หลังจากยาน Mars Curiosity ลงจอดบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางนาซ่าก็ให้ข่าวว่าซอฟต์แวร์บนตัวยานจะต้องได้รับการอัพเกรดก่อนจึงเริ่มทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไปได้
คอมพิวเตอร์บนตัวยาน เป็น PowerPC 750 200MHz แรม 256MB และหน่วยความจำแฟลช 2GB พร้อม EEPROM สำรองอีก 256KB ส่วนการเชื่อมต่อกับโลกนั้นใช้คลื่น X-band (7-8Ghz) ส่งตรงมายังโลกด้วยความเร็ว 160-800bps ขึ้นกับจานที่ใช้ขณะนั้น ส่วนอีกทางคือการส่งไปยังดาวเทียม Mars orbiters ด้วยคลื่น UHF ความเร็วสูงใช้อัพโหลดภาพความละเอียดสูงกลับสู่โลก โดยไม่ระบุความเร็วสูงสุด แต่คาดว่าจะดาวน์โหลดข้อมูลได้วันละ 250 เมกกะบิต
การอัพเดตถือเป็นความเสี่ยงสำคัญของภารกิจ หากผิดพลาดอาจะจะทำให้ภารกิจล้มเหลวได้โดยง่าย
ตอนนี้จานดาวเทียมความเร็วสูงยังไม่กาง ต้องรอกระบวนการอัพเดตซอฟต์แวร์ไปอีกประมาณสัปดาห์จึงเริ่มทำงานเต็มระบบได้
ที่มา - The Register, NASA (PDF)
Comments
อืม...
ขนาด อัพเกรด บ้านๆยังเสียวไฟดับ
นี่ ต่างดาวกันเลย
ทำไมผมฮา
วันละ 250 Mega bits = 31.25 Mega bytes
โอ้วว ต้องบริหารจัดการกันยังไงเนี่ย =_="
จำได้ว่าความเร็วสูงสุดที่ MSO ส่งกลับมาหาโลกได้อยู่ที่ 256kbps ครับ แต่โดยเฉลี่ยจะใช้ได้ราวๆ 100kbps เท่านั้น
ส่วนเสา UHF ของ MRL ไม่มีข้อมูล พยายามหาอยู่
ลองดูที่เว็บนี้ครับ
อันนี้เป็นเสาสัญญาณรึเปล่าคัรบ? High Gain Antenna มันจะได้เป็นเสาสัญญาณความไวสูง
คอมเก่ากี่ปีแล้วเนี่ย
เป็น spec ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประหยัดพลังงานให้มากที่สุด
สเปคแรงจะกินพลังงานมากเกินไปครับ ไม่ใช่ว่าไม่มีสเปคแรงๆใช้ ;)
my blog
สเป็คที่ใช้บนโน้นจะเป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทนการใช้งานแบบสุดขั่ว ทนรังสี,ทนความร้อน,ความเย็นเป็นพิเศษ ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่ม consumer grade ที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่น่าจะไม่รอดหรอกครับ
แค่แรงสะเทือนตอนส่งก็ไปแล้วครับ คอมแบบเราๆ
เกือบปีครับ ส่งออกนอกโลกไปก็นานอยู่นะ ตกรุ่นบ้าง อะไรบ้าง ไม่เห็นเป็นไรเลย
เกือบปี รึเกือบ 15 ปีนะครับ ?
