Tags:
Node Thumbnail

ถึงแม้ข่าวนี้จะไม่เกี่ยวกับวงการคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสักเท่าไหร่ ผมว่าเว็บที่ค่อนข้างเคร่งกับการตรวจสอบการเขียนอย่าง Blognone ผมว่าน่าจะโดนเต็ม ๆ ซึ่งถ้าหลักการเขียนแบบนี้ถูกตีพิมพ์ออกมาจริง เราอาจต้องมาถกเถียงกันต่อว่าจะยึดตามหลักนี้กันหรือไม่ (แต่หากว่า Founder หรือ Writer ไม่เห็นว่าควรเป็นข่าวขึ้นหน้าแรก ก็แล้วแต่จะพิจารณาครับ)

เนื่องจากราชบัณฑิตเห็นว่า คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายคำ เราเขียนกันผิดหลักเรื่อยมา ใช้กันจนชินมือชินตากันไปแล้วแต่ความจริงที่ว่าผิดก็ยังคงผิดอยู่ ผลที่เกิดตามมาคือชาวต่างชาติที่เรียนภาษาเรา พอเจอศัพท์ที่สะกดผิด ๆ พวกนั้นก็ถึงกับงง (แต่ผมคิดว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ตอนนี้ก็งงไม่แพ้กัน)

ซึ่งการเขียนผิดเหล่านั้นเกิดจากเราทับศัพท์แบบไม่ค่อยใส่วรรณยุกต์และไม่ผันเสียงตามที่ควรจะเป็นเช่น

  • แคลอรี -- แคลอรี่
  • โควตา -- โควต้า
  • เรดาร์ -- เรด้าร์

คำเตือน: ก่อนจะแชร์ ก่อนจะเม้นต์กัน กรุณาอ่านให้ดี อ่านให้จบก่อนครับ

คุณกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทยกล่าวว่าขณะนี้พบว่ามีถึง 176 คำที่สะกดผิดตามหลักดังกล่าว ซึ่งกองศิลปกรรมได้จัดทำแบบสอบถาม 300 ชุด เพื่อสอบถามความเห็นจาก * "คณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้อง"* ในการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่

เบื้องต้นจากการสอบถามความเห็นจาก "สภาราชบัณฑิต" ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเติมวรรณยุกต์ และเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ทั้ง 176 คำ เพื่อเขียนให้ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามคุณกาญจนากล่าวว่ายังคงต้องรอดูผลการตอบแบบสอบถามทั้ง 300 ชุดด้วย ว่าจะเห็นด้วยทั้งหมด หรือเห็นด้วยบางส่วน หรือไม่เห็นด้วย หรือมีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม ซึ่งทั้งนี้ก็จะต้องทันกำหนดเวลาคือ 31 ต.ค. 55 นี้ เพื่อจะบรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และตีพิมพ์ต่อไป

ที่มา - มติชนออนไลน์

หนึ่งในคำที่เสนอให้เปลี่ยน ซึ่งผมมั่นใจว่ามันจะดังภายในไม่กี่ชั่วโมงนี้ หรือไม่ก็ดังไปแล้วขณะที่เขียน
คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์

ย้ำอีกที เขาแค่เสนอครับ ยังไม่ได้เปลี่ยนจริง และกรุณาไปดูที่มา มีอีกหลายคำที่ผมก็เห็นด้วยว่าควรจะเปลี่ยน เช่นพวกวรรณยุกต์เอก-โททั้งหลายที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง

Get latest news from Blognone

Comments

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 30 September 2012 - 15:03 #483261

ในนี้มีคำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีอยู่ เลือกออกมาเขียนก็น่าจะเป็นข่าวไอทีได้ละมั้ง


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: gangurru
Android
on 1 October 2012 - 09:47 #483554 Reply to:483261

ค็อมพิ้วเถอะ
เท็คน้อหล่อจิ
555

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:25 #483642 Reply to:483554

สากด ยากส์ จุง เร~ เก๊า พิม มะ ถุก เบยยย.

