นายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูตินได้ลงนามในแผนการถ่ายโอนหน่วยงานของรัฐบาลกลางและงบประมาณ ให้ไปใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายในปี 2015 โดยเมื่อสิ้นสุดแผนการนี้ คอมพิวเตอร์ทั้งหมดของรัฐบาลกลางจะถูกเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมด
แผนการนี้ถูกแบ่งออกเป็นขั้นตอนไว้หลายลำดับ โดยภายในไตรมาสที่สามของปี 2011 จะต้องมีการประกาศฟอร์แมตเอกสารที่ใช้งานกับซอฟต์แวร์เสรีและกระบวนการแปลงฟอร์แมตเอกสารเดิม ปี 2012 จะเริ่มจัดตั้งแหล่งซอฟต์แวร์กลางของชาติ พร้อมกับเริ่มเปลี่ยนซอฟต์แวร์ในหน่วยงานนำร่องบางหน่วยงานจนน่าจะเสร็จสิ้นในปี 2014
รัฐบาลรัสเซียมีลูกจ้างทั้งหมดกว่า 8 แสนคน (ข้อมูลปี 2009) ถ้าแผนการนี้สำเร็จ ก็นับว่าเป็นการย้ายหน่วยงานไปสู่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในโลก
ที่มา - CNews
Comments
ปูติน เป็นนายกฯ ครับ
555 ผมว่ายังมีคนเข้าใจผิดอยู่เยอะนะ แต่แกก็ร้ายนะ เห้นว่าเค้าห้ามเป็นเกิน 2 สมัยติดกัน แกเลยมาเป็นนายกก่อนแล้วให้เด็กในสังกัดไปสมัครประธานาธิบดีซึ่งก็แทบจะไร้คู่แข่ง ตัวแกเองก็ลงมาสนามเล็กเป็นนายก พอเลือกประธานาธิบดีสมัยหน้าแกก็ลงได้ตามกฎหมาย เห็นเค้าว่ามายังงั้น แต่ก็เป็นปี ๆ แล้วนะ ผมยังจำไม่ได้เลยว่าประธานาธิบดีรัสเซียชื่ออะไร
ผมชอบนะอดีต KGB คนนี้ ออกจะเผด็จการหน่อย มีความเป็นผู้นำสูงมาก
คุณไปเอาความคิดว่า "ประชาชนต้องพร้อม ถึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้ง" มาจากไหนครับ?
ผมกลับเห็นด้วยว่าประชาชนที่จะมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั้นต้องมี "ความพร้อม" ก่อนนะครับ แต่ผมยังไม่รู้จะเรียกความพร้อมนั้นแบบชัด ๆ ว่าอย่างไร ถ้าเราไม่ต้องการความพร้อมแล้วทำไมเราต้องระบุในกฎหมายด้วยว่าให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่ออายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป นี่ก็แสดงว่าอายุหรือวัยวุฒิก็เป็นหนึ่งในความพร้อมที่จำเป็นสำหรับประชาธิปไตย และถ้ามองย้อนกลับไปในอดีตอีกจะเห็นว่าเมื่อก่อนกลับกำหนดไว้ว่าต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นมาแล้วเพิ่งจะมาเปลี่ยนลดลงให้เหลือ 18 ปีในภายหลัง (ไม่รู้ว่าเกิดทันกันหรือเปล่านะครับ) แสดงว่าตัวเลขกำหนดความพร้อมนี่ก็ไม่ใช่อะไรที่ตายตัวชัดเจนแน่นอนแต่กลับสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามระยะเวลาและกระแสของโลก ไม่แน่ว่าอีกสัก 50 ปีข้างหน้าอาจจะมีการเปลี่ยนตัวเลขนี้อีกครั้งให้เหลือ 15 ปีหรืออาจจะเพิ่มขึ้นกลับไปอย่างเดิมเป็น 20 ปีก็ได้ กระนั้นทั้งหมดนี้แสดงว่าสังคมก็ยอมรับแล้วว่า "ความพร้อม" ของประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นและมีอยู่จริงสำหรับประชาธิปไตย
