สัปดาห์ที่แล้ว New York Times ได้รายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เพิกเฉยต่อการบริจาคเงินเพื่อสังคม แม้ว่าสตีฟ จ็อบส์จะกลายเป็นคนที่รวยอันดับต้น ๆ ของสหรัฐอเมริกาแล้วก็ตาม
โดยจากรายงาน จ็อบส์มีทรัพย์จำนวน 8.3 พันล้านดอลลาร์จากการถือหุ้นในแอปเปิลและดิสนีย์ (จากการขาย Pixar ให้กับดิสนีย์) และแม้ว่าจ็อบส์อาจจะเคยบริจาคเงินการกุศลให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยไม่เปิดเผยชื่อตนเองสู่สาธารณชน (เช่นเงินจำนวน 150 ล้านดอลลาร์แก่ศูนย์รักษามะเร็งที่ University of California, San Francisco) แต่จ็อบส์ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมองค์กร Giving Pledge ที่ก่อตั้งโดยคนรวยอันดับแรก ๆ ของประเทศอย่างวอเรน บัฟเฟตท์และบิล เกทส์ โดยองค์กรนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ครอบครัวรวย ๆ ของสหรัฐเข้าร่วมบริจาคทรัพย์ของตัวเองอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เช่นกัน จ็อบส์ไม่เคยมีส่วนร่วมในการบริจาคให้กับองค์กรหรือโรงพยาบาลใด ๆ ในประเทศ โดยสังเกตได้จากการที่ไม่มีชื่อตึกไหนของสถาบันใด ๆ เป็นชื่อของเขาอยู่เลย
ในรายงานยังได้กล่าวถึงเพื่อนสนิทของจ็อบส์สองคน ที่ได้ออกมาบอกว่าสตีฟ จ็อบส์ ได้บอกกับพวกเขาว่าเขาสามารถให้กับสังคมได้มากกว่าด้วยการทุ่มเทเวลาของเขาให้กับแอปเปิล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังอาการป่วยเขาได้ให้เวลากับแอปเปิลและครอบครัวมากยิ่งกว่าเดิม
ล่าสุด Bono นักร้องวง U2 ผู้ที่ริเริ่มแคมเปญต่อต้านโรคเอดส์อย่าง (Product)RED ได้ออกมาปกป้องสตีฟ จ็อบส์ ด้วยการเขียนจดหมายถึง New York Times ว่า สตีฟ จ็อบส์ได้ตัดสินใจเข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว พร้อมกับบอกกับเขาว่า มันไม่มีอะไรดีไปกว่าโอกาสที่จะช่วยชีวิตคนอื่น
Bono ยังได้บอกอีกว่า เขาภูมิใจที่ได้รู้จักกับจ็อบส์ ผู้ที่เป็นทั้งศิลปินและนักธุรกิจ และการที่จ็อบส์ยุ่งกับการทำงานก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เคยคิดถึงเรื่องการบริจาคเงิน คุณไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับจ็อบส์เพื่อที่จะรู้ว่าเขาเป็นคนรักความส่วนตัวมากแค่ไหน
แอปเปิลเป็นบริษัทที่ส่งเงินเข้าสู่แคมเปญ (Product)RED มากที่สุด ด้วยจำนวนเงินหลายสิบล้านดอลลาร์ โดยช่วงที่ iPod เป็นสินค้าขายดีแอปเปิลได้วางขาย iPod รุ่น U2 และ iPod สีแดงพิเศษเพื่อแคมเปญ (Product)RED โดยเฉพาะ
ที่มา - MacRumors
Comments
รู้สึกเหมือนอ่านข่าวภราดร บริจาคเงินแค่หมื่นต้น ๆ แล้วโดนด่าจังเลย
นี่ขนาดไม่ได้โกงใครนะเนี่ยะ ยังโดนว่าเลย ต่างชาติเขายังลงข่าวกันแบบนี้เลย
แต่กลับผิดกับบางคน ขายหุ่นตั้งหลายหมื่นล้าน ไม่เสียภาษีสักบาท ผู้คนกลับเชิดชูว่าเขาคือ Idol
Thailand only
งดการเมืองนะครับ
I need healing.
ไม่ได้การเมืองคับ
ผมไม่มีปัญหาที่คุณจะพาดพิงการเมืองนะครับ
แต่คุณควรรับผลของการพาดพิงของคุณเองด้วย ถ้ารับไม่ได้ ไม่ควรโพสแต่แรกครับ
หรือถ้าเบลอๆ ว่าโพสเรื่องอะไรอยู่ แนะนำให้ตั้งสติใหม่ก่อนโพสครับ
lewcpe.com, @wasonliw
โอเค คับถ้าพวกคุณมองเป็นการเมืองก็ต้องขอโทษที คับ
แค่นี้ก็จบครับ
ผมไม่ห้ามการพาดพิงการเมืองนะครับ ถ้ามันเกี่ยวข้องและจะมีคนถกเถียงกันภายใต้กรอบการถกเถียงด้วยข้อมูลและมีมารยาทต่อกัน และไม่ได้นอกเรื่อง
lewcpe.com, @wasonliw
ขออภัยครับ พอดีผมจะเขียนต่อว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดันมือไวไปหน่อย
I need healing.
ผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การเมืองเลยครับ ในมุมมองของผม มันเป็นเรื่องของความถูกต้อง สามัญสำนึก และกฏหมายครับ
positivity
คิดเหมือนกันเลยครับ
ผมก็มองในแง่กฏหมาย, ความถูกต้องมากกว่าการเมือง
ความถูกต้องก็คือ กฎหมายไทย กำหนดมาหลายสิบปี ตั้งแต่มีกิจการซื้อ-ขายหลักทรัพย์(หุ้น) แล้วว่า
ในส่วนของ Capital Gain นั้น ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด ครับ
คนไทยทั่วไป ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด
ส่วนที่เสียภาษี คือ ค่าcommission กับ โบรกเกอร์ และ ส่วนที่ได้จากเงินปันผล (dividend) เท่านั้นครับ
ผมไม่ได้ปกป้องอดีตนายกแต่อย่างใด ...แต่ผมเห็นมาหลายทีแล้ว ไม่รู้จริง แล้วมาพูดมั่วๆเนี่ย
ถามจริง ..คุณเคยเล่นหุ้น หรือ แม้แต่ศึกษาการเล่นหุ้น หรือไม่ครับ???
ถ้าเขาต้องเสียภาษีจากการขายหุ้นจริง ..ทำไมศาลถึงไม่เห็นฟ้องเขาในข้อหานี้เลยล่ะคร้าบ~???
การตีความ กฎหมายของศาลขึ้นอยู่กับขั่วอำนาจในสภา แค่นั้นเหลาะ ชัดเจนมากเรื่อง คุณคนต่างประเทศเนี่ย
อ้าว ผมนึกว่าท่านอดีตนายก ออกกฏหมายเว้นภาษีก่อนหน้าจะขายหุ้นไม่กี่วัน
จะทำอะไรก็อย่าให้เจตนามันชัดนักครับ เดี๋ยวจะเป็นการใช้อำนาจรัฐหาประโยชน์ให้กับตัวเอง
ที่มากรมสรรพากร
กฏหมายมีมาก่อนนั้นนานแล้วครับ "กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)"
ข่าวนี้มีประเทศไทยอยู่ตรงไหนครับ
คอการเมืองก็งี้ครับ
ขนาดเรื่องเครื่องเร่งอนุภาค LHC ก็เอามาผูกการเมืองได้ ผมนี่ส่ายหัวเลย
I need healing.
o_O ยังไงครับน่ะ ขอตัวอย่างเพื่อเป็นวิทยาทาน
ผมก็จำไม่ได้แล้วล่ะครับ ประมาณจะไปปิดสถานฑูตสวิสบ้าง
ถ้าอยู่ประเทศเราจะ... บ้าง
สร้างทำไมให้เปลืองงบ เอามาแบกให้คนยากคนจนดีกว่า
ประมาณนี้
I need healing.
อันนี้รึเปล่าครับ
http://www.joystiq.com/2008/09/09/terrible-news-gordon-freeman-spotted-near-large-hadron-collider/
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อขายหุ้นทุกวัน ก็ยังไม่เสียภาษีครับ
จนตัวเองออกมาเรียกร้องเองว่า ออกกฏหมายเก็บภาษีเถอะ เขาจ่ายได้
แต่ตอนนี้กฏหมายยังไม่ออก เขาก็เสียเท่าที่กฏหมายกำหนดอยู่ดี
การเสียภาษีเป็นเรื่องของกฏหมาย ถ้ากฏหมายไม่รองรับ ก็ไม่ต้องเสีย และไม่มีเสียย้อนหลังด้วย
แก้ ๆ ไม่เวิร์ค ๆ ไม่สร้างสรรค์เท่าไหร่
ไม่ใช่ไม่เสียครับ เสียเหมือนกันครับ แต่เค้าบอกว่าเสียน้อยไป
ที่มันเสียน้อยเพราะ รัฐต้องการให้ผู้ที่ปกติแล้วเก็บเงินในธนาคารเป็นหลัก(เพื่อใช้ยามเกษียณ)
นำมาเงินมาลงทุนในส่วนนี้บ้าง เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายเม็ดเงินออกไปด้วย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคารอย่างเดียว แล้วบริษัทที่อยากขยายกิจการก็ต้องไปกู้ธนาคารเท่านั้นซึ่งดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้เกิดกำไรเฉพาะกลุ่มธนาคารเท่านั้น รัฐจึงเก็บภาษีเฉพาะเวลาได้เงินปันผลเป็นหลัก
แต่ดันมีคนใช้ส่วนนี้มาเป็นอาชีพหลักครับ
จะเรียกว่าช่องโหว่ทางกฎหมายก็ได้ครับ ที่คนร่างกฎหมายมองข้ามไปว่าจะมีกลุ่มคนทำแบบนี้ เช่นเดียวกับกรณีที่คุณ salapao ข้างบนพาดพิงครับ
จะอ้างอิงการกระทำของคนอื่น ก็ควรจะรู้ให้จริงนะครับ ทำแบบนี้น่าอายครับ
เอามาให้ดูครับ http://www.set.or.th/th/regulations/tax/tax_p1.html
การทำมาทำเป็นอาชีพหลักก็ไม่ใช่เรื่องผิดเจตนารมณ์กฏหมายนะครับ เพราะสุดท้ายแล้วเงินในตลาดทุนพุ่งสูงขึ้นจริง บริษัทระดมทุนได้ง่ายขึ้นจริง
ที่ Warren Buffet ก็ออกมาเรียกร้อง ก็ไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ในส่วนนี้นะครับ แต่เรียกร้องให้ภาษีอีกส่วนหนึ่งที่เก็บจากรายได้รวมเมื่อมากเกินค่าหนึ่งไปอีกที เพื่อไม่ให้ % ภาษีน้อยกว่าค่าที่กำหนด เช่นว่ารายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์ต่อปีก็จะมีอัตราภาษีระบุไว้เลยว่าไม่ต่ำกว่าเท่าใหร่ โดยไม่สนใจว่าที่มาของเงินรายได้นั้นมาจากทางไหน ดอกเบี้ยเงินฝากก็โดนได้
อ่านเพิ่มเติม The New York Times (บทความของ Warren เอง), MEconomics
lewcpe.com, @wasonliw
กฏหมายลูกแบบนี้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับความเป็นไปในสังคมอยู่แล้วครับ รัฐบาลก็มีหน้าที่วางแผนอนาคตให้ออกและสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขไปตามนั้น
ที่เป็นปัญหาคือรัฐบาลไม่มีวิสัยทัศน์ หรือไม่ก็แก้ไขไม่ได้เพราะมีอะไรบางอย่างบีบคอ
แล้วที่ผมพูดประเด็นในเรื่องนี้ก็ไม่ได้อยู่ที่ว่าเสียหรือไม่เสีย แต่อยู่ที่ เสียเท่าที่กฏหมายกำหนด ถ้ากฏหมายเขียนไว้ว่าไม่เสีย ก็คือไม่เสีย
แล้วมันไม่จริงตรงไหนครับที่ผมพูดว่า "ซื้อขายหุ้นไม่เสียภาษี" อ่านให้แตกแล้วค่อยว่าคนอื่นว่ารู้ไม่จริงจะดีกว่านะครับ เพราะคุณก็บอกเองว่า "เก็บภาษีเฉพาะปันผล"
ที่อเมริกา จะมีการเสียภาษีเมื่อมีกำไรในการลงทุนหุ้นและ สามารถขอลดหย่อนภาษีได้เมื่อขาดทุน ดังนั้นถ้าขายหุ้นแล้วได้กำไรเสียภาษีแน่นอนครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นอีกคนละเรทภาษีกับเงินได้ตัวอื่นเท่านั้นเอง http://en.wikipedia.org/wiki/Capital_gains_tax_in_the_United_States และยังเก็บภาษีของเงินปันผลอีกด้วย ไม่เหมือนกับประเภทไทยที่ยกเว้นเงินภาษีจากการซื้อขายหุ้น แต่เก็บแค่จากเงินปันผล
ดังนั้นคุณพูดไม่จริงแน่นอนครับ ที่วอเรน บัฟเฟทซื้อขายหุ้นไม่เสียภาษี ถ้าจะมาแถว่า ตอนซื้อก็ไม่ได้เสียภาษีนิ หรือว่าไปซื้อขายในประเทศที่ไม่เก็บภาษี ผมก็ยอมให้ละกันนะครับ ทีหลังจะพูดอะไรก็ขอให้รู้จริงก่อนนะครับ อย่าออกตัวแรงแบบนี้
โอ..... ผมขออภัยด้วย ที่ดันไปอ้างอิงตลาดหุ้นไทย เพราะคิดว่าทำเหมือนกัน
เพราะผมอ่านข่าวไหนๆ นาย warren เค้าก็บอกว่าทำไมเก็บเค้าแค่ 15% แต่ระดับล่างลงไปเก็บประมาณ 30-40%
ผมไปคิดว่าเค้าเก็บในส่วนอื่นเป็นหลัก ทำให้ถัวเฉลี่ยคิดออกมาเป็น 15% แต่ที่จริงแล้ว คิดจากการซื้อขายเลย แม้ว่าเค้าจะเล่นหุ้นแบบ short-term แต่ดันคิดภาษีเหมือนกับกลุ่มคนที่เล่น long-term
สรุปแล้ว คุณ Thaina ยอมรับรึยังครับ?
จะการเมืองไปไหนครัฟ - -"
เอ่อ คุณช่วยขายหุ้นในตลท. แล้วเสียภาษีจากการขายนั้นให้ดูหน่อยสิครับ
หวังว่าคุณคงรู้กฎพื้นฐานของตลท.เบื้องต้นว่ามันทำไม่ได้ :P
กฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุนมีความซับซ้อนพอสมควรแต่ก็ทำความเข้าใจไม่ยาก ถ้าได้ลองอ่านมันอย่างละเอียดสักหน่อย
ดังนั้นใช้แค่"ความรู้สึก" ที่ถูก"ปลุกระดม"หรือ"บิดเบือน"มาตัดสินไม่ได้เลยครับ
กด LIKE !!!
55555+
ผมก็อยากลองเสียภาษีดูนะ ..แต่เขาบอกว่า มันไม่ต้องเสียน่ะ
..ทำไงดีล่ะ ตายจริง!! นี่ผมโกงชาติหรือไม่!!?
กร๊ากกกก!!~
ไม่การเมือง 555 ถ้าคุณน้องเคยลองเล่นหุ้นดูบ้าง ก็จะเข้าใจว่าที่คุณ idol ทำไม่ได้ผิดกฏหมายอะไรเลย
ผมเห็นว่า มันไม่เกี่ยว กับ กระทู้นี้ เลย ไม่ Post
อยากให้ผม Post กัน ให้ อ๋อ เลย ไหม ว่า ผิด ตรงไหน ?