By: kurosame
ContributoriPhone
on 1 October 2012 - 14:34 #483755 Reply to:483554
kurosame's picture

กากส์ มากส์


{$user} was not an Imposter

By: HudchewMan
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 30 September 2012 - 15:27 #483273
HudchewMan's picture

เห็นด้วยกับบางคำ แต่หลายคำก็ไม่เห็นด้วย ^^'

ผมว่าแบบสำรวจ 300 ชุดนี่น้อยไปนะ


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 30 September 2012 - 15:36 #483275

ความเห็นท่านหนึ่งในเพจ หนังสือเพี้ยน

"เราเสพเท็คโนโลยี่ค็อมพิ้วเต้อร์ดั่งอ๊อกซิเย่น ควรไปตีเท็นนิสที่ขอร์ด ปิ๊กหนิกดูค็อนเสิร์ต หรือไน้ต์ขลับบ้าง" -
Peung Pupa

ประสาทจะกิน -*-

By: โต้คุง
AndroidWindows
on 30 September 2012 - 16:52 #483284 Reply to:483275
โต้คุง's picture

อันนี้ พี่แอน @iannnnn ทวิตไว้ครับ

By: hoolala
Android
on 30 September 2012 - 22:25 #483352 Reply to:483284

ถ้าเขียนตามปกติจะเป็นข้อความที่ดูทันสมัยมาก แต่พอเปลี่ยนวิธีเขียนปุ๊บ รู้สึกเหมือนข้อความสมัยพ่อขุนรามฯ :D

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 30 September 2012 - 23:52 #483408 Reply to:483275
PaPaSEK's picture

ดูไปดูมาแล้วเหมือนภาษาสก๊อยมากครับ อาจจะยังไม่ชินมั้ง

ตอนดูข่าวนี้ผมก็นึกถึงบล็อกนันก่อนเลย

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 10:14 #483577 Reply to:483408
superballsj2's picture

+1 เห็นแล้วนึกถึงภาษาสก๊อยเลย

By: love_isneverdie
Windows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 15:36 #483276

ถูกตามหลักการออกเสียง โดยเฉพาะ ค็อมพิ้วเต้อร์ แม้สายตาเราอาจจะแย้งว่ามันไม่ชิน ไม่สวย แต่ผมว่าอนาคตน่าจะทำให้เด็กออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง พูดแล้วฝรั่งไม่งง นะ จะเปลี่ยนก็ดี

By: lancaster
Contributor
on 30 September 2012 - 16:22 #483279 Reply to:483276

ที่เสนอมามันเป็นสำเนียงไทยครับ ไม่ตรงกับฝรั่งอยู่ดี

By: Intrend
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 30 September 2012 - 21:56 #483337 Reply to:483279
Intrend's picture

คุณ lancaster พูดถูกเป็นอย่างยิ่งครับ ภาษาอังกฤษมันไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีการออกเสียงที่ตายตัวชัดเจน หลายๆ ครั้งคำคำเดียวกันแต่อยู่ในบริบทที่ต่างกัน ฝรั่งก็ออกเสียงวรรณยุกต์ไม่เหมือนกัน การคิดจะใส่วรรณยุกต์เพื่อให้ออกเสียงแบบที่คนไทยเราออกเสียงกัน ผมว่าจะทำให้ภาษาวิบัติกันไปใหญ่ เด็กไทยยุคใหม่จะออกเสียงผิดจากเจ้าของภาษาไปคนละเรื่อง
ในเมื่อภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ การเขียนทับศัพท์ก็ควรเขียนแบบไม่มีวรรณยุกต์นั่นแหละดีที่สุดครับ ส่วนการอ่านออกเสียงไม่ตรงกับรูปก็ไม่ใช่ปัญหาอยู่แล้ว ภาษาไทยเราเองก็มีคำประเภทนี้อยู่มากมาย

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:23 #483349 Reply to:483337
tomyum's picture

+1 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ได้ตายตัวอย่างภาษาไทย หากจะใส่วรรณยุกต์จริง ต้องถามราชบัณฑิตว่าจะใช้สำเนียงค๊อคนี่ หรือบีบีซี หรือจะเอาอเมริกันอิงลิซดีละคร๊าบ ....ปล. ผมขอเสนออ่านคอมพิวเตอร์ว่า คมพิ้วเท่อร์ จะได้แอ๊คเซ่นเหมือนทอล์กกิ้งดิกดีมากเลยนะครับ...หุหุ

By: CPECHRIS
Windows PhoneWindows
on 1 October 2012 - 00:29 #483421 Reply to:483349
CPECHRIS's picture

เกรงว่า American English จะออกเสียงว่า "ข่อมพิ๊วเดอร์" น่ะสิครับ 555+

By: loptar on 1 October 2012 - 01:13 #483451 Reply to:483421
loptar's picture

แค่อ่านตาม ก็ปวดลิ้นไก่ละ :-)

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:42 #483651 Reply to:483349

ต้องต้องถกกันยาวว่าจะ คม-พยู๊-เถอะ (RP), คอม-พิ๊ว-เทอร์(ห่อลิ้น - GA), หรือ กอม-ปริ๊ว-เตอะ(Indian) 555+.