ส่วนตัวผมเองคงไม่มีอำนาจพอที่จะไปกำหนดว่า "ความพร้อม" ในด้านอื่น ๆ สำหรับประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นต้องเป็นอย่างไรแต่ผมคิดว่ามันก็คงจะมีอยู่จริง สิ่งที่จะกำหนดความพร้อมหรือความไม่พร้อมได้ดีที่สุดนั้นก็คือผลลัพธ์จากการเลือกตั้งนั่นก็คือประสิทธิภาพของการบริหารประเทศและการเจริญเติบโตของประเทศ จริงอยู่ว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นมีหลักสำคัญว่าต้องให้ประชาชนเลือกเอง ถูกและผิดเอง เรียนรู้จากความผิดพลาดเอง แต่หากทว่าประเทศใช้เวลานานมากเกินไปในการเรียนรู้และสุดท้ายยังลงเอยด้วยการไม่รู้จักถูกผิด (วัดผลจากการเจริญเติบโตของประเทศในด้านต่าง ๆ และคุณภาพชีวิตของประชาชน) ประเทศกลายเป็นไม่พัฒนาหรือพัฒนาช้ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก นั่นก็แสดงถึงความไม่พร้อมของประชาชนได้ไม่ใช่หรือ?
มีหนังเรื่องหนึ่งที่ประชดเรื่องนี้มาก ๆ ผมจำไม่ได้ว่าชื่อเรื่องว่าอะไร เนื้อเรื่องจะเป็นประมาณว่าในอนาคตประเทศสหรัฐทั้งประเทศมีแต่คนสมองฝ่อปัญญาอ่อนคิดอะไรไม่เป็นแต่ระบอบการปกครองยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ แล้วมันก็เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ตัวเอกนั่ง Time Machine ไปในอนาคตแล้วก็จัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพราะตัวเองสมองดี ลองไปหาดูกันเล่น ๆ ได้นะครับ
That is the way things are.
+1
ผมเห็นด้วยกับที่บอกว่าประชาชนต้องพร้อมนะครับ แต่ว่าในการเลือกตั้งหลายๆ
ครั้งประชาชนในบางพื้นที่นะ พร้อม แล้ว พร้อมมากกกกก
แต่...ไม่มีเบอร์ให้เลือก - -
อีกนิดครับ..ฟุ้งซ่านไปมังค์ครับ
ความคิดส่วนตัว ผมคิดไปเองว่าบางครั้งหากบ้านเมืองเราไม่ใช่ประชาธิปไตย คนไทยจะรักกันมากกว่าทุกวันนี้รึปล่าว
ก็จริง แล้วเมื่อไรจะพร้อมล่ะ
ผมว่าประชาธิปไตยมันต้องค่อยเป็นค่อยไป ผิดมั่งถูกมั่งจะได้เป็นประสบการณ์แล้วปรับปรุงกันไป/ฝึกเรียนรู้กันไป ขืนรอให้พร้อมไม่มีทางหรอกที่จะพร้อม แต่ผมเกลียดประชาธิปไตยอยู่อย่าง คือ เวลาจะทำอะไรชอบอ้างประชาธิปไตย แล้วไปเบียดเบียนหรือสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น เช่น ตั้งร้านเหล้า ตั้งเธคผับกลางชุมชนหรือติดวัด กฏหมายก็ห่วยว่าเสียงต้องดังไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหากลองไปใช้ชีวิตอยู่แถวนั้นแล้วจะรู้ว่ามันรำคาญ ไอ้ที่ตั้งเป็นเดซิเบลน่ะสูงเกินไป
