จากการที่อนุกรรมการ 3Gฯ (กทค.) ที่กำลังจะประกาศวิธีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz สำหรับให้บริการ 3G โดยยกเลิกวิธีการเก่าที่ใช้ N-1 ไปแล้ว ทางกสทช. จึงได้จัดเวิร์คช็อปให้กับสื่อมวลชน โดยเชิญคุณพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เคยทำงานอยู่ที่ Cramton Associates LLC และมีประสบการณ์ทางด้านการประมูลคลื่นความถี่ในหลายประเทศมาเป็นวิทยากร
ก่อนจะเข้าเรื่องวิธีการประมูลคลื่นความถี่ จะเริ่มพูดถึงจุดประสงค์หลักของการออกแบบการประมูลคลื่นความถี่เสียก่อน สำหรับประเทศไทยจะเน้นไปที่ 4 ข้อหลักดังนี้
ประสิทธิภาพ และรายได้จากการประมูล อาจไม่สอดคล้องกับการกระตุ้นการแข่งขันในตลาด
เมื่อทราบจุดประสงค์แล้ว จุดต่อไปจะเป็นพื้นฐานการออกแบบวิธีการประมูล ซึ่งวิธีการประมูลที่ดีจะตอบโจทย์เหล่านี้ได้
อนุญาตให้ผู้ประมูลสามารถประมูลได้ทุกคลื่นพร้อมๆ กัน และไม่มีกฎในการประมูลที่ทำให้ผลการประมูลบิดเบือนได้
exposure risk ในกรณีที่คลื่นต้องใช้ร่วมกันเพื่อให้สามารถรันระบบได้ ถ้าหากได้รับคลื่นไปเพียงชุดเดียวจะไม่สามารถให้บริการอย่างมีคุณภาพ หรือให้บริการไม่ได้เลย (เช่นในกรณีที่ประมูลแบบ 2x5MHz ทั้งสิ้น 9 ล็อต แล้วมีผู้ประมูลได้ล็อตเดียว)
ส่วนต่อไปจะเริ่มเข้าสู่วิธีการออกแบบการประมูล จะมีการแบ่งคลื่นความถี่ทั้งหมดเป็นล็อต มีสองแบบคือ
สำหรับประเทศไทย การประมูลที่คาดว่าจะเกิดในไตรมาสสามปีนี้นั้นมีทั้งหมด 45MHz คาดว่าจะแบ่งแพคเกจเป็นสองรูปแบบคือแบบ 2x15MHz ทั้งสิ้น 3 ล็อต และ 2x5MHz ทั้งสิ้น 9 ล็อต ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีดังนี้
เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกวิธีการประมูลได้แล้ว ก็นำความต้องการทั้งหมดมาจับคู่กัน เพื่อเลือกวิธีการประมูล จะได้วิธีการประมูลทั้งสิ้น 3 รูปแบบคือ
Simultaneous Ascending Clock
เป็นวิธีการประมูลที่จะหาผู้ชนะการประมูลก่อน แล้วค่อยให้ผู้ชนะไปเลือกความถี่กันเองทีหลัง โดยวิธีการประมูลจะเริ่มด้วยการประกาศราคาต่อล็อตออกมา แล้วให้ผู้ประมูลยื่นจำนวนที่ต้องการ หากปริมาณล็อตของคลื่นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประมูล ให้ขึ้นรอบใหม่โดยเพิ่มราคาขึ้นไป และให้ผู้ประมูลยื่นราคาใหม่จนกว่าปริมาณคลื่นที่มี และความต้องการคลื่นของผู้ประมูลจะเท่ากัน (ถ้างง ดูรูปประกอบได้) วิธีนี้ถือว่าทำได้ง่าย และเคยใช้ตอนประมูล 3G ที่อินเดียมาแล้ว
Simultaneous Ascending Bid
