต้องหาและอ้างอิงจาก อินเตอร์เน็ตเท่านั้น การไปหาและอ้างอิงจากหนังสืออาจาร์ยไม่รับด้วย ต้องกลับไปหาในอินเตอร์เน็ตใหม่ทั้งๆที่เนื้อหาก็เหมือนกัน แต่วิชานั้นไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ(สังคมม.ปลาย)
บทความที่คุณ skunk เอามาให้อ่านใช้ได้ทีเดียวครับ
ผมว่ากระบวนการคิด การจำของเราเปลี่ยนไปมากกว่า สมัยก่อนเราจำตัวเนื้อหา แต่สมัยนี้เราจำวิธีหาเนื้อหาอันนั้น เราไม่ใส่ใจว่ารายละเอียดของเนื้อหาเป็นยังไง แต่เราใส่ใจวิธีหาเนื้อหานั้น ๆ แทน
เราไม่สนใจว่าเบอร์ของคน ๆ นั้นเป็นเบอร์อะไร แต่เรารู้ว่า มันอยู่ในมือถือ และตั้งชื่อไว้อย่างนี้ เราก็หามันเจอได้
มันดีตรงที่เราจะมีความรู้เพิ่มมากขึ้นด้วยวิธีนี้ (ถ้าคิดว่าความจำของมนุษย์มีจำกัดนะ แต่ความจริงมันไม่ใช่เช่นนั้น การที่เรานึกไม่ออกในขณะนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะนึกไม่ออกตลอดไป)
แต่มันจะแย่ตรงที่ว่า ถ้าเราเผชิญกับปัญหาเราจะแก้ปัญหานั้นไม่ได้หากเราไม่มีแหล่งข้อมูล (เพราะเราจำแต่วิธีหาข้อมูล) แต่ว่าชีวิตมันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น เพราะถ้าสิ่งใดที่เราสนใจเป็นพิเศษ เราก็ยังจำเนื้อหาของข้อมูลได้อยู่ดี
เมื่อก่อนเราเก็บ data ลงสมอง แต่ตอนนี้เราเก็บ reference ของ data นั้นแทน แต่ก็มี data บางส่วนที่เราเก็บมันลงสมองเช่นกัน :P
Jusci - Google Plus - Twitter
+1 ชอบประโยคนี้ครับ "มันจะแย่ตรงที่ว่า ถ้าเราเผชิญกับปัญหาเราจะแก้ปัญหานั้นไม่ได้หากเราไม่มีแหล่งข้อมูล"
อันนี้รึเปล่าที่เป็นเหตุผลที่เค้าว่า ทำให้โง่ลง?
+1 เพราะถ้าสิ่งใดที่เราสนใจเป็นพิเศษ เราก็ยังจำเนื้อหาของข้อมูลได้อยู่ดี
+10 สมองเราไม่ฝ่อลง เพียงแต่เราเปลี่ยนวิธีจำเอาต่างหาก
แต่ยังมีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น มีอุปกรณ์ it ชิ้นใดแก้ไขเรื่องนี้ได้ หรือว่าเป็น...E-ink
สมมติว่าในอนาคตเรามีข้อมูลที่ต้องจัดการมากเกินกว่าที่สมองของคนจะจัดเก็บได้ เราคงต้องฝากข้อมูลพวกนี้ไว้บนระบบอินเตอร์เนต สมองเราจะทำหน้าที่แค่เป็น CPU เท่าันั้น ตื่นขึ้นมาก็เชื่อมต่อกับระบบโหลดข้อมูลที่ต้องการเพื่อใช้ในการทำงานประจำวัน
เพราะถ้าเทคโนโลยีเราก้าวหน้ามากขั้นจริง ๆ แต่สมองร่างกายของเราไม่วิวัฒนการไปด้วย มันก็เหมือนกับเราเป็นคอมเก่า ๆ ที่ไม่สามารถทำงานกับซอฟท์แวร์ใหม่ ๆ ได้น่ะแหละ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าผมจะถูกหรือผิด แต่เรื่องพวกนี้มันก็มีทางของไปต่อของมันได้
ถ้า google ทำให้โง่ลง ... eclipse นี่ทำให้ผมโคดโง่เลยนะ อิอิ
เมื่อก่อนเคยจำเบอร์โทรได้หลายเบอร์ในสมัยตู้หยอดเหรียญ ตอนนี้ จำได้ไม่กี่เบอร์ ว่าแต่เบอร์ผมอะไรอ่ะ
ลิ้นชักสมองสำหรับเก็บความทรงจำมีจำนวนจำกัด