หนังเรื่อง idiocracy
Putin ได้รับการเลือกตั้งมานะครับ เมื่อปี 2000 และ 2004
lewcpe.com, @wasonliw
ผมไม่เห็นว่าเค้าพูดถึงว่าปูตินไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนะ ปูตินชนะเลือกตั้งแต่เขาไม่ได้ประชาธิปไตยจ๋านะครับ นักข่าวที่โจมตีเขาโดนเล่นงานทั้งนั้น
ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ถึงจะเป็น "ประชาธิปไตยจ๋า" ล่ะครับ
ผมบอกเพียงว่าปูตินไม่ประชาธิปไตยจ๋าเพราะสิ่งที่เขาทำ ส่วนประชาธิปไตยจ๋าเป็นแบบใดนั้นผมตอบไม่ได้ครับ
ดิมิทรี แมคเดเวฟ ต่างหากที่เป็นประธานาธิบดีอ่ะครับ ส่วนวลาดิมีร์ ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีครับ
Dmitry Anatolyevich Medvedev ออกเสียง เมดเวเดฟ นะครับ
ขอโทษนะครับ ผมไม่รู้ภาษารัสเซียครับ
เห็นในตำราเขียนแบบนี้ เพิ่งสอบนโยบายต่างประเทศของCISมาเมื่อกี๊เอง
ต่อไปจะได้จำใหม่ว่าเมดเดเวฟ
ช่วยแชร์แผนการทำงานให้รัฐบาลไทยด้วยเถอะ
ถือว่าทำบุญทำทาน
ผมเห็น NECTEC เค้ามีแผนอยู่นะ
NECTEC น่ะเหรอ เหอะ เหอะ เหอะ (นำ้เสียงเย้ยหยันหน่อยๆ)
nectec เป็นหน่วยงานรัฐที่ดีอันดับต้นๆของประเทศนะครับ (ในความคิดผม) แต่หน่วยงานที่อยู่สูงกว่าที่คุมอยู่มันห่วย
จริงเหรอครับ ผมเคยถามคนที่เคยทำงานที่นั้นฟังแล้วมันเหมือนกับงานราชการที่อื่นๆเลย
ไทยก่อนอื่นเอาเงินไปให้ร.ร.ต่างจังหวัดมีคอมฯใช้กันครบ ๆ ก่อนดีไหม
ซื้อคอมให้โรงเรียนแล้วต้องหยุดการวางแผนโอเพนซอร์ส????
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่ได้ต้องหยุดครับ แต่ผมคิดว่ามันสำคัญกว่าควรทำก่อน
บางที่สิ่งดีๆๆอาจจะเริ่มมาจากข้างนอกก็ได้นะครับ
แจกคอมที่ มีแต่ Opensource สิ เด็กก็เพิ่งเรียนรู้
ไม่มีปัญหาว่ามันไม่เหมือนที่บ้าน คอมก็ไม่ต้องราคาสูงนัก
ประหยัดเห็นๆๆ
อ่านแล้วเหมือน opensource นี่มันแพงสุดๆไปเลย
คอมเม้นนี้ให้อารมคล้ายๆ "ยังไม่มี 3G ก็ไม่เป็นไรให้เอาเงินไปพัฒนาด้านอื่นก่อน"
My Blog
เป็นแนวคิดแบบ batch processing ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
+256
ไม่ online processing. ^_^
คำตรงข้ามน่าจะเปน Multitasking มากกว่านะครับ
+1ขอบคุณครับ
ใช่ครับ ต้องการสื่อแบบนั้นเลย
การจัดซื้อทำให้ได้ค่าคอมมิสชั่น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมหรือตัวโปรแกรม ยากที่เราจะไปถึงจุดประกาศการใช้ open source เป็นวาระแห่งชาติได้ หากซื้อแล้วครบอีก 5 ปีคอมก็เก่าแล้วก็ต้องซื้อใหม่ไปเรื่อยครับ
ความคิดของผมคงขัดกับหลาย ๆ คนนะครับ
ผมคิดว่าการให้โอกาส/การศึกษาคอมฯ ให้ทั่วถึง
สำคัญกว่าการผลักดันเรื่องโอเพ่นซอร์ส
อาจจะเป็นแนวคิดแบบไม่ Multitasking เหมือนคุณ Thaina เรียกก็ได้
เพราะผมคิดว่ามันใช้เงินภาษีทั้งสองอย่างเลย
ผมไม่เห็นแย้งกับคุณในเรื่องของความเท่าเทียม/ความทั่วถึงสำคัญกว่าว่าเราจะใช้อะไรนะครับ แต่ผมไม่เห็นด้วย (แม้แต่น้อย) ที่เราต้องหยุดกระบวนการทำมาตรฐานเปิด หรือคิดว่าสุดท้ายแล้วประเทศเราอาจจะต้องไปอิงกับอะไรบ้าง ในระหว่างการกระจายความเท่าเทียมและความทั่วถึงนี้
ตรงกันข้าม ผมมองว่าการกระจายโดยไม่คิดว่าเราจะใช้อะไร จะทำให้เราติดบ่วงของการพึ่งพิง บริษัท, หน่วยงาน, หรือประเทศอื่นๆ มากเกินไป สร้างภาระในระยะยาวได้อย่างมหาศาล เหมือนที่หลายหน่วยงานตอนนี้ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หลายๆ ตัวทั้งที่ใช้งานไม่คุ้มค่า และมีทางเลือกที่ดีกว่า หรือถูกกว่าให้ใช้งาน
เราอ่านข่าวนี้แผนการแบบนี้อาจจะดูยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไรให้เราเลือกทางอื่นๆ ที่อาจจะเล็กน้อยกว่านี้ ทางเลือกอื่นๆ มีมากมายขึ้นกับการตัดสินใจของเราเองครับ
lewcpe.com, @wasonliw
นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีทีเดียวครับ
โคตรมีวิสัยทัศน์
นี่สิตัวจริงกล้าเปลี่ยนแปลง
รัฐบาลไทยและองค์กรเอกชนบางแห่ง ถ้าดูแล้วเนื้องานที่ทำอยู่ สามารถใช้ opensource ทดแทนได้
ผมว่าก็ควรจะเปลี่ยนนะครับ (หลายเดือนก่อน เห็นโตโยต้าใช้ Linux ในเครื่องที่ให้ลูกค้าใช้เล่นเนต)
กำลังเริ่มอย่างช้าๆ ครับ ใช้ Openoffice และก็ ฟอนต์สารบรรณ
ผมว่า Opensource มันอวสานไปแล้วครับ
ผมว่าเพิ่งเริ่มต้นมากกว่า
+1
มองอย่างนั้นจริงๆ เหรอครับ
ผมคิดว่าที่มันจบไปแล้ว เพราะ
หลังจากการขาย MySQL, SUN ที่เดิมเป็นต้นกำเนิดของ Opensouce หลายๆ อย่าง มาบัดนี้กลายเป็นของ Oracle ไปเรียบร้อยแล้ว
Google ที่เคยสนับสนุน Opensource เต็มตัว แม้วันนี้ก็ยังสนับสนุนอยู่ แต่ตอนนี้ Google เหมือนเจอสิ่งที่ใช่ที่คือ เร่งผลักดันให้ Android ครองตลาด Platform ของ Mobile, Tablet แล้วหาเงินกับมันให้เร็วที่สุด
10 กว่าปี จนถึงวันนี้ผมยังไม่เห็นว่ามี Opensource ตัวไหนแข็งเกร่งพอ สำหรับตลาดองค์กร เว้นแต่ OpenOffice (ที่ต้องเริ่มต้นใหม่ หลังจากแยกตัวจาก Oracle ได้) แต่ก็เห็นประปราย เพราะ Learning Curve ในการใช้งานนานมาก
ถามว่า Opensource ยังมีอยู่ไม๊ในตลาด แน่นอนยังมีอยู่ครับ แต่มันจะ Boom แบบ 4 - 5 ปีก่อนหรือเปล่า ผมว่าไม่ใช่แล้ว ผมยังไม่เห็นกระแสแบบนั้นเลยนะในระยะอันสั้นนี้ ผมจึงคิดว่ามันคงจบไปแล้ว....
ในฐานะคนสนับสนุนโอเพนซอร์ส คนใช้ลินุกซ์เต็มเวลา ผมไม่เห็นช่วงเวลามันบูมแบบก้าวกระโดดอย่างไรเลยครับ แต่ 4 ปีก่อนสภาพของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลายตัวยังห่างไกลจากของใช้งานจริง เช่น OpenOffice และ Firefox ที่ต้องแพตซ์ภาษาไทยกันเรื่อยมา ลินุกซ์ที่มีปัญหาความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์หนักกว่าทุกวันนี้มาก รุ่นใหม่ๆ หลายครั้งลงครั้งแรกเวิร์คกว่าวินโดวส์เสียอีก
มาถึงไม่นานนี้เอง ที่ผมบอกคนรอบข้างได้ว่าถ้าทำงานเอกสารภายในหน่วยงาน สามารถใช้โอเพนซอร์สได้ทั้งหมดแล้วจริงๆ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ คุณ lew ที่อุตสาห์มา Discuss กัน และยอมรับความเห็นครับ แต่ผมเห็นอย่างที่ผมเขียน
+1
โอเพนซอร์สไม่จำเป็นต้องเป็นศัตร์กับซอฟต์แวร์ปิดนี่ครับ อย่าง Mozilla ในสมัยแรกๆ ก็มาจาก Netscape/AOL แถมถูกควบคุมเสียมาก หรืออย่าง Fedora เองก็อยู่ใต้เงา Red Hat มันก็ไม่เป็นปัญหาอะไร
อีกอย่าง โอเพนซอร์สไม่ได้แปลว่าห้ามหาเงินนะครับ
OpenSource ไม่ใช่ Freeware นะครับ
ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจคำว่า OpenSource นะ เพราะถ้าเข้าใจจริง ๆ แล้วจะรู้ว่ามันไม่มีทางตันบนเส้นทางของ OpenSource นอกจากจะไม่มีใครสานต่อเท่านั้นเอง
อุ๊ย..เจ้าของ Blog มา comment ทั้ง 2 คน เดี๋ยวจะหาว่าผมตอบห้วนไป กลัวจะโดนเชือด หุหุ
ผมพูดถึงตลาด Corporate นะครับ ไม่ใช่ Consumer ซึ่งปัจจัยใหม่ที่เข้ามา เป็น Cloud ซึ่งใช้ Commercial Application องค์กรจึงมีทางเลือกใหม่ที่เกิดขึ้นมา ทีนี้คงต้องมาว่ากันอีกทีระหว่าง Cloud VS Opensorce
4 - 5 ปีที่แล้วจำได้ว่า SUN ผลักดัน Opensouce เต็มที่ ในขณะที่ไทยก็พยามผลักดัน จนในตอนนั้น บาง SI พยายามเข้ามาทำตลาดบริการ Implement OpenSource ในองค์กรก็มี และจะพบได้ว่าหลายองค์กรในไทยเริ่มมีการใช้งาน OpenSource เมื่อ 4 - 5 ปีที่ผ่านมา ผมจึงระบุไว้ว่า 4 - 5 ปีที่แล้ว มัน Boom สุดๆ
นอกนั้นผมว่าคงเห็นต่างกัน ก็ไม่เป็นไรครับ ผมอาจมองผิดก็ได้ แต่ตอนนี้ผมเชื่ออย่างนี้นะ
งั้นผมขอพูดถึงตลาด consumer บ้างนะครับ ผมเห็นด้วยกับคุณ lew ว่าช่วงหลังนี้ Opensource มันดีขึ้นมากจริงๆ และผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อตลาด consumer ไม่มอง Opensource เป็นของ "แปลกแยก" "ใช้ยาก" "สำหรับ Geek เท่านั้น" เมื่อไหร่ ตลาด Corporate ก็จะหันมามองมันเองโดยอัตโนมัติ ส่วนหนึ่งก็เรื่อง "ค่าใช้จ่าย" นี่แหละครับ ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการ "เรียนรู้" ที่คุณกล่าวถึงด้วย ดังนั้นผมมองว่า "Opensource กำลังค่อยๆ มา" ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ในความคิดผมซึ่งทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนและมีเพื่อนในองค์กรเอกชนอื่นอีกหลายที่
โอเพ่นซอร์สผมยังไม่เคยเห็นตัวไหนบูมจนสร้างกระแส จะมีบ้างก็ไฟร์ฟอกซ์ที่เอาจริงจังมาก
ส่วน MySQL, Apache มันเป็นไปแบบเงียบๆ แต่ขยายวงกว้างไม่กระโตกกระตาก
ทุกวันนี้ก็ยังเงียบ แต่มันค่อยๆ ซึมโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เช่น กล้องวงจรปิด อุปกรณ์พกพา โฮสต์
เมื่อประมาณ 3 ปีก่อนเริ่มมีการตรวจจับซอฟท์แวร์เถื่อน หลายองค์กรเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น
แม้แต่ศูนย์อาหารในโลตัสก็ใช้โอเพ่นซอร์สในการเก็บข้อมูล สมบัติทัวร์ก็ใช้ linux server อันนี้สังเกตุจากพื้นที่ทำงานด้านหลังไม่รู้เปลี่ยนหรือยัง
โอเพ่นออฟฟิศเริ่มมีการใช้ในองค์กรมากกว่าเดิม ไหนจะยังมี linux server (samba, mail, proxy)
เพียงแต่เราไม่ได้คลุกคลีเลยไม่รู้
ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศก็เริ่มปรับเปลี่ยนไปใช้โอเพ่นซอร์ส เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย และประเทศไหนนะที่ใช้ไฟร์ฟอกซ์เกือบ 100%
คุณบอกจบไปแล้วแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางฟื้น ซึ่งจริงๆ แล้วมันอาจกลับมาก็ได้นี่ครับ
ลองดูต่อไป เรื่องนี้ผมฟันธงคุณมองผิดแน่นอนครับ
ผมรู้สึกว่าคุณจะจดจ่อกับซันมากไปนิดนะครับ จริงๆ ถ้าเอาบริษัทอย่าง Red Hat ก็กำไรดีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่หวือหวาครับ
บูมในหน้าสื่อ อาจจะอยู่ไม่รอดในเชิงธุรกิจก็ได้ครับ (ซึ่งก็เป็นกรณีของซัน)
แค่ไม่ใจแคบ ก็ถือว่าเป็นโอเพ่นซอร์ส แล้ว
แก่นของมันการคือลด ละ อัตตา
ผมไม่ได้คิดอะไรใหญ่ๆ แต่เริ่มที่ตัวผมเอง ใช้มัน มีคนถามก็ตอบอย่างเต็มใจ Open แบบผม
ตามร้านเกมส์แถวบ้านผมก็ใช่ linux เป็น sever น่ะครับ เครื่องลูกไม่มี hdd แต่บูตผ่าน lan มาที่ server แล้วก็รัน windows และ เกมส์เพียบเลย และเห็นเด็กเก็บเงินใช้ php ควบคุมระบบคิดเงินทั้งหมด และรัน shelsript ด้วย เห็นแล้ว อึ้งเลย
ผมอยากชี้ให้เห็นว่าประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ "การตั้งเป้าหมาย" ว่าจะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายในปี 2015 ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้จำ "ศึกษา" และ "พัฒนา" ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้ ทุกวันนี้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สถือว่าเก่งพอตัว และจุดประสงค์ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็คือให้ทุกคนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เบื้องหลัง google, facebook ก็ล้วนใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส จะเห็นได้ว่ารัสเซียและอีกหลายๆประเทศเขาไม่ได้เกรงกลัวว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจะบูมไม่บูม บริษัทที่สนับสนุนจะล้มหายตายจากหรือไม่ เพราะเขาสนับสนุนและตั้งใจที่จะพัฒนามัน ถ้า"ผู้นำ"กล้าที่จะประกาศเช่นนี้มีหรือมันจะไม่บูม
7-zip ไงครับ ตัวอย่าง open source จากรัสเซีย
aka ohmohm