ปัญหาสิทธิบัตรมือถือที่กำลังฟ้องกันมากมายในขณะนี้ เริ่มส่งผลต่อนักพัฒนาแอพบนมือถือแล้ว โดยนักพัฒนาจำนวนหนึ่งเริ่มถอนแอพของตัวเองออกจาก iPhone App Store และ Android Market สำหรับตลาดสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้องละเมิดสิทธิบัตร
Simon Maddox นักพัฒนาจากอังกฤษ บอกว่าเขานำแอพบน iOS/Android ออกจากตลาดสหรัฐ เพราะกลัวการฟ้องร้องจาก Lodsys เขายังบอกว่าจะกันเงินรายได้ส่วนหนึ่งเอาไว้เผื่อต่อสู้คดีในอนาคตด้วย
ส่วน Shaun Austin นักพัฒนาอีกรายบอกว่าตลาดสหรัฐเลยจุดสูงสุดมาแล้ว และ Fraser Speirs นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนแมค/iOS จากสก็อตแลนด์ ให้สัมภาษณ์ว่าเขาเริ่มทบทวนว่าจะประกอบอาชีพนี้ต่อไปดีหรือไม่ เพราะกลัวปัญหาจากสิทธิบัตร
บริษัท Iconfactory ผู้พัฒนาโปรแกรม Twitteriffic ซึ่งถูก Lodsys ส่งหนังสือเตือนให้จ่ายเงินค่าสิทธิบัตร ให้สัมภาษณ์ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นปัญหามาก
ล่าสุดเพิ่งมีกรณีบริษัท Kootol Software จากอินเดีย ส่งหนังสือเตือนไมโครซอฟท์ แอปเปิล กูเกิล ยาฮู ไอบีเอ็ม RIM LinkedIn และ Myspace บอกว่าละเมิดสิทธิบัตรของตน เรื่องการใช้งาน "journal feed"
ที่มา - Guardian
Comments
-..-
ต้องสังคายนากฏหมายการจดสิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับ IT ใหม่ ละมั่งครับนี้
จดง่ายกันเกิน หรือไม่ก็ให้อายุมันสั้นๆ หน่อย
เข้าสู่ยุคมืดแล้ว...
แค่คุณสมบัติก็จดเป็นสิทธิบัตรได้แล้ว .. ไร้สาระสุดๆ
อาจจะต้องมีนักพัฒนา software เข้าไปเล่นการเมืองกันบ้างล่ะ .. กฏหมายบางข้อ เริ่มต้องการการปรับปรุงนะเนี่ย ..
my blog
ในสหรัฐเองก็เริ่มมีพูดกันเยอะแล้วนะครับ แต่จะสำเร็จเป็นกฎหมายใหม่เมื่อไรนั่นก็อีกเรื่องนึง
ลำพังต่อสู้กับจีนยังหนักหนาสาหัส การพัฒนายังมาเจอสิทธิบัตรฉุดไว้อีก จะไหวไหมเนี่ย
สงสัยแค่คดีฟ้องร้องเรื่องสิทธิบัตร คงทำให้ผู้พิพากษาไม่เป็นอันต้องทำอะไร
ถ้าไม่ทำน่าเกลียดถึงขนาดนี้ก็ไม่ต้องกลัวหรอกมั้ง ผมว่าอะไรที่หยวนๆได้ ก็ไม่น่ามานั่งฟ้องให้เสียเวลาทำมาหากินหรอกมั้ง
ปอลอ.สงสัยอันนี้ลืมจด อิอิ : P
http://www.soyacincau.com/2011/07/19/smart-case-for-the-galaxy-tab-10-1-looks-uncanily-like-smart-cover-for-the-ipad/
เป๊ะๆ
ก.ม."สิทธิบัตร" ไม่มีผลต่อ"พี่จีน"ครับ
บอกก่อนว่าอันนี้ผมไม่ได้เข้าข้าง Lodsys นะครับ
ที่ Lodsys ไล่ถลุงนักพัฒนาในตอนนี้ก็คือเรื่อง In-App Billing เราๆ ท่านๆ ที่เป็นนักพัฒนา หรือแม้จะเป็นนักเล่นอุปกรณ์ไฮเทคก็คงคิดว่า "ทำไมมันปล่อยให้จดอะไรพื้นฐานแบบนี้วะ" เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา
ผมไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่หรือองค์กร ที่รับจดสิทธิบัตรของสหรัฐเค้ามีความ Geek แค่ไหน เพราะถ้าเค้าเป็นคนธรรมดาๆ ทั่วๆ ไปตอนที่รับจดเค้าอาจคิดว่า "โอ้! สิทธิบัตรอันนี้มันโคตร Innovative"
อย่างว่า... ผมพูดไปเพราะผมไม่รู้ขั้นตอนการทำงานของเค้า ว่าต้องมีผู้เชี่ยวชาญของสาขาที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาหรือไม่อย่างไร
ผมว่ามีส่วนนึงที่ตอนจดไม่มีใครคิด แต่เพิ่งจะมาเป็นเรื่องธรรมดาเอาช่วงหลังนี้แล้วโดนขุดมาฟ้องด้วย ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบที่ผมว่ามันก็รับได้นะ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ประเทศตะวันตกเป็นประเทศกลุ่มแรกที่รู้จักกีดกันการค้าด้วยภาษีจนสามารถพัฒนาความเจริญเหนือเอเชียได้ พอตัวเองเหนือกว่าก็ก่อตั้ง WTO
อยากเห็นอนาคตเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรที่ผมไม่เคยเห็นด้วยมาตลอดใน
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
เริ่มเรื้อนขึ้นเรื่อยๆ = =
1-Click ยังจดกันมาได้เลย
ปล. 1-Click คือเป็นการซื้อสินค้าในคลิกเดียว โดยอาศัยว่าลูกค้ามีการกำหนดบัตรเครดิตและที่อยู่ไว้ล่วงหน้า ผู้ซื้อเห็นรายชื่อสินค้าสามารถกดสั่งซื้อได้โดยไม่ต้องผ่านตะกร้าสินค้าเลย
แบบนี้เลี่ยงไปใช้ 2-Clicks โดยมีหน้าต่างยืนยันว่าจะซื้อจริงอีก click :S
Jusci - Google Plus - Twitter
อันนี้ apple ยังจ่าย amazon เลย ใน app store มีเขียนอยู่ว่า 1-click ของ amazon
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เปลี่ยนเป็น 1/2 คลิก แทน XD
^
^
that's just my two cents.
ย้ายไปจีน แล้วไปเจอ แอพเก๊ แอบเถื่อน
ก็ สนุกไปอีกแบบ
มันเป็นธุรกิจอย่างนึงของฝั่งตะวันตกครับ
บริษัทไม่ทำอะไร วันๆ ก็จดๆๆๆๆสิทธิบัตร
คิดอะไรได้ก็จดไว้ ไม่มีปัญหาทำ เพราะว่าถ้าจะทำ
ใช้เงินทุนสูง
พอบริษัทไหน หยิบ หรือ ดันไปคิดตรงกัน
ก็ไปตามฟ้องเอา เป็นรายได้ให้บริษัทไป
[เอาฮา] ตายล่ะต้องไปเช็คดูก่อนว่ามีใครไปจดลิขสิทธิ์ว่าห้ามตั้งชื่อตัวแปรว่า x, i, number, pointer, array ฯลฯ แล้วเดี๋ยวโดนฟ้องล่ะยุ่งเลย
นี่มันอะไรกัน สนุกหรอครับนี่!! ฟ้องไปฟ้องมา รำคาญ!!! อิอิ
ถ้าปล่อยให้ลุกลามหนัก (ยังกะเชื้อโรค แต่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ) จะยิ่งทำให้ระบบ ecosystem แทบจะอัมภาต เพราะนักพัฒนาก็เข็ดกว่าโดนฟ้องเพราะได้ไม่คุ้มเสีย (dev ตัวเล็กๆจ้อยๆไม่มีเงินไปขึ้นศาลหรอกครับ หนีอย่างเดียว) แล้วจะหนีจากตลาดนั้นๆไป แต่จริงๆตลาดในเมกานี่ใหญ่มาก ดาวน์โหลดเกินครึ่งก็มาจากที่นี่ ถ้าไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายจริงๆก็คงไม่ทำหรอกครับ
คนที่ปล่อยให้จดเค้ารู้เรื่องเทคโนดลยีจริงๆรึเปล่า
ทำไมใครขออะไรก็ได้
ระบบ ห่วยแตก จบ.