เลิกจำอย่างหนึ่งเพื่อให้สมองว่างไปจำอีกอย่างหนึ่ง ของอันไหนไม่จำเป็นต้องจำก็ไม่ต้องจำ บันทึกเก็บไว้ก็ได้
google มันเป็นแค่เครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ต มันอยู่ที่คนใช้ว่าจะใช้ไปทางไหนมากกว่า
แต่ยอมรับว่ามีส่วนทำให้สมาธิสั้น ทำอะไรต่อเนื่องได้ไม่ทน ถ้ามันไม่น่าสนใจจริงๆ
เหมือนนั่งดูซีรี่ย์ ดูได้แป๊บๆพอเริ่มไม่หนุกก็เอาล่ะ ย่อหน้าต่างมาดูเฟซบุคบ้าง
ประโยชน์ของGoogle จริงๆ ก็อย่างเรื่องการศึกษา วันก่อนนั่งอ่านข้อสอบของเด็กป.5กะหลาน
อ่านเจอคำถาม สัตว์ชนิดใดต่อไปนี้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ดูตรงตัวเลือกที่ให้ จงโคร่ง
ถ้าเป็นแต่ก่อน จงโคร่งคืออะไร แล้วเราจะไปหาหน้าตามันได้ที่ไหน ต้องวิ่งไปห้องสมุด ไปเปิดหา
สมัยนี้ พิมพ์เข้าgoogle แกร๊กเดียว ภาพจงโคร่งปรากฎให้เห็น
ก็เลยคิดว่า ของที่อย่างมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มันอยู่ที่คนมากกว่า จะเลือกใช้ให้มันเป็นประโยชน์ต่อเราได้อย่างไร
ชอบอินเตอร์เน็ตอย่าง ตรงที่มันเอาไว้ต่อยอดความคิด
กระทู้ที่เอาไว้ถกปัญหากัน ถ้าเราอยู่คนเดียว เราก็คิดของเราคนเดียว
แต่พอมันมีกระทู้ มีอินเตอร์เน็ต ความรู้มันสามารถต่อยอดขึ้นไปได้ีอีกเยอะค่ะ
2 side . แล้วแต่จะคิดครับ
ความฉลาดคืออะไร ความคิดสร้างสรรในการแก้ปัญหาหรือเปล่า
ผมขอนอกเรื่องจากข่าว ...
คือ ผมเป็นแฟนบทความและหนังสือของ นิโคลัส คาร์ ครับ หนังสือที่ดังของเขา คือ Does IT Matter? และ The Big Switch: Rewiring the World, from Edison to Google และล่าสุดคือ The Shallows: What the Internet Is Doing to Our Brains (คล้ายกับที่เขาเขียนในข่าว) ส่วน blog คือ Rough Type มีสาระน่าติดตามครับ จึงมาแนะนำในทีนี้ครับ
My Blog
ผมว่ามีส่วนจริงเลยครับ อินเตอร์เน็ตและ search engine ทำให้
ต้องเรียกว่าเรารู้เรื่องราวโดยผิวเผินมากขึ้น แต่กลับเจาะลึกลงไปในเนื้อหาน้อยลง
พูดแบบนี้คงต้องเรียบเรียงกันถึงโลกแห่ง memory ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคโบราณไปแล้ว
สมัยก่อนคนจะนับถือคนฉลาดจากความจำ เช่นการสอบต่างๆนั้น จะเป็นการจดจำตำราเป็นหลัก
ในสมัยนี้มักสู้กันที่ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก ส่วนความจำนั้นให้ฐานข้อมูลช่วยจำแทน
และอนาคตอาจสู้กันที่กึ๋นจริงๆ เพราะคอมจะช่วยคิดแทน มีเพียง unstructured problem เท่านั้นที่เราต้องตัดสินใจเอง
อย่าลืมนะครับว่าสมองที่ใช้จดจำกับที่ใช้ความคิดมันทำงานแยกคนละส่วนกัน แต่ท้ายที่สุดเมื่อกลั่นออกมาเป็นการตัดสินใจต้องใช้ทั้ง 2 ส่วนร่วมกัน
สรุปแล้วต้องทำวิจัยครับว่าจำแต่ไหนคิดแค่ไหนถึงจะพอดีต่อการบริหารสมองไม่ให้ฝ่อ
เพราะที่จริงทุกครั้งที่เรา googling ก็ได้ short-term memory และการคิดวิเคราะห์เหมือนกัน...
