Electronic Frontier Foundation (EFF) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาสหรัฐให้แก้ไขกฎหมายเรื่องสิทธิบัตร โดยเฉพาะสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ถ้าใครใช้ลินุกซ์แล้วไม่มี MP3, DVD, WMV มาตั้งแต่ต้น ก็เป็นเพราะกฎหมายสิทธิบัตรนี่ล่ะครับ ถึงเมืองไทยจะไม่มีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ แต่เราก็ใช้โปรแกรมส่วนมากจากสหรัฐที่มีกฎหมายนี้อยู่ดี
ในเอกสารคำร้อง EFF เขียนไว้ว่าวิธีการตัดสินคดีของ Federal Circuit Court of Appeals (ผมไม่รู้จะแปลว่าอะไรครับ) ที่ตรวจจากเอกสารสิทธิบัตรที่เคยมีคนมาจดไว้เพียงอย่างเดียวนั้น "ไม่เพียงพอ" และบางครั้งขัดแย้งกับมาตรฐานของศาลฎีกาซะด้วย การใช้สิทธิบัตรมาเป็นเครื่องมือ ทำให้โอเพนซอร์สซึ่งกลายเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ใช้ในประเทศมีปัญหา
ต้องรอดูกันต่อไปว่าศาลฎีกาจะว่าอย่างไร
ที่มา - EFF
Comments
Federal Circuit Court of Appeals น่าจะเป็น ศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในพิกัดศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา และการเรียกร้องต่างๆจากรัฐบาลกลางของสหรัฐครับ ศาลนี้รับอุทธรณ์การตัดสินใจของหน่วยงานของรัฐ"บางหน่วย" อาจจะคล้ายๆกับศาลปกครองของเราเหมือนกัน มีหน้าที่
คงเหมือนกับ ศาลปกครอง นั่นแหละ ที่แบ่งออกเป็น ศาลปกครองกลาง และ ศาลปกครองสูงสุด เหนืออื่นใด ศาลที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย คือ ศาลยุติธรรม เพราะมีคุกอยู่ในมือ ศาลอื่นมีแต่คำพิพากษา หาน่ากลัวเท่าศาลยุติธรรมไม่
ส.ส.ร. คัดลอก ศาลปกครองมาจากสหรัฐอเมริกา การที่ ส.ส.ร. ทำแบบนี้ ก็เพื่อลดทอนอำนาจศาลยุติธรรมที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จมากเกินไป ซึ่งในโลกนี้ไม่มี เหมือนที่พระเจ้าหลานเธอฯ ตอนนี้สมัครเป็นอัยการ เพราะเมืองนอกนั้น prosecutor นั้นอำนาจเยอะกว่า judge เดี๋ยวพระองค์ทรงอยู่ไปนาน ๆ จะรู้ว่า judge เมืองไทย นั้นใหญ่ที่สุด ไม่เหมือนเมืองนอกหรอก ที่ไปเรียนมาน่ะ เมืองไทยเป็นเมืองพิเศษ คนเก่ง ๆ ที่อยู่เมืองนอกน่ะ เขาคิดถูกแล้ว ที่ไปอยู่เมืองนอก