ไปเปิด กระทู้ในที่ของมันสิ จะตามไป post ครับ
จริงๆ มัน เรื่อง ของ ลูกๆ ซื้อหุ้นได้ในราคา 1 บาท(ทั้งที่มูลค้่ามันมากกว่า) แล้วไม่ได้ซื้อในตลาดครับ เพราะ ถ้าซื้อในตลาดมันจะตั้งราคาแบบนี้ไม่ได้
น้องเขา Post อาจไม่ตรงเท่าไหร่ เรื่อง Idol ไม่ใช่เรื่อง ขาย หุ้นไม่เสียภาษี ก้อเลย โดนเข้าให้
แต่เตือนน้องที่ post ไว้, Idol เขา ๆ ก้อรัก ทางที่ดี อย่า post พาดพิงที่นี่เลยครับ
ทุกๆคน ใช้ สติ ใช้ปัญญา เท่าที่มีกันของตัวเอง แยกแยะกันเองครับ เพราะยังไง มันก้อต้องอยู่ร่วมกันไปอยู่ดี
ที่ซื้อได้เพราะมันมีกฏหมายอีกตัวที่ยอมให้ทำได้ไม่ใช่เหรอครับ
สุดท้ายศาลก็ตัดสินว่าผิดจริยธรรม (ในตัวกฏหมายมีด้วย?) แถมยังตัดสินหลังจากรัฐประหาร ทหารครองเมือง
ถ้ายังไม่ยอมจบจริงๆ หาโอกาสตอดนิดตอดหน่อยแบบตบหัวแล้วลูบหลังแบบนี้ ก็จะมีคนต่อไปเรื่อยๆนะครับ
โพส ลุงเต้า ก็แอบแขวะนิดๆ หน่อย ไม่ใช่หรอครับ อ่านดูดีๆ
ปล.คุณก็ทำครับ โพสคุณก็มีว่าเค้าแล้วยังจะต่อ
ปลย.โพสผมโพสนี้ไม่มี "จริงๆ" แล้วนะ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
แต่ผมไม่เคยแนะนำให้ใครหยุดครับ
ผมไม่พอใจกับพวกที่ออกมาหยุดคนอื่น ทำท่าเหมือนอยากจะให้จบ ไม่อยากต่อ แต่ก็แอบจิกกัดแอบแขวะ ตีหัวเข้าบ้านแบบนี้
ทั้งที่ฝ่ายตัวเองเริ่มก่อนด้วย
ถ้าอยากจะจบจริงๆ ก็ต้องจบจริงๆครับ ไม่ใช่มือถือสาก
จะว่าเรื่องไหนผิดอย่างไรก็ต้องระบุให้ชัดเจนครับ ทีี่คุณยกมาเป็นคดีในแง่ว่าการเป็นนอมินีและขายหุ้นนอกตลาด มันคนละเรื่องกับการขายหุ้น 76000ล้านในตลท.แล้วไม่เสียภาษี ที่เขาด่ากันลอยๆทั่วไปกันเลย
และที่ตลกก็คือคดีนึงสาน "ไม่เชื่อ"ว่าลูกเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริงแต่เป็นแค่นอมินีของพ่อ เลยถือว่าพ่อผิดเพราะออกกฎหมายเื่้อื้อประโยชน์ให้บ.ที่ตัวเองถือหุ้น(สานไม่เชื่อว่าเจ้าของคือลูก ที่ตลกอีกนิดก็คือกฎหมายนี้เอื้อให้ทุกกลุ่ม คือบ.คู่แข่งก็ได้ประโยชน์ด้วย แถมรัฐก็ได้เงินเพิ่มขึ้น แต่ดันมาตัดสินว่าผิดเพราะมันมีส่วนเอื้อประโยชน์ให้บ.ของลูกที่สานไม่เชื่อว่าเป็นของลูกแต่เป็นของผู้ถูกกล่าวหาเอง) แต่อีกคดีนึง"เชื่อ"ว่าลูกเป็นเจ้าของจริงแต่ได้ซื้อหุ้นราคา่ถูกกว่าราคาตลาด เลยจะให้เสียภาษี อันนี้ก็แปลกใจดีว่าตกลงจะเชื่อหรือไม่เชื่อกันแน่ จริงอยู่ว่าระบบกฎหมายแบบ civil law ไม่จำเป็นต้องยกเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน(คือเป็นช่องว่า แม้หลักฐานจะเหมือนกันหมดแต่ตัดสินออกมาไม่เหมือนกันก็ได้)
แต่ก็น่าสนใจว่าคดีที่เกิดพร้อมๆกันเพราะการเมือง จะตัดสินกรณีเดียวกันได้แตกต่างกันเพื่อจะลงโทษให้ครบทุกคดีกันได้อย่างไร และยังมีข้อกังขาในเรื่อง ใช้หลักตีความแบบ common law ในกฎหมายที่เจตนาเขียนเป็นตัวบทแบบ civil law ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน (เลยมีศัพท์เฉพาะใหม่คือ กฎหมายแบบไทยๆ)
ว่ากันเรื่องกฎหมายก็ต้องว่าให้ชัดเจน และไม่ต้องใช้"ความรู้สึก"มาตัดสินครับ
แจงได้ดีมากครับ +1 เลย
เรื่องการตีความแบบไทยๆนี่ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ใช้การตีความจากพจนานุกรมแทนข้อความในกฎหมายเนี่ยแหละครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
การตีความนี้จริงๆแล้วเกิดจากความจำเป็นครับ คือมันเป็นช่องว่าของกฏหมายอยู่ตรงนั้นพอดีซึ่งถ้าปล่อยไปจะทำให้ผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองสามารถหากินกับผลประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างง่ายๆเลย(จริงๆแล้วคดีคุณสมัครมีความผิดเล็กน้อยมากเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงมากกว่าด้วยซ้ำแต่ต้องตีความไปในทางนี้เพื่อปกป้องระบบบริหารราชการทั้งหมด) ครั้นจะแก้กฏหมายก็ไม่ทัน จึงต้องหาช่องทางในการตีความเพื่ออุดช่องว่างครับ
จริงๆกรณีนี้ไม่ใช่การตีความแบบไทยๆที่ว่าหรอกครับ แต่เป็นการตีความตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย ซึ่งแม้จะไม่มีให้เห็นบ่อยๆแต่ทั่วโลกก็มีการใช้กันและหลักการนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในระบบกฏหมายทั่วโลกครับ อย่าลืมว่าคนร่างกฏหมายมีเวลายกร่างแค่ไม่กี่เดือนอย่างมากก็เป็นปี การจะร่างกฏหมายให้ครอบคลุมช่องว่างทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ครับ
อันที่จริงถ้าได้ลองศึกษาคำพิพากษาตัวเต็มจริงๆจะมีผู้พิพากษาท่านอื่นยกเหตุผลเอาไว้ดีกว่าส่วนที่โดนสื่อนำมาเล่นข่าวมากครับถ้ามีเวลาลองหาอ่านดูทั้งหมดก่อน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ตามปกติแล้ว ในเมื่อคนเขียนกฏหมายไม่สามารถเผื่อได้ทุกกรณี ก็ต้องยกประโยชน์ให้จำเลยสิครับ
ไม่งั้นให้ตีความตามใจฉันได้ ก็แปลว่าวันไหนผู้พิพากษาอารมณ์เสีย จะตีความกว้างแค่ไหนให้ใครผิดก็ได้งั้นสิ? และถ้านึกอยากจะลำเอียง ก็ตีความไปตามตัวอักษรเป๊ะๆ ให้ใครพ้นผิดก็ได้ แบบนี้จะมีศาลไว้ทำไม
และผมเสียความรู้สึกมานานแล้วว่า คนที่ออกกฏหมาย ออกพลาด ออกมีช่องโหว่ ออกไม่ครอบคลุม ทำไมถึงไม่เคยต้องรับผิดชอบอะไรเลย แต่กลับต้องมาเป็นผู้พิพากษากับจำเลยในเวลานั้นที่ต้อง
แน่นอนว่าคนเราไม่รู้ทุกอย่าง แต่ก็ควรจะแสดงความรับผิดชอบกันบ้าง CEO ตัดสินใจแล้วพลาดเขาก็ลาออกกัน
แล้วที่อ้างว่า "ต้องตีความไปในทางนี้เพื่อปกป้องระบบบริหารราชการทั้งหมด" ถามว่าถ้าคุณสมัครไม่ผิด จะเกิดอะไรเสียหายในระบบราชการ? ไหนครับ? ช่วยยกตัวอย่างหน่อย แล้วความเสียหายที่เกิดกับระบบยุติธรรม หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเชื่อถือของประชาชนค่อนประเทศที่เสียไปจากศาล การที่ทำให้คนเห็นภาพว่าศาลคือกลไกระบอบอำมาตย์ ความแตกแยกที่เกิดขึ้นตลอดสี่ปี แลกกับการปกป้องระบบบริหารราชการที่เสื่อมทรามเน่าเหม็นทุจริตมันคุ้มแล้ว?
ก่อนอื่นเลยนะครับต้องยอมรับกันก่อนว่าผู้ที่ยกร่างกฏหมายก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง การจะผิดพลาดอะไรได้นั้นเป็นไปได้ครับถ้าความผิดพลาดนั้นอยู๋ในระดับที่ยอมรับได้และไม่สามารถคาดเดาได้จริงๆ แต่การรับผิดชอบหรืออะไรก็แล้วแต่ก็เป็นเรื่องของตัวบุคคลครับ ไม่เกี่ยวกับศาล ศาลมีหน้าที่ใช้กฏหมายก็จะต้องพยายามถึงที่สุดให้ทำได้ตรงตามหรือใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของกฏหมายนั้นๆ
ในทางทฤษฏีกฏหมายที่ดีต้องแน่นอนชัดเจนมันก็ใช่ครับแต่มันเป็นไปไม่ได้ ในข้อเท็จจริงแล้วไม่มีกฏหมายไหนไม่มีช่องว่างครับเพราะมนุษย์เราไม่สามารถไปกำหนดได้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ครทำให้ครบทุกอย่าง(ไม่อย่างนั้นประมวลกฏหมายจะหนาเป็นหมื่นๆหน้าก็ยังไม่พอ)ดังนั้นช่องว่างในส่วนที่เรียกว่าการตีความ,ดุลพินิจ,เห็นสมควร จึงมีอยู่ทั่วไปเพื่อให้กฏหมายยืดหยุ่นและบังคับใช้ได้จริง จะมองว่าเรามีช่องว่างในการตีความเพื่อให้กฏหมายอุดช่องว่างในการกระทำผิดก็ได้ครับ
ก่อนอื่นเลยที่คุณเข้าใจผิดมากๆในส่วนแรกเลยคือ การยกประโยชน์ให้จำเลย นั้นเป็นหลักการทางกฏหมายที่เป็นพื้นฐานซึ่งก็ถูกครับแต่ถูกต้องแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งที่ถูกต้องคือหลักการนี้เป็นหลักการสำหรับกฏหมายอาญาครับ เพราะอะไร? ก็เพราะกฏหมายอาญามีโทษในส่วนที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนครับ จึงต้องตีความเคร่งครัด และมีมาตราหนึ่งบอกไว้ชัดเจนว่าหากมีข้อสงสัยเคลือบแคลงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย เพื่อให้กระทบสิทธิตาม รฐน.ให้น้อยที่สุดตาม เจตนารมณ์ของกฏหมายไงครับ
***อีกอย่างประเด็นสำคัญคือมันไม่ใช่จะตีความไปในทางไหนก็ได้ครับ ถ้ากฏหมายไม่เปิดช่องไว้จริงๆก็จะตีความไม่ได้(ในคดีนี้หากเขียนชัดเจนว่าลูกจ้างหมายถึงอะไรไว้ในมาตรา 4 ก็ไม่มีทางที่จะออกมาในรูปแบบนี้ได้ครับ)และต้องทนยอมรับไปปรับและไปแก้กันทีหลังซึ่งมีให้เห็นกันบ่อยๆในอดีต
การตีความในลัษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ตามปกติกฏหมายคนละฉบับ ใช้คำๆเดียวกัน แต่นิยามต่างกันเห็นได้ทั่วไปครับ เอาง่ายๆแค่คำว่านิติบุคคล ในประมวลกฏหมายแพ่งฯ กับประมวลกฏหมาบรัษฏากร ยังต่างกันเลย (ลองศึกษาเรื่องลำดับชั้นของกฏหมายดูครับ) ดังนั้นในกรณีนี้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฏหมายลำดับชั้นสูงสุดจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องตีความตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ซึ่งเป็นกฏหมายลำดับรองอยู่แล้วครับ
ส่วนความเสียหายที่ว่าคือการป้องกันความเสียหายในอนาคตครับ เช่นหากมีการออกนโยบายเกี่ยวกับระบบทีวีโทรทัศน์ขึ้นมาแล้วคุณสมัครไปออกช่องสามทุกวันแบบนี้ มันต้องเกิดความแคลงใจกันอยู่แล้วครับว่าไปออกรายการทุกวัน ได้เงินค่าน้ำมันบ่างอะไรบ้าง จะไม่มีความลำเอียงเลยแม้แต่นิดเดียวหรือ? ซึ่งความแคลงใจแบบนี้มันเป็นสิ่งที่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มุ่งป้องกัการขัดกันแห่งผลประโยชน์ไงครับ ลองนึกสภาพที่ตีความมาว่าการไปเป็นพิธีกร ออก TV ไม่ผิดตามมาตรา 267 คุณจะได้เห็นนักการเมืองมีตำแหน่งทั้งหลายมีรายการของตัวเองกันให้เพียบล่ะครับ
เจตนารมณ์ของมาตรานี้ในคำวินิฉัยเขียนไว้ชัดเจนครับ
ป้องกันมิให้เกิดการกระทำ ที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดสถานการณ์ขาดจริยธรรมซึ่งยากต่อการตัดสินใจ ทำให้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของตนมากกว่าประโยชน์สาธารณะ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ ส่วนตัวกับการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่ผลประโยชน์ส่วนตัวได้มาจากการเสียไป ซึ่งประโยชน์สาธารณะ
ผมเคยได้รับคำสั่งสอนมาอย่างนึงครับว่า ถ้าเราตีความกฏหมายตามตัวอักษรอย่างเดียวก็ไม่ต่างอะไรจากเครื่องจักรบังคับใช้กฏหมาย แต่ความเป็นนักกฏหมายที่ดีเราต้องรักษาเจตนามณ์ของกฏหมายเอาไว้ด้วย ซึ่งเจนตารมณ์ของกฏหมายนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญครับ
ส่วนเรื่องความเสียหายที่เกิดกับระบบยุติธรรม หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเชื่อถือของประชาชนค่อนประเทศที่เสียไปจากศาลที่คุณว่านั้น ผมแบ่งความผิดนี้เป็นสามส่วนครับ ส่วนแรกคือ สื่อ ที่นำประเด็นไปเล่นโดยไม่ใส่เนื่้อหาให้ครบถ้วนในการให้เหตุผลของตุลาการประกอบกับการวิจารณ์โดยไม่ใคำนึงหลักนิติศาสตร์เอาแต่การเมืองเป็นหลัก ส่วนที่สองคือเรื่องการให้ความรู้ทางกฏหมายแก่ประชาชนของประเทศเรายังน้อยครับ คนทั่วๆไปไม่เข้าใจกฏหมายดีพอที่จะมองไปถึงเนตนารมณ์ของกฏหมายได้ และส่วนที่สามคือการเรียบเรียงคำพิพากษาทำให้เข้าใจได้ยากสำหรับคนทั่วไป (คำพิพากษาที่ดีควรจะอ่านเข้าใจได้ง่าย)แต่ก็พูดยากเพราะคดีนี้ค่อนข้างซับซ้อนครับ
ส่วนเรื่องการปกป้องระบบบริหารราชการที่เสื่อมทรามเน่าเหม็นทุจริต ผมเข้าใจว่าคุณอาจจะเขียนโดยใช้อารมณ์มากไปหรือเปล่า แต่ผมยืนยันครับว่าระบบบริหารราชการนั้นยังไงซะมันก็ยังคงต้องมีอยู่เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ครับ แม้ระบบอย่างของบ้านเราซึ่งผมก็ยอมรับว่ามันห่วยแตกสิ้นดี แต่ยังไงซะประเทศหรือรัฐนั้นจะต้องมีการบริหารงานที่ต่อเนื่องครับ ไม่ใช่อะไรที่จะกด Reset แล้วเริ่มต้นใหม่ได้ง่ายๆ ดังนั้นประชาชนอย่างเราๆนี่แหละครับควรจะเป็นตัวหลักในการเปลี่ยนแปลงระบบ ไม่ใช่หวังพึ่งนักการเมืองที่ดี(ซึ่งอาจจะหายากกว่า ผู้ปกครองในอุดมคติ ของอริสโตเติลซะด้วยซ้ำ)หรือระบบตุลาการมาช่วยแก้ไข (ศาลไม่เล่นการเมืองครับ ยังมีประชาชนบางส่วนเข้าใจว่าทำไมศาลไม่ลงไปจัดการอย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งจริงๆมันทำไม่ได้โดยสภาพครับ)
สนใจคำพิพากษาลองอ่านดูครับ http://61.19.241.65/DATA/PDF/2551/A/122/1.PDF เรื่องพจนานุกรมนั้นจริงๆแล้วเป็นเหตุผลส่วนนึงที่ถูกนำมาประกอบเท่านั้น แถมยังเป็นคำวินิฉัยส่วนตนของท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นเองครับ(ผมเข้าใจว่าท่านยกพจนานุกรมมาหวังจะใหประชาชนอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายๆ แต่กลับเป็นจุดที่โดนนำมาเล่นข่าวจนผิดเพี้ยนไปซะอย่างนั้น จริงๆส่วนพจนานุกรมไม่ต้องพูดถึงเลยก็ยังได้ครับ) และยังมีอีก 50 กว่าหน้าที่เป็นการให้ความเห็น บางส่วนก็เข้าใจได้ง่ายๆ บางส่วนผมมองว่ามีน้ำหนักมากกว่าเรื่องพจนานุกรมด้วยซ้ำ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ในเมื่อกฏหมายมีช่องว่าง มันก็เป็นความผิดพลาดของกฏหมายครับ ก็แปลว่าคนที่ทำตามกฏหมายนั้นแล้วก็ต้องไม่ผิด ศาลก็ต้องยอมรับตามนั้นสิ ไม่งั้นจะมีกฏหมายไว้ทำไม ก็ตัดสินตามใจศาลไปเลยดีกว่ามั้ย
หลักการว่าเมื่อกฏหมายผิด ก็ต้องแก้ ถ้ากลัวนักการเมืองจะแก้เพื่อตัวเองก็ต้องแยกนิติบัญญัติออกจากฝ่ายบริหาร แก้เสร็จแล้วก็บันทึกไว้เป็นเยี่ยงอย่างว่าเคยมีคนที่ทำผิดในเรื่องนี้อย่างไรจึงต้องแก้กฏหมายนี้ แล้วก็ไม่ทำอีก
การมีช่องว่างให้ตีความ มันก็ทำให้เกิดความลำเอียงได้ เมื่อต้องการให้ใครพ้นผิดก็ตีความตามตัวอักษรไป เมื่อต้องการให้ใครผิดก็หาทางดิ้นไปเอาพจนานุกรมมาช่วยตีความ นี่มันต่ำช้ายิ่งกว่ากฏหมายมีช่องโหว่เสียอีก ทำไมยอมกันได้
แล้วนี่ก็จินตนาการเพ้อไปเอง เลยไปถึงเรื่องว่านักการเมืองจะมีรายการของตัวเองเลยนะครับ ก็เมื่อกฏหมายมันไม่ดี มันก็ต้องแก้กฏหมายก่อนสิครับ คนที่เคยทำมาก็ต้องยกเว้นให้ แต่ก็ต้องไม่ให้ทำอีก ไม่ใช่หาทางตีความให้ผิดให้ได้ ส่วนตัวกฏหมายมีช่องโหว่ก็ปล่อยไป รอให้พวกพ้องตัวเองทำผิดแบบเดียวกันก็ตีความตามตัวอักษรไม่ให้ผิด
และมันถูกที่สุดเลยครับว่านักกฏหมาย ต้องเป็นเครื่องจักร ต้องเป็นตาชั่ง ความยุติธรรมมันต้องเสมอภาคเท่ากันทุกคน ถ้าไปยึดเอาสิ่งที่เป็นอารมณ์ อย่างเจตนารมณ์ (แปลตรงตัวได้เลยครับ เจตน + อารมณ สมาสคำธรรมดา) มันก็เกิดความลำเอียงได้ ไม่อยากจะโวยไปถึงคนที่สั่งสอนคุณมาเลยนะว่าแบบนี้นี่เล่า ประเทศไทยมันถึงได้มีนักกฏหมายที่สร้างความแตกแยก เขียนกฏหมายให้ตีความได้เยอะๆ แล้วหาทางพลิกไปเอาเจตนารมณ์ของคนเขียน ตามแต่เจตนาและอารมณ์ของตัวเอง
สุดท้ายก็โยนความผิดให้กับประชาชนว่าไม่รู้กฏหมาย ทั้งที่ฝั่งคนออกกฏหมายนั่นแหละที่เขียนกฏหมายมีช่องโหว่ ทำให้คนสับสนเพราะอยากตีความแบบไหนก็แล้วแต่อารมณ์ คนประเภทนักกฏหมาย นิติบัญญัติ ไม่เคยมีความรับผิดชอบ ได้แต่โยนความผิดให้คนอื่น ส่วนผลงานของตัวเองดีเลิศ คนอื่นนั่นแหละผิดหมด ทุเรศสิ้นดี
ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมเขียนโปรแกรมมีบั๊ก ผมก็โดน User ด่า มันไม่ใช่ความผิด User เลยที่ลองใช้โปรแกรมผิดวิธีแล้วไปเจอบั๊ก แต่นักกฏหมาย ตอนเขียนกฏหมายกินเงินเดือนสบายใจ เขียนกฏหมายออกมามีบั๊ก กลับไปโยนเป็นหน้าที่ศาลที่จะตีความได้ตามแต่ใจ ให้เดาเจตนารมณ์ของคนเขียนที่ไม่รู้เขียนไว้เมื่อไหร่ บางทีคนเขียนตายไปแล้วด้วยซ้ำ แบบนี้เรียกทำงานหรือเอาเท้าเขี่ยครับ?
แล้วประเทศที่เสียหลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเชื่อมั่นในความยุติธรรม มันจะเดินหน้าต่อไปได้เหรอครับ? ก็มีแต่ความแตกแยกเสื่อมทรามอย่างที่เห็นกันอยู่ตอนนี้นี่ไง
เอาจริงๆถ้าจัดการกับคดีของทักษิณ/สมัคร อย่างตรงไปตรงมา ผลสุดท้ายก็อาจมีความผิดสถาณเบา หรืออาจจะต้องเรียกร้องให้แก้กฏหมายให้ถูก เสียคะแนนนิยม อยู่ไม่ครบสี่ปี และเลือกตั้งใหม่ได้พรรคประชาธิปัติถ์เป็นรัฐบาลสมภาคภูมิ
แต่กลับใช้วิธีการบิดเบือนความยุติธรรม แล้วก็มาอ้างโน่นอ้างนี่ว่าเพื่อปกป้องอะไรบางอย่าง แล้วสิ่งที่เสียไปจริงๆตลอดหลายปีที่ผ่านมามันคุ้มค่ากันมั้ย?
ความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรมมันก็เป็นสิ่งที่ต้องต่อเนื่องยิ่งกว่าระบบราชการเสียอีก ทำไมถึงไม่รักษาไว้?