ผมไม่มีหลักฐานยืนยันว่าโง่ลงหรือเปล่า แต่มีประเด็นบางเรื่อง
สรุป ผมว่าเป็นเรื่องธรรมชาตินะที่คนเราจะเลือกจำเฉพาะเรื่องที่สำคัญ การจดบันทึกก็มีมาตั้งแต่สมัยไหนๆ แล้ว ดังนั้น การที่เราจะมีสมุดบันทึกเล่มใหญ่ ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เราโง่ลงนะครับ
มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น..
คนที่ใช้ทำตัวเองทั้งนั้น.. มีใครบังคับให้ใช้หรือเปล่า..ดิ้นรนไปใช้เองไม่ใช้หรือ
ก่อนจะมีฟีเจอร์ spelling check ดีๆใน browser เขียนคำไหนไม่ถูกก็ google ตลอด อิอิ
twitter.com/djnoly
เห็นด้วยกับคนที่บอกว่า มันทำให้เรารู้กว้างมากขึ้นนะครับ เพราะเราเปิดเจออะไรใหม่ๆเรื่อยๆ มันเลยทำให้สมาธิสั้นลงหน่ะครับ ยิ่งเปิดเจอก็ยิ่งอ่าน ส่วนเรื่องโง่นี่ผมว่ามันคงไม่โง่หรอกมั้งครับ เรื่องที่เราต้องสนใจในเชิงลึกเราก็ต้องมาวิเคราะห์เอาเองอยู่แล้วหน่ะครับ
ผมว่าอันนี้ควรจะเป็นหัวข้อของเว็บยุคต่อไปเลยนะ
ว่าทำยังไง จะ Provide ข้อมูลเชิงลึก ให้ได้มากขึ้น และเสพได้ง่ายขึ้น
เพราะตอนนี้กูเกิลมักจะหาข้อมูลเชิงกว้างเป็นหลัก
ต้องขอถามก่อนเลยว่า แล้ว สมอง มันคืออะไร
Define สมอง?
ผมอยากทราบว่าถ้าในอนาคต เราสามารถเพิ่มเซลล์สมองเข้าไปในหัวได้ ทำให้จำอะไรได้มากขึ้น คิดอะไรได้เร็วขึ้น
จะเรียกว่าคนนั้นฉลาดขึ้นได้รึเปล่า
ถ้าสมมุติว่ามีคนปัญญาอ่อน ผ่าตัดสมอง ฝังชิปอะไรบางอย่างเข้าไป ทำให้กลายมาเป็นคนปกติ จะเรียกว่าคนนั้นเหมือนฉลาดขึ้นหรือไม่?
สมมุติแฟนตาซีขึ้นมาหน่อย มีคนมีพลังจิต สามารถจะเชื่อมต่อกับพระเจ้าได้ ทำให้รู้ทุกเรื่อง แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เราจะเรียกคนๆนั้นว่าเป็น คนฉลาด รึเปล่า
สมองมันก็เป็นเครื่องมือที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ คนเราเกิดมาสมองก็ไม่เท่ากัน ความสามารถในการคิดการจำก็ไม่เท่ากัน
ถ้ามองว่า คอมพิวเตอร์คือสมองที่อยู่นอกตัวเรา เราฝากความจำไว้กับมันส่วนนึง ให้มันคิดแทนเราในหลายๆเรื่อง แล้วมันจะเป็นไรไป?
ถ้าจะเถียงว่า คอมมันเสียได้ สมองก็เสียได้ครับ แล้วยังแบคอัพไม่ได้ด้วย ข้อมูลสำคัญแค่ไหนก็ลืมได้
ถ้าพูดก็ดูจะเป็นพุทธเกินไป แต่สมองมันก็แค่เครื่องมืออย่างนึงในการดำรงชีวิต
จะฝึกฝนให้ฉลาดตามธรรมชาติ หรือจะอาศัยเครื่องมืออย่างอื่นมาใช้แทนความฉลาด มันจะต่างกันแค่ไหน
ทำไมคนเรา "ต้อง" ฉลาด?