By: angel13th
Android
on 1 October 2012 - 12:18 #483682 Reply to:483651
angel13th's picture

555 อ่าน กอม-ปริ๊ว-เตอะ แล้วเห็นภาพเพื่อนอินเดียมันพูดคำนี้ลอยออกมาเลย

By: neonicus
Android
on 1 October 2012 - 12:35 #483699 Reply to:483349

technology ผมยังออกเสียง เท็คน๊อเลาะจิ เลย
สำเนียงแต่ละคนมันไม่ตรงกันเลย จะให้เขียนกันยังไงนั่นแหละ

By: gzerosix
Android
on 30 September 2012 - 23:40 #483402 Reply to:483337
gzerosix's picture

+1024

By: clozed2u
ContributoriPhoneIn Love
on 1 October 2012 - 05:18 #483518 Reply to:483337

+1 ครับ

By: crazygooyu
AndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:42 #483361 Reply to:483279
crazygooyu's picture

เห็นด้วยครับ

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 1 October 2012 - 12:12 #483671 Reply to:483279

+1
แสดงให้เห็นว่าราชบัณฑิตนี้แม้จะมีความรู้เรื่องภาษาไทยเป็นอย่างดี แต่ไม่มีความรู้เรื่องภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง

AEC มาเมื่อไหร่ สอนเด็กไปพูด แอ๊ปเปิ้น ค็อมพิ้วเต้อร์ แบบนี้ให้เด็กไทยได้อายเค้าเปล่าๆ

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 30 September 2012 - 17:20 #483288
iStyle's picture

ก็อบความเห็นตัวเองมาอีกรอบละกัน

มีความเห็นว่าสมควรทำนะ จะได้เป็นมาตรฐานจริงๆ
ดูทุกวันนี้ บอก ทับศัพท์ไม่ต้องใช้วรรณยุกต์
แล้วคำว่า ก๊าซ แก๊ส ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันคือมะเกลืออะไร

ช็อกโกแลต เช็ค เค้ก ไต้ฝุ่น ปลั๊ก คำพวกนี้เราเห็นกันจนชิน
แต่กลับบอกว่าทับศัพท์ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
แล้วมาตรฐานอยู่ตรงไหน


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: astider
AndroidWindows
on 30 September 2012 - 20:46 #483322 Reply to:483288

ตามความคิดผม ทับศัพท์ในไทยมันมี 2 ยุคครับ

  1. ยุคแรก เป็นยุคที่ใช้คำๆ นั้นจนกลายเป็นคำไทยหรือชื่อไทยหรือคำเฉพาะ
    อาทิ แบงค์สยามกัมมาจล

  2. ยุคหลัง มีการวิเคราะห์ความหมายและมีการให้นิยามเป้นภาษาไทย เพียงแต่ยังคงใช้คำๆ นั้นเพื่อ
    สะดวกต่อการเทียบคำทางภาษาอังกฤษ

เรื่องมาตรฐานการทับศัพท์ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เท่าไร แต่ที่รู้เหมือนกันก็คือไม่ใส่วรรณยุกต์

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 21:36 #483330 Reply to:483288
hisoft's picture

ช็อกโกแลต เช็ค ไม่ผิดนะครับ ไม่ไต่คู้ไม่ใช่วรรณยุกต์

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 1 October 2012 - 00:20 #483420 Reply to:483330
iStyle's picture

โทษทีครับที่พูดรวมๆ ไปหน่อย แต่ที่จริง ไม้ไต่คู้ก็มีอยู่ในที่เค้าเสนอครับ หมวดแรกเลย

1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: Wizard.
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 30 September 2012 - 17:21 #483290
Wizard.'s picture

ยังไม่เป็นทางการนี่ครับ

By: Charin Tapang
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 30 September 2012 - 18:23 #483298
Charin Tapang's picture