มันพึ่งสร้างเองนะ จะสิบห้าปีได้ไง นี่ เดินทางไม่ถึงปี สินค้าจะตกรุ่นได้ ก็ต้องมีรุ่นใหม่ที่ดีกว่าออกมาด้วยนะครับ ตัวนี้รุ่นล่าสุดสำหรับ NASA ละ
เท่าที่ทราบ มีไฟให้ใช้แค่ร้อยวัตต์นิดๆ เอง
มันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดบนดาวอังคารเชียวนะครับ อย่าดูถูก :P
Jusci - Google Plus - Twitter
ระยะทางจากดาวอังคาร - โลก นี่ ประมาณ 50-401 ล้านกิโลเมตรเลยนะครับ (วัดจากความห่างในเวลาที่ดาวโคจรไปคนละทิศทาง) NASA ยังสามารถส่งข้อมูลได้ 160-800bps เพื่อทำการอัพเดท FW ได้ บ้านเราตัวรับสัญญาณห่างจากเสากระจายสัญญาณไม่ถึงกิโลเมตร สัญญาณแกว่งยังกะไวกิ้งเลย
โคตรๆๆๆๆๆๆๆๆเก่งเลยครับผมยอมรับพวกเค้าจริงๆ
Technology is so fast!
โดนใจมากมายเลยครับอันนี้เอาไป 1 like
ชาบูในความสุดยอดครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เพื่อความก้าวหน้าและทันสมัยต่อการใช้งาน บริษัทได้ทำการปรับความเร็วอินเตอร์เน็ตในบ้านของท่านให้เทียบเท่าความเร็วเดียวกับที่นาซ่าในภารกิจสำรวจดาวอังคารให้เรียบร้อยแล้ว
อืมม ฟังดูดี
ลองให้เน็ท ไวไฟ เร็วเท่านั้นดูซิครับ นิ่งแน่ๆ ใช้ความถี่ให้เหมือนด้วยยิ่งดีครับ ส่งไกลๆ
+1
สุดยอด Loss กระจาย แต่ยังทำสำเร็จ ยกนิ้วให้เลย
Texion Business Solutions
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษยชาติสินะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จะเจอปลาหมึกไหมน้อ
อัพ Firmware ผิดเครื่อง Brick ^^
Brick อันนี้ ขำไม่ออกเลยนะน่ะ
ส่งตัวใหม่ไปกู้ระบบให้ตัวเก่า
ก่อนหน้านี้เคยมีทีนึงแล้วครับ (Phobos 1)
จริงๆก็เคยมีเหตุการณ์อัพเดทเฟลกับยาน Spirit มาแล้วนะ อันนั้นเน่าไป 17 วัน มีทั้งไม่ทำงาน เครื่องติดอยู่ใน fault mode แก้ตัวเองไม่ได้ เกิดความร้อนสะสม สั่งบู๊ตทางไกลก็ดันติดปัญหา reboot loop โชคดีที่ยังกู้ระบบกลับไปได้
สุดท้ายเค้าสรุปกันว่า ปัญหาอยู่ที่ซอฟท์แวร์จัดการระบบไฟล์ของแฟลชเม็มโมรีมันรวนๆ พอไฟล์เยอะเกินก็มีปัญหา ทำให้ใช้งานพื้นที่ flash memory ไม่ได้ ก็เลยทำงานก็ไม่ได้ แถมบู๊ตด้วยโหมดปกติก็ไม่ได้
แล้วทำไมไม่อัพซะที่โลกละแล้วค่อยส่งไป ทำอะไร ยุ่งยาก
เวลาผ่านไปราวห้าปี คงเจอจุดที่สมควรแก้ไขบ้างล่ะครับ (ผมเดาเอาว่าห้าปีนะครับ เพราะก่อนหน้านี้อ่านข่าวทดสอบสภาพส่งคนไปด้วยการให้อยู่ในสภาพปิดและดีเลย์การติดต่อจำได้ว่าใช้เวลาราวสองหรือห้าปี)
launch เมื่อ november ปีที่แล้วครับ แต่ software น่าจะเสร็จก่อนหน้านั้นนานอยู่
แหมๆ ถ้ามันทำแบบนั้นได้ เค้าคงทำแล้วล่ะครับ ระดับ NASA นะครับ ไม่ใช่อนุบาลหมีน้อย - -"
All of which are perfect in theory, but a little messy in reality.