เป็นวิธีการประมูลที่เปิดให้ประมูลทุกล็อตพร้อมกัน และต้องเลือกคลื่นความถี่เอง ซึ่งผู้ประมูลจะต้องยื่นราคาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีผู้มาประมูลแข่งจะถือว่าสิ้นสุดการประมูล โดยในทุกรอบของการประมูลจะต้องยื่นประมูลต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาสิทธิในการประมูลด้วย วิธีนี้เคยใช้ในการประมูล 4G AWS หลายแห่ง ทั้งอิตาลี แคนาดา โปรตุเกส สหรัฐฯ และเยอรมัน
Combinatorial Clock
เป็นวิธีการประมูลที่เปลี่ยนจากการยื่นราคาทีละล็อต เป็นยื่นราคาประมูลแต่ละแพคเกจแทน เช่น ยื่นประมูล 2x5MHz 2 ล็อตในราคา 100 ล้านบาท และยื่น 4 ล็อตในราคา 250 ล้านบาท โดยผู้ขายจะมีพิจารณาความคุ้มค่าต่อล็อตจากราคาทั้งหมดที่ผู้ประมูลยื่นมา (เช่นในภาพตัวอย่าง มีคลื่น 2x5MHz ทั้งสิ้น 9 ล็อต ผลจะออกมาเป็น A ได้ 2 ล็อต B ได้ 4 ล็อต และ C ได้ 3 ล็อต รวมเงินจากการประมูล 850 ล้านบาท)
ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถแก้ปัญหา exposure risk ได้อย่างชะงัด เพราะว่าผู้ประมูลต้องรู้จำนวนที่ตัวเองต้องการอยู่แล้ว และได้ราคาที่ค่อนข้างสมเหตุสมผล
เมื่อเปรียบเทียบทั้งสามวิธีการประมูลแล้ว มีข้อดี-เสียต่างๆ กันไปดังนี้
จบเรื่องวิธีการประมูลไปแล้ว ต่อไปปิดท้ายด้วยแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในประเทศไทย ที่เป็นสาเหตุของการยกเลิกวิธีการประมูลแบบเก่า (N-1) ที่ไม่สร้างแรงจูงใจให้หน้าใหม่เข้ามาสู่ตลาด และทำให้การแข่งขันลดลงไปด้วย
สำหรับแนวทางที่จะสร้างความแข่งขัน และเพิ่มรายได้จากการประมูล มีดังต่อไปนี้
สำหรับวิธีการประมูลอย่างเป็นทางการ กทค. คาดว่าจะประกาศกันในช่วงบ่ายของวันนี้ (15 พฤษภาคม) หลังจากนั้นจะใช่เวลาอีก 2 เดือนประกาศบนเว็บไซต์ก่อนเข้าประชาพิจารณ์ ซึ่งคาดว่าจะทันประมูลในช่วงไตรมาสที่สามครับ
Comments
การแข่งขันในตลาด < ซึ่งข้อนี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. บอกว่าจะเน้นมากที่สุดสำหรับประเทศไทย <--- สาธุ
เป็นองค์กรรัฐองค์กรแรกที่ผมยอมรับในความโปร่งใส Active มุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชนจริงๆ
สงสัยเพราะผมสนใจข่าวนี้ เลยรุ้สึกว่า การทำงานแบบนี้มันโปร่งใสดี
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ตอนข่าวไม่เอา N-1 เห็นมีคนมาด่าเป็นวรรคเป็นเวร
เอาเป็นว่าปูเสื่อรอดูละกันครับ
I need healing.
ถ้าประมูลได้ในราคาที่สูง เราก็จะได้ใช้ 3G ในพื้นฐานที่แพงใช่ไหม เพราะต้องเอาทุนคืน
แต่ถ้าประมูลได้ราคาถูก ก็ใช่ว่าเราจะได้ใช้ 3G ราคาถูก
ขึ้นอยู่กับ กสทช. ว่าจะมีการทำหนดราคาเพดานค่าบริการหรือไม่ และเท่าไร
-- ^_^ --
ก็ออกกฏกำหนดเพดานราคาไว้ ค่าโทรในตอนนี้ไงครับ
ที่เราโทรถูกไม่ใช่เพราะเขาได้มาถูก แต่เพราะมีกฏกำหนดไว้
I need healing.