แก้หน่อยครับ
ใช==>ใช้

By: mk
FounderAndroid
on 30 September 2012 - 18:28 #483299
mk's picture

ผมอ่านดูแล้ว เข้าใจว่าข่าวนี้เป็นข้อเสนอของ "ราชบัณฑิต" เพียงคนเดียว (กาญจนา นาคสกุล) นะครับ ไม่ใช่มติของ "ราชบัณฑิตยสถาน" ซึ่งไม่ตรงกับที่เขียนไว้ในหัวข่าวครับ

By: nevermore
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 30 September 2012 - 20:11 #483309
nevermore's picture

อ้าวเพิ่งจะเห็นอันนี้ ผมดันไปโพสไว้ในฟอรั่ม ลบไปก็ได้ครับ

By: plyteam
iPhone
on 30 September 2012 - 20:35 #483317

คุณบอทปวดหัวแน่

จะบอกว่าที่ผ่านมามันไม่มีหลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษมันก็ไม่ใช่นะ ผมเคยเรียนตอนหัดเขียน thesis อยู่ แต่จำไม่ได้แล้ว

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 21:37 #483331
hisoft's picture

ผมมองว่าไม่ควรเปลี่ยนนะครับถ้ามันเป็นอยู่แล้ว เพราะคำ "ไทย" ที่ไม่ได้ผันตามวรรณยุกต์จริง ๆ ก็มีเยอะแยะไป

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 22:00 #483338

เอ่อ ผมเสนอให้เขียนภาษาอังกฤษของชื่อไทยให้ตรงเสียงด้วย Suvarnnabhumi ล่ะตัวอย่างนึง

By: tonster
ContributorAndroid
on 30 September 2012 - 22:18 #483347 Reply to:483338

อันนั้นจะว่าถูกก็ถูก จะว่าผิดก็ผิดครับ เพราะเหมือนเค้าใช้วิธีแปลงผ่านทางภาษาบาลีก่อนแล้วค่อยทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษมันเลยออกมาแปร่งๆเวลาออกเสียงตามภาษาไทยหน่ะครับ แต่ถ้าเปลี่ยนอันนี้นี่เรื่องใหญ่เหมือนกันนะครับ ชื่อของพระบรมวงศานุวงศ์ก็แปลงผ่านวิธีนี้กันหมด

By: takichi12
iPhone
on 30 September 2012 - 22:30 #483357 Reply to:483338

สุวรรณภูมิ ไม่ใช่ภาษาไทยครับ ก็เลยต้องถอดให้เป็นคำบาลี-สันสกฤตแทน

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 22:35 #483358 Reply to:483357

ประเด็นก็ไม่ใช่เรื่องของภาษานี่ครับ มันเป็นเรื่องการสะกดให้ตรงเสียง คือผมมองว่าเราน่าจะสะกดให้ฝรั่งอ่านออกให้เสียงที่เราพูดกันจริงๆ มากกว่าตามรูปศัพท์ เพราะทำให้การสืื่อสารง่ายขึ้นเยอะ

By: Slimy
AndroidUbuntu
on 30 September 2012 - 22:41 #483359 Reply to:483358

คำว่า พระราม ก็เขียนว่า RAMA นะครับ ถ้าเปลี่ยนต้องเปลี่ยนหมดเลยมั้ง

By: angel13th
Android
on 1 October 2012 - 12:20 #483683 Reply to:483359
angel13th's picture

The wet อะไรวะ เดอะเว็ทๆ คนไทยงง

By: tonster
ContributorAndroid
on 30 September 2012 - 23:14 #483378 Reply to:483358

อืม... น่าคิดนะครับ
ผมเข้าใจว่าที่เค้าต้องไปถอดตามภาษาบาลีสันสกฤตเพราะเค้าจะถอดตามรากศัพท์ซึ่งเวลาไทยรับเข้ามาก็เปลี่ยนแปลงให้มันเข้ากับลิ้นคนไทยง่ายขึ้น พอเราไปแปลงตามรากแล้วเลยกลายเป็นว่าออกมาไม่ตรงกับเสียงที่คนไทยออกจริง แต่จริงๆมีอีกแง่คือเวลาเราใช้ภาษาต่างประเทศ มันจะดูหรูไฮดีอะไรอย่างงี้มั้งครับอย่างที่เราเอาภาษาเขมรมาเป็นราชาศัพท์ คงมีแนวคิดไม่ต่างกับการแปลงจากบาลีก่อนเป็นอังกฤษอะไรงี้