ถ้ามันทำได้จริงๆ เค้าคงไม่ลงทุนเสียเวลาพัฒนาซอฟท์แวร์ส่วนกู้ระบบ,แฟลชซอฟท์แวร์,รีบู๊ตระบบกันหรอกครับ
กำลังจะถามพอดีเลยครับ ทำไมไม่ให้มัน Update ตั้งแต่ที่โลกก่อนส่งไป เพราะถ้า Upgrade FW เจ๊งก็เท่ากับเสียเปล่าทั้งโครงการ
Technology is so fast!
เดินทางนานนะครับ บนโลกก็อัพเดตอะไรบ้าง จะให้รอบนโลก ก็ไปได้ปล่อยจรวจสักทีซิครับ วงโคจรที่ใกล้โลกๆ นานมีทีนะ
พอดีว่า Jelly Bean พึ่งออกเมื่อเดือนที่แล้วฮะ
#ไม่ใช่ละ
ผมแซวเล่นครับทุกท่าน ฮา ผมรอมันจนลืมไปแล้ว
Please do not power off or unplug your computer installing update ...
iPAtS
installing update ...
Battery Empty!
...
อยากรู้อัพส่วนไหน Bios หรือ OS??
ผมยังไม่มีรายละเอียดของคอมเครื่องนี้
แต่โดยปกติมันก็รวมกันอยู่เป็นอันเดียวเลยครับ
ระหว่างทางถูกมนุษย์ต่างดาวม่ sniff ข้อมูล แล้วใส่ข้อมูลแทนของเดิมลงไป (เอเลี่ยนแปลงสาร)
Alien-in-the-Middle!!!
+1 มุกนี้ผ่าน
ฮาจริง เผื่อคนไม่รู้ -> Man in the Middle ครับ
เผลอๆเครื่องอาจถ่ายเจอทั้งอนาจักรบาร์ซูม ของ จอห์น คาร์เตอร์ แต่โดนเปลี่ยน packet ระหว่างทางก็ได้นะ ^^"
เทพจริงๆ พวกนี้
..: เรื่อยไป
อ้าว ทำไมไม่ใช้ระบบ OTA ล่ะฮะ อิอิ (เกี่ยวกันใหม่)
เสี่ยงน่าดู
ป.ล. "อาจะจะ" พิมพ์สระอะเกิน
เท่าที่อ่านจากเว็บไซต์นี้ เขาไม่ได้อัพเดทเฟิร์มแวร์นะครับ ที่เขาส่งขึ้นไปคือโปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่ตัวยานจะต้องใช้หลังเสร็จสิ้นการตรวจสอบสภาพยานเรียบร้อยแล้ว หลักๆก็เป็นเรื่องเส้นทางการเดินทางของยาน เพราะข้อมูลพวกนี้เขาไม่มีทางรู้ก่อนจะลงบนพื้นผิวจริงๆได้
สำหรับ embedded computer แบบนี้ ไม่ว่าจะ firmware หรือ software มันแยกกันยากครับ ส่วนมากมันก็เป็นก้อนเดียวกันนั่นแหละครับ ผมลองเข้าไปอ่านดูแล้วเค้าก็ไม่ได้ระบุชัดนะครับว่ามันแยกกันหรือยังไง
คงจะเข้าใจความหมายผมผิดไปหน่อย ผมหมายถึงว่าตัว firmware/software นั้นเขาไม่ได้อัพเดทครับ ที่อัพเดทคือรายการคำสั่ง (หรือที่ผมใช้คำว่าโปรแกรมในความเห็นที่แล้ว) ที่ผมคิดแบบนี้เพราะว่าเคยติดตามอ่านสถานะของ Spirit/Opportunity ตอนนั้นเวลาเขาอัพเดทตัวเฟิร์มแวร์ เขาจะเขียนไว้ชัดเจนเลยว่า upgrade new software หรืออะไรประมาณนี้ ส่วนเวลาบอกให้ยานทำอะไร เขาจะใช้คำว่า send command เฉยๆ