ประเด็นก็คือมันไม่ได้มีช่องว่างมากขนาดนั้นไงครับมันไม่ใช่ว่ากฏหมายระบุไว้ว่าไม่ผิด แต่มันเป็นกรณีที่กฏหมายไม่ได้พูดถึงเอาไว้เลยหรือพูดถึงแต่ไม่ครอบคลุมครับ จึงต้องตีความไปในทางรักษาเจตนารมณ์ของกฏหมายเอาไว้เสมอ
ส่วนประเด็นเรื่องตีความมันมีทุกๆกฏหมายครับ ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรา และไม่ใช่ฉบับเดียวเสียด้วยคุณไปเหมาเอาเองว่าการตีความได้เป็นสิ่งไม่ดี ทั้งๆที่ในความเป็นจริงมันไม่มีกฏหมายในอุดมคติที่ไม่ต้องตีความแล้วยังครอบคลุมเหตุต่างๆอยู่บนโลกนี้ครับ
เรื่องพจนานุกรมผมบอกแล้วนะครับว่าถึงจะไม่มี คำวินิฉัยก็ยังมีเหตุผลหนักเพียงพอที่จะเอาผิดอยู่ดีครับ คุณไม่อ่านเลยนี่นา? ไม่ใช่ไม่อ่านคำพูดผมนะครับ แต่คุณไม่ได้อ่านคำวินิฉัยเลยด้วยซ้ำ ผมบอกแล้วว่าพจนานุกรมเป็น 1 ในเหตุผลประกอบคำวินิฉัย (ส่วนนี้เป็นคำวินิฉัยส่วนตัวแล้วของเพียงจาก 2 ใน 8 ท่านแท้ๆ ได้อ่านมั่งหรือเปล่าครับ?) คุณก็ยังดึงดันประหนึ่งว่าถ้าไม่มีเรื่องพจนานุกรมแล้วจะไม่สามารถเอาผิดได้ แค่นี้ผมก็รู้แล้วล่ะครับว่าคุณโดนสื่อเสี้ยมจนโงหัวไม่ขึ้นไปแล้ว ขนาดมีคำพิพากษาเต็มๆอยู่ตรงหน้าคุณยังพยายามหลีกเลี่ยงมันอย่างเต็มที่
ส่วนเรื่องตัวอย่างคุณบอกเองให้ผมยกให้ดูแล้วมาว่าผมเพ้อ คุณนี่ก็ตลกนะครับ แล้วก็กฏหมายมาตรานี้มาไว้เพื่อป้องกัน ไม่ใชแก้ไข ครับกรุณาทำความเข้าใจเสียก่อนที่จะไปพูดอะไรให้มันมากไปกว่านี้
ที่แสดงเห็นชัดๆว่าคุณไม่รู้เรื่องกฏหมายเลยแต่เหมาเอาเองล้วนๆตามความเคยชินของคุณ โดยอย่างยิ่งก็เห็นจะเป็นเรื่องเจตนารมณ์ของกฏหมายที่คุณพูดว่าให้ไปเดานั้นไม่มีความจำเป็นเลยครับ ตัวกฏหมายเองมีบทนำอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นกฏหมายมีแบ่งหมวดๆครับ และหมวดนั้นก็จะบอกชัดเจนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ว่าด้วยอะไร มุ่งทำอะไร มาตรา 267 นี้ เป็นหมวดเกี่ยวกับการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ดังนั้นการตีความแบบนี้จึงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฏหมายแน่นอนครับไม่ต้องเดาแต่อย่างใดเลย เคลียร์มั้ยครับ?
สรุปว่าคุณตีความเอาเองว่ากฏหมายต้องเป็นแบบนี้ แบบนั้นตามใจคุณ ตามที่คุณคุ้นเคย ขอบอกเลยว่ากฏหมายแบบที่คุณว่ามันไม่มีอยู่ในโลกนี้ครับ คุณเอาตัวคุณเองเป็นที่ตั้งแล้วไปตัดสินสิ่งที่มันเป็นศาสตร์อยู่แล้วชัดเจนผมว่ามันตลกสิ้นดีเลยครับ ไม่ได้มีหลักการอะไรเลยในการโต้เถียงยกเว้นสิ่งที่คุณคุ้นเคย??
และผมก็บอกแล้วว่าการตีความมันมีหลักการรองรับอยู่ไม่ใช่จะตีความยังไงก็ได้ แต่คุณก็ยังมั่วไม่เลิกว่าเค้ามั่วไม่มีหลักการ ผมก็ตลกคุณแหละครับ ถ้าไม่ใส่ใจที่จะอ่านหรือทำความเข้าใจสักนิดคุณจะพิมพ์มาให้มันยืดยาวทำไม มันไร้สาระครับ ผมเห็นแต่คุณคิดไปเองว่ามันจะตีความยังไงก็ได้ ทั้งๆที่ยังไม่รู้จักเลยว่าเจตนารมณ์ของกฏหมายคืออะไรด้วยซ้ำไป ถ้าไม่รู้ก็ถามได้ครับแต่อย่ามั่วไว้ก่อนตามสิ่งที่คุณจินตนาการไปเอง เพราะมันมีแต่สิ่งที่ผิดเพี้ยนทั้งนั้น
สุดท้ายอีกประการผมบอกแล้วว่าความยุติธรรมมันไม่ได้สั่นคลอนเพราะคำตัดสิน แต่มันสั่นคลอนเพราะสื่อเสี้ยมๆ แล้วประชาชนตาดำๆที่โดนสื่อเสี้ยมจนโงหัวไม่ขึ้นต่างหากครับ ความยุติธรรมไม่ได้สั่นคลอนเลยครับจากคำวินิิฉัยนี้ แต่สื่อเสี้ยมๆต่างหากที่ทำมันไปใช้อย่างผิดๆในการหาผลประโยชน์ทางการเมือง
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ก็พูดอีกครั้งนึงว่า ในเมื่อกฏหมายไม่เขียนครอบคลุม ก็ต้องตีความให้แคบไว้สิครับ ถ้าตีความให้กว้างแค่ไหนก็ได้ มันก็จะมีวันที่นึกจะตีความแคบๆ แล้วก็พ้นผิดไป และวันที่นึกจะตีความกว้างๆ ให้ใครผิดก็ได้ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นแล้วอย่างที่เห็น ที่ไม่สามารถหาความหมายในทางกฏหมายที่ทำให้ผิดได้ ก็ดิ้นไปหาพจนานุกรมมาใช้
การตีความกฏหมายในต่างประเทศ เขาตีความเพื่อจะเอาผิดให้ได้อย่างเราหรือเปล่า ตีความแล้วเป็นบรรทัดฐานรึเปล่า ตีความให้แคบและใช้กฏหมายร่วมกันรึเปล่า คุณ Fourpoint ก็มาช่วยอธิบายไว้แล้วว่ามันไม่ใช่อย่างบ้านเราที่มีเจตนาจะเล่นงานทางการเมืองให้ได้เลยก็เท่านั้น
ถ้าคุณมั่นใจว่าไม่ต้องมีพจนานุกรมก็ได้ ทำไมศาลถึงต้องพยายามเอามันมาอ้างทั้งที่ไม่มีก็ได้ และคนก็ด่า ผู้พิพากษาคนนั้นได้มีการรับผิดชอบอะไรมั้ยที่อ้างพจนานุกรมแล้วคนด่าทั่วบ้านทั่วเมือง สุดท้ายก็มาอ้างว่าไม่ต้องมีก็ได้ แล้วก็ปัดสวะไป
แล้วไม่ทราบคุณได้ไปอ่านสิ่งที่นักกฏหมายในสังคมที่ออกโรงค้านคำตัดสินบ้างหรือไม่ ถ้าอ่านแต่คำพิพากษาอ่านไปก็เท่านั้น มันก็พยายามประดิษฐ์ประดอยคำพูดให้เมคเซนส์ได้เสมอ ผมเคยอ่านแล้วก็เห็นว่าเหตุผลที่ใช้พิพากษามันไม่เข้าท่า สุดท้ายเรื่องพรรค์นี้มันอยู่ที่วิจารณญาณของคน กฏหมายยังแก้ใหม่ได้เรื่อยๆเลยเพราะโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เรื่องเก่าๆบางเรื่องมันไม่เมคเซนส์ขึ้นได้
ถ้าคุณไปอ่านบทความแย้ง คุณก็อาจจะคิดว่ามันไม่เมคเซนส์ ในขณะที่ผมคิดว่าเมคเซนส์ การมาตั้งแง่ว่าคนอื่นไม่ได้อ่านฉบับเต็มเลยไม่คิดว่ามันถูกต้องเหมือนเราคิด มันไม่เข้าท่าเลยนะครับ
เจตนารมณ์ของกฏหมายคือการธำรงค์ไว้ซึ่งความถูกต้องยุติธรรม ไม่ใช่การปกป้องระบบบริหารราชการอะไรของคุณ ถ้าผมพูดแบบนี้แล้วก็อ้างได้สิว่าการตัดสินที่ผ่านมามันล้มเหลวเพราะไม่ยุติธรรมแต่เอาความมั่นคงของระบบบริหารราชการมาเป็นที่ตั้ง เป็นการบิดเบือนกฏหมาย
นี่ไงการตีความโดยอ้างเจตนารมณ์ ทุเรศมั้ย? ผมก็คิดแบบนั้นกับพวกคุณเหมือนกัน
แล้วการตีความกฏหมายโลกไหนล่ะครับ ที่ใช้หลักพจนานุกรมมารองรับ แถมขนาดใช้พจนานุกรมก็ยังคลุมเครือ ทั้งที่คำว่าลูกจ้างก็มีบัญญัติอยู่ในกฏหมายอื่นๆที่มีความชัดเจนกว่าพจนานุกรม แต่ก็ไม่ยอมใช้ แล้วจะให้คนทั่วไปเชื่อถือได้ยังไง
คือคุณเชื่อมั่นในความคิดของคุณ คุณก็คิดว่าพวกตัวเองไม่เคยผิดอะไรเลย คุณคิดว่าพวกคุณดีแล้ว คนอื่นผิดหมด เพราะสื่อเสี้ยม เพราะอะไรต่างๆ แต่เวลาที่คนอื่นโดนสื่อเสี้ยมด่าคน คุณก็ไปเฮละโลด่าเขา ตลอดหกปีที่ผ่านมา พวกสายนิติบัญญัตินี่แหละที่ออกสื่อมาเสี้ยมให้เกิดปัญหาบ่อยที่สุด พอโดนเข้าเองบ้างจะทำมาร้องงั้นเหรอ?
แล้วสุดท้ายมันก็วนกลับไปเรื่องเดิม ว่าพวกคุณที่เป็นพวกนักกฏหมายนั่นแหละที่เขียนกฏหมายให้มีช่องโหว่แล้วไม่เคยรับผิดชอบอะไรเลย ทำให้ศาลต้องมาตีความแล้วคนก็ด่า คุณคิดว่าศาลยุติธรรมดีแล้วแต่คนอื่นเขาไม่คิดแบบคุณแล้วศาลจะอยู่ได้ยังไง สำหรับประชาชนตาดำๆของผมการที่คุณเป็นพวกนักกฏหมายแล้วก็ไปเข้าข้างพวกนักกฏหมายด้วยกันผมมองว่าพวกคุณก็เข้าข้างกันเอง ปกป้องกันเอง ก็สมควรแล้วที่สื่อจะต้องคอยตรวจสอบว่าพวกคุณทำงานกันไม่เข้าท่า แต่พวกคุณก็กลับมองว่าคำวิจารณ์ในแง่ลบที่มีให้พวกคุณคือการเสี้ยม
แล้วประชาชนที่เป็นคนที่ต้องรับผลกระทบจากกฏหมายที่มีแต่ช่องโหว่ของพวกคุณ จะมีทางไหนใช้ตรวจสอบพวกคุณได้ว่าไม่ได้ทำงานกันชุ่ยๆแล้วปกป้องกันเองไม่ทราบ?
กฏหมายที่ออกมาแล้วใช้แล้วมันค้านกับความต้องการของประชาชนแล้วกฏหมายมันจะมีไว้เพื่ออะไร หรือว่าประเทศนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย การออกกฏหมายไม่ได้มีไว้ปกป้องประชาชนแต่มีไว้ปกป้องระบบของผู้มีอำนาจกันแน่
ผมถามง่ายๆว่าคุณเอาหลักการอะไรมาอ้างเพื่อต้องให้ตีความแคบๆให้พ้นผิดโดยไม่ใส่ใจเจตนารมณ์ของกฏหมายครับ?
ความหมายในทางกฏหมายของคุณคืออะไร คือที่คุณคิดไปเองว่ามันต้องตีความตามกฏหมายฉบับอื่น(ไม่มีหลักการรองรับ)ทั้งๆที่ถ้าเป็นเช่นนั้นปกติต้องมีกฏหมายเขียนบอกเอาไว้แล้วว่าให้ใช้ความหมายนั้นครับ ถ้าไม่เขียนก็ต้องใช้ความหมายทั่วไป ก็คือสิ่งที่วิญญูชนทั่วไปเข้าใจซึ่งก็ต้องอ้างอิงพจนานุกรมก็ถูกแล้ว
คุณก็ยังคิดไปเองอยู่ดีว่ามันไม่มีทางอื่นใดนอกจากพจนานุกรมที่จะเอาผิด ทั้งๆที่มันไม่สมเหตุสมผลซะด้วยซ้ำที่อยู่ๆเราจะไปเอานิยามที่แคบและเฉพาะในกฏหมายนึงไปใช้กับอีกกฏหมายนึงมาใช้(ยังไม่ตำนึงระดับชั้นของกฏหมายซะด้วยซ้ำ)กลับกันซะอีกคุณ ไม่มีหลักการใดๆเลย นอกจากจินตนาการของคุณประกอบกับบทความที่โดนเสี้ยมมาว่าต้องใช้นิยามตามนี้เท่านั้น(เพราะอะไรล่ะถึงต้องใช้แบบที่คุณว่า เคยมีใครยกหลักการให้คุณดูบ้างไหม?)
สิ่งที่คุณพูดกับสิ่งที่คุณอยู่มันเป็นคนละเรื่องครับ คำวินิฉัยนี้จริงๆแล้วมีลักการและเหตุผลครบถ้วนตามหลักนิติศาสตร์แน่นอนสามารถอ้างอิงได้ครับ ปัญหาอยู่ที่การแจงเหตุผลในคำวินิฉัยที่เขียนไม่ดีจนโดนทำไปเล่นข่าวผิดๆต่างหาก
คุณลองบอกมาสิครับว่า "เหตุผลที่ใช้พิพากษามันไม่เข้าท่า" ของคุณนี่มันส่วนไหน หรือของท่านไหน แล้วคุณเอาหลักการอะไรมาวิจารณ์ว่ามันไม่เข้าท่า
แน่นอนครับผมเชื่อมั่นในความคิดผมเพราะผมคิดอยู่บนหลักการที่เค้าใช้กันในวิชานิติศาสตร์ แต่กลับกันคุณเองที่ไม่เคยยกหลักการอะไรมาหักล้างนอกจากบทควาทที่คุณอ่าน กับสิ่งที่คุณคิดว่ามันน่าจะเป็นเพราะเป็นสิ่งคุณคุ้นเคย ถ้าเป็นแบบนั้นจะมีนิติศาตร์ รัฐศาสตร์ เอาไว้ทำไมครับ? ใช้แค่ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางก็อ้างได้ทุกอย่างแล้วนี่ คุณจะอ้างว่าเป็นประชาชนทั่วไปไม่เข้าใจ มันก็เรื่องของคุณที่จะปกป้องตัวเองเพราะคุณไม่รู้ แต่หากคุณไม่พยายามทำความเข้าใจศาสตร์สักนิดคุณก็อย่าเอาเหตุผลตื้นๆของคุณมาขัดกับสิ่งที่มันเป็นศาสตร์ เป็นหลักการสิครับ ทำไมไม่ไปศึกษามาก่อน
ถ้ากฏหมายเขียนไว้เช่นนี้ผมยินดีให้คุณตีความตามนั้นโดยไม่บ่นว่าทุเรศเลยครับ แต่กลับกันกฏหมายที่คุณกำลังด่าว่าอยู่นี้เขียนไว้ชัดเจนว่ามีเจตนารมณ์ในการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ผมก็ถามง่ายๆๆว่าถ้าคำๆนึงมันไม่มีในกฏหมายใดๆเลยคุณจะเอาอะไรมาตีความ? การตีความตามความหมายทั่วไปก็ต้องใช้พจนานุกรมอยู่ดีครับ
รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศครับ คุณมีหลักการอะไรที่จะบังคับให้ต้องตีความตาม นิยามแคบๆที่ใช้เฉพาะกฏหมายเฉพาะแถมเมื่อใช้แล้วยังผิดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมาย? ทั้งๆที่ตีความในความหมายทั่วไปแล้วจะครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของผู้ออกมากกว่า?
สรุปว่าคุณมีหลักการอะไรบ้างมั้ยที่จะนำอ้างอิงครับ นอกจากคุณจะบอกว่าผมไม่รู้กฏหมาย ผมเลยคิดได้แค่นี้? แถมยังไม่พยายามอ้างอิงแบบเป็นหลักการด้วยซ้ำ
คุณก็ยังคิดเองเออเองว่ากฏหมายที่ตีความได้มันเป็นช่องโหว่ ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นการที่กฏหมายพยายามให้ครอบคลุมทุกกรณีที่ทุจริตครับ ซึ่งกรณีนี้เป็นอะไรที่เกือบจะรอดพ้นไปแล้วถ้าเกิดเขานิยามลูกจ้างตามแบบที่คุณว่าคงต้องมีการแก้ไขรัญธรรมนูญกันใหญ่โตไปแล้ว โชคช่วยจริงๆครับที่ไม่ต้องทำแบบนั้น
ผมไม่รู้ว่าคุณเก่งขนาดไหนนะ แต่ผมมั่นใจว่าไม่มีมนุษย์คนไหนเก่งขนาดร่างกฏหมายได้ครอบคลุมทุกกรณีโดยไม่ต้องตีความอย่างที่คุณว่าแน่นอน เลิกโลกสวยซะทีเถอะครับ ถ้ากฏหมายมันจงใจทำให้เป็นช่องโหว่ค่อยว่าไปอย่าง กรณ๊แบบนี้ถ้าไม่เกิดเหตุมาจริงๆใครมันจะไปตรัสรู้ได้ว่าจะมีคนทำแบบนี้ครับ?
ถ้าให้คุณเขียนโปรแกรม Antivirus ครั้งนึง ที่ต้องใช้ไปสัก 5 ปี ถ้ามีไวรัสตัวไหนเล็ดรอดไปได้ตัวเดียวให้คุณรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายทั้งหมดทีอาจจะเกิดในอนาคตพร้อมทั้งลาออก คุณยินดีหรือครับ? อย่าพูดในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ครับ
ที่คุณกำลังพูดทั้งหมดมันก็แค่การตกเป็นเหยื่อในการหาเหตุผลมาปล่อยคนที่ผิดจริงๆ และมีกฏหมายที่มีเจตนารมณ์ในการป้องกันความผิดนั้นอยู่ชัดเจนเแป็นตัวอักษรเขียนอยู่ เพียงแต่ว่ามันเป็นหลักการเบื้องต้นที่ยังไม่มีรายละเอียดไม่ใช่กฏหมายเฉพาะเท่านั้นเอง
กระบวนการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติมีเยอะแยะครับ คุณพูดมาแบบนี้เหมือนไม่เคยศึกษามาก่อนแต่พูดเอาแต่ได้อย่างเดียว ที่ปัจจุบันมีร่างกฏหมายแย่ๆออกมาเยอะก็เพราะนัการเมืองชั่วๆที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายตอนร่างกฏหมายมากกว่าครับ นักนิติศาสตร์จริงๆกี่คนที่ได้เข้าไปร่างกฏหมายจริงๆ เคยมีไหมที่จะมาขอให้นักวิชาการหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการร่างกฏหมายอย่างเต็มที่? (ลองดูฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างครับ) มีแต่นักการเมืองในคราบนักนิติศาสตร์ทั้งนั้น
สุดท้ายแล้วกฏหมายที่คุณว่าค้านกับความต้องการของประชาชนหรือค้านกับความต้องการของตัวคุณเองกันแน่ หรือจะถามให้มันดูดีก็ต้องถามว่า กฏหมายที่คุณว่าเนี่ยมันขัดกับหลักนิติศาสตร์(ที่คุณไม่เคยอ้าง)หรือขัดกับหลักการของตัวคุณคิดเอาเอง
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
แล้วคุณเอาหลักการไหนมาบอกว่าต้องตีความให้กว้างเพื่อรักษาระบบบริหารราชการล่ะครับ?