ถ้าประมูลได้ถูก เราจะได้เครือข่ายที่ใช้งานไม่ได้จริงเพราะผู้ที่ได้รับไม่มีศักยภาพทำกำไร (เมืองไทยเห็นผู้ให้บริการประมาณนี้หลายรายครับ)
lewcpe.com, @wasonliw
เหมือน MVNO ของ TOT หรือเปล่าครับ
เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันทั่วไปครับ
ในทางทฤษฎีพื้นฐาน ต้นทุนจากการประทูลเพื่อเข้าสู่ตลาด จะไม่มีผลต่อการตั้งราคาโดยตรง เพราะว่าเป็นต้นทุนจม (sunk cost) แต่ยังเป็นเรื่องที่ยังมีคนโต้แย้งอยู่
ต่อให้ต้นทุนการประมูลต่ำ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดได้ ราคาก็อาจจะสูงอยู่ดีครับ (ถ้าตั้งราคาสูงแล้วทำกำไรได้ดี ไม่เสียลูกค้า ไม่โดยคู่แข่งบีบ ผู้ให้บริการก็คงไม่ได้มีแรงจูงใจที่จะตั้งราคาให้ต่ำลง)
เยี่ยมยอด โปร่งใสมาก
ถ้าโปร่งใสแบบนี้ หวังว่าจะได้เห็น 3G ไว ๆ ด้วยเถิด สาธุ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ถ้าจะเน้นถูกๆกระจายให้หน้าใหม่ ก็ต้องดูความเป็นจริง อย่างใบอนุญาตประกอบกิจการISP เริ่มแรกมีผู้แย่งกันได้ถึง7 เจ้า แต่ผ่านไปไม่กี่ปี เหลือผู้ให้บริการจริงๆแค่ครึ่งเดียว ที่เหลือขายต่อบ้าง ไปทำIDC แทนบ้าง(มันน่าจะผิดเป้าหมายของใบอนุญาตISPนะ?)
ก็คงต้องชั่งน้ำหนักเหตุผลกันดีๆ ค่าใบอนุญาตถูก ใช่ว่าจะได้ค่าบริการถูกลง ยิ่งถ้ากิจการเล็กๆบริหารต้นทุนไม่เป็น ขยายโครงข่ายไม่ได้ พาลจะทำให้เสียประโยชน์ทั้งรัฐทั้งผู้ใช้
ถ้าใช้แบบ 3lots ais, dtac, true ก็จะแบ่งเท่ากัน แต่ถ้ารายนึงได้ 2 lots รายที่ไม่ได้ก็ต้องตายแน่ๆ อาจจะเกิดปัญหาการเมืองขึ้นมาอีก
แต่ถ้าใช้แบบ 9lots และประมูลแบบ package bidding ก็น่าจะดี lot ไหนที่คนแย่งกัน คนที่จ่ายมากสุดก็ได้ไป ใครงบน้อยก็จะ bid หนัก ใครงบมากแล้ว bid น้อย ก็จะอดไปถ้าหากชนกับคนอื่น
ผมรู้สึกแปลก ๆ นิด ๆ ที่สไลด์เป็นภาษาอังกฤษเป็นหลักแล้วก็แปลมาเป็นไทย มานั่งคิดว่าเอ๊ะจริง ๆ ทำเป็นสไลด์ไทยแล้วแปลต่อท้ายคีย์เวิร์ดเป็นภาษาอังกฤษแทนดีกว่าไหม ยังไงก็เป็นหน่วยงานในไทยนะ
แต่มาคิดอีกที ขืนทำงี้ก็จะกลายเป็นสไลด์ที่อ่านไม่รู้เรื่อง ... หรือเปล่า ?
