ระบบระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีหากันมาตลอด เพราะค่าพลังงานสำหรับระบบระบายความร้อนเป็นต้นทุนก้อนใหญ่สำหรับบริษัทเหล่านี้ บริษัทเช่นกูเกิลเคยใช้ระบบระบายความร้อนด้วยลมในประเทศที่หนาวเย็นมาแล้ว แต่อินเทลเสนอแนวทางใหม่คือการใช้น้ำมันมาหล่อเย็นแทนอากาศตามปกติ
ความได้เปรียบของน้ำมันคือค่าความจุความร้อน (heat capacity) นั้นอยู่ที่ประมาณ 2.0 ตามประเภทของน้ำมัน (ดูรายการค่าความจุความร้อนของน้ำมัน) ขณะที่อากาศนั้นประมาณ 1.0 เท่านั้น แสดงว่าน้ำมันที่ไหลผ่านชิ้นส่วนต่างๆ ในปริมาตรเท่ากันสามารถพาความร้อนออกไปจากชิ้นส่วนได้มากกว่าถึงสองเท่าตัว
เป้าหมายของงานวิจัยนี้คือการลดค่าพลังงานสำหรับการทำความเย็นหรือค่า PUE ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ก่อนหน้านี้เฟชบุ๊กเคยระบุว่าศูนย์ข้อมูลที่ดีที่สุดของตนมีค่า PUE อยู่ที่ 1.07 (ใช้พลังงานสำหรับความเย็น 7 ส่วน ต่อพลังงานสำหรับการคำนวณ 100 ส่วน) การใช้น้ำมันระบายความร้อนนี้สามารถลดค่า PUE ลงไปได้เหลือเพียง 1.02 ถึง 1.03 เท่านั้น
ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำมันนี้สร้างโดยบริษัท Green Revolution Cooling และทางบริษัทระบุว่ามีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์สนใจใช้ระบบหล่อเย็นนี้ไปผลิตเครื่องจริงแล้วคือบริษัท SuperMicro ส่วนตัวน้ำมันนั้นบริษัทแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทุกๆ สิบปี
ที่มา - Wired
Comments
มันจะไวไฟไปไหมเนี่ย -
Texion Business Solutions
นั่นสิ เกิดพนักงานสติแตกขึ้นมา ทำไง
เคสเห็นรีวิวที่เขาเอาบอร์ดไปแช่น้ำมันเมื่อหลายปีก่อนนะ
ปกติใช้น้ำมัน หนืดๆ นะ ไม่ใช่ น้ำมันพวก เบนซิน
อย่างหม้อ แปลงไฟฟ้า แรงดันสูง ตามเสาไฟ ส่วนใหญ่ ก็ ระบายความร้อนด้วยน้ำมันกันหมด
ถ้าแผงวงจรมันเกิดช็อตขึ้นมาสักจุดหนึ่ง จะเป็นเช่นไรกันหนอ
ไม่อยากนึกถึงตอน maintenance - -'
น้ำมันก็มีหลายประเภทนะครับ น่าจะเป็นประเภทที่ไม่ไวไฟ เพราะถ้าเป็นประเภทที่ไวไฟอันตรายมาก
+1 พวกน้ำมันที่ใช้กับฟันเฟืองก็ไม่ไวไฟน่ะ
"ระบบระบายความเย็นเป็นต้นทุนก้อนใหญ่" <-- น่าจะพิมพ์ผิดนะครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
เอาน้ำมันเครื่องเติมได้เปล่า
คงไม่สามาถใช้น้ำมันเครื่องแบบที่เราใช้กับรถได้หรอกครับ น่าจะมีการจำกัดเรื่องค่าความหนืด, ความจะความร้อน, ความสามารถในการกลายเป็นไอ และเรื่องจุดวาบไฟ ฯลฯ
ดูอย่างรถยนต์ที่ใช้ๆ กัน ทั้งน้ำมันเครื่อง, นัำมันเกียร์, น้ำมันเฟืองท้าย ฯลฯ ยังมีแยกยิบย่อยเลยครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ตู้มเกิดเป็น โกโก้ครั้น
ผมว่าเป็นแนวคิดที่น่าจะ implement มาได้ตั้งนานแล้ว แต่ไม่รู้รายละเอียดทางเทคนิคจริงๆ ว่าทำไมเทคโนโลยีนี้จึงไม่เกิดในวงการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาก่อน
พวกเครื่องจักรใหญ่ๆ ใช้การระบายความร้อนด้วยตัวนำสารพัดประเภทมานานแล้ว ทั้งลม, น้ำ, อากาศ แต่ปัญหาคือเรื่องการ maintenence และการดูแลเรื่องความสะอาดของสารหล่อเย็นมากกว่า
แต่อายุการเปลี่ยนในรอบ 10 ปี ต่อครั้งนี่ ถือว่าเจ๋งกว่าพวกเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือแม้แต่รถยนต์มากเลยนะ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เพราะว่า เครื่องยนต์มันมีการเสียดสี และการเผาใหม้อยู่ตลอดเวลาไงครับ แต่ เซิฟเวอร์ไม่มี
เซิร์ฟเวอร์ร้อนจัดอาจเผาไหม้ก็เป็นได้ XD
Dream high, work hard.