แล้วในเมื่อมันไม่ได้เขียนชัดเจนว่าให้ตีความตามพจนานุกรมนะ แล้วเอาพจนานุกรมมาใช้ทำไมครับ? ทำไมต้องเอาพจนานุกรมมาพูดในชั้นศาล ถ้าจะบอกว่ามันใช้อะไรก็ได้ กฏหมายที่ระดับชั้นต่ำกว่าก็ต้องใช้ได้เหมือนพจนานุกรม ตรงนี้คือความคลุมเครือแล้วว่าศาลนึกจะหยิบอะไรมาใช้ก็ได้ ก็แปลว่ามันผิดที่กฏหมายมีช่องโหว่นั่นแหละ
แล้วถ้าเอาความหมายที่คนทั่วไปใช้กันจริงๆ กรณีรับเงินค่าน้ำมันเป็นครั้งคราว ก็ไม่มีคนทั่วไปคิดว่าเป็นลูกจ้าง ก็ตามที่ลุงสมัครเขาอ้างว่าแกรับจ้าง ไม่ใช่เป็นลูกจ้าง เหมือนรับจ้างเขียนหนังสือ เป็นวิทยากรสอนนักศึกษา ไม่มีใครคิดว่าจะไปเอื้อประโยชน์ให้เพราะโดนจ้างแบบนั้น
แล้วคำกล่าวอ้างของจำเลยไม่มีหลักการครบถ้วนตามหลักนิติศาสตร์รึไง? ที่ผมเห็นมาตลอด ถ้าไม่ใช่ความผิดที่ชัดเจนจริงๆ เป็นคดีคลุมเครือ พวกนักกฏหมายก็อ้างหลักนิติศาสตร์ได้ทุกอย่างนั่นแหละ อ้างหลักนั้นทีหลักนี้ทีมาตีกันเอง แล้วสุดท้ายก็เอา เจตนา+อารมณ์ มาใช้ตัดสิน ความน่าเชื่อถือมีอยู่แค่ศาลวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างใคร แต่คดีนี้ก็ไม่ใช่เลย
แล้วคุณคิดว่าหลักนิติศาสตร์ของคุณมันถูกซักแค่ไหน ทำไมทั่วโลกเขาอ่านคำตัดสินของศาลไทยเขาก็ไม่เชื่อถือ หลักนิติศาสตร์ที่สอนกันมาในไทยมันถูกจริงรึเปล่า ทำไมคุณ FourPoint ถึงได้ยกตัวอย่างขึ้นมาได้ว่าหลักกฏหมายบ้านเรามันไม่เหมือนชาวบ้าน ลองไปเถียงกับเขาให้ผมดูซักทีเป็นบุญหน่อยสิ
หรือคุณคิดว่าหลักนิติศาสตร์แบบไทยๆไม่ต้องเหมือนใครก็ได้?
งั้นตรงนี้คุณก็พูดขัดกับตัวเอง เพราะคำๆนั้นมันมีในกฏหมายอื่นอยู่แล้ว ก็แปลว่าทั้งโลกเขาจะใช้คำที่ถูกตีความในกฏหมายอื่นก่อนที่จะไปหาพจนานุกรมใช่หรือไม่
แล้วมีหลักการอะไรบังคับให้ต้องตีความตามนิยามกว้างๆ ในขณะที่กฏหมายทั่วไปเขาพยายามตีความให้แคบ? คุณช่วยยกตัวอย่างคดีที่ไม่การเมืองแล้วศาลพยายามตีความให้กว้างที่สุดเท่าที่จะเอาผิดได้มาให้ผมดูหน่อยสิ แต่ถ้าบอกว่ามีแต่คดีประเภทนี้เท่านั้นที่เป็นคดีพิเศษที่ต้องตีความให้กว้าง ผมว่ามันคือความล้มเหลวของนิติศาสตร์ไทยแล้ว
ตลกครับ การพยายามเขียนให้ครอบคลุมแบบนี้ มันก็แปลว่าศาลมีดุลยพินิจที่จะตัดสินให้ใครผิดก็ได้ ให้ใครไม่ผิดก็ได้ ถ้าศาลนึกจะให้ใครพ้นผิดก็แค่ตีความให้แคบๆไปซะ ก็จบ แต่ถ้าศาลรับธงมาจากใครก็สั่งตีความกว้างเท่าที่จะกว้างได้โดยอ้างเจตนารมณ์ แล้วแบบนี้มันไม่ใช่ช่องโหว่ได้ยังไง
ถ้าไม่สามารถตรัสรู้ได้ ในเมื่อไม่มีบรรทัดฐานมาก่อน ก็ต้องยกให้สิครับ ถ้าอ้างเจตนารมณ์ได้ อย่างงั้นก็ไม่ต้องเขียนกฏหมายสิ เขียนแค่เจตนารมณ์ก็พอ จะเขียนกฏหมายละเอียดๆไปทำไม ว่าถ้าเป็นลูกจ้างนะ จะพ้นสภาพ ก็เขียนแค่ว่ามีเจตนารมณ์ต้องการให้ปราบทุจริต แล้วให้ศาลตีความเอาเองว่าแบบนี้ทุจริตหรือไม่ทุจริต แบบนี้จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปจ้างพวกคุณมากนัก
กฏหมายมันเขียนปรับปรุงได้ และผู้มีความรู้ความสามารถอย่างพวกคุณ ควรจะคอยดูแล ดูความเป็นไปในโลก ว่าคนจะมีแทคติกโกงกฏหมายใหม่ๆรึเปล่า แล้วคอยปรับเข้าไป แต่นี่กลับขี้เกียจ เขียนให้มันคลุมเครือเข้าไว้ แล้วให้ศาลไปคิดเอาเอง ขอพูดอีกทีว่านี่ทำงานหรือเท้าเขี่ย พวกนักกฏหมายที่เขียนกฏหมายกินภาษีประชาชนไปเท่าไหร่แล้ว
แล้วการที่คุณเทียบการออกกฏหมายกับ AntiVirus นั่นเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะ AntiVirus มันเป็นได้อย่างมากก็แค่ตำรวจ มันทำได้แค่หมายหัวแล้วตามจับโจร ดักจับโจร เวลามีโจรหน้าใหม่ๆ ก็ต้องคอยตั้งค่าหัวใหม่ๆ
สิ่งที่นักกฏหมายอย่างพวกคุณทำคือ OS ต่างหากและถ้า OS มันมีช่องโหว่ให้ถูกโจมตีได้จากตัว OS เอง แล้วเกิดความเสียหายกับองค์กรณ์ใหญ่ๆ ก็ใช่อีกนั่นแหละว่าบริษัทที่เขียนต้องรับผิดชอบที่เขียนออกมาชุ่ยๆ คุณเองใช้ Windows แล้วแครชงานหาย MS ก็คงไม่รับผิดชอบให้ ในฐานะ User ธรรมดาซื้อ Windows ราคาถูก แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆ Server องค์กรณ์ บริษัทที่ทำก็ต้องมีความรับผิดชอบ
แล้วคนเขียน OS ให้องค์กรณ์ที่โคตรใหญ่ มีชื่อว่าประเทศ อย่างพวกคุณ เคยรับผิดชอบอะไรบ้าง?
ถ้าหากว่าผมต้องทำงานที่ความรับผิดชอบสูงมาก ความเสียหายมันก็ต้องแบ่งไปตามส่วน อันดับแรกผมก็อาจจะต้องลาออกทันที อย่างเบาก็ลดขั้น บริษัทที่ตั้งให้ผมมาทำงานตรงนี้ก็ต้องรับผิดชอบไปตามส่วน บางทีอาจจะถึงขั้นถูกฟ้องล้มละลายเพื่อเอาเงินชดเชยก็ได้ (ผมทำงานแบบนี้ก็ต้องทำในนามบริษัทอยู่แล้ว)
นั่นสินะ ตามปกติเวลาติดตั้งโปรแกรมระบบ ก็มักจะต้องมีสัญญารับประกันว่าระบบนี้จะทำอะไรได้บ้าง แล้วคนที่เขียนก็มีภาระผูกพันว่าต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง แล้วระบบกฏหมายของพวกนิติบัญญัติอย่างพวกคุณเคยมีสัญญาและภาระผูกพันแบบนี้มั้ย? ถ้าเขียนกฏหมายไปแล้วลดอาชญากรรมไม่ได้ต้องคืนเงินเดือนทั้งหมดที่ได้กลับมาอะไรแบบนี้น่ะ เวลาเขียนจะได้ใช้สมองกันมากกว่านี้ ไม่ใช่เขียนกฏหมายแบนนั่นแบนนี่กันชุ่ยๆ
สุดท้ายแล้วก็คือคุณก็แค่ตั้งธงอยู่แล้วว่า คนนี้ผิดจริงๆ ดังนั้นทุกอย่างมันก็ถูกต้องดีอยู่แล้ว แต่ถามหน่อยเถอะว่าในอดีตเคยมีการตัดสินคดีผิดมาแล้วกี่คดี ทุกศาลในโลกนี้ก็ใช้หลักนิติบัญญัติทั้งนั้น ยิ่งคดีการเมืองนี่ยิ่งใช้ทุกวิถีทาง แต่สุดท้ายมันก็ไม่ใช่ความถูกต้อง
ถ้านักนิติศาสตร์ดีจริง ทำไมถึงได้เขียนกฏหมายตามนักการเมืองแย่ๆออกมาได้?
สุดท้ายก็หาเรื่องมาโทษนักการเมืองที่ประชาชนเลือกมา แล้วยกหางตัวเองว่าพวกเราคือคนดี พวกเราทำทุกอย่างถูกต้อง นักการเมืองเลวๆมาทำให้เสีย แล้วรัฐธรรมนูญ 50 ที่สนับสนุนเผด็จการ สร้างความแตกแยก มีช่องโหว่เต็มไปหมด ให้อำนาจตุลาการก้าวก่ายฝ่ายบริหาร ถ่วงความเจริญด้วยระบอบตุลาการภิวัฒน์ มันมาจากไหน ก็จากนักนิติศาสตร์ นักวิชาการ อย่างพวกคุณ ทั้งนั้นเลยไม่ใช่เหรอ?
แล้วหลักนิติศาสตร์ที่คุณอ้าง กับหลักนิติศาสตร์ที่ถูกต้องที่คนในโลกใช้กัน มันเป็นของอย่างเดียวกันรึเปล่าล่ะ?
เจตนารมณ์ของกฏหมายที่เขียนอยู๋ในตัวบทไงครับ
ผิดครับ กลับกันเลยเพราะไม่ได้เขียนไว้ว่าให้ใช้อะไรต่างหากแล้วคุณจะไปเจาะจงให้ตีความแคบๆได้อย่างไร? เมื่อไม่ได้เขียนจึงต้องตีความลักษณะทั่วไปไงครับ ในที่นี้กฏหมายระดับชั้นต่ำกว่าก็ตีความคำที่ไม่มีนิยามไว้ในมาตรา 4 ตามความหมายทั่วไปเช่นกันครับ การที่ยกพจนานุกรมมาพูดคือการ "อ้างอิง" ความหมายทั่วไปที่คนใช้ก้ันครับ ไม่ได้จะยกอะไรมาอ้างก็ได้อย่างที่คุณว่า กรุณาทำความเข้าใจเสียใหม่ครับ
คำตอบของคำถามคุณมีอยู่ในวิชานิติปรัชญาครับ ผมแนะนำให้คุณไปดูการทำประมวลกฏหมายของเยอรมันดูครับ แทนที่จะเลือกคัดลอกจากฝรั่งเศสมาเลย เค้ากลับเน้น จิตวิญญาณประชาชาติ โดยค่อยๆสร้างประมวลกฏหมายที่เหมาะกับชนชาติเค้าขึ้นมาเองจนแม้จะออมกาช้ากว่าปลายร้อยปี แต่ก็ได้ออกมาเป็นประมวลกฏหมายของประเทศเยอรมันขึ้นมาในปัจจุบันที่คนทั่วโลกยอมรับทัดเทียมกับฝรั่งเศสเลยทีเดียว
ดังนั้นคำที่คุณพูดอย่างมักง่ายว่า "หลักนิติศาสตร์แบบไทยๆไม่ต้องเหมือนใครก็ได้" จึงมีทั้งส่วนผิด และถูกอยู่ในตัวครับ หลักที่เป็นพื้นฐานของระบบกฏหมาย แน่นอนว่าไม่ขัดกันครับ แต่ประมวลกฏหมายแต่ละประเทศย่อมมีข้อแตกต่างกันตามลักษณะของชนชาตินั้นๆ
เอาจริงๆแค่คำที่คุณอ้างลอยๆมันก็ไม่เป็นจริงแล้ว ถ้าหลักนิติศาสตร์ไทยมันไม่น่าเชื่อถือป่านนี้เราคงโดนคว่ำบาตรจากประเทศต่างๆทั่วโลกแล้วล่ะครับ คุณลองยกมาสิครับว่ามีรัฐบาลประเทศไหนคว่ำบาตรระบบกฏหมายของไทยทั้งระบบ?
เอาเข้าจริงๆสนธิสัญญาบางส่วนมีทั้งที่ไทยเป็น 1 ในผู้ร่วมก่อตั้งขึ้นมา หรือมีแม้แต่ที่ประเทศไทยตั้งขึ้นมาด้วยตนเองด้วยซ้ำครับ คำถามก็คือคุณเคยคิดจะศึกษาบ้างไหมมากกว่า
ผมตอบเลยว่าไม่ใช่ครับ ถ้าคุณคิดเช่นนี้ผมถือว่าคุณมีความบกพร่องในการใข้ตรรกะอย่างรุนแรงเลยครับ
แล้วก็ทั้งโลกของคุณนี่อะไรครับ ผมถามหน่อยว่าคุณคิดไปเองใช่มั้ยว่ามันต้องเป็นแบบนี้? ไม่มีกฏหมายประเทศไหนที่กำหนดว่าหากเคยมีการตีความคำใดคำหนึ่งไว้แล้วในกฏหมายเฉพาะใดๆก็จำเป็นต้องใช้ความหมายนั้นในกฏหมายฉบับอื่นๆครับ ถ้ามีช่วยยกมาให้ผมดูเป็นบุญตาสักครั้งเถอะครับ
ความคิดของคุณมันมีแต่จะเพิ่มช่องว่างให้คนกระทำผิดกันได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเองครับ
ขนาดผมก็ถามง่ายๆๆว่าถ้าคำๆนึงมันไม่มีในกฏหมายใดๆเลยคุณจะเอาอะไรมาตีความ? คุณก็ยังไม่ตอบคำถามผมเลยว่าถ้าสมมุติไม่เคยมีกฏหมายคุ้มครองแรงงานให้นิยามคำนี้เอาไว้คุณจะใช้อะไรในการให้ความหมายครับ?
ผมเฉลยเลยแล้วกันครับ มีฏีกาเป็นหมื่นๆที่ศาลฏีกาใช้ความหมายทั่วไปตามพจนานุกรม หรือความหมายที่ชาวบ้านเค้าใช้กัน เพียงแต่ไม่ได้บอกไว้ว่าอ้างมาจากไหนครับ(บางทีมีนิยามขึ้นมาใหม่ให้เสร็จสรรพด้วยซ้ำ ไปหา ฏีกานิยามของความรักดูครับ)
ยิ่งไปกว่านั้นนิยามของคำต่างๆในตัวบทกฏหมายที่ใช้กันในปัจจุบันก็มักจะอ้างอิงมาจากฏีกาเก่าๆที่เคยทำไว้เป็นมาตราฐานครับ ทั้งๆที่ฏีกาเก่าๆที่ว่านั้นไม่มีการอ้างอิงอะไรเลยด้วยซ้ำ เป็นการกล่าวอ้างอิงขึ้นมาลอยๆโดยตัวท่านผู้พิพากษาเอง แต่เมื่อมันเข้ากับเจตนารมณ์ของกฏหมายได้และไม่ขัดกับความหมายที่คนทั่วไปใช่กัน มันก็ไม่มีปัญหาครับ (บางทีก็มีฏีกากลับก็ได้ครับ หรือจะกลับไปแล้วสกลับมาอีกก็มี ถ้าได้ศึกษาดู)
มีคนให้เงินคุณ มันก็เป็นผลประโยชน์ทั้งหมดแหละครับ จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเขา จ้างคุณ มันก็เกิดผลประโยชน์ขึ้นมาแล้ว เค้าถึงมีมาตรา 267 มาป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตัวกับหน้าที่การงานไงครับ
หลักฐานมันไม่ใช่แค่คลุมเครือ แต่มันมีทั้งพิรุจ เบิกความขัดกัน พยานเบิกความไม่ตรงเอกสาร ลองไปอ่านคำวินิฉัยดูครับ(ผมสงสัยว่าคุณอ่านหรือยัง? หรืออ่านแต่บทความอะไรของคุณ)
ตีความกว้างเพื่อเจตนารมณ์ของกฏหมายมีเยอะแยะไปครับ ที่ใช้เรียนใช้สอนมาแต่อดีตเลยก็เช่น ฎีกาการลักกระแสไฟฟ้า ถ้าลองตีความแคบๆแบบที่คุณว่าโดยไม่รักษาเจตนารมณ์ของกฏหมาย ป่านนี้เราอาจจะได้ใช้ไฟฟ้าฟรีอย่างถูกกฏหมายกันไปแล้ว การตีความลักษณะนี้เป็นการตีความเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการที่ลงโทษผู้กระทำผิดครับ หรือ ฎ.4881/2541 ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการตีความเพื่อรักษาเจตนารมณืของกฏหมายครับ
หลักการในการดูว่าจะตีความอย่างไรก็คือเพื่อ เจตนารมณ์ของกฏหมาย เป็นหลักครับซึ่งจะแคบจะกว้างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละคดี
ยกให้? คุณเอาอะไรมาพูดว่า"ต้อง"ยกให้ครับคุณมีหลักการสักนิดมั้ย?นอกเหนือจากความรู็สึกของคุณที่ยินดีให้เค้าโกงไปก่อนแล้วค่อยแก้ แทนที่จะป้องกันไม่ให้เค้าโกง ผมบอกไปแล้วว่าการยกความผิดหากมีข้อสงสัยมันเป็นหลักทั่วไปของกฏหมายอาญาเท่านั้น นี่เราพูดถึงกฏหมายรัฐธรรมนูญอยู่นะครับ ตั้งสติหน่อย
แล้วก็ขอโทษนะครับถ้าศาลไม่มีดุลยพินิจจะมีผู้พิพากษาไปทำไมครับ? กลับกันเลยเพื่อดุลยพินิจที่ถูกต้องจึงต้องมีการศึกษากฏหมายมาอย่างลึกซึ้งเพื่อจะไปเป็นผู้พิพากษาต่างหาก
คุณนั่นแหละที่ใช้อคติของคุณเองต่อระบบตุลาการแบบเหมารวมอะไรของคุณที่ว่าทุกคนมันเลวมันชั่วหมดยกเว้นตัวคุณเอง ทั้งๆที่คุณไม่เคยมีการศึกษาในหลักการที่เค้าใช้เลยแม้แต่นิดเดียว
คุณเองไม่พยายามเข้าใจกระบวนการในการออกกฏหมายด้วยซ้ำ การที่เค้าเขียนกว้างๆไว้เพื่อรอให้มีการออกกฏหมายลูกมาเพื่อระบุให้ชัดเจนอย่างที่คุณชอบไงครับ อนาคตประเทศเราอาจจะมีการออก พรบ.ป้องกันปราบปรามการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้ คุณไม่รู้กระทั่งพื้นฐานของการออกกฏหมายยังมีหน้ามากล่าวลอยๆแบบนี้อีกหรือครับ?
คุณพูดเหมือนไม่มีการปรับปรุงกฏหมายมาก่อนเลย ไม่เคยมีการขอแก้มาก่อนเลย คุณได้แต่มองแก้ปัญหาแบบล้อมคอกครับ ไม่มีใครเค้าทำกันหรอกทั้งๆที่ขณะนั้นมันยังป้องกันปัญหาได้โดยไม่ต้องแก้กฏหมาย คุณมีเหตุผลอะไรที่จะบอดให้เค้าไม่ต้องป้องกันหรอก ไว้ค่อยแก้่กฏหมายทีหลังก็ได้งั้นหรือ เพื่ออะไรครับทั้งๆที่มันป้องกันได้?
