แม้ Vista จะยังไม่ออก แต่ความล่าช้าในการพัฒนาก็ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดในยุคหลัง Vista
InformationWeek มีสกู๊ปในเรื่องนี้ครับ ปัญหาด้านการจัดการภายในของไมโครซอฟท์เอง และการที่มีฐานผู้ใช้เดิมมหาศาลทำให้ต้องรักษา backward compatability เป็นสาเหตุที่ทำให้ Vista ออกช้าและมีขนาดใหญ่มาก นักวิเคราะห์จากหลายค่ายได้เห็นค่อนข้างตรงกันว่า "Fiji" กับ "Vienna" ซึ่งเป็นรหัสของวินโดวส์สองรุ่นถัดไปจะเล็กลง modular มากขึ้น ผสานกับเว็บมากกว่าเดิม และมีช่วงเวลาพัฒนาสั้นลง
ไมโครซอฟท์ยุคหลัง Vista จึงเป็นภาระหนักของ Ray Ozzie ที่มาแทนเกตส์ในตำแหน่ง Cheif Software Architect ในบทความมีสัมภาษณ์คนใหญ่คนโตในไมโครซอฟท์เยอะมาก ลองอ่านดูสนุกดี
ผมอ่านจบแล้วนึกถึง IBM ช่วงตกต่ำ สิบกว่าปีถัดมาไมโครซอฟท์มีแนวโน้มจะดำเนินตามรอยนั้น (บริษัทโตเกินแล้วแพ้ขนาดตัวเอง) ขึ้นอยู่กับ Ozzie จะทำได้เหมือน Louis Gerstner หรือเปล่า
ที่มา - InformationWeek
Comments
น่าคิดเหมือนกัน แต่ผมมองว่า Microsoft พยายามปรับตัวอยู่เหมือนกัน แต่ตัว Microsoft เองนั้นพยายามทำอะไรหลาย ๆ ที่ตัวเองไม่ถนัดมาเยอะ จนทำให้การควบคุมภายในลำบากขึ้น ซึ่ง Google ก็อาจจะประสบปัญหาแบบนี้ได้เช่นกันในอนาคต และรวมไปถึง Microsoft เดิมพันกับ Vista ไว้เยอะมาก เพราะถือเป็นการทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในอนาคตนั้นเดินไปได้อีกขั้น โดยที่การพัฒนา Vista นั้นพยายามที่จะทำให้้การพัฒนานั้นสามารถนำไปแยกย่อยใช้งานได้หลายด้านทั้งด้าน Cosumer และ Enterprise ด้วย ทำให้ขนาดของระบบนั้นใหญ่โตมาก เพราะต้องรองรับการทำงานได้้หลาย ๆ แบบ
ควรจะแยกเป็นบริษัทลูก ทำแบบ holding company แล้วจะเห็นอะไร ๆ ชัดเจนขึ้น
Vista เองก็ร่อแร่..
GUI Manager อย่าง Gnome ตั้งแต่รุ่น 2.16 เป็นต้นไปยังรวม Mono C# เข้าไปแล้ว สงสัยคงเพราะความไม่ชัดเจนในการ Open Source ของ Java และผมคิดว่าการ Cross plateform ทุกวันนี้ Java ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในระดับของ Desktop App แต่ถ้าทางด้าน Enterprise แล้ว Java ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่ หากแต่ xsp2 ของ mono project สามารถนำการ config ต่าง ๆ ของ ASP.NET 2.0 มาลงได้ โดยไม่ต้องปรับแก้อะไรเลย นั่นแหละอาจจะถึงเวลาที่ซันจะต้องมานั่งคิดทบทวนแล้ว