เวลาถอดมาจากระบบ ต้องล้างกันหรือเปล่าหว่า
เห็นเอาสาย LAN จิ้มลงไปทั้งอัน เวลาจะเสียบต้องเอาไปจุ่มด้วยเลยซินะ เหนียวกันเลย
คงไม่ถอดกันง่ายๆ ;)
ตอนแรกแอบสงสัย เพราะดูตารางแล้วน้ำมี Heat Capacity ตั้ง 4 ทำไมไม่เอาทำหว่า ต้นทุนก็ต่ำ แล้วก็นึกได้ว่า เดือดปั๊บมันก็ระเหยเร็วนี่เอง ^^"
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีมากครับ ถ้าปนเปื้อนอะไรหน่อยเดียวมันจะนำไฟฟ้า แล้วก็บรรลัย....
lewcpe.com, @wasonliw
น้ำ จะช๊อตเอานะครับ นอกจากจะเอาน้ำบริสุทธ์มา (ใช่เปล่าหว่า)
น้ำมันบางชนิดมันก็ไม่ระเหยครับ มีคนบ่นว่าถ้าน้ำมันที่ใส่ไม่หมุนเวียนล่ะก็ยุ่งครับ
นึกถึงแอมโมเนียแฮะ ระบายควาามร้อนเร็วมาก แต่แช่ไม่ได้
น้ำมันบางประเภทเช่น น้ำมันสังเคราะห์ ไม่ติดไฟนะครับ
ในหม้อแปลงไฟฟ้า แกนเหล็กก็แช่อยู่ในน้ำมัน โดยไม่มีฉนวนไฟฟ้ากั้นทั้งนั้น
กรณีหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ก็ใช้น้ำมันเองนั่นแหละครับเป็นฉนวน ค่าความเป็นฉนวนสูงกว่าอากาศอีก พูดง่ายคือทนแรงดันไฟฟ้าได้สูงกว่าอากาศทั่วๆ ไป (อากาศตามปกติ จะทนแรงดันได้ราวๆ 30 kv/cm ถ้าแรงดันสูงกว่านั้นก็เกิดการสปาร์คได้)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
นึกถึงกระทู้ใน OCZ ที่เอาเมนบอร์ดใส่กล่องพลาสติคประกอบแล้วเทน้ำมันพืชลงไป ใช้ได้ดีด้วยหละ =_=
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
นึกถึงที่เดียวกันเลย :p
กำลังนึกอยู่เลยว่าไปเคยเห็นจากที่ไหนมาก่อนนา
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
บอร์ด dfi lanparty อะไรซักอย่าง
รู้จักน้ำมันหล่อเย็น ที่เค้าใช้เวลากลึงเหล็กหรือเปล่าครับ..
น้ำมันเปลี่ยนทุกสิบปี แล้วตัว server ล่ะครับ
เปลี่ยนทุกปี ฮาาา
+1 คิดเหมือนผมเลย