มันก็ไม่ต่างกันหรอกครับ ถ้าผมให้คุณเขียน OS ที่ออกมา Perfect ไม่มีช่องว่างคุณทำได้หรือไม่ กรณีเช่นคุณสมัครนี้ความเสียหายมันยังป้องกันได้ครับ แต่คุณเลือกจะไม่ป้องกัน ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมนะครับคุณกลับเลือกให้ก่อนความเสียหายก่อนแล้วค่อยไปแก้ทั้งที่จริงๆแล้วมันไม่ต้องแก้ด้วยซ้ำ
ผมก็งงกับตรรกะเพี้ยนๆของคุณที่ยอมให้เกิดความเสียหายไปก่อน ทั้งๆที่ป้องกันได้แต่ไม่ทำ
ตรงไหนล่ะครับที่มันชุ่ยๆ คุณเอาหลักการอะไรมาบอกว่ากฏหมายนี้มันดีหรือมันแย่ นอกจากความคิดที่ไม่มีการศึกษาและไม่พยายามเข้าใจหรือยอมรับหลักการเบื้องต้นด้วยซ้ำ
การที่กฏหมายมันยืดหยุ่นครอบคลุมได้ตามเจตนารมณ์มีแต่เค้าจะบอกว่ามันเป็นศิลปะในการอุดช่องว่างครับ การที่คุณมองว่าจุดนี้มันชุ่ยคุฯคงตค้องไปเถียงกับนักวิชาการทั้งโลกก่อนแล้วล่ะครับ
การตั้งธงของคุณคืออะไรครับ คุณก็คิดไปเองตามอคติว่าเค้าตั้งธงว่าคุณสมัครผิดไว้ก่อน
จริงๆแล้วการตั้งธงในการตัดสินมันมีครับ แต่มันไม่ใช่อย่างที่คุณคิด การตั้งธงที่ดีก็เพื่อตีความไปตามเจตนารมณ์ของกฏหมายมีเขียนอยู่ในฎีกาจำนวนมากครับ ในกรณีนี้พฤติกรรมรับเงิน(ไม่ใช่แค่ค่าน้ำมันอย่างที่คุณโดนเสี้ยมมาครับลองไปอ่านคำวินิฉัยดูนะ)รับผลประโยชน์ นอกจากนั้นเค้าไม่ได้เข้าไปเป็นพิธีกรรับเชิญรายการทั่วไป แต่มันเป็นรายการของเค้าเอง มีโลโก้หน้าเค้าชัดเจนด้วยซ้ำ แล้วรับเงินค่าตอบแทนแบบนี้ ดูยังไงก็ต้องผิดตามเจตนารมณ์ของกฏหมายอยู่แล้วครับ
อย่าพาลสิครับ ผมบอกแล้วว่านักกฏหมายก็เป็นแค่คน คุณเขียนโปรแกรมที่มัน Perfect ไม่ได้ฉันใด เค้าก็ร่างกฏหมายที่มัน Perfect ไม่ได้ฉันนั้นแหละครับ
ถ้าจะให้คุยเรื่องตุลาการภิวัฒน์ ก็ยาวอีกครับ แต่เท่าที่คุณพูดมานี่ผมก็เข้าใจแล้วว่าคุณไม่ได้รู้เรื่องแม้กระทั่งความหมายของ ตุลาการภิวัฒน์ เลยด้วยซ้ำ ผมจะบอกเป็นแนวไว้ละกันครับว่า ตุลาการภิวัฒน์ เนี่ยไม่ได้เกิดมาจากประเทศไทยที่แรก หรือที่เดียวอย่างที่คุณคิด ลองไปหาข้อมูลดูนะครับ
สุดท้ายหลักนิติศาสตร์ที่ผมอ้างกับคนทั่วโลกอ้างก็อันเดียวกันครับ แม้บางหลักจะมีการโต้เถียงบ้าง แต่ก็เป็นความเห็นแย้งแบบมีการศึกษา มีการอ้างเหตุ อ้างผล อ้างตรรกะที่อ้างอิงกับหลักอื่นๆประกอบครับ ไม่ใช่อ้างความพอใจในแบบของคุณแน่นอน
สรุปว่าคุณมีหลักการอะไรบ้างนอกจากความคิดของคุณที่แสดงตนชัดเจนว่าเป็นผู้มีอคติอย่างเต็มที่ต่อระบบกฏหมายมาตั้งแต่แรกแล้วครับ?
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ตีความเพื่อเอาผิดคดีนึง แต่ไม่ตีความเพื่อเอาผิดกับคดีแบบเดียวกัน? หลักกฎหมายทั่วโลกที่ตีความตามเจตนาของคนออกก็จริง แต่ถามว่าคนออกเขากำหนดเจตนาไว้กว้างแค่ไหนด้วย อย่างที่ยกไปถ้าเป็นระบบ common law กฎหมายจะเขียนไว้กว้างๆ ให้ตีความได้แต่ละครั้ง แต่ว่าตีความแล้วต้องยึดเป็นบรรทัดฐานชัดเจนต่อไปทุกคดี ส่วนcivil law ที่เขียนตัวบทอย่างละเอียด การตีความต้องตีัความอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษร เพราะไม่จำเป็นต้องยึดเป็นบรรทัดฐานต่อไป เลยต้องคำนึงถึงการตีความอย่างละเอียดในแต่ละครั้งให้ดี
ส่วนบ้านเราดันเอาข้อเสียของสองระบบมารวมกันซะงั้น เขียนตัวบทไว้อย่างชัดเจน แต่ตีความตามใจชอบว่าจะตีความแบบกว้างหรือแบบแคบ ขึ้นกับว่าจะเอาผิด"ใคร"?
นี่แหละครับที่เรียกว่า"ช่องว่าง"ในการ"เลือกปฎิบัติ"อย่างชัดเจน
ทำไมกรณีคุณสมัคร ที่ดูดีๆก็ไม่น่าจะเป็นการจงใจรับผลประโยชน์ที่มีมูลค่าแค่ค่าน้ำมัน ทำไมจึงต้องลงโทษรุนแรง?
ในขณะที่หนึ่งในคณะตลก. ก็ไปรับจ้างสถาบันการศึกษาเอกชน(ย้ำว่าเอกชน)เป็นค่าจ้างพิเศษ ด้วยเงินค่าจ้างแล้วมากกว่าเงินที่คุณสมัครได้หลายเท่า(เรทเอกชนสูงมากครับ) กลับถูกยกประโยชน์ว่าเป็นค่ายกครู ไม่ใช่ค่าจ้าง ทั้งๆที่ถ้าเปิดพจนานุกรมแล้วก็ต้องตีความได้แบบเดียวกันแท้ๆ?!?!
ส่วนคำพิำพากษาก็ต้องว่ากันไปครับ อย่าลืมว่าในการเีีรียนกฎหมาย มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าการ"ตั้งธง" แล้วเขียนเหตุผลทางกฎหมายมาอธิบายด้วยเช่นกัน
ยังไม่อยากพาดพิงยาวไปถึงเรื่อง คดีที่บอกว่าหมดอายุความ ทั้งๆที่เสียเวลาสอบพยานมาเป็นปีนะครับ อันนั้นทุเรศกว่าเยอะ :P
คืออันนี้ต้องเข้าใจว่าระบบกฏหมายบ้านเราแม้จะชื่อ Civil Law แต่ผสมมาจากทั้งสองระบบ คือจากอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกาครับ การร่างกฏหมายจึงมีหลายลักษณะ
ในรัฐธรรมนูญตามปกติก็ขะเขียนไว้กว้างๆอยู่แล้วครับ เพื่อจะออกกฏหมายลูกมาให้ลงลึกทีหลัง(อย่างเรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นต้นครับ) ในกรณีนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงว่า ความหมายของคำแต่ละคำตามกฏหมายจะต่างกันไปแต่ละฉบับตามแต่เจตนารมณ์ของกฏหมายครับซึ่งเป็นเรื่องปกติและมักจะมีนิยามไว้ในมาตรา 4 เป็นหลัก แต่ไม่มีหลักการหรือข้อบังคับใดที่บอกว่าเราจะต้องใช้นิยามนี้เป็นหลักครับ
ในกรณีคำว่าลูกจ้างนี้ ถ้าปกติเราไม่ได้คุ้นเคยกับนิยามที่ให้ไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน(ซึ่งเป็นนิยามที่เฉพาะและแคบกว่านิยามที่คนทั่วไปใช้) ลองคิดว่าหากไม่มีนิยามคำว่าลูกจ้างมาก่อนนั้นเราก็จะต้องตีความในลักษณะทั่วไปอยู่แล้วครับ และสิ่งอ้างอิงความหมายทั่วๆไปได้ดีที่สุดก็คือพจนานุกรมนั่นเองครับ
เพราะฉะนั้นมาตรา 267 จึงไม่ใช่ตัวบทที่ชัดเจนตามที่คุณว่าครับ แต่เป็นหลักการกว้างๆ(เพราะถ้าจะเน้นชัดเจนจะต้องมีนิยามคำว่าลูกจ้างในมาตรา 4 เอาไว้แล้วเหมือนกฏหมายอื่นๆครับ)
แล้วก็อีกประเด็นคือ คำถามที่คุณถามว่า
ทำไมกรณีคุณสมัคร ที่ดูดีๆก็ไม่น่าจะเป็นการจงใจรับผลประโยชน์ที่มีมูลค่าแค่ค่าน้ำมัน ทำไมจึงต้องลงโทษรุนแรง?
คำตอบอยู่ในคำวินิฉัยครับว่าไม่ใช่แค่ค่าน้ำมันอย่างเดียว ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าคุณสมัคร ได้รับค่าจ้างนอกเหนือจากค่าน้ำมันจากแบบยื่นภาษีของคุณสมัครเองครับ และนี่เป็นประเด็นหลักในการตัดสินเลยครับ เพราะเป็นการได้รับผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียกับธุรกิจ ผมแนะนำให้อ่านเหตุผลที่ใช้ในคำวินิฉัยประกอบครับ
มิฉะนั้นผู้เป็นลูกจ้าง รับค่าจ้างเป็นรายเดือนในลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ก็สามารถทำงานต่อไปได้ โดยเปลี่ยน ค่าตอบแทนจากค่าจ้างรายเดือนมาเป็นสินจ้างตามการงานที่ทำ เช่น แพทย์ก็เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็น ค่ารักษาตามจำนวนคนไข้ ที่ปรึกษากฎหมายก็เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็นค่าปรึกษาหรือค่าทำความเห็น เป็นรายครั้ง ซึ่งก็ยังมีความผูกพันในเชิงผลประโยชน์กันอยู่ระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้รับทำงานให้ เห็นได้ชัดเจนว่ากฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์ให้หาช่องทางหลีกเลี่ยงบทบังคับกันได้โดยง่ายเช่นนั้น
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ประเด็นการรับผลประโยชน์นี่แหละ ที่ผมบอกว่ามันไม่น่าเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของตัวบทแต่แรก ซึ่งเจตนารมณ์ อาจจะบอกว่าเพื่อป้องกันไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนของจนท.รัฐระดับสูง แต่จำนวนผลประโยชน์เล็กน้อยนี้ มีอิทธิพลทำให้เกิดการทุจริตได้อย่างไร ทำไมไม่มีใครอธิบายได้ ต้องตีความอีกไหมว่าเงินจำนวนเท่าไรถึงจะขัด แบบนี้ตัวอย่างที่เคยอ่านมา ถ้ามีคนขอร้องให้คุณสมัครไปช่วยทำอาหารเป็นเกียรติในงานอะไรสักอย่าง แล้วให้ค่าตอบแทนเล็กน้อยมากเป็นค่าเสียเวลา คุณจะคิดด้วยสามัญสำนึกว่าเป็นการทำให้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่?
และผมรอคำตอบเรื่องเคสเีดียวกัน ที่คณะตลก. ไปรับจ้างสถาบันการศึกษาเอกชนด้วยนะครับ ว่าคุณคิดว่าอย่างไร ในเมื่อถ้่าอ้างการตีความแบบเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นการรับประโยชน์ที่ชัดเจนมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะรายได้สูงเกินครึ่งของรายได้ประจำก็ว่าได้ และถึงจะอ้่างว่าเป็นเพื่อการศึกษาเป็นวิทยาทาน แล้วทำไมถึงรับเงินค่าจ้าง? และสถาบันการศึกษาเอกชน ก็มีสถานะไม่ต่างจากบ.เอกชนนะครับ ไม่งั้นคุณสมัครก็อ้างว่าไปสอนทำกับข้าวออกทีวีเป็นวิทยาทานได้เหมือนกันสิ อ้ออย่าบอกว่า อยากรู้ก็ฟ้องสิ เท่าที่จำได้มีคนร้องไปแล้ว แต่เขาไม่รับร้องหรือยังไงนี่แหละ
ไหนๆก็พูดต่อแล้ว ขอให้ต่อถึงกรณี สอบสวนมาเป็นปีแล้วำเิพิ่งบอกว่าหมดอายุความด้วยครับ เป็นการตัดสินที่แปลกใจที่สุด ว่าจะสอบพยานเป็นร้อยปากเพื่ออะไร แถมทนายของจำเลขก็ไม่ได้เป็นฝ่ายร้องในข้อแย้งนี้ด้วยซ้ำ :P
จริงๆความเสียหายที่เกิดขึ้นมันยังไม่มีครับ แต่ด้วยเจตนารมณ์ของกฏหมายที่มีเพื่อ "ป้องกัน" การขัดกันแห่งผลประโยชน์แล้วจึงยอมให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นไม่ได้เลยแม้แต่เพียงเล็กน้อย และเป็นการปิดช่องที่จะให้ผู้อื่นดำเนินตามแนวทางนี้ได้อีกต่อไปในอนาคตครับ
ต้องเข้าใจก่อนว่ากฏหมายไม่มองว่าได้มากหรือได้น้อยเป็นตัวตัดสินความผิดครับ อย่างคุณลักขโมยเงิน 200 บาทหรือ 20,000 บาทก็เป็นการลักขโมยเช่นกัน กฏหมายจะไม่ใช่ปริมาณความผิดเป็นตัวตัดสินครับ ยกเว้นจะบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น ต้องลักขโมยมากกว่า 2,000 บาทจึงเป็นความผิด เป็นต้นครับ แต่ในเรื่องกฏหมายอาญาจะมีตัวช่วยคือตอนกำหนดโทษศาลมีดุลยพินิจให้ลงโทษได้มากน้อยตามที่กฏหมายวางไว้ บางความผิดอาจจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ถ้ามันไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมาย เช่น เคยมีฏีกาว่าแม่ขโมยนมเด็ก 1 กล่องเพื่อนำไปให้ลูกกินประทังชีวิต ศาลก็ตัดสินว่าแม่คนนี้มีความผิดจริง แต่การกระทำผิดนั้นทำไปด้วยความจำเป็น เพียงเท่าที่จำเป็น เลยพิพากษาไม่ลงโทษเลยเพราะกฏหมายกำหนดไว้ให้ไม่ลงโทษก็ได้ เป็นต้นครับ แต่สำหรับคดีนี้กฏหมายมีบทลงโทษเดียวซึ่งเป็นบทหนักโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้เกิดการชั่งใจระหว่างผลประโยชน์กับการโดนลงโทษครับ
อย่าลืมว่าเค้าไม่ได้ห้ามไปเป็นพิธีกรกิติมศักดิ์เลยทั้งหมดนะครับ แต่กรณีนี้คือคุณสมัครเค้ามีรายการของตัวเอง โลโก้รายการเป็นตัวเค้าเอง ได้รับเงินค่าออกรายการเป็นประจำ(อันนี้มีแบบภาษีจากกรมสรรพพากรยืนยันครับ)และอันที่จริงคุณสมัครเองก็เป็นนักกฏหมายที่เก่ง และในตอนที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ตัวเค้าเองก็ทราบดีว่าการกระทำเป็นการสุ่มเสียงว่าจะผิดหรือไม่ ถึงขั้นไปจ้างนักกฏหมายมาช่วยตีความ ทั้งๆที่ปกติคนทำงานระดับนี้อะไรที่มันเสี่ยงโดยไม่จำเป็นทำไมยังต้องเสี่ยงกับมันอีก หรือไม่ก็ทำไมไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเสียเองเลยล่ะ? มันจำเป็นมากขนากนั้นเลยหรือกับการออก TV โดยไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างที่เค้าว่า
อย่างตัวอย่างที่คุณว่ามา
เรื่องนี้ผมเห็นว่าถ้าเป็นการรับเงินไม่ว่ามากหรือน้อยถ้าเป็นอะไรที่ได้เพิ่มมา ก็นับเป็นผลประโยชน์ทั้งหมดครับ แต่กลับกันถ้าให้ค่าเดินทางเช่นออกตั๋วเครื่องบินเชิญมาเฉยๆแค่นั้นเลยไม่มีพ้อคเก็ตมันนี่ (เรียกได้ว่ามาด้วยใจล้วนๆ) แค่นี้กฏหมายรับได้ครับซึ่งก็เขียนเอาไว้ในคำวินิฉัยด้วยว่าลักษณะเช่นนี้ทำได้
แต่แน่นอนว่าเราจะไม่เอาเรื่องการได้มากหรือได้น้อยมาเป็นตัวตัดสินเพราะอย่างนั้นก็จะยิ่งเป็นการตีความกฏหมายแบบเลือกปฏิบัติชัดเจนครับ มีแต่เพียงว่า ได้ หรือ ไม่ได้ เพียงเท่านั้น
ส่วนเรื่อง คณะตลกไปรับจ้างสถาบันการศึกษาเอกชน กับ สอบสวนมาเป็นปีแล้วเพิ่งบอกว่าหมดอายุความ นี่ขอชัดๆเลยครับว่าเรื่องอะไร เกี่ยวกับใคร หรือจะเอาข่าวมาโพสก็ได้เดี๋ยวผมหาต่อเอง เพราะผมไม่คุ้นเคยกับชื่อเรียกทางการเมืองมากนักเท่าไหร่ครับ :D
*เพิ่มเติม
เรื่องสอนหนังสือนี่ผมนึกออกแล้วล่ะครับ คร่าวๆมีสองประเด็นคือ มหาวิทยาลัยไม่ว่ารัญหรือเอกชนจะเป็น Non-profit organization ครับ และสองคือ การสอนหนังสือทั้งหมดทั้งปวงไม่ว่าจะสถาบันรัฐหรือเอกชน จะไม่ใช่การไปเป็นลูกจ้างหรือผู้รับจ้างครับ อย่างมหาวิทยาลัยทั่วไปเวลาพูดถึงบุคลากรก็จะพูดแยกเป็น อาจารย์และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย อะไรแบบนี้ครับ
แล้วก็อยากให้แยกแยะเรื่องการรับผลประโยชน์จากบุคคลที่สามไม่จำเป็นต้องเป็นการขัดกันของผลประโยชน์เสมอไปครับ เช่น การที่เราเอาเงินเราเองไปฝากธนาคารก็เป็นการได้รับผลประโยชน์จากบุคคลที่สามเช่นกัน
จริงๆแล้วมาตรา 207 นี่แหละครับเป็นข้อเสียของกฏหมายในลักษณะที่คุณ Thaina อยากให้เป็น คือระบุอะไรเอาไว้ชัดเจน แน่นอนเพราะมาตรานี้กำหนดลักษณะไว้ชัดเจนเลย 4 ลักษณะถ้านอกเหนือจากนี้ก็คือทำได้ (กลายเป็นว่าเปิดข่องว่างให้ชัดเจนซะอีก)แต่ผมกลับมองว่ามันเป็นช่องว่างนึงของกฏหมายที่ไม่สามารถตีความให้ครอบคลุมได้โดยสภาพตัวบทครับ เพราะหลักการตีความตามเจตนารมณ์ของกฏหมายมันมีข้อจำกัดของมันคือ จะต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยไม่ขัดกับตัวอักษร
ถ้าต้องการรายละเอียดลองชี้ประเด็นมาจะชี้แจงให้ครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เอ่ือ สถาบันการศึกษาเอกชนเป็น non-profit organization?!?!?!? แม้แต่สถาบันการศึกษาของรัฐที่ออกนอกระบบแล้ว อาจารย์ใหม่จะมีสถานะเป็นพนักงานมหาวิทยา่ลัย/พนักงานของรัฐนะครับ ประเมินทุกปี ต่อสัญญาทุกห้าปี เป็นลูกจ้่างตามกฎหมายแรงงานแน่นอน ไม่ใช่ข้าราชการของรัฐแบบเก่าอีกต่อไปนานแล้ว ยิ่งสถาบันเอกชนยิ่งเป็นลูกจ้างซะยิ่งกว่า มีสัญญาชัดเจนครับ สงสัยว่าคุณอาจจะเรียนจบนานไปหน่อยนะครับ(อันนี้แซว) -_-"
เอาการนิยามว่าการรับจ้างสอนหนังสือไม่ใช่การรับประโยชน์นี้จากไหนครับ? มีข้อยกเว้นในตัวบทที่ไหนบ้าง?