By: takichi12
iPhone
on 30 September 2012 - 23:21 #483389 Reply to:483358

งั้นแสดงว่า "ก๋วยเตี๋ยว" ที่คนกรุงเทพออกเสียงเป็น "ก้วยเตี๋ยว" เราก็ต้องเปลี่ยนอย่างนั้นหรือครับ ยกตัวอย่างอีกคำคำว่า "ฉัน" แต่คนกรุงเทพออกเสียงว่า "ชั้น" เราต้องเปลี่ยนด้วยสิ ภาษาอังกฤษที่ใช้กันเขาก็ไม่มีวรรณยุกต์กำกับคำหลายๆคำก็อ่านไม่ตรงเสียงแต่คนไทยก็ยังอ่านได้เลย อยากให้ฝรั่งอ่านรู้เรื่อง คนไทยด้วยจะลำบากมากขึ้นหรือเปล่าครับ "เน่อ เขียนหยั่งอี้บ่ได้เขียนอี้ เน้อ"

By: jirayu
ContributorWindows PhoneBlackberrySymbian
on 1 October 2012 - 08:14 #483530 Reply to:483389

คืออย่างคำว่าสุวรรณภูมินี่มันไม่ได้ต่างกันนิดๆหน่อยเพียงแค่ผันวรรณยุกต์น่ะสิครับ

ผมได้ยินฝรั่งออกเสียงเป็น สุ-วัน-นะ-บู-มี ซึ่งเอาจริงๆไม่มีคนไทยคนไหนออกเสียงใกล้เคียงแบบนี้เลย


By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 10:20 #483585 Reply to:483530
PaPaSEK's picture

อืม .... เค้าว่ากันว่าเพราะสุวรรณภูมิเป็นสันสกฤษ เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษจึงต้องทับศัพท์แบบสันสกฤษบลาๆๆๆๆ

รามาไนน์ ... ประเสริฐมากครับ

By: neonicus
Android
on 1 October 2012 - 16:12 #483802 Reply to:483389

ก๋วยเตี๋ยวมาจากคำจีน
คนจีนไม่ได้ออกเสียงอย่างนั้นเลย
ก่วยเตี๊ยว

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:53 #483364 Reply to:483357

พี่คริสแกก็บ่นใน Unseen เหมือนกัน ผมเองก็มองว่าดัดจริตซะมากกว่ามองเป็นบาลี-สันสกฤต

By: shelling
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 1 October 2012 - 14:58 #483757 Reply to:483338
shelling's picture

Suvarnabhumi Airport ต้องอ่านแบบนี้นะครับ

[http://www.youtube.com/watch?v=-45LEgLtCac](http://www.youtube.com/watch?v=-45LEgLtCac)

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 15:54 #483789 Reply to:483757
PaPaSEK's picture

ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเราต้องเขียนให้คนไทยด้วยกันเองรู้ว่ามันเป็นสันสกฤษ แต่ไม่สามารถใช้สื่อสารกับประเทศเป้าหมายได้

แสดงว่าเป้าหมายหลักคือต้องการให้รู้ว่ามันเป็นภาษาสันสกฤษ

ผมว่าหลายๆ หน่วยงานของไทยมีปัญหากับการจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์นะครับ

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 2 October 2012 - 18:14 #484560 Reply to:484102
PaPaSEK's picture

ภาษาอังกฤษน่ะหรือครับ?

โอ ถ้าใช่จริงๆ ล่ะปัญหาใหญ่เลยครับ

By: Slimy
AndroidUbuntu
on 30 September 2012 - 22:06 #483339

ปัญหาที่ผมคิดอยู่คือคำว่า ค็อมพิ้วเต้อร์ เนี้ย ถ้าเปลี่ยนจริง แล้วคำต่างประเทศอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นว่า Com ละต้องเปลี่ยนหมดไหม? แล้วที่เห็นด้วยกับข้างบนก็คือเปลี่ยนแล้วไม่ใช่ว่าเสียงมันจะถูกต้อง ภาษาอื่นมั่นใจหรอว่าออกเสียงได้ถูกจริง ๆ ศัพท์บางตัว มันมีรากศัพท์มาจากที่อื่นอีกนอกจากภาษาอังกฤษ

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 11:44 #483656 Reply to:483339