3310 จงเจริญ..
อยากรู้ว่าด้านอาหารเขาจดสิทธิบัตรกันบ้างไหมครับ
แฮมเบอเกอร์, พิซซ่า, ไก่ทอด, โดนัท, ผัดไท
จุดประสงค์จริงๆคงเพื่อการ "เคารพสิทธิ์"
ทำไมถึงไม่เปิดช่องทาง
อย่างไรซะก็ต้องไปค้นก่อน ถ้าเจ้าของสิทธิไม่เรียกร้องก็ไม่ทราบ
ไม่อย่างนั้นจุดประสงค์จะเปลี่ยนไป(บิดเบี้ยว)กลายเป็น "เอกสิทธิ์" แบบ Monopoly
ซอร์ฟแวร์ กับ เศรษฐกิจ(แบบอเมริกา)คิดเรื่อง "เงิน" กับ "เวลา" เป็นหลัก เขาไม่ได้คิดถึงเรื่อง "น้ำใจ" เน้นควบคุมเหนือธรรมชาติก็ลำบากหน่อย
ซอร์ฟแวร์ กับ เศรษฐกิจ(แบบจีน)คิดเรื่อง "เงิน" กับ "ความต้องการ" เป็นหลัก เขาไม่ได้คิดถึงเรื่อง "เกื้อกูล" เจอเก็งกำไรกักตุนจะยุ่งเอา
แล้วแทนทีจะเอาเวลาไปคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ก็ต้องเสียเวลาไป "ค้น" สิทธิบัตรเสียก่อนสินะว่ามีใครคิดอะไรไว้บ้าง ไว้ลอก? ไว้เรียน? อย่างนี้ต้องบรรจุในหลักสูตรกระทรวงไว้เลยสิครับว่า ก่อนจะ "ค้น" คว้า ให้ "ค้น" สิทธิบัตร ก่อนเสมอ
เคยคิดนะว่าอยากเป็น Inventor แต่คิดแล้วเอาไปใช้ก็ไม่ได้จะทำไปทำไม อย่างมากถ้าจดก็จดไว้เพื่อป้องกันเฉยๆ ยิ่งช่วงที่ผ่านมาในสังคมใช้กฎหมายฟ้องร้องมั่วไปหมด ไม่มีเงินนี่แย่เลยนะครับ เจอทนายมีจริยธรรมก็ดีไปไม่มีจริยธรรมก็แย่หน่อย กระทั่งของที่มีอยู่แล้วอย่าง ข้าวหอม กับ ฤาษีดัดตน ยังเอาไปจดกันได้ หวังว่าทำเองใช้เองคงไม่โดนฟ้องถ้าไม่ไปเผยแพร่ ไม่ต้องไปค้นไม่ต้องไปจดให้เสียตัง(สตางค์)เปล่าๆ
อยากรู้จริงๆถ้า Laws and Theorems(กฎ และทฤษฎี) มีบริษัทซื้อไว้แล้วทยอยออกสิทธิบัตรแล้วฟ้องร้องกันหมดจะเป็นอย่างไร
สิทธิบัตรนี่จริงๆก็เปิดให้ค้นชื่อได้นะครับ
แต่สิทธิบัตรเป็นแสน บางทีใส่คีย์เวิร์ดยังไงก็หาไม่เจอ จะไล่ดูทีละอันก็ใช่ที่
บางทีไม่รู้อีกตะหากว่าใครมันบ้าไปจดไว้ กับเรื่องที่ Common มากๆ ใครๆก็ทำกัน
คนที่จดมันก็ทำเงียบๆ แต่รอให้คนนึงทำแล้วมันดูไปรุ่ง ได้เงินเยอะ ค่อยฟ้องทีนึง คนทั้งโลกถึงพึ่งรู้ว่า "ของพรรค์นี้มันจดสิทธิบัตรด้วยเรอะ"
รูปแบบมันก็ไม่ต่างกับกฎหมายอื่นๆ
