แม้ว่าวัยรุ่นในยุคนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือจากโลกดิจิทัลมากกว่าคนสมัยก่อนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็มีบางเรื่องที่ถูกละเลยไปเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือการตั้งรหัสผ่าน
การวิจัยครั้งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการตั้งรหัสผ่านของนาย Joseph Bonneau จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่วิเคราะห์ข้อมูลรหัสผ่านจากผู้ใช้งาน Yahoo! กว่า 70 ล้านบัญชี ผลคือผู้ใช้ที่อายุมากกว่า 55 ปีมักจะตั้งรหัสผ่านที่มีความปลอดภัยสูงกว่าผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 25 ปีถึงสองเท่าตัว
เมื่อวัดจากข้อมูลทั้งหมด Bonneau สรุปว่าความยากของรหัสผ่านจะเพิ่มขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้น นอกจากเรื่องอายุแล้ว ภาษาที่ใช้ก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้การตั้งรหัสผ่านยากง่ายแตกต่างกันไปด้วย Bonneau บอกว่าผู้ใช้ภาษาอินโดนีเซียตั้งรหัสผ่านง่ายที่สุด ส่วนเยอรมัน และเกาหลีจะตั้งรหัสผ่านยากที่สุด
แน่นอนว่าคนกลุ่มที่ตั้งรหัสผ่านได้ยากที่สุดคือกลุ่มที่มักจะเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ นั่นเอง
ใครที่สนใจอ่านรายงานฉบับเต็มเข้าไปได้ที่นี่ครับ (เป็นไฟล์ PDF)
ที่มาา - Mashable
Comments
มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ -> เคมบริดจ์
ถ้าเค้่าทำงานวิจัยได้ แสดงว่า... เค้าต้องรู้พาสเวิร์ดเราหมดเลยสิเนี่ย
นั่นสิ คือเค้าขอให้ Yahoo เปิดเผยรหัสทั้งหมดเพื่อวิจัย??
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
เค้ายำ username ไว้ (anonymous) แต่ยังเก็บโปรไฟล์ไว้ เช่นเพศ,อายุ,ภาษาที่ใช้ รวมถึงตัวรหัสผ่านน่าจะเก็บไว้ตรงๆ
แต่ก็เห็นไม่น้อยที่รหัสผ่านมันเอามาจากชื่อ username โต้งๆต่อท้ายอะไรนิดหน่อยก็เห็นกันบ่อยๆ
แต่ก็ยังมีการเก็บรหัสผ่านเป็น clean text ตรง ๆ กับ username ล่ะมั้ง ... ถ้าโดน Hack ไปคงสนุก (ฮา)
ระบบdatabaseจะมีบางtool เอาไว้ทำ mockup dataได้
เช่นจะให้เห็นpassword ที่เหลือเป็นดอกจันทน์หมดเลย
แป้นไทย พิมพ์อังกฤษ + ตัวเลข
ใช้แบบนี้ดีที่สุด [เดาให้ถูกละกัน] = [gfk.sh5^d]tdyo]
เค้าใช้อะไรวัดว่าง่าย-ยาก ?
ง่ายๆก็เช่น password
ยากๆ นี่แล้วแต่ใจเลย ไม่รู้จะเดายังไง
เคยอ่านมาว่า การตั้งรหัสผ่านที่ดีที่สุดคือ ใช้ัศัพท์เป็นคำๆ รวมกันสามคำ
แบบภาษาไทย แต่เปลี่ยนแป้น อันนี้ใช้โปรแกรมถอดรหัสง่ายมาก
ทำไมภาษาไทยเปลี่ยนแป้นถึงถอดง่ายล่ะครับ?
Dream high, work hard.
เหมือนอ่านจาก Gizmodo นะ user.usually.attacked.idiot อะไรประมาณนี้ จำง่าย และแฮคยากใช่ย่อยอยู่ (แต่ลืมทฤษฏีไปแล้วว่าทำไม)
ถ้าคนแฮกเป็นคนไทยและเดาว่าใช้วิธีนี้ในการตั้งรหัส ผมว่าน่าจะแฮกได้ง่ายพอสมควรอยู่นะครับ เพราะวิธีนี้ก็คือ dictionary attact ที่ใช้คำภาษาไทยแล้วแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้ตรงๆ
Sakharin.com
พยายามกลับไปหาที่มาที่เคยอ่าน แต่มันหายไปแล้วค่ะ
ที่จำได้คือ ศัพท์เป็นคำๆ จะแฮคยากสุด
ส่วนที่ว่า ทำไมภาษาไทยเปลี่ยนแป้นแล้วเดาง่าย ต้องถามโปรแกรมเมอร์แล้วล่ะค่ะ ว่าเวลาใช้โปรแกรมเดาสุ่มพาสเิวิร์ดมันทำงานยังไง
เพราะลักษณะของภาษาไทยเปลี่ยนแป้น มันไม่เป็นภาษา เหมือนเป็นตัวอักษรอังกฤษสุ่มๆออกมา
เช่นคำว่า แมวสีดำ พอเปลี่ยนแป้นก็เป็น c,;lufe แบบนี้น่ะค่ะ เดาว่า มันน่าจะเป็นลำดับต้นๆของโปรแกรมเวลาสุ่มหาพาสเวิร์ดรึเปล่า
คือถ้าใช้ความยาวเดียวกับภาษาอังกฤษ ยังไงมันก็ปลอดภัยกว่าในทุกกรณีครับ
แต่ผมว่าถ้ายังไงก็สุ่มนี่ โอกาสเจอมันก็คงเท่าๆ กับการตั้งเป็นคำไม่ใช่เหรอครับ?
Dream high, work hard.
ใครที่พิมพ์อังกฤษบนแป้นไทย ระวังจะไปลำบากตอนไปใช้งานบนอุปกรณ์ทัชสกรีนนะครับเพราะเวลาจิ้มเปลี่ยนภาษามันจะไม่เห็นอักษรไทยบนคีบอร์ด ผมโดนมาแล้ว 555
+1 กรอกรหัสผ่านผ่านมือถือนี่มีเครียด -___-"
Happiness only real when shared.
ผมฝึกจนจำได้หมดละครับว่าตัวไหนอะไร พอดีตั้งแบบนี้ตั้งแต่เด็ก :)
กลัวที่ไหน ใช้androidก็ลงkeyboard ชื่อ english thai keyboardไว้พิมพ์เวลาใส่password
ผมรหัสสูงสุด 19 ตัว (Web, FB)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ของผมสูงสุด 26 ตัวครับ เฉพาะเมล ส่วนทั่วไปก็ 15 ตัว (ยาวไปไหมเนี่ย? ฮ่า ๆ)
ผมรหัส10กว่าตัว แต่
แต่ละsiteมีpasswordไม่เหมือนกัน
ถ้าพวกเมลผมล่อซะ 30 กว่าตัว
แต่ social network นี่ไม่ซีเรียส แค่ 16 ตัว
ส่วนเว็บบอร์ดทั่วไปน่ะเหรอ 7-8 ตัวอย่างมาก
web ธนาคารป้อนได้ 8 ตัว
แถมไม่ให้ใช้อักขระพิเศษอีก
จบข่าว :(
ไทยพ**** สินะ T.T
plain text sure
Adobe ให้ 6-12 ตัว แถมเข้าไม่บ่อยด้วย พอจะเข้าจำไม่เคยได้ซักที จะเข้าทีไรต้องกด Lost my password ตลอด
+1
ถ้าเป็นพวกเว็บการเงินผมจะตั้งยากๆ แต่ถ้าเป็นแบบพวกบอร์ดต่างๆ ผมก็ตั้งง่ายๆครับ
ทุกวันนี้ผมยังจำพาสเวิร์ดที่เป็นภาษาอังกฤษไม่ได้เลย
เขารู้ password ได้อย่างไรครับ ?