คิดเหมือนกันเลยครับ อย่างคำว่า ter อีกคำ ตอนนี้เปลี่ยนเป็น เต้อร์ แล้วถ้าคำอื่นที่มีเขียนลงท้ายด้วย ter เหมือนกันแต่ไม่มีในลิสแล้วจะต้องเปลี่ยนหรือเปล่า อย่างเช่นคำว่า writer ไรท์เตอร์ ที่น่าจะเป็น ไรท์เต้อร์

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 12:10 #483672 Reply to:483656

writer เขียนเป็นภาษาไทยว่า นักเขียน หรือ นักประพันธ์ สิครับ ไม่ใช่คำที่ต้องทับศัพท์หนิ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 12:38 #483703 Reply to:483672

ชื่อบริษัทบางบริษัทเค้าก็ยังใช้อยู่เขียนทับศัพท์ไปเลย หรืออย่างชื่อโปรแกรมสมัยก่อน CU Writer ก็เรียกว่า ซียูไรเตอร์ ไม่ได้เรียกเป็น ซียูนักเขียน

บางชื่อมันก็ต้องเขียนทับศัพท์ไม่ได้เขียนแปลครับ

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 1 October 2012 - 13:02 #483719 Reply to:483703
iStyle's picture

ชื่อเฉพาะก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเค้าสิครับ

ซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์ เห็นอะไรมั้ย?


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 14:11 #483747 Reply to:483703

หลุดประเด็นแล้วครับ เกี่ยวอะไรกับราชบัณฑิตละนี่


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: paween_a
Android
on 1 October 2012 - 12:14 #483681 Reply to:483656
paween_a's picture

ต้องเป็น "ไร้เต้อร์" สิครับ

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 12:41 #483705 Reply to:483681

ก็น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ ตอนเขียนก็คิดๆ อยู่เหมือนกันว่าจะเขียนอย่างนี้ไหม แต่ว่าต้องการกล่าวถึงคำว่า ter ก็เลยเขียนไปอย่างนั้น

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 16:54 #483815 Reply to:483656

นอกเรื่องฮะ Tomb Raidaer - ทูมบ์ ไร้เด้อ~.

By: datalost
AndroidSUSEUbuntuWindows
on 30 September 2012 - 22:07 #483340
datalost's picture

คล้ายๆมาม่าพิมพ์ไทยในเวบยูทูป

ถ้าอยากให้มันเป็นสากล ก็ควรเปลี่ยน เพราะคำใหม่มันออกเสียงได้ตรงกับที่ฝรั่งพูดจริงๆ
ถ้าคิดแบบไทยตามไทย ไม่สนว่าเพื่อนบ้านต่างประเทศเค้าออกเสียงยังไง ก็ใช้แบบเดิมกันไป

By: lancaster
Contributor
on 30 September 2012 - 22:09 #483341 Reply to:483340

คำใหม่มันออกเสียงได้ตรงกับที่ฝรั่งพูดจริงๆ

ฝรั่งประเทศไหนอะครับ?

By: datalost
AndroidSUSEUbuntuWindows
on 30 September 2012 - 22:15 #483345 Reply to:483341
datalost's picture

ออสเตรเลีย

By: datalost
AndroidSUSEUbuntuWindows
on 30 September 2012 - 22:20 #483348 Reply to:483341
datalost's picture

เพิ่มอีกนิด คุณอาจคิดแบบที่ว่าถ้าอยู่ไทย ใครพูดสำเนียงฝรั่งจ๋ามันกระแดะแล้วก็ไม่คิดว่าใครจะใช้ แต่ที่ออกเสียงว่าค็อมพิ้วเตอร์นี้แหละที่พูดแล้วฝรั่งเข้าใจ เพราะเป็นเสียงสูงสลับต่ำ ถ้าคุณมาอยู่เมืองนอกแล้วพูดตามคำเขียนแบบไทย 85% ของผู้ฟัง จะฟังไม่รู้เรื่อง

By: O.J.
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 30 September 2012 - 22:59 #483366 Reply to:483348

แต่ผมว่าไอ่ที่เค้าจะเปลี่ยนนี่มันแอ้คเซ่นไทยแท้เลยคุณ

By: lancaster
Contributor
on 30 September 2012 - 23:09 #483376 Reply to:483348

ได้ลองอ่านออกเสียงคำที่เค้าเสนอดูรึยังครับ?