ทางทฎษฎีต้องไปค้นทุกมาตรา แล้่วคุณต้องรู้ และจำได้ทุกมาตรา ผิดแล้วผิดเลย(เหมือนตอนทำบัตรประชาชนแม้ไม่มีตัวบัตร ถ้าคุณไม่ไปต่อใบเหลืองผิดกฎหมาย)
แต่ในทางปฏิบัติจริงๆก็ควรมีความหนักเบา มีการเตือน หรือแจ้งกันบ้าง
ต้องแยกว่าเป็นคดีอาญา/ แพ่ง&พาณิชย์ ด้วยครับ
เท่าที่ผมเข้าใจเองนะครับ (เท่าที่ตามข่าวเอา) สิทธิบัตรมันคุยไกล่เกลี่ยกันได้
จะคุยกันตกลงกัน จะจ่ายค่าปรับ หรือจ่ายค่าสิทธิบัตรเพื่อพัฒนาต่อ ก็แล้วแต่ตกลงกัน
มันไม่ได้ผิดแล้วผิดเลย สิทธิบัตรไม่ได้มีเป็นแสนๆ ตัวแต่มีเป็นล้านๆ เลยครับ (ดูจากเลขสิทธิบัตรได้) ซึ่งมันเยอะกว่ามาตรากฏหมายซะอีกนะผมว่า = =" (ใครจะไปรู้หมดฟระ ขนาดนักกฏหมายยังจำกฏหมายของตัวเองไม่ได้หมดเลย ต้องไปเปิดดูเปิดอ่านกัน)
ผมชอบวิธีนี้ hardcore ดี
May the Force Close be with you. || @nuttyi
คิดได้แต่ทำไม่ได้ ไปจดป้องกันไว้เพื่อเรียกเงิน
วันหลัง คนที่คิดได้และทำได้ออกมาทำเป้นของตัวเอง
โดนคนที่คิดได้แต่ทำไม่ได้ฟ้องเพื่อเรียกเงินสาเหตุเพราะคิดช้ากว่า
กฏหมายมันหลวมๆไปหน่อยน่ะ
@fb.me/frozenology@
ทางออกที่ดีที่สุดคือเพิกถอนสิทธิบัตรทุกชิ้นที่ตอนนั้นคิดได้แต่ทำไม่ได้ทั้งหมดทิ้งไป
แล้วเลิกรับจดเละเทะแบบนี้เสียที แนวคิดมันเกิดขึ้นเองไม่ได้ถูกต้องแต่คนที่จะทำได้ตามแนวคิดนั้นออกมาเป็นรูปธรรมได้มันยากยิ่งกว่า คนที่สมควรได้รับสิทธิบัตรจริงๆคือคนที่สร้างมันคือมากับมือต่างหาก
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ก็ยากนะครับ มีทั้งเรื่องกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของบุคคุล ทีมงาน หรือบริษัท ที่สร้างอีก(ถ้าใจไม่กว้าง)
รู้สึกการจดสิทธิบัตร ต้อง ประดิษฐ์ตัว Prototype จริงๆ มาให้ก่อน นะครับ ถึงจะจดได้
ก็แค่สั่งทำขึ้นมาชิ้นนึง ไม่ต้องทำออกมาเป็น Mass ไม่ต้องเอาไปขาย ก็จดได้ละ
ผมว่าเป็นแนวคิดสัมปทานก็ได้ คิดได้ไม่สร้างต้องสร้างภายใน 5 ปีไม่งั้นหลุด ถ้าคิดได้สร้างด้วยได้อายุ 20 ปี แตต้องไม่จดอะไรที่ธรรมดาเกินไป(มีใช้งานกันก่อนจะจด)
May the Force Close be with you. || @nuttyi