ผมไม่แน่ใจว่าคนบรรยายทำสไลด์เองรึเปล่าน่ะครับ (เพิ่งกลับมาจากเมกาเพื่องานนี้เลย)
อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ
//นั่งภาวนาให้มี 3G ใช้เร็วๆ
Dream high, work hard.
เป็นหน่วยงานรัฐที่เห็นผลงานค่อนข้างชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นชิ้นเป็นอันมากที่สุดครับ
1024
มีข่าวออกมาตลอดเรื่อยว่าทำอะไรอยู่ (อาจจะเพราะวงการเดียวกับผู้รับสาร เลยเข้าถึงข่าวได้ง่ายเป็นที่สนใจ)
ถ้าผมบอกว่า "โปร่งใสหรือเปล่าก็ไม่รู้" ผมจะโดนยำมั้ย ...
ผมไม่รู้จริงๆ ครับว่ามันโปร่งใสหรือเปล่า บางทีโมเดลการหาเงินของนักการเมืองมันก็เข้าใจยากพอๆ กับแอพฯ ที่ให้โหลดใช้ฟรีๆ อ่ะครับ
ผมเลยพูดถึงเฉพาะ "ผลงาน" ครับ
+1 ให้แนวคิดของกสทช. ผลจะเป็นยังไงต้องรอดู
ถ้าไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับ กิจการของคนต่างด้าว รายใหม่ไม่เกิดหรอกครับ
ต้องยอมรับความจริงก่อนว่า ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ในไทยตอนนี้ 2 รายเป็นต่างด้าว ถือหุ้นไคว่ 70+% 2 รายเป็น รัฐวิสาหกิจ(พิการๆ) 1 รายเป็นทุนไทย หัวใจมังกร
2ราย รัฐวิสาหกิจ ไม่มีสิทธิ์ร่วมประมูล เหลือ 3 ราย ถ้าไม่มีรายใหม่ลงแข่งรายเก่า 3 รายก็แบ่งๆกัน สบายๆ
ราคาค่าบริการไม่ได้ขึ้นกับ ราคาใบอนุญาติ แต่ขึ้นอยู่กับการแข่งขัน เท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ และ ถ้าสถานการณ์ในตลาดยังเป็นแบบนี้ คนที่ถูกบีบก็คือ ผู้ใช้บริการ ไม่พอใจ แต่ก็จำเป็นต้องใช้อยู่ดี
ก็ปล่อยไปตามเวรตามกรรม ประเทศไทยก็เป็นแค่ประเทศที่กำลังจะไม่พัฒนาประเทศหนึ่ง
สวัสดี
ป.ล. ประเทศไทยกำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเสรีอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะทำอะไรก็คิดถึงความสามารถในการแข่งขัน ของคนในชาติด้วยนะครับ
เห็นว่าเลือกแล้วเป็น Simultaneous ascending bid auction
ที่มา : http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059970
มันคือวิธีเดียวกับคราวก่อนที่ล้มไปนั่นล่ะครับ ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยน แค่เรียกชื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชามากขึ้นเท่านั้น
ผมหมายถึง จาก บทความที่บอกว่าประกาศ จะมีการประกาศในช่วงบ่าย เลยบอกว่าเท่าที่อ่านข่าวช่วงเย็นๆ มีความคืบหน้าว่าเลือกวิธีออกมาแล้วครับ
ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรคุณนี่ครับ แค่เสริมว่าวิธีที่เลือกมันคือวิธีเดียวกับการประมูลคราวก่อน ซึ่งในเนื้อข่าวไม่ได้อธิบายไว้
ขอให้การส่งมอบ หรือการสอบการประมูลเป็นแบบนี้ด้วยนะครับถือว่าชัดเจนที่สุดครับ
"ได้อย่างชะงัด" นะครับไม่ใช่ "ได้อย่างชะงัก"
ชำงัด ว. ชะงัด, แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง.
กระชง (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น.