แล้วที่บอกกฎหมายไมไ่ด้ระบุผลประโยชน์ อันนี้ต้องถามหน่อยนะครับ สมมติรายได้คณะตลก คือ1 แสนบาทต่อเดือน(โดยประมาณจากของจริง) แล้วไปรับจ้างสอนหนังสือได้เพิ่มอีก 5 หมื่นบาทต่อเดือน คำถามคือมันสมเหตุสมผลหรือไม่ ในเมื่อรายได้จากงานนอกมีมากถึงครึ่งนึงของงานประจำ แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่างานนอกนั้นไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับงานหลัก? ยิ่้งถ้าบอกว่้าเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อป้องปรามจนท.รัฐระดับสูงไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนแล้ว เลยต้องลงโทษเป็นตัวอย่างกับคุณสมัคร แล้วเคสที่คล้ายกันนี่ล่ะ?ผมว่ายิ่งชัดเจนมากๆนะครับ น่าเสียดายที่คณะตลก.คนอื่นๆก็รีบให้สัมภาษณ์กันท่าไว้ก่อนคนร้องเลยว่า รับจ้างสอนหนังสือคือค่ายกครู ไม่ใช่ลูกจ้าง ไม่ผิดแน่ๆ
ไปๆมาๆเหมือนคุณจะบอกว่าดุลยพินิจของคนตัดสิน สำคัญกว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายไปแล้วเสียอีกนะ แล้วเราจะมั่นใจในดุลยพินิจของแต่ละคนได้อย่างไร เรามีระบบอะไรตรวจสอบและคานอำนาจดุลยพินิจเหล่านี้บ้าง?
เรื่องหมดอายุความก็คดียุบพรรคเก่าแก่ไงครับ(ตอนนี้เหลือพรรคเดียวที่อายุเกินยี่สิบปี) สอบสวนมาเป็นปี สอบพยานเป็นร้อยปาก สุดท้ายมาสรุปว่า คนที่ทำหน้่าที่ส่งเรื่อง ส่งช้าเกินไปเลยยกฟ้องทั้งหมด คนดูงง ทนายของจำเลยยังงง เพราะไม่ได้สู้ในประเด็นนั้นเลยสักนิด และไม่ยอมวินิจฉัยในประเด็นสำคัญว่าถูกหรือผิดด้วย
ที่ตลกกว่าก็คือ ถ้าอ้างว่าส่งช้า มันร้องใหม่ส่งเรื่องใหม่ได้ เพราะความผิดนั้นไม่ได้หมดไป ยังไม่ได้พิสูจน์ คนที่มีหน้าที่ส่งก็ไม่ยอมส่ง เงียบกันไปหมด จนคนนอกก็งง ว่างี้ถ้าคนส่ง"ตั้งใจ"ดึงเรื่องให้ช้า ก็เอาผิดใครไมไ่ด้สักคนเลยน่ะซี?!?!
ป.ล. คณะตลก เป็นตัวย่อจากคณะ ตุลา...ไงครับ(ไม่อยากพาดพิงโดยตรง) โดยคนที่ว่ารับจ้างสอนหนังสือ ก็คือหนึ่งในคนที่ตัดสินคุณสมัครด้วยนั่นเอง เป็นคนดังที่เคยให้สัมภาษณ์ว่า เสียงของประชาชนในการเลือกตั้งมีค่าแค่พันบาทนั่นแหละ
มหาวิทยาลัยไม่ว่ารัฐหรือเอกชนเป็น Non-Profit organization จริงๆครับ ผมจำข้อกฏหมายไม่ได้แน่นอนแต่มีฏีการองรับแน่ๆถ้าจะเอาปผมจะไปค้นให้แต่ขอบอกว่าลำบากมากครับ = =" และจำได้ว่าในวัตถุประสงค์มหาวิทยาลัยทุกไม่เฉพาะในประเทศไทยนะครับ จะไม่มีวัตถุประสงค์การแสวงหาผลกำไรครับ จึงเป็นองค์กรไม่มีการแสวงหาผลกำไรตามกฏหมายจริงๆครับ และมีหน้าที่ต้องบริการชุมชนอีกพอสมควรซึ่งผมขอไม่กล่าวถึงนะ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้
ส่วนเรื่องรับเงินหรือไม่นั้นผมบอกแล้วนะครับว่ามันไม่ใช่สาระสำคัญ
ดังนั้นในส่วนของมาตรา 207 จะมีรายละเอียดระบุไว้ชัดเจนดังนี้ครับ
(1) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(2)ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
(3) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรวยได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
(4) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด
แน่นอนคือ 1 และ 2 ไม่ตรงแน่เพราะไม่เกี่ยวกับรัฐเลย และ 3 ก็ไม่ใช่เพราะมหาวิทยาลัยเป็น Non Profit Organization และ 4 วิชาชีพอิสระอย่างเช่นทนายความก็ไม่ใช่อีก
ดังนั้นจึงเหลือแค่การเป็นลูกจ้างในส่วนท้ายของ (3) ใช่มั้ยล่ะครับ จริงๆถ้าเขียนไว้แบบมาตรา 267 ที่บอกว่ามันกว่้างๆแย่ๆกันนั้นเค้าอาจจะโดนตัดสินว่าผิดจริงไปแล้วครับแต่ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ
ลูกจ้างถ้าจะตีความตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์หรือ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ครูมหาวิทยาลัยจะไม่อยู่ภายใต้นิยามแน่นอนครับ เนื่องจากกฏหมายดังกล่าวจะบังคับใช้กับองค์กรที่มีวัตถุประสงค์แสวงหาผลกำไรเท่านั้นครับ
และมีประเด็นที่เป็เรื่องการตีความคือ คำว่าลูกจ้างนั้นมันอยู่หลังคำว่า "หรือ" ครับดังนั้นตามหลักที่ใช้กันเป็นส่วนมาก (ย้ำนะครับว่าส่วนมากไม่ใช่ทั้งหมดยังมีข้อถกเถียงกันพอสมควร) การตีความคำที่อยู่หลังคำว่าหรือนั้นจะต้องตีความอย่างแคบ ให้สอดคล้องกับตัวอย่างที่อยู่ข้างหน้าครับ ดังนั้นมันจึงโดนบังคับกลายๆให้ตีความคำว่าลูกจ้างนั้นต้องเป็นลูกจ้างขององค์กรที่แสวงหาผลกำไรด้วยครับ
ถ้าจะมองว่ามันเป็นการเล่นคำมั้ย ผมว่ามันไม่เชิงเพราะหลักการนี้ถูกใช้กันมานานจริงๆ และมีประโยชน์มากในหลายๆคดีมันมีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ ซึ่งส่วนตัวผมอยู่ตรงกลางว่าควรจะตีความไปในเชิงที่รักษาเจตนารมณ์ของกฏหมายเอาไว้เช่นเดียวกับกรณีคุณสมัคร คือป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามาตามแก้
แต่มันก็มีประเด็นถกเถียงอยู่อีกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะไปมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยได้อย่างไร คือมันไม่ชัดเจนเหมือนนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจตัดสินใจในเกือบทุกเรื่อง แต่คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจกับมหาวิทยาลัยเอกชนนี่หาจุดเกาะเกี่ยวค่อนข้างยากครับ ผมจึงมองว่าอาจจะมีส่วนนี้เป็นการตัดสินใจด้วยอีกประการหนึ่ง(ความเห็นส่วนตัวนะครับ)
และยังมีเรื่องคนที่ทำวิชาชีพครูเค้ายืนยันว่าตนเองไม่ใช่ลูกจ้างอีกนะครับ (คือการสอนหนังสือทำด้วยใจรักต้องการเผยแพร่ความรู้อะไรทำนองนี้จึงไม่ยอมรับการเรียกเค้าว่าลูกจ้างคือจ้างมาสอนหนังสือ)
แล้วก็สุดท้ายคือตามประมวลจริยธรรมของผู้พิพากษาแล้วการสอนหนังสือตามมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ทำได้ครับ อันนี้จะมี กต. คอยกำกับดูแลอยู่แล้วเป็นอีกส่วนนึงครับ ซึ่งผมคาดว่าท่านคงสอนอยู่เป็นปกติแล้ว ซึ่งงานแบบนี้หากไปสอนในเรื่องที่เราจะไปพิพากษา หรือเคยให้ความเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือการตีความในคดีที่เรากำลังทำหรือมีส่วนร่วมนั้น คู่ความสามารถยิ้นขอเปลี่ยนหรือถอนตัวผู้พิพากษาท่านดังกล่าวได้ครับ (แต่ปกติผู้พิพากษาท่านจะรู้ตัวเองอยู่แล้ว) ดังนั้นในกรณีนี้ยังไม่มีเหตุอะไรที่จะขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาขึ้นมาก็เลยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิฉัยครับ
เพราะงั้นคดี ที่คุณยกขึ้นมามันก็จะมีข้อเท็จจริงที่ต่างกันกับของคุณสมัครแล้วคือ เขาไม่ได้เข้าร่วมโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกัน เพราะโดยสภาพมหาวิทยาลัยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรอยู่แล้วครับ
แต่ผมมานั่งคิดดูมันตลกตรงที่ว่าคดีนี้เป็นไปตามลักษณะที่คุณ Thaina ต้องการทุกอย่างเลยนะครับ
-กฏหมายเขียนชัดเจนระบุเป็นข้อๆ
-ตีความอย่างแคบ
-ไม่คำนึงเจตนารมณ์ของกฏหมาย ถ้าสงสัยก็ปล่อยไปก่อน
แต่ก็เป็นตลกร้ายพอสมควรนะผมว่า :(
ป.ล.เดี๋ยวหาคดียุบพรรคก่อนนะครับ :D
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
แล้วทีวี 3 5 7 9 มันเป็น Non profit รึเปล่าครับ ฟรีทีวีในการควบคุมของกองทัพไม่ใช่เหรอ? แล้วกฏหมายที่ว่ามหาวิทยาลัยเป็น NGO มันเป็นกฏหมายลูกรึเปล่า? เอามาตีความข้ามกันได้รึเปล่า? ทีงี้ทำไมอ้างได้ไม่เอาพจนานุกรมที่ครอบคลุมกว่ามาใช้???
การทำกับข้าวออกทีวีมันก็เป็นการเป็นวิทยากรรูปแบบนึง ปล่อยวิทยาทานในการทำกับข้าวให้สาธารณชน คนเป็นวิทยากรอย่างบิลล์เกตต์ ไปบรรยายสัมนา ได้เงินจากการรับเชิญ คิดว่าบิลล์เกตต์จะบอกว่า "ผมคือลูกจ้างของคนจัดงานสัมนา" มั้ยล่ะครับ
การอ้างหลักการตีความคำว่า "หรือ" อย่างคับแคบ นี่มันก็ตลกนะ เพราะโดยหลักการของคนทั่วไป โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์อย่างผม ถ้าสั่งว่า OR แปลว่าทุกกรณีที่หลุดกรณีก่อนหน้ามาถือว่าเช็คหมด ถ้าจะบีบให้แคบคือเกิดจาก case ที่อยู่วงนอก ไม่ใช่เกิดจากข้อความก่อนหน้า ถ้าบอกว่าคณะนิติศาสตร์มีการใช้คำไม่เหมือนกับคนทั่วไป แต่ก็อ้างว่าคำว่าลูกจ้าง ต้องใช้ความหมายคนทั่วไป แบบนี้มันอยากอ้างอะไรก็อ้างนี่หว่า
การที่กฏหมายมีคำว่า หรือ แต่ไม่รู้ว่าจริงแล้วมันเป็น OR ของคำไหน ก็เป็นความผิดพลาดของคนเขียนอีกแล้วที่ทำให้งงกัน แล้วก็ขี้เกียจไม่ยอมแก้ นักกฏหมายนี่เป็นพวกแบบนี้กันจริง? ถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์ บั๊กเล็กน้อยให้หลุดแบบนี้นี่โดนเรียกไปด่ากันเลยนะครับ เขียน || ต้องให้ชัดเลยว่ามันไป OR กับอะไร วงเล็บมีก็ใส่ไป ไม่งั้นก็ใส่เป็น case ย่อย ถ้าเพราะคอมไพเลอร์สองตัวคอมไพล์ออกมาไม่เหมือนกันโปรแกรมก็รวน เหมือนที่เป็นกับประเทศไทยในวันนี้
ใช่ครับ เพราะมันควรจะเป็นแบบนี้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้ทุกคดีเป็นมาตรฐานเดียวกัน ถ้าคนนึงไม่ผิด อีกคนก็ต้องไม่ผิด ถ้าผิดก็ต้องผิดทุกคนไม่มียกเว้น ผมไม่ได้ต้องการให้คนที่ไปสอนหนังสือต้องรับโทษอะไร แต่ถ้าคนนึงโดน อีกคนไม่โดน แบบนี้มันไม่ใช่ความยุติธรรม
แล้วนี่ก็คือความ "เมคเซนส์" ของนิติศาสตร์ไงครับ มันเขียนยังไงก็มีหลักการ แต่สองมาตรฐานได้หน้าตาเฉย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความไปแบบไหน คุณเห็นว่ามันเมคเซนส์ตามหลักนิติศาสตร์ทั้งคู่ แต่ประชาชนเห็นแล้วมันขัดตา
นี่คือรูปแบบของความลำเอียงที่คนค่อนประเทศเข้าเห็นแล้วเขาถึงไปเชื่อสื่อมากกว่าศาลไงล่ะ
สิ่งที่เป็นไปตามที่ผมบอกจริงๆก็คือ การที่ศาลมีดุลยพินิจที่จะสั่งตีความไปทางไหนก็ได้จริงๆต่างหาก อย่างเรื่องคำว่า [หรือ] ที่คุณบอกว่า "ย้ำนะครับว่าส่วนมากไม่ใช่ทั้งหมดยังมีข้อถกเถียงกันพอสมควร" มันก็เป็นช่องที่ทำให้ผู้พิพากษาตีความอย่างกว้างหรืออย่างแคบก็ได้ขึ้นอยู่กับอารมณ์ อยากจะยกความเห็นทางไหนก็ได้
ตอบว่าไม่เป็นชัดเจนครับ แล้วจะอยู่หรือไม่อยู่ในการควบคุมกองทัพแล้วเกี่ยวอะไรด้วยครับ?? ยกเว้นแต่ TPBS ที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะที่ไม่แสวงผลกำไรแห่งแรกของไทย
แล้ว NGO มาเกี่ยวอะไรละครับเนี่ย? ถ้าหมายถึงความเป็น Non - Profit ของมหาวิทยาลัยเค้าระบุไว้ใน พรบ.มหาวิทยาลัยเรียบร้อยตั้งนานแล้วครับ แล้วอีกอย่างคือมหาวิทยาลัยจะจัดตั้งต้องจดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการนะครับ ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์ แยกออกมาชัดเจนครับ เพราะงั้นคงไม่ต้องตีความตามที่คุณมั่วมานะครับ :D
คุณจะบอกอะไรก็เรื่องของคุณสิครับ คุณคิดว่าใครเค้าจะมาอ้างให้ตัวเองผิดกฏหมายล่ะครับ? ถ้าโดยสภาพคุณจะทำวิทยาทานอะไรก็ว่าไปแต่อย่ารับเงินจนมันเป็นผลประโยชน์ก็พอ แต่หากบิลล์เกตต์เกิดเป็นนายกฯขึ้นมาแล้วมาเปิดรายการ ครัวบิลเกตต์ แล้วรับค่าตัวก็ผิดอยู่ดีครับ
แหมถ้ามันเหมือนกันแบบที่คุณว่าก็คงง่ายแหละครับ
แต่ที่เค้าตีความแคบเพราะกฏหมายบัญญัติมาไว้แคบๆมาตั้งแต่แรกครับ ถ้าเค้าจะหมายความแค่ลูกจ้างเค้าก็เขียนไว้แต่แรกแล้วให้เหมือน มาตรา 267 แต่นี่เค้ายกตัวอย่างมา 3 อันมาเป็นแนวทางให้เห็นภาพแล้ว ดังนั้นคำว่าหรืออื่นๆ คุณต้องตีความตามแนวทางที่ให้มาครับ แต่ถ้าคุณดันมั่วไปตีความกว้างกว่าข้างหน้าได้ แล้วเค้าจะเขียนข้างหน้ามาไว้ทำไมครับ เขียนแค่อื่นๆเลยง่ายกว่าไหม?
ผมว่าคุณนั่นแหละครับที่อยากอ้างอะไรก็อ้าง ผมไม่เห็นคุณมีหลักการอะไรสักนิดเดียว มีแต่ความรู้สึกคุณไม่ก็ความเคยชินล้วนๆ เอาการเขียนโปรแกรมมาอ้างอิงกับหลักนิติศาสตร์ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกัน จะเทียบเคียงมันทำได้ครับ แต่ก็ต้องดูให้มันเข้าท่าซะด้วย
อีกอย่างผมบอกเป็นสิบๆรอบแล้วมั้งครับว่าเวลาตีความต้อง "จะต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยไม่ขัดกับตัวอักษร" คุณก็ละเมอจะให้มันลงล้อคของคุณเองท่าเดียวเห็นแล้วมันตลกครับ อ้าง ความคิดเดิมๆ ทั้งๆที่มันมีหลักการรองรับอยู่แล้ว คุณก็รับรู้แต่ไม่มีหลักการใดที่คุณจะยกมาอ้างก็เลยทำเป็นไม่สนใจซะอย่างนั้น
ส่วนในย่อหน้าที่สองผมว่าสิ่งที่ผืดพลาดทั้งหมดมีแค่คุณเองนั่นแหละครับ พฤติกรรมมนุษย์มันกำหนดไม่ได้เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครับ คุณจะไปนั่งใส่อาชีพที่เป็นลูกจ้างทั้งหมดทำได้ก็เทพแล้วครับ มาตราเดียวคงยาวเป็น 100 หน้าแถมยิ่งไม่ครอบคลุมยิ่งกว่าเก่าซะอีก
แล้วที่บอกว่าขี้เกียจไม่ยอมแก้ คุณก็เทพเหมือนกันนะครับ รู้ช่องว่างนี้มาก่อนคดีนี้อีกหรือครับเนี่ย แต่ทำไมผมไม่เคยเห็นใครพูดถึงเลยหว่า?? หรือจริงๆแล้วมันเป็นแค่คุณเองที่คิดว่ามันเป็นช่องโหว่ไปเองกันแน่ครับ
แล้วคำว่าควรของคุณนี่เอามาจากไหนล่ะครับ ควรตามความคิดคุณงั้นรึ? เอาง่ายๆคุณจะบอกว่าคดีนี้เหมือนกันเทียบเคียงกันได้ แต่ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายแล้วมันต่างกันคนละขั้วเลยครับ กฏหมายมาตรานึงเขียนกว่างๆ อีกมาตราเขียนแบบแคบ คนนึงหน้าที่กว้างขวางมีผลประโยชน์ทับซ้อนแน่ๆ อีกคนงานเฉพาะทางหาจุดเกาะเกี่ยวไม่เจอ คนนึงไปเกี่ยวกับธุรกิจหากำไร อีกคนไปเกี่ยวกับ NPO อ้าวแล้วนี่สรุปมันเหมือนกันตรงไหนล่ะครับเนี่ย ยกเว้นผลสุดท้ายที่ต้องออกจากตำแหน่งเหมือนกัน แต่อันที่จริงแม้แต่ผลของการออกก็ต่างกันมากโดยสภาพครับ คุณลองคิดดูให้ดีแล้วจะทราบว่าการนี่ นายกฯออกจากตำแหน่งกับผู้พิพากษา ออกจากองค์คณะ ต่างกันเช่นไร?