edit เพิ่ม: สำหรับ Curiosity ตัวมีคอมพิวเตอร์ 2 ตัวในยานครับ ทั้งสองตัวมีสเป็คตามที่ในข่าวบอกเหมือนกัน ส่วนใหญ่คนเลยมักคิดว่ามีตัวเดียว
อ่านจากเว็บที่คุณแปะมา ผมยังคิดว่าเป็นการอัพเกรดซอฟต์แวร์อยู่ดีนะครับ
ส่วนเรื่องมีคอมสองตัวนี่ เอาไว้สำรองและเอาไว้แฟลชอีกตัวเวลาเกิดพลาดอะไรรึเปล่าครับ อันนี้ผมไม่ทราบ
อืม แสดงว่าเราตีความข้อความนี้ต่างกันจริงๆ ผมคิดว่า switch ในที่นี้คือสลับโหมดการทำงาน แต่ยังไม่มีการลงซอร์ฟแวร์ใหม่ ก็คือซอร์ฟแวร์ทั้งสองตัวรวมกันอยู่ในก้อนเดียวมาก่อนตั้งแต่อยู่บนโลกแล้วน่ะครับ อ้อ อีกอย่างคือตัว Curiosity เป็นยานที่มี OS เป็นของ VxWorks ทำให้ผมคิดว่าเฟิร์มแวร์กับซอฟต์แวร์ส่วนอื่นๆนั้นแยกกันครับ
ส่วนคอมพ์สองตัว เคยอ่านมาว่าเพื่อแยกการทำงานระหว่างงานวิทยาศาสตร์ (พวกอุปกรณ์เคมีอะไรทำนองนี้) กับงานวิศวกรรม (การเดินทาง) ครับ
คือในเว็บที่คุณให้มาเขียนว่า "Flight Software will get a change and be switched" ซึ่งแปลจริงๆก็หมายถึงเปลี่ยนซอฟต์แวร์เพื่อสลับโหมดการทำงานน่ะครับ ไม่ใช่แค่กดปุ่มเปลี่ยนโหมดเฉยๆ
ที่สำคัญคือ เว็บ spaceflight101 เค้าไม่ได้บอกนะครับว่าไม่ใช่การอัพเกรด ทีนี้ถ้าลองไปอ่านที่อื่นจะพบว่ามันไม่ได้เป็นการเปลี่ยนโหมดเฉยๆ แน่นอน เพราะพูดถึงเรื่อง link speed อะไรเต็มไปหมดครับ
ตอนนี้ในเว็บเขาอัพเดทข้อมูลเพิ่มแล้วครับ สรุปว่าเป็นการอัพเกรดเฟิร์มแวร์จริงๆ แต่ว่าตัวเฟิร์มแวร์นั้นถูกอัพโหลดใส่ใน memory เตรียมไว้ตั้งแต่ช่วงเดินทางแล้วครับ เลยมีเวลาตรวจสอบความถูกต้องมาระยะหนึ่งแล้ว
ปล. ขออภัยที่ไม่ได้มาสนทนาด้วยหลายวัน พอดีว่าติดสอบครับ :)
ปล.2 ส่วนตัวผมค่อนข้างเชื่อถือเว็บ spaceflight101 มากกว่าเว็บอื่นๆเพราะเห็นว่าทีมงานเว็บค่อนข้างใกล้ชิดกับหน่วยงานอวกาศเยอะ
อ๋อใช่ๆเพราะจุดที่ยานจะลงจอดมีสำรองหลายในกรณีผิดพลาดครับ เผื่อลงไม่ตรงตามที่กำหนด
คลิปความรู้เสริมครับว่าตัวหุ่นสื่อสารกับทางโลกยังไง
ชอบบบบบบบบ ขอบคุณครับ
Dream high, work hard.