และทำไมคนเราต้องเกี่ยงงอนกับวิธีการที่จะ "ฉลาด" ขึ้น
งั้นสร้างหุ่นยนต์เลยครับ
มนุษย์ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
ให้มันทำกันเอง
แล้วเราก็สูญพันธุ์กันไป..
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้ามีคนๆหนึ่ง เป็นโรคสมองเสื่อม เลยเอาความทรงจำไปใส่ไว้ใน HardDisk แล้วเปลี่ยนสมองเป็นเครื่องจักร
เราจะเรียกคนๆนั้นว่าคนหรือหุ่นยนตร์ครับ?
คนต่างอะไรกับหุ่นยนตร์ครับ?
ถ้าจำไม่ผิดแบบนั้นน่าจะเรียกว่าไซบอร์กครับ
ปล.ขำๆ
ใช่แน่นอนสำหรับบางคนหากขาดการคิดวิเคราะห์ เอาแต่อ้างอิง ไม่คิดอะไรเอง ขาดซึ่งภูมิปัญญา
ผมเชื่อว่า Internet เป็นแค่สื่อกลางที่กว้างขวางมากในการใช้งานครับ คนจะโง่ขึ้นหรือฉลาดขึ้นขึ้นอยู่กับการใช้เครื่องมือนั้นประกอบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุและผลครับ ซึ่งต้องศึกษาเป็นรายกรณีและรายบุคคลไปครับ บ้างก็ว่าทำให้สมาธิสั้นลง บ้างก็ว่าทำให้รู้ลึกยิ่งขึ้น เพราะคนเลือกที่จะใช้งานมันแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นเพการใช้ชีวิตและการพัฒนาการของตนเอง ซึ่งมีปัจจัยมากมายเป็นหมื่นแสนที่จะทำให้เราไม่สามารถ "ฟันธง" ได้่ว่าการใช้ Google แล้วจะโง่ลงหรือฉลาดขึ้น
ผมลองยกปัจจัยหลายๆอย่างที่สามารถเป็นตัวแปรมาพิจารณาได้เช่น
เป็นต้น
ซึ่งปัจจัยอีกร้อยแปดพันเก้านั้นจะมีส่วนที่ทำให้คนคนนั้นใช้อินเตอร์เน็ตอย่างชาญฉลาดหรือดักดานไม่คืบหน้าไปไหน และยังส่งผลถึงชีวิตประจำวันอยู่แล้วแม้ไม่มี Google หรือโลกอินเตอร์เน็ตอยู่ตรงหน้า
ดังนั้นการฟันธงจากการที่เอา Functionality ของ Google มาเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการทางสมองของคนนั้นยังมีความคลุมเครือเกินกว่าจะนำมาประมวลเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ครับ และถ้าหากแทน Google ด้วยสิ่งอื่นเช่น การพนัน ไสยศาสตร์ การเที่ยวกลางคืน ก็จะไม่สามารถฟันธงได้เช่นกัน ได้แต่ Prediction ที่ขาดตรรกะและเหตุผลที่แม่นยำเพียงพอที่จะพูดครับ
ถึงแม้ว่า Internet (google) จะส่งผลส่วนหนึ่งไปยังบุคคล แต่ผลนั้นมีความหลากหลายมากเสียจนใช้คำว่าฟันธงไม่ได้ครับ นอกเสียจากจะทำ Study Group แล้วศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นเวลาพักหนึ่ง (พักใหญ่) และครอบคลุมกลุ่มคนทุกรูปแบบตั้งแต่กรรมาชีพจนถึงผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ เพื่อที่จะให้เห็นภาพรวมระหว่างกลุ่มคนที่ใช้ Google ในการ Search หาข้อความ และผู้ที่ไม่ได้ใช้ และวัดผลที่ได้ประกอบทั้งทางด้าน สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศน์ ฯลฯ แล้วจึงจะรวมผลเป็นรายงานที่น่าเชื่อถือได้ครับ
ดังนั้นผมยังไม่เห็นด้วยความกับความคิดเห็นนี้มากเท่าใดนักครับ แต่มี Baseline ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตในระดับหนึ่ง (ซึ่งแตกต่างกันอยู่ดีในแต่ละบุคคลครับ)
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