และจะบอกให้ว่าไม่มีกฏหมายใดห้ามผู้พิพากษาไปสอนหนังสือเลยครับ อันที่จริงสอนกันเป็นปกติด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีคำพิพากษาออกมาว่าการไปสอนหนังสือมันผิดคุณสมบัติการเป็นองค์คณะเพียงแค่นั้นแน่นอน มันต้องมีเหตุผลประกอบที่มากกว่านั้นว่าการสอนเช่นว่ามันจะขัดผลประโยชน์ในการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร อย่างเช่นคดีคุณสมัครคือ เป็นลูกจ้าง ประกอบกับ มีตำแหน่งในองค์กรธุรกิจที่มุ่งหวังหาผลกำไรไงครับ (แต่คุณคิดเองว่าเป็นลูกจ้างก็ผิดและ ตามที่สื่อเสี้ยมมา)
สรุปว่าคุณแค่คิดไปเองเพราะโดนเสี้ยมมาว่าให้มันต้องเหมือนกัน แต่ไม่เคยลงดูรายละเอียดด้วยซ้ำว่าตรงไหนที่มันเหมือนกันจริงๆ แต่กลับคิดเป็นตุเป็นตะได้ขนาดนี้ ผมก็นับถือคุณแหละครับ
เมคเซนส์ ของคุณนี่คืออะไรหรือครับผมว่าคุณใช้ชีวิตกับคอมพิวเตอร์มาเกินไปหรือเปล่าเพราะโลกความจริงมันไม่ได้มีแค่ เมคเซนส์ หรือ ไม่เมคเซนส์ เท่านั้น อะไรที่อยู่ตรงกลางนี้ที่จริงมันมีเยอะกว่าด้วยซ้ำครับ
แล้วสรุปว่าตรงไหนสองมาตรฐานล่ะครับ ทุกคดีนี่คืออะไรถ้าจะบอกว่าคดีที่ข้อเท็จจริงเหมือนกันมันก็ไม่ใช่ที่ยกมา ถ้าจะบอกข้อกฏหมายเดียวกันก็ไม่ใช่อีก เพราะผมชี้ให้เห็นแล้วว่าสองเคสมันคนละเรื่องกันแทบจะทุกประเด็นแล้ว คุณมีอะไรมาอ้างอีกหรือเปล่าล่ะครับ?
หรือแค่คุณอยากให้มันเป็นเรื่องเดียวกันมันก็เลยเป็น?
แล้วคนค่อนประเทศของคุณนี่คืออะไรล่ะครับ ผมไม่เห็นจะค่อนประเทศอย่างเป็นรูปธรรมซะที แล้วที่เชื่อสื่อมากกว่าศาลเพราะเหตุผลหรือเพราะโดนเสี้ยมกันแน่ ถ้าคนค่อยประเทศเค้าอ้างบทความมากกว่าหลักการแบบคุณคงเป็นอะไรที่ Epic มากและผมคงสิ้นหวังกับคนรอบตัวมากๆเลยแหละครับ
ผมว่าแล้วว่าอีกไม่นานคุณก็มาถึงจุดนี้ คุณก็เดาง่ายเหมือนเดิมครับเถียงกี่รอบพอคุณไม่มีหลักการก็จะทำแบบนี้ ตอนแรกก็ปฏิเสธไปที่ตัวบุคคล ต่อไปที่องค์กร แล้วก็ต่อไปที่ศาสตร์ คุณไม่ยอมรับอะไรสักอย่างนอกจากความคิดของคุณเองที่ไม่มีหลักการอะไรรองรับนอกจากอารมณ์ของคุณเองเท่านั้นเลยจริงๆ ยังกล้ามาว่าคนอื่นที่ใช้หลักการโดย"ตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยไม่ขัดกับตัวอักษร"ว่าตัดสินตามอารมณ์ซะอีก น่าขำครับที่คุณต้องการหลักการ ทั้งๆที่ตัวเองไร้ซึ่งหลักการยิ่งกว่าอะไรที่คุณพูดมาซะอีก
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ผมยังติดใจเรื่องข้อยกเว้นของคุณน่ะครับ ในข้อ3 คุณไปยกเว้นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรตอนไหน แล้วนิยามขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเป็นอย่างไร ขอตัวบทชัดๆเลยได้ไหม ไม่เอาการตีความแบบกว้างของคุณเองครับ
เพราะดูเหมือนคุณใช้ความรู้สึกมายกเว้น ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงแล้วมันไม่ใช่้เลยครับ การบริหารจัดการของสถาบันการศึกษาเอกชน ต้องอยู่บนพื้นฐานของผลกำไรอยู่ดี ไม่งั้นเขาก็คงขาดทุนตลอดเวลา เหมือนสถาบันการศึกษาของรัฐแล้วนั่นแหละ(ของรัฐเองก็เช่นกัน พอออกนอกระบบแล้วมีกำไร จะเรียกว่าไม่แสวงหาผลกำไรได้อย่างไร?)
ส่วนเรื่องมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ต้องถามกลับว่ากรณีคุณสมัครได้มีการ"พิสูจน์"ไหม? เพราะคุณก็บอกเองว่าเป็นการป้องปราม ที่แม้จะไม่มีการทับซ้อนจริงๆก็ถือว่าผิดอยู่ดี แล้วทำไมกรณีตุลาการกับสถาบันการศึกษาเอกชน ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากๆ คุณถึงยกเว้นว่าไม่ทับซ้อนโดยทันทีล่ะครับ? จะยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าผู้บริหารสถาบันมีคดีความกับศาลที่ตุลาการนั้นเกี่ยวข้องล่ะ? ทำไมคุณถึงเลือกที่จะป้องปรามในกรณีนึง แล้วยกเว้นไม่ต้องป้องปรามในอีกกรณีนึง โดยที่ไม่มีการพิสูจน์ว่ามีผลทับซ้อนได้จริงๆหรือเปล่า?
คือเรื่ององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนั้นมันเป็นตัวบทเลยครับ
คือการดูว่าองค์กรใดเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไรหรือไม่ กฏหมายก็จะดูที่ตัววัตถุประสงค์ ณ ตอนก่อตั้งครับอย่างถ้าเป็นบริษัทก็จะมีวัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณหสนธิ"เท่านั้น"ครับ
ส่วนสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนนั้น ตามพรบ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตรา 8 เขียนวัตถุประสงค์เอาไว้เหมือนกันสำหรับทุกแห่งครับ และไม่มีการแสวงหาผลกำไรในนั้นเลยจึงเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรตามกฏหมายครับ อันที่จริงมีฏีกาที่เขียนไว้ชัดๆเลยว่ามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรครับ แต่ผมยังหาเลขไม่เจอถ้าเจอจะเอามาโพสให้ทีหลังนะครับ
คุณเข้าใจถูกต้องที่องค์กรทุกองค์กรต้องมีผลกำไร แต่ในที่นี้คือจะต้องแยกแยะระหว่างการมีรายได้มีกำไรเพื่อที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ กับมีรายได้เพื่อหากำไรออกจากกันครับ ทุกองค์กรเพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้จะเป็นต้องมีรายได้และมีกำไรครับ ถ้าไม่มีกำไรองค์กรนั้นก็จะมีสภาวะขาดทุนและะล้มละลายไปโดยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ครับ
สรุปว่าการที่มีกำไร ไม่จำเป็นต้องแสวงหากำไรครับ เพราะไม่มีองค์กรไหนอยู่ได้ด้วยสภาวะขาดทุนตลอดเวลา
ส่วนความแตกต่างคือถ้าองค์กรที่มีวัตถุประสงค์แสวงหาผลกำไรจะสามารถทำทุกทางได้ตามที่กฏหมายในการหารายได้เพื่อเพิ่มผลกำไร ตราบเท่าที่เป็นวิธีัการที่ไม่ห้ามไว้ในกฏหมายในการหาผลกำไรครับ เช่นเข้าตลาดหุ้นหรืออะไรทำนองนี้ แต่กลับกันองค์กรเช่นมหาวิทยาลัยที่ไม่แสวงหาผลกำไรนั่นจะมีวิธีหารายได้ชัดเจน และการนำรายได้ไปใช้ก็จะมีขั้นตอนวิธีการอนุมัติกำหนดไว้โดยเฉพาะ ลองดู พรบ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนดูครับ จะมีรายละเอียดชัดเจนว่ารายได้ต้องมาจากไหน ได้มาแล้วเอาไปทำอะไร แล้วผู้ก่อตั้งจะได้ส่วนแบ่งยังไง
ส่วนประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนะครับแนะนำให้เริ่มดูจากสภาพการทำงานครับ งานนายกรัฐมนตรี กับ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ งานมันต่างกันโดยสภาพครับ
งานนายกฯเป็นการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ มีจุดเกาะเกี่ยวในองค์กรต่างๆมหาศาลโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่งานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นคดีความที่รับผิดชอบอยู่แค่คดีที่อยู่ในขอบอำนาจเท่านั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญกับมหาวิทยาลัยเอกชน โอกาสมีข้อพิพาทกันโอกาสเป็นไปได้น้อยมากขนาดที่ผมยังนึกเหตุการณ์ไม่ออกเลยครับ เพราะเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ (จำเป็นต้องคดีรัฐธรรมนูญเพราะผู้พิพากษาอื่นๆก็ยังสามารถทำงานสอนได้ปกติครับ)
ซึ่งปกติตุลาการ หรือผู้พิพากษาอื่นๆทั่วไปสามารถทำงานสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยได้อยู่แล้วครับ ไม่ขัดต่อประมวลจริยธรรมผู้พิพากษา และไม่มีกฏหมายกำหนดห้าม ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ไม่สามารถวินิฉัยห้ามการเป็นอาจารย์เฉพาะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะจะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิพากษาโดยไม่มีเหตุอันควร ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญครับ เลยไม่มีการตีความรัฐธรรมนูญให้ไปขัดกับอีกตัวบทที่มีในตัวเองไงครับ
แล้วประเด็นที่หากมีคดีความระหว่างสถาบันที่ไปสอน กับศาลที่ตุลาการคนนั้นเกี่ยวข้องกรณีแบบนี้กฏหมายให้ทางแก้ไว้แล้วโดยผู้มีส่วนในคดีสามารถยื่นเรื่องเปลี่ยนหรือถอดถอนผู้พิพากษาท่้านนั้นได้ครับ โดยปกติท่านจะรู้ตัวอยู่แล้วและไม่รับคดีตั้งแต่แรกเลย
ส่วนเรื่องจำนวนเงินอันนี้ไม่มีประเด็นเลยครับ แต่ถ้าเป็นศาลอเมริกาเค้าจำมีข้อจำกัดไว้ แต่บ้านเราไม่มี
ที่ว่าเลือกปรามคดีนึงเพราะคดีคุณสมัครมันชัดเจนว่าผลประโยชน์มันเป็นลักษณะที่ต้องห้ามครับ คือคุณสมัครมีตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งคำนี้อยู่ในคำวินิฉัยหลักเลยครับ แต่สื่อไม่ค่อยบอกแต่ดันเลือกเอามาแต่พจนานุกรม แต่อีกคดีคือการสอนหนังสือซึ่งมันเป็นลักษณะงานที่ปกติผู้พิพากษาทั่วไปสามารถทำได้ครับ ยิ่งมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรแล้วยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะเข้าไปมีส้่วนร่วมในส่วนแบ่งผลกำไร และอีกประเด็นคือมันไม่มีเหตุผลใดๆที่จะรองรับว่าทำไมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ไม่สามารถทำดังเช่นตุลาการศาลอื่นๆได้ ทั้งๆที่ลักษณะงานไม่ต่างกันในสาระสำคัญ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
งั้นก็พูดขัดกันเองอีกแล้ว ถ้าไปดู "เหตุผล ณ ตอนก่อตั้ง" ฟรีทีวี 3 5 7 9 ตอนก่อตั้งนั้นเพื่อแสวงหาผลกำไรหรือเปล่า?
ททบ. คือสถาณีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกไม่ใช่เหรอครับ ตอนที่ก่อตั้งมีความคิดแสวงหาผลกำไรรึเปล่า
แล้วคุณสมัครไปมีตำแหน่งหน้าที่อะไรในนั้นครับ เขาเป็นแค่เจ้าของรายการ มีสัญญาผูกพันต่างกับการเป็นอาจารย์สอนหนังสือตรงไหน? อะไรที่บอกว่าคุณสมัครไปมี "ตำแหน่งหน้าที่" ถ้าการที่มีสัญญาต้องจัดรายการคือตำแหน่งหน้าที่ การสอนหนังสือก็เป็นตำแหน่งหน้าที่ว่าต้องไปสอนเหมือนกัน รึไม่ใช่
มีกฏหมายข้อไหนมาตราไหนระบุชัดว่า "ผู้พิพากษาไปสอนหนังสือก็ได้" เหรอครับ?
การที่คิดตีความเรื่องการรับผลประโยชน์แค่เป็นตัวเงิน มันก็เป็นการตีความที่คับแคบนะ เพราะผลประโยชน์ทับซ้อน อาจหมายถึงเส้นสาย หรือการเอื้อประโยชน์หรืออิทธิพลในตำแหน่งให้ก็ได้ และการไปสอนหนังสือก็รับเงินค่าสอนเหมือนกัน
สรุปว่าคุณก็อ้างหลักนิติศาสตร์ทั้งหมดจริงๆนั่นแหละ แต่ใช้หลักที่ขัดกันเอง สองมาตรฐานได้หน้าตาเฉย ก็เป็นซะแบบนี้แหละพวกนักกฏหมาย
ศาสตร์ที่ผมเชื่อถือมีแต่หลักตรรกศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ เพราะมีแต่พวกที่เรียนนิติศาสตร์นี่แหละที่บิดเบือนความจริง กลับผิดเป็นถูก ผมถึงไม่อ้างหลักนิติศาสตร์ไง
และพอใครทักท้วงว่าหลักการมันไม่ถูกต้อง ก็ไปด่าเขาว่าเสี้ยม
ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมเสร็จ มีรูรั่ว คนใช้แล้วรวน มีบั๊ก ผมก็โดนด่า ต้องเอามาแก้ แต่พวกเขียนกฏหมายได้เงินค่าเขียนเยอะกว่าอีก เขียนเสร็จมีรูรั่ว ดันด่าคนใช้ คนใช้จะด่ากลับก็หาว่าเสี้ยม
ดีว่ะ งานสบายโคตร
ถ้าตอนหลังมาเปลี่ยนก็ใช้ที่เปลี่ยนสิครับ ผมแค่ชี้ให้ดูเฉยๆว่ามันดูได้ตอนตั้งในหนังสือ บริคณห์สนธิ และสถานีโทรทัศน์เป็นองค์กรแสวงหาผลกำไรแน่นอนครับ อย่างช่องเจ็ด ก็บริหารงานโดยบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุจำกัด บริษัทดังกล่าวตั้งขึ้นมาแสวงหาผลกำไรแน่นอน 100% เพราะตั้งโดยการไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ครับ
ถ้าไม่รู้ถามได้ครับแต่อย่าแถไปเรื่อยโดยใช้ความรู้สึก
คุณสมัครมีความผิดอย่างไรแนะนำให้กลับไปอ่านคำวินิฉัยเต็มใน Comment แรกข้างบนครับ หรือคอมเมนต์หลังๆก็ได้บอกไว้ประมาณ 5 รอบแล้วมั้ง สรุปง่ายๆว่ารายการมันเป็นรายการของตัวเค้าเลยครับ ไม่ใช่ไปออกตีสิบหรือเป็นต่อ
ส่วน"ผู้พิพากษาไปสอนหนังสือก็ได้"นั่นก็เพราะไม่มีกฏหมายห้ามเอาไว้ครับ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิถ้าไม่มีกฏหมายห้ามจึงทำได้ จะมีก็แต่ประมวลจริยธรรมผู้พิพากษาที่ระบุลักษณะงานที่ห้ามทำและทำได้เอาไว้ และจะมี กต. คอยกำกับดูแลอีกทีหนึ่งครับ
แล้วผมถามนิดนะครับถ้านายกรัฐมนตรีมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะทำอย่างไร คุณเปลี่ยนตัวเค้าได้เหมือนเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษามั้ย? ความหนักเบามันต่างกันครับ
ตรงไหนที่ผมบอกว่าเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวครับ อันที่จริงผมพูดกลับกันด้วยซ้ำว่าเงินมันไม่เกี่ยวอยู่ที่ลักษณะงาน
ก็ความคิดคุณมันเป็นซะอย่างนี้ไงครับ มองอะไรรอบตัวเอง ดูถูกคนอื่นที่ไม่เห็นตรงกับตัวเอง ที่ผมบอกว่าคุณโดนเสี้ยมมาก็เพราะอย่างนี้ ถ้าโลกนี้มันมีแค่ศาสตร์ 2 อย่างอย่างที่คุณเชื่อผมก็ไม่เข้าใจว่าคุณจะมาอยู่ในนิติรัฐทำไม? เกลียดปลาไหลกินน้ำแกงหรือครับ?
เอาความเกลียดมาเป็นข้ออ้างสู้กับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นศาสตร์ แล้วคุณยังว่าคนอื่นเอาอารมณ์มาตัดสินทั้งๆที่มันมีหลักการรองรับอยู่แต่คุณไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ
คุณพูดเหมือนคนเขียนกฏหมายไม่โดนด่า ไม่เอามาแก้ กฏหมายแก้กันทุกวันแหละครับ แต่คุณไม่รู้เพราะคุณไม่คิดจะใส่ใจมีกฏหมายเป็นสิบๆฉบับที่อยู๋ระหว่างการร่าง การปรับปรุงแก้ไข เพียงแต่เสนอไปแล้วนักการเมืองจะปล่อยผ่านมั้ยนั้่นคือคำถาม
กฏหมายไม่ได้กลับผิดเป็นถูกหรอกครับ มีแต่บางสิ่งคุณคิดว่าผิด แต่กฏหมายบอกว่าถูกมากกว่าที่คุณไม่พอใจ
แล้วคนที่เขียนกฏหมายที่คุณว่านี่คือใครครับ นักการเมืองที่กำหนดนโยบาย หรือนักนิติศาสตร์ที่เขียนตามนโยบายดังกล่าว คุณบอกว่าคุณทำงานเขียนโปรแกรม คุณก็ต้องมีกรอบการทำงานตามที่เค้าจ้างมา ก็เหมือนกันแหละครับถ้าคนจ้างมันกำหนดมางว่าจะเอาโปรแกรมห่วยๆ ให้ทำได้แค่นี้ๆเท่านั้น คุณเขียนโปรแกรมเทพไปแค่ไหนมันก็ไม่ผ่านจนกว่าคุณจะแก้ให้มันห่วย
ตรงไหนที่ใครเค้าด่าคนที่ใช้ครับ มีแต่คุณนี่แหลละที่ไปด่าคนที่ใช้ ตลกครับ ผมเคารพคำพิพากษาหรือคำวินิฉัยที่ทุกท่านตัดสินมาครับ แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องเห็นด้วยไปซะทั้งหมด ผู้พิพากษาด้วยกันยังมีสิทธิที่จะทำความเห็นแย้งด้วยซ้ำ ประชนชนทั่วไปมีสิทธิเสรีภาพที่จะเสนอความคิดเห็นต่างๆอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลแต่ไม่มีสิทธิไปกระทบสิ่งอื่นที่มันดำรงอยู่มาอย่างถูกต้อง ผมเองก็มีเหตุผลของผมเองที่ไม่ตรงกับท่านๆทั้งหลายเช่นกัน แต่ผมก็ยอมรับสิ่งที่ท่านตัดสินมา ต่างกับคุณที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการปฏิเสธโดยไม่รับฟังเหตุผลใดๆ มันต่างกันครับ
โลกสวยดีครับ ถ้าคุณคิดว่างานมันง่ายขนาดนั้นคุณลองมาทำดูสิครับ ใช้วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ทีคุณเชื่อนั่นแหละไม่ต้องถึงกับร่างกฏหมายหรือพิพากษาหรอกครับ แค่คุณชี้ประเด็นที่ผิดพลาดในข้อกฏหมายที่มีอยู่ตอนนี้ให้เกิดการแก้ไขได้ แนวทางที่ทำได้มีเยอะแยะครับ เอาง่ายๆแค่มาตรา 267 คุณจะเขียนอย่างไรให้ครอบคลุมถึงกรณ๊คุณสมัครและกรณ๊อื่นๆในลักษณะเดียวกันหรือลักษณะอื่นๆที่จะตามมาในอนาคต โดยไม่สูญเสียความเดิมๆไปแม้แต่น้อย
คุณเคยคิดจะปฏิบัติตนเพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คุณว่าหรือเปล่า หรือพอใจแค่นั่งหลังคีย์บอร์ดดูถูกคน ดูถูกองค์กร ดูถูกศาสตร์อื่นๆที่ไม่ถูกใจคุณไปวันๆแทน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ได้ความรู้ทางนิติศาสตร์ดีครับ ขนาดมีเพื่อนที่เรียนนิติตั้งหลายคน ผมยังไม่เคยสนใจจะถามเรื่องการตีความอะไรแบบนี้เล๊ย อ่านที่ถกกันแล้วได้ความรู้ดี ^^
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เปลี่ยนใจ งด POST ดีกว่า ฃ่วงเวลาไม่เหมาะ กระเบื้องกำลังลอย
เอ่อ มีคำถามนิดนึง ว่าทำไมถึงเชื่อคำทำนาย ที่ไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน?
