หลังจากผ่านกระบวนการร่างหลักเกณฑ์การประมูลความถี่ 2.1GHz สำหรับให้บริการ 3G กันมานาน ในที่สุดเอกสารหลักเกณฑ์การประมูลฉบับสมบูรณ์ก็ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2555 (สำหรับคนที่ต้องการแหล่งอ้างอิง อยู่ในเล่ม 129 ตอนพิเศษ 130 ง หน้า 53)
ขั้นถัดไป กสทช. จะเผยแพร่ข้อสรุปสารสนเทศ (Information Memorandum หรือ IM) ให้รายละเอียดการประมูลเพื่อชักชวนผู้ประกอบการที่สนใจ และผ่านไปอีก 30 วันจะหมดเขตยื่นแบบคำขอเข้าร่วมประมูล จากนั้นอีก 15 วัน กสทช. จะประกาศชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลที่ผ่านคุณสมบัติขั้นต้น
เมื่อได้ชื่อผู้เข้าร่วมประมูลแล้ว จะมีกระบวนการชี้แจงข้อสงสัยและซักซ้อม (mock auction) อีกช่วงหนึ่ง การประมูลจริงๆ น่าจะมีขึ้นในวันที่ 15-20 ตุลาคมนี้ และประกาศชื่อผู้ชนะการประมูลใน 3 วันหลังการประมูลเสร็จสิ้น
หลังจบการประมูลจะมีช่วงการยื่นเอกสารของผู้ที่ชนะการประมูลอีกระยะหนึ่ง (มากที่สุด 90 วัน ในทางปฏิบัติคงน้อยกว่านั้น) และเมื่อเอกสารพร้อมหมดแล้ว กสทช. จะออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบนคลื่น 2.1GHz ได้ครับ
ที่มา - ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กสทช.
หลักเกณฑ์การประมูล 3จี ประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว กสทช. เตรียมเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า หลังจากที่ที่ประชุม กสทช. มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ล่าสุดได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2555 เล่ม 129 ตอนพิเศษ 130 ง หน้า 53
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้นตอนการประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูล ซึ่งจะเริ่มภายหลังจากการเผยแพร่สรุปข้อสนเทศ (Information Memorandum) หรือ ไอเอ็ม ประมาณวันที่ 29 ส.ค. 55 เพื่อเชิญชวนผู้ที่มีศักยภาพเข้าร่วมประมูลเพื่อเป็นผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับการอนุญาตจะต้องยื่นแบบคำขอเพื่อพิจารณาคุณสมบัติขั้นแรกต่อไป โดย ประมาณวันที่ 14 ก.ย. 55 กสทช. อาจจะจัดให้มีการประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเข้าร่วมรับการอนุญาต (Public information session) และให้มีโอกาสซักถามเพื่อความเข้าใจในการกรอกแบบคำขอและกระบวนการประมูลได้ชัดเจนขึ้น จากนั้น 30 วัน หลังจากที่ได้เผยแพร่ไอเอ็ม จะเป็นการกำหนดเวลาในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีการวางเงินหลักประกันการประมูลด้วย
หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติขั้นแรก เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนของคุณสมบัติและการดำเนินการของผู้ขอรับใบอนุญาตตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และจะประกาศรายชื่อผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติและดำเนินการครบถ้วนเป็นผู้เข้าร่วมการประมูล ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 15 วัน นับจากวันยื่นคำขออนุญาต
ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการชี้แจงรายละเอียดการประมูล โดยมีการประมาณการว่าอาจจะจัดในระหว่างวันที่ 12 -13 ต.ค. 55 เพื่อให้ข้อมูลในการเข้าร่วมประมูลสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลทั้งหมด เพื่อให้เรียนรู้วิธีการ หลักเกณฑ์ และกระบวนการต่างๆ ของการประมูล และจะมีการจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมดได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมการประมูล เพื่อให้มีโอกาสซักซ้อมกระบวนการเสนอราคาโดยใช้โปรแกรมการประมูล ซึ่งจะถือเป็นการทดสอบโปรแกรมการประมูลด้วย
จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลต่อไป เบื้องต้นได้กำหนดวันในการประมูลไว้ระหว่างวันที่ 15 – 20 ต.ค. 2555 และหลังจากสิ้นสุดการประมูลจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลภายใน 3วัน โดยจะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามให้แก่ผู้ชนะการประมูล ภายหลังจากผู้ชนะการประมูลได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตอย่างครบถ้วน ถูกต้องภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
หมายเหตุ: หลังจากเกณฑ์การประมูลฉบับจริงเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน้าที่ของผมในฐานะคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ก็เสร็จสิ้นตามไปด้วย ต่อจากนี้ไปผมจะกลับมาเขียนข่าวที่เกี่ยวข้องกับงานของ กสทช. ทั้งหมดตามปกติเหมือนเดิม รวมถึงกระบวนการการประมูล 3G (ที่ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดเตรียมการประมูล) ด้วยครับ
Comments
ข้อให้ไม่ล่ม!