ถ้าลองแล้วน่าจะรู้ว่ามันคือสำเนียงไทยแท้ ไม่ได้ใกล้เคียงกับต่างชาติสักประเทศ (ยกเว้นแถวอินเดีย)

By: datalost
AndroidSUSEUbuntuWindows
on 1 October 2012 - 02:11 #483486 Reply to:483376
datalost's picture

ผมอ่านแล้วนะ แบบใหม่มันออกเสียงไกล้เคียงกับฝรั่งออกเสียงกว่าคำว่า คอมพิวเตอร์แน่ๆ ถ้าเขียนแบบใหม่แล้วอ่านแบบพยายามออกเสียงสูงต่ำด้วย มันจะเมคเซนส์มากๆ แต่ยังไงๆก็ไม่ได้สำเนียงฝรั่ง 100% หรอกเพราะเขียนภาษาไทยให้เหมือนที่ฝรั่งพูดจริงๆมันคงไม่มีทางมั้งครับ
โดยหลักการเดียวกันถ้าแบบคนอินเดียพูดแต่เค้าก็ไม่ได้สำเนียงฝรั่งเป๊ะแต่เค้าพูดแล้วฝรั่งเข้าใจ ประมาณนั้น(ไม่ได้ด่านะ)

ผมอาจอธิบายไม่เก่ง แต่จากที่ทำงานอยู่ต่างประเทศหวังว่าคงเป็นมุมต่างที่พอจะยอมรับกันได้มั้งครับว่าฝรั่งเข้าใจสำเนียงแบบไหนมากกว่า

By: 17November
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 02:49 #483495 Reply to:483486
17November's picture

งั้นคุณก็ผิดตั้งแต่ใส่เสียงสูงต่ำลงไปแล้วแหละครับ

คำว่า "ค็อมพิ้วเต้อร์" แบบใหม่นี้ มันจะออกเสียงเหมือนกับ "คอมพิวเตอร์" ที่เราใช้กันอยู่เป๊ะเลยครับ แค่เปลี่ยนรูปเวลาเขียนให้ตรงกับเวลาพูด ซึ่งเป็นสำเนียงไทยแท้ๆ เลย

คือคุณจับประเด็นผิดแล้วครับ เขาไม่ได้จะเปลี่ยนคำอ่าน แต่เขาจะเปลี่ยนคำเขียนให้ตรงกับคำอ่าน

By: lancaster
Contributor
on 1 October 2012 - 03:03 #483499 Reply to:483486

แปลว่าคุณผันวรรณยุกต์ภาษาไทยผิดครับ

เพราะคำที่เสนอใหม่ มันเป็นสำเนียงไทยเป้ะๆเลย

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 10:15 #483579 Reply to:483486
chayaninw's picture

ทุกวันนี้ การออกเสียงคำว่า "คอมพิวเตอร์" ที่นิยมกันในภาษาไทย คือ ค็อม (เสียงสั้น) - พิ้ว (เสียงตรี) - เต้อ (เสียงโท) ครับ ไม่ใช่ คอม-พิว-เตอ (เสียงสามัญหมด)

การสะกดแบบใหม่ ก็แค่เอาเสียงที่นิยมนี้ ไปใส่ในรูปการเขียนครับ ไม่ได้เปลี่ยนการออกเสียงอะไรเลย

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 12:11 #483676 Reply to:483579

ผมเข้าใจตามนี้เหมือนกันนะครับ แค่แก้ให้เขียนตรงกับคำที่คนไทยอ่านปัจจุบัน


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 1 October 2012 - 15:05 #483768 Reply to:483486

@datalost มั่วแล้วล่ะ ไม่ไทยก็อังกฤษของคุณต้องเพี้ยนซักอย่างนึงอะ ไม่งั้นก็ทั้งคู่

By: takichi12
iPhone
on 30 September 2012 - 23:28 #483393 Reply to:483348

แต่ผมพูด เขิ่มพิ่วเท่อะ (kəmˈpjuːtə) นะ ค็อมพิ้วเตอร์ อะไรนี่คงจะพูดกับคนไทยด้วยกันนี่แหละครับ

By: iheresss
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 22:11 #483343
iheresss's picture

ค็อมพิ้วเต้อร์คงจะดีนะ

By: xpthai on 30 September 2012 - 22:12 #483344

การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เป็นสิ่งที่ดี
แต่หลักเกณฑ์คำทับศัพท์เดิม ก็ดีอยู่แล้ว และด้วยเกณฑ์ดังกล่าว สามารถสร้างคำใหม่ ที่เขียนได้เหมือนๆ กันทั้งประเทศได้ โดยไม่มีผิด (ถ้าทำตามหลักเกณฑ์จริงๆ)