ตอนแรกว่าเป็นพุทธทำนาย(2500ปีที่แล้ว?)
ตอนกลางว่าเป็นสมเด็จโตฯ (แต่ไม่มีหลักฐาน)
หรือใหม่หน่อยว่าเป็นฤาษีลิงดำ
หรือใหม่สุดว่าเป็นของ....
ท่านเชื่อว่าเป็นของใครกันแน่ครับ?
สิ่งที่ idol ทำไม่มีในกฎหมายครับ ซื้อขายหุ้น ไม่ต้องเสียภาษี อันนี้เป็นกฎพื้นฐานที่ไม่รู้จะเรียกว่าพื้นฐานยังไง สำหรับคนที่จะเริ่มเล่นหุ้น เพราะฉะนั้นคนที่มีพอร์ทเป็นพันๆ ล้าน เขาก็ไม่ต้องเสียภาษีครับ
ก่อนจะวิจารณ์อะไร หัดหาความรู้ใส่หัวก่อนจะดีกว่าครับ ^^
http://thumbsup.in.th/2011/04/eric-schmidt-google-secretary-commerce/
บางกรณีก็ไม่ต้องเสียนะครับ
เล่นหุ้นในประเทศไทย ไม่ต้องเสียภาษีแน่นอนครับ เป็นข้อยกเว้นของการลงทุนในตลาดทุน แต่อาจมีการเสียโดยอ้อมๆ ครับถ้าใช้ broker ก็ถือว่าจ่ายให้บริษัทในตัว บริษัทนั้นก็ต้องยื่นอีกที
แบบนี้ก็แจ๋วเลยดิ มิน่าเฮียจ๊อบแกรับเงินเดือนแค่เหรียญเดียวที่เหลือรับเป็นหุ้น
แล้วมูลนิธิไทยคมละ ?
แล้วถ้าบอกว่า หนีภาษีนะครับ
อยากให้ไปหาข้อมูลว่า ธนาคารใดบ้างในประเทศไทยที่ มีบัญชีธนาคารอยู่ในเกาะ K-MAN
อยากให้ไปอ่าน the blue book ของ อ.พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ครับ
ถ้าพูดถึงการหลบหนีภาษีแล้วทำกันทุกธนาคารเลยครับ ตั้งแต่เมื่อก่อน ที่ระดมทุนจากนายทุนต่างประเทศเพื่อเปิดธนาคาร หลังจากนั้นก็ใช้เงินที่ K-MAN ปันผลให้แทนโดยไม่ต้องเสียภาษี
โดยส่วนตัวไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ล แต่ผมว่างานที่จ็อบส์ทำมาตลอดทัั้งชีวิตน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากเพียงพอแล้วล่ะ
อืม
รวยแล้วไม่โกง
/เผ่นนน
@salapao ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ต้องเสียภาษ๊ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
อ่อ ไม่รู้คับเพราะ จนเลยไม่มีเงินไปเล่นหุ้น คับ (เขาขายในตลาดหุ้นหรือคับ)
ตกลงรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเองพิมพ์ออกมาบ้างครับ?
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
like like like
like like like
Like + Like
ก็ได้ยินเค้าว่ากันมาหยั่งงั้นอ้ะ!
ชอบมากครับ
คนอ้างไม่รู้กฎหมายไม่ได้ แล้วถ้าไม่รู้ว่าพิมพ์อะไรออกมานี่มันจะน่าเชื่อถือตรงไหนครับ
ปล. เงินไม่กี่พันบาทก็มีพอร์ทได้ครับ . . .
เอวัง...ก่อนจะวิจารณ์หรือพาดพิงใครควรศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนนะครับว่าเหตุผลจริงๆมันคืออะไร ไม่ใช่แค่อ่านข่าวแล้วพูดตามเลย สื่อหลักบ้านเราบางทีก็เสี้ยม บางทีก็มักง่าย
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
+1
+1
บางทีทั้งเสี้ยมและมักง่ายรวมกัน
+1
เห้อ..
ไม่ต้องรวยก็เล่นหุ้นได้ครับ มีเงินในกระเป๋า 40 บาท นั่งรถไฟฟ้าไปเปิดพอร์ตรอไม่กี่วันเล่นหุ้นได้เลย เริ่มต้นโอนเข้าไปไม่กี่พันก็เข้าตลาดได้ ซื้อมือถือ Android ตัวล่างๆ ยังแพงซะกว่าอีก
อายมั้ยนั่น
5พัน ก็เปิดพอร์ทเล่นหุ้นได้แล้วครับ มันไม่จำเป็นต้องรวยหรอกครับ แค่มีสติ + ความรู้ก็เพียงพอสำหรับการเล่นหุ้น (และอื่นๆ แล้วครับ)
สรุปว่าคุณไม่รู้อะัไรเลยสักนิด แต่ขอพาดพิงคนอื่นมั่วๆกันเพื่อความสะัใจอย่างเดียวหรือครับ? อืม.....
Thailand Only จริงๆครับ คคห.คุณเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก
เอวัง
เข้าใจในทันที ! คนที่ไม่รู้แบบนี้มีมากนั่นเอง ... เข้าใจล่ะ ๆ มิน่าล่ะ
@salapao นายแมนมาก
รู้ก็ตอบว่ารู้ ไม่รู้ก็ตอบไม่รู้ :)
+1
@salapao ชอบครับ รู้ก็บอกว่ารู้ ไม่รู้ก็ตอบว่าไม่รู้
รู้ไม่มากก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ต้องพูดเลย และที่คุณพูดผมก็ว่าพอประมาณน๊ะไม่ได้เหวี่ยงอะไร
เมื่อพูดไปแล้ว มีคนแนะนำเรา เราก็จะรู้มากขึ้นครับ
คนออกกฎหมายคือคนเล่นหุ้น หรือว่ามีภาคธุรกิจหนุนหลัง
ไม่ต้องมีใครหนุนหรอกครับ กฎหมายมันออกตามสภาวะในขณะนั้น บ้านเราคนลงทุนให้หุ้นไม่เยอะครับ ถ้าเก็บภาษี คนที่คิดจะมาลงทุนก็จะน้อยลงไปอีก เราจึงไม่สามารถเก็บภาษีจากกำไรในการขายหุ้นได้ในขณะนี้ แต่เราก็เก็บจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และจากเงินปันผลอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นในอเมริกาที่คนส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้นหรือผ่านกองทุนรวม เขาจึงสามารถเก็บภาษีจากกำไรในการขายหุ้นได้ครับ ในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศที่เก็บภาษีจากกำไรในการขายหุ้นครับ
ผมลองดู Wikipedia แล้วมีเยอะเหมือนกันนะครับ แต่ประเทศที่ไม่เก็บเลยก็เยอะมาก ประเทศที่เก็บก็มักจะเก็บในอัตราพิเศษแยกออกจากภาษีรายได้ปรกติ และมักจะต่ำมากๆ
lewcpe.com, @wasonliw
อยากรู้ว่านักการเมืองมีสปิริตจริงหรือเปล่า ลองขอให้ออกกฎหมายเก็บภาษีมรดกสิครับ หนีหมดแน่!
@TonsTweetings
ต่อไปต้องมีภาษีคลอดลูก และค่าธรรมเนียมในการตั้งครรภ์ด้วย เอาไว้กันเด็กแว้นกับสก๊อยขยายพันธุ์ไปมากกว่านี้
ไม่เข้าใจจริงๆว่าจะขยันท้องอะไรกันนักกันหนา
กฎหมายมรดก เค้าใช้วิธีโอนให้ก่อนจะเสียชีวิตเพื่อหลบเลี่ยงครับ
ถ้าออกกฎหมายแบบนี้หมายความว่า คนทั่วไปที่แม้จะได้มรดกแค่ ไม่กี่แสนก็จะต้องเสียนะครับ
ผมว่าแค่บังคับให้ชี้แจง ออกสื่อ
ทรัพย์สินก่อนรับตำแหน่ง-หลังรับตำแหน่ง จำนวนเงินที่โอนระหว่างรับตำแหน่ง ว่าได้มายังไงบ้าง จ่ายไปยังไงบ้าง
ก็เปื่อยกันหมดแล้วครับ นักการเมืองห้ามมีหุ้น ห้ามมีธุรกิจ รวมเงินเดือนทั้ง 4 ปี ยังไงก็ไม่เกิน 10 ล้าน
แต่ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงกันเป็น 100 ล้าน เลยครับ
สงสัยแกกำลังคิดถึง iFoundation
เพราะจ๊อบเอาสมองไปทุ่มให้กับงานทั้งหมดหรือเปล่า เลยไม่ได้มีข่าวการบริจาคก้อนมหาศาลอย่างที่เศรษฐีหลายคนทำ แต่หากมีโอกาสก็จะทำออกมาให้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสังคมแทน จากที่ได้เห็นใน iPod สีแดง
แต่หลังจากนี้ต้องจับตาดูให้ดี ว่าจากนี้ต่อไปจ๊อบจะนำเงินมหาศาลที่มีไปทำอะไร
+1
ทุกคนมีเหตุผลมีอิสระที่จะบริจาคหรือไม่บริจาคครับ อย่าเอาระดับศีลธรรมส่วนตัวไปตัดสินคนอื่น
pittaya.com
+1 ศีลธรรมส่วนตัวที่ตัวเองไม่เคยทำได้ด้วยซ้ำ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อ่านมาตั้งหลายโพสต์ ถูกใจอันนี้มาก คาราวะ
การบริจาคเงินมันไม่ได้แสดงระดับของความดีในตัวคนหรอกครับ
ผมเห็นคุณป้า ทำบุญตักบาตร ยังรู้สึกดีกว่าบรรดาคุณหญิงที่ไปจัดตั้งโครงการอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะเลยครับ (แต่ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่เค้าทำไม่ดีนะครับ)
อ่านแล้วรู้สึกสงสัยว่า คนรวยๆจะทำดี นี่ต้องใช้เงินเท่านั้นหรอครับ?
ไม่ได้โจมตีใครนะ ไม่ได้จะดราม่า แค่สงสัย
จริง ๆ ก็เงินเขา เขาจะทำอะไรก็เรื่องของเขา
เขาอาจจะอยากจ่ายภาษีเพื่อช่วยรัฐบาล มากกว่าจะเอาเงินไปทำบุญก็ได้ แล้วแต่คนนะ
เบื่อจริงๆ ไอ้พวกที่ชอบไปเรียกร้องให้คนอื่นบริจาคเนี่ย
เป็นไปได้ว่าเฮียแกไม่ชอบเอาชื่อไปแปะในที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็น ดูอย่างหนังสือชีวะประวัติยังเรื่องมากเลย คิดว่าส่วนมากน่าจะบริจาคแบบไม่ระบุชื่อ
แต่ในความคิดผม คิดว่าถ้ารวยระดับ ~24B บาท ถ้าจะบริจาคเงินอะไรน่าจะออกนามไปด้วยก็ดีนะ ไม่ใช่การอวดรำอวดรวยหรอก แต่อย่างน้อยมันจะทำให้คนในสังคมรู้ว่า คุณนอกจากรวยแล้วยังช่วยสังคมด้วย จำนวนเม็ดเงินมันไม่ค่อยสำคัญเท่าไร
http://9to5mac.com/2011/03/10/steve-jobs-continues-to-move-up-forbes-billionaire-list/
ปล. ผมยังสงสัยว่าพวกคนรวยๆ ระดับพันล้านขึ้นถ้าไม่บริจาค/เล่นพนัน เค้าจะเอาเงินไปใช้ยังไงให้หมด? ไม่นับเรื่องเศรษฐกิจเจ๊งนะ
ไม่ใช่ระดับ 24B บาท นะครับ มันคือ 249B บาท ต่างหาก
ลืมเลข 0 ไปตัว ง่ะ เงินเยอะขนาดนี้แทบจะสร้างศูนย์วิจัยรักษาโรคตัวเองได้เลยนะนี่
ไม่ช่วยเลยสักบาท แต่รับผิดชอบหน้าที่ต่อสังคมครบก็ควรได้รับการเคารพึ่งกันและกันครับ
ไม่มีความจำเป็นอะไรให้สังคมต้องรู้ครับ ผมหาหลักการอะไรที่ "คน" รวยจะต้องเปิดเผยการบริจาคไม่ได้ นอกจากสังคมนั้นมีความสู่รู้เรื่องส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี และไม่ควรสนับสนุนใดๆ
lewcpe.com, @wasonliw
ซื้อความฝันครับ
อย่างเอาไปทุ่มกับการวิจัยอะไรซักอย่างที่ตัวเองอยากได้มากๆ สร้างอะไรซักอย่างที่ไม่แน่ว่าจะมีกำไรแต่ตัวเองพอใจ หรือซื้ออะไรซักอย่างเป็นของส่วนตัว ซื้อเกาะส่วนตัวตั้งประเทศเอง ไรงี้
วิธีใช้เงินมีเยอะครับ
เข้าบ่อนหมดได้แน่นอน ที่เหลือคงพยายามโกงความตายซึ่งไม่สำเร็จซักคน
เงินขนาดนั้นจะเข้าบ่อนทำไมครับ เปิดเองเลยดีกว่าไหม? ถึงเข้าไปบ่อนก็ไม่รับแลกอ่ะ เล่นทีวันละหลัก 10B 555+
คนบางคน เวลาเค้าทำไม่ร่วมหัวจมท้าย แต่เค้าได้ดีก็เรียกร้องผลประโยชน์ เจริญ
ทำดีไม่ต้องป่าวประกาศก็ได้นี่ครับ
ปล. ผมใช้แอนดรอย
'คนบางคน เวลาเค้าทำไม่ร่วมหัวจมท้าย แต่เค้าได้ดีก็เรียกร้องผลประโยชน์'
อ๊ะ! ประโยคนี้กำลังพูดถึงกรมสรรพากร ใช่ไหมครัย ?
โดนเต็มๆ กว่าเขาจะตั้งตัวได้ก็ทุลักทุเลแสนสาหัส หกล้มบาดเจ็บไปหลายรอบ พอเขาตั้งตัวได้หน่อยภาษีมาแล้ว และนึกถึงคนที่โดนภาษีย้อนหลังโดยไม่เจตนาจะหนีภาษี เอาซะเขาหมดตัว
ไม่เตนาหนีภาษี ตลกครับ น่าจะเอาไปใส่ในรายการก่อนบ่ายคลายเครียดนะ
"อดีตนายกไม่เคยมีเจตนาหนีภาษี" คงฮากลิ้งกันทั้งเมือง
สรุปว่ายังมีคนเข้าใจมั่วๆว่า ขายหุ้นในตลท. ต้องเสียภาษีแบบคุณอีกหรือครับ?
พยายามจะสื่อให้คนอื่นคิดว่าเงินทองเป็นของนอกกายบริจาคไปก็ไม่เสียหาย แต่กลับดันเอาตัวเงินตัวทองมาเป็นเครื่องวัดการกระทำของเค้าซะอย่างงั้น
ลักลั่นย้อนแย้ง
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
+1
+1 จริงจัง
คิดแล้วทำเลยไม่ต้องรอนักข่าว
ผมว่าคนอย่าง Job ถ้าจะบริจาค ก็คงไม่ระบุชื่อ แล้วก็คงไม่เอาไปเคลมภาษีเหมือนเศรษฐีในเมืองไทย มีแต่นักข่าวจะไปขุดคุ้ยมา พุทธนิกายเซนสอนให้ไม่ยึดติด แล้ว Job ก็นับถือนิกายนี้อยู่ ถ้าเคยได้ดูในบ้าน Job น่าจะพอเข้าใจปรัชญาการดำเนินชีวิตของ Job
ผมเห็นด้วย
รักนะลุงจ๊อป
ผมสนใจ ชีวิตลุงจ๊อบเลยไปหาอ่านในวิกิ พึ่งรู้ว่าแกเป็นลูกครึ่ง ซีเรีย แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงมา
เศรษฐี ทอปๆของโลกนี่พวกเชื้อแขกเยอะนะครับ ทอป10 ก็ล่อไปกี่คนแล้ว
ผมชอบประโยคนี้อ่ะ
"Bono ยังได้บอกอีกว่า เขาภูมิใจที่ได้รู้จักกับจ็อบส์ ผู้ที่เป็นทั้งศิลปินและนักธุรกิจ และการที่จ็อบส์ยุ่งกับการทำงานก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เคยคิดถึงเรื่องการบริจาคเงิน คุณไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับจ็อบส์เพื่อที่จะรู้ว่าเขาเป็นคนรักความส่วนตัวมากแค่ไหน"
)
เค้าอาจจะไม่เปิดเผยชื่อก็ได้หนิ
Jobs ยังขาย iPod (RED) Product อยู่ด้วยซ้ำ
Jobs อาจจะแค่ทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดเพื่อสร้าง Product ที่ทำให้ทุกคนมีความสุขก็ได้ นั่นก็คือการทำดีในแบบของเค้า
บริจาคมากดีมาก บริจาคน้อยดีน้อย ?
สุดท้ายความดีของคนวัดกันด้วยเงินหรอ ?
เฮอะะ เพลีย... -___-'
บริจาคมากมีสิทธิ์ขึ้นนจานบินก่อน
วัดที่บอกว่ายิ่งบริจาคมากยิ่งได้บุญมากคุณก็ด่าเค้า พอคนนึงมีเงินมากแต่ไม่มีหลักฐานเรื่องเงินบริจาคคุณก็ไปว่าเค้าอีก
ตรงที่มีแสง
เห็นด้วย / ขอเสริมว่า การบริจาคเยอะ ก็เป็นการวัดใจอย่างหนึ่ง เพื่อหาคำตอบว่า ตัวผู้บริจาคนั้น พร้อมจะตัดกิเลสออกไปจากใจมากน้อยแค่ใหน / เวลาน้ำท่วม เราก็เอาเงินไปบริจาคช่วยน้ำท่วมผ่านช่องสาม / เวลาคนในสังคมเสื่อมจากศีลธรรม คนส่วนหนึ่งก็เอางบประมาณจัดอบรมศีลธรรม ไปบริจาค ผ่านวัดดัง
จริง ๆ ผมว่า Jobs จะบริจาค หรือไม่บริจาค มันก็เรื่องของเขานะครับ
เห็นคอมเมนท์เยอะ พอเข้า ผงะเลย อะไรฟะเนี่ยขนาดที่นี่นะ
บริจาคแล้วคนอื่นรู้ ก็หาว่าทำเอาหน้า
บริจาคแล้วไม่มีใครรู้ คนอื่นก็หาว่าไม่เคยบริจาคเลย
เอวัง
+1
จ๊อบ: ผมเอาเงินไปสร้างยานแม่ไงครับ -..-
การดิสเครดิตทำให้ตัวเองดูดีสินะ
ถึงจ๊อบส์จะไม่ทำอะไรเป็นประโยชน์แก่สังคมเลยสักแม้แต่นิดเดียว ใครก็ไปว่าเค้าไม่ได้ครับ ถ้าเค้ายังไม่ได้ทำความเดือดร้อนอะไรให้แก่สังคม
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