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อยาก +1 นะครับ
แต่ผมเชื่อมั่นว่าล่มแน่นอน ประเทศไทยไม่มีวันเจริญ (ทางด้านโทรคมนาคม) แน่นอน แน่นอน แน่นอน
+1
ถ้าจะล่ม คงเป็นเพราะผู้จัดการฮั้ว
เลิกหวังไปนานละ
ถ้าล่มคราวนี้ก็ต้องโทษเสียงส่วนใหญ่ของกสทช.เองแหละที่เปิดช่องให้โดนฟ้อง
บางที คนที่จ้องจะล้มประมูล คงลืมคิดว่า การที่ล้มครั้งแล้วครั้งเล่า สิ่งที่สูญเสียไปในระยะเวลาที่ผ่านมา กับจำนวนเงินส่วนต่างที่ กสทช อาจจะได้รับน้อยลงจากการลดลงจาก 20 เป็น 15 มันอาจจะเทียบกันไม่ได้
เพราะสิ่งที่ กสทช ทำทุกวันนี้ มันอาจจะทำให้ประเทศได้รับประโยชน์ไม่มากที่สุดเท่าที่ควรจะเป็น แต่มันก็ยังทำให้ประเทศเราคลานตามชาติอื่นเค้าได้ใกล้อีกคืบนึง
..: เรื่อยไป
ผมขอถามความเห็นคนแถวนี้หน่อยครับว่า
15-15-15 มันมีอะไรดีกว่า 20 สูงสุดได้คนเดียว (20-15-10) ครับ
ถ้า 15-15-15 อยู่แล้วแล้วจะประมูลไปทำไมครับเนี่ย
แต่สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ ใครจะฟ้องล้ม รีบๆฟ้องเลยครับ ฟ้องให้ล้มตอนนี้ยังดีกว่านะ ประมูลแล้วล้มมันเซ็งกว่ากันเยอะ
ถ้ามี 20 เขากลัวว่าจะมีคนซวยได้ 5 ไป จะเหมือน AIS ตอนนี้ที่มีอยู่ 5 เลยเน่าๆ ครับ
15 หมด ก็เท่าเทียม ไม่มีใครซวยได้น้อยจนบริการไม่ได้
แต่ก็อะนะ ดูจะไม่แข่งขันกันเลย เนี่ยซิ
อยากรู้ว่าตอนนี้ใครมีเท่าไหร่บ้างอะครับ
ตอนนี้ คลื่น 2100 ยังไม่กำหนดครับ ถ้าเป็นคลื่นของตัวเองก็มีีคนละไม่มากนะครับ
ตอนนี้ภาวนาอย่างเดียว
อย่าล่ม อย่าล่ม อย่าล่ม
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมไม่สนหรอกว่าใครจะได้ไปเท่าไร แต่ผมสนว่าได้ไปแล้วจะบริการ จัดการได้ดีรึเปล่า เพราะถ้าได้ไปแล้วเป็นแบบ 2G dtac ตอนนี้ที่ล่มบ่อยๆ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไร
แต่ถ้าได้ไปแล้วบริการดี จัดการดี ทำได้ไว คลอบคลุม ทั่วถึง ผมก็จะตามไปค่ายนั้นครับ
เวลาจะเป็นตัวพิสูจน์
ได้ไปน้อยก็ บริการลำบาก ส่งผลตามมาอีกมากมาย
AIS, DTAC, TRUE นี่..ไม่รู้หรือแกล้งโง่ครับ หรือผมไม่เข้าใจอะไร?
ว่า.. ถ้ามีแวว จะถูกกล่าวหาว่าฮั้ว > ก็จะมีคนหาเหตุจ้องล้มประมูล (แน่ๆ) > ถ้าล้มสำเร็จทุกอย่างก็ศูนย์ > พอศูนย์ คุณก็ไม่โต
แล้วอย่างงี้จะนิ่งเงียบกันอยู่ทำไม กำครี่ดีกว่ากำเดา นะครับทั่น หรือว่าเรื่องนี้มันซับซ้อนกว่า 24 : TV Series