ส่วนการเขียนทัพศัพท์เสียงอ่าน แนวคิดดี
แต่ การออกเสียงให้ถูกต้อง ในการทับศัพท์ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา อาจทำให้คำแต่ละคำ มีความแตกต่างกัน เช่น Multimedia ถ้าออกเสียงแบบอเมริกัน ก็แบบหนึ่ง (มัลไทมีเดีย) ถ้าแบบอังกฤษก็อีกแบบหนึ่ง (มัลติมีเดีย)และต้องไม่ลืมว่า การออกเสียงภาษาอังกฤษ มีการเน้นคำ หนัก เบา แล้วแต่คำศัพท์ด้วย และเวลาเขียน จะเขียนตามการออกเสียง คงเป็นเรื่องยาก เช่น Desert

ดังนั้น การเขียนทับศัพท์ตามเสียงที่ออกมา อาจมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่หากเป็นการคงรูปเดิมเอาไว้ เหมือนเกณฑ์เดิม จะทำให้สะดวกมากกว่า

ที่สำคัญ อย่างคำในภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ภาษาอังกฤษ เช่น ฝรั่งเศส คำแต่ละคำ บางครั้งอาจออกเสียงที่แตกต่างกันก็ได้

(ตัวอย่าง คำไทย ที่ไม่ได้ออกเสียงตามรูป เช่น น้ำ (ออกเสียง น้าม)

By: canconan
iPhone
on 30 September 2012 - 22:18 #483346

ผมว่าตัวอย่างยังไม่ค่อยจะเห็นภาพเท่าไหร่ ผมว่าถ้าเป็นคำว่า Data หรือ Digital จะเห็นภาพมากกว่าครับ

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 30 September 2012 - 22:23 #483350
  • คำที่ยืมมากจากภาษาต่างประเทศหลายคำ << ยืมมา มี ก เกินมาครับ

โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยนะที่จะให้ใส่วรรณยุกต์เพิ่มขึ้นมา คือเท่าที่เจออยู่นี่ แค่อักษร สูง กลาง ต่ำ มีกฎการผันต่างกัน คนสมัยใหม่ก็ใช้กันให้วุ่นแล้วอะ คำบางคำที่เป็นคำปกติ ก็ผันวรรณยุกต์กันผิดๆ ถูกๆ อยู่แล้ว ถ้าต้องมีคำที่แก้ไขสให้ใส่วรรณยุกต์เพิ่มขึ้นมาเพิ่มอีก ทีนี้คงมั่วกันไปใหย่ :P

อีกข้อนึงก็คือ ทำไมเราต้องทำให้ภาษาไทยที่แสนจะยาวอยู่แล้ว ต้องใช้ character เปลืองเพิ่มขึ้นไปอีก ตัวอย่างจากด้านบน คอมพิวเตอร์ ต้องเพิ่มมาอีกตั้ง 3 ตัวแน่ะ สงสัยเล่นทวิตมากไปหน่อยน่ะ เลยอยากให้คำมันเขียนได้แบบสั้นๆ 55

แถมประเด็นส่วนตัว อย่างคำตัวอย่างที่อยู่ใน quote แรกสุด สามคำนั้น โปรแกรมสังเคราะห์เสียงที่ผมใช้ (PPA ตาทิพย์) ก็ดันฉลาด อ่านออกมาในเสียงที่ถูกต้อง (แบบใส่วรรณยุกต์)ให้อยู่แล้วอีกต่างหาก ดังนั้นในด้านการใช้งานก็คงไม่ต่างแฮะ หุหุ


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 23:10 #483377 Reply to:483350
hisoft's picture

ผมไม่แน่ใจว่าข่าวนี้คอมเมนต์ยาวขนาดนี้พี่จะกลับมาเช็คหรือเปล่านะ

คือตอนนี้ผมสงสัยว่าพี่รู้ได้ยังไงว่าในข่าวเขียน คอมพิวเตอร์ หรือ ค็อมพิ้วเต้อร์ ครับ?

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 1 October 2012 - 01:11 #483424 Reply to:483377

คือมันแค่บางคำครับที่โปรแกรมดันฉลาดