โครงการ Intel Software Partner Program นั้นก่อนที่จะมีการเปิดตัวเป็นวงกว้าง ก็มีการประชาสัมพันธ์กับบริษัทซอฟต์แวร์จำนวนหนึ่งเช่นกลุ่มบริษัทภายใต้การสนับสนุนของ Software Park หรือบริษัทที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในวันนี้เราจะมาสัมภาษณ์ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาของบริษัท อีโฟลว์ซิส จำกัดซึ่งเข้าร่วมกับทางโครงการมาและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีขึ้นผ่านการสนับสนุนของโครงการ
บริษัท อีโฟลว์ซิส จำกัดก่อตั้งเมื่อปี 2548 โดยให้พัฒนาซอฟต์แวร์ Web-based Application โดยให้บริการด้านไอทีทั้งซอฟต์แวร์จัดการประเภท ERP (Enterprise Resource Planning) และการวางเครือข่าย โดยได้รับเลือกจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมให้เข้าร่วมโครงการ ECIT ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพของ SME ด้วยซอฟต์แวร์ ERP
สินค้าของบริษัทแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่
เริ่มแรกเลยก็ได้รับข้อมูลจากทางเว็บของอินเทลเอง (เว็บ Intel Software Partner Program) และได้รับคำแนะนำจากคุณวิวัฒน์ พรไกรศรี ซึ่งเป็น MD ของบริษัทอีโฟลว์ซิส ได้แนะนำให้รู้จักครับ
โดยตอนนั้นทางอินเทลได้แจ้งว่าจะมีการส่งเสริมให้นักพัฒนาสามารถใช้่ประโยชน์จากเทคโนโลยี multi-core ในซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของอินเทลได้เต็มที่ ทำให้คิดว่ามีทางที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ที่เราพัฒนาอยู่แล้วสามารถทำงานได้เร็วขึ้นก็เลยสนใจเข้าร่วมโครงการ
เดิมทีไม่ค่อยได้สนใจมากนักเพราะคิดว่าการใช้อัลกอริธึ่มที่เหมาะสมก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่พอทราบว่าอัลกอริธึมที่ดีก็ยังไม่สามารถใช้งานซีพียูได้เต็มที่ ก็สนใจนับแต่นั้นมา โดยในช่วงแรกๆ รู้สึกว่ามันยากก็ปล่อยผ่านไปก่อน
ใช่ครับ หลังจากที่เราได้ปรับซอฟต์แวร์หลายส่วนให้ใช้ซีพียูได้เต็มที่ ทำให้ซอฟต์แวร์ตอบสนองได้เต็มขึ้นอย่างมาก เช่นซอฟต์แวร์คำนวณผลรวมของคลังสินค้า เมื่อได้รับการปรับปรุงแล้วพบว่าสามารถประมวลผลได้เร็วขึ้นราวๆ 300% บนซีพียู Intel Core i7
ตอนนี้มี EToday ERP และบริการ ThaiDDNS ได้รับการปรับปรุงไปแล้วครับ
ทางอินเทลได้จัดเตรียมช่องทางการเข้าร่วมไว้ทางเว็บ www.intel.com/partner โดยมีอินเทอร์เฟชที่ใช้งานง่าย มีแหล่งความรู้สำหรับนักพัฒนาไว้พร้อม นอกจากนี้ยังมีชุดเครื่องมือสำหรับการวัดผลประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Intel Software Assessment Tools เอาไว้ให้นักพัฒนาตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ดีขึ้นเพียงใด Intel VTune ที่ช่วยหาคอขวดที่ทำให้ซอฟต์แวร์ไม่เร็วขึ้นแม้จะใช้หลายคอร์ทำงานพร้อมกัน สำหรับผมและทีมงานยังใช้เครื่องมือของอินเทลอีกสองตัวที่เรียกว่า Intel Concurrency Checker และ Intel Power Management ที่ช่วยวัดประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของโปรแกรม
ทางอินเทลจัดอบรมใ้ห้เป็นระยะๆ ครับ เกี่ยวกับการพัฒนาที่จะทำอย่างไรให้ซอฟต์แวร์สามารถใช้ประสิทธิภาพของซีพียูได้เต็มที่ โดยบริษัทได้ส่งนักพัฒนาเข้าอบรมเป็นระยะๆ และยังมีการอบรมทางเว็บที่เรียกว่า Webinar อีกด้วย
การอบรมทาง Webinar เองนักพัฒนาสามารถเลือกเข้าอบรมตามเวลาที่จัดไว้ หรือหากใครพลาดไปก็สามารถเข้าดูวิดีโอย้อนหลังได้
นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาทางอินเทลยังให้บริษัทที่เข้าร่วมได้ลุ้นรางวัลเพื่อไปดูงาน Intel Developer Forum 2010 (IDF2010) ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมเองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมและนับว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
ใช่ครับ ทางอินเทลมีการจัดแคมเปญส่งเสริมการพัฒนา และยังมีการร่วมมือกันในการขยายตลาดออกไป โดยในส่วนนี้ทางฝ่ายมาร์เก็ตติ้งกำลังพูดคุยกันอยู่ครับ
ครับ สำหรับผู้บริหารที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผมอยากเรียนเชิญให้ลองเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ Intel Software Partner Program ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากจะเป็นวิธีการนึงในการทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอยู่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นแล้ว แล้วยังเป็นช่องทางในการขยายตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่ลูกค้ามีความพึงพอใจ และมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น จากซอฟต์แวร์ที่ผ่านการพัฒนามาเป็นอย่างดีแล้ว
สำหรับน้องๆ อยากให้ลองนำซอฟต์แวร์ที่เคยพัฒนามาลองปรับแต่งและศึกษาการทำ multi-threading เพราะต่อไปในอนาคตจำนวนคอร์ของซีพียูจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากเราสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเต็มที่ ซอฟต์แวร์ของเราจะทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยไม่ต้องปรับอัลกอรึธึ่มเก่าและยังได้สนุกกับการสองพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ๆ ไปด้วยครับ
ขอบคุณคุณโชดก สินยอดเยี่ยม ที่สละเวลามาร่วมตอบคำถามกับทาง Blognone ครับ
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ Intel Software Partner Program
ท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ผ่านทางเว็บ Intel Software Partner Program
และติดตามข่าวสารได้ผ่าน Facebook - Thailand Intel Software Partner Program
Comments
ก็ว่า ชื่อคุ้นๆ
DDNS นิ่งมาก ยอดเยี่ยม ใช้อยู่ ตามความเห็นแล้วดีกว่าของต่างชาติอีก
ขอบคุณครับ คุณ deaw หากมีข้อเสนอแนะ ติชม บริการใดๆ สามารถแจ้งเข้ามาได้เลยนะครับ
multi-threading นี่เจ๋งนะ แต่ยอมรับว่ายากจริง
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ครับ มันมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ยิ่งถ้ามี Database มาเกี่ยวด้วย ก็ต้องระวังเรื่อง lock ระหว่าง thread มากขึ้น ผมก็ลองทำจาก code ง่ายๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ครับ ลองดูแล้วมีประโยชน์มากครับ
อยากบอกว่าผมมองข่าวนี้ไม่เห็นหล่ะ
เห็นแต่คอมเมนต์
May the Force Close be with you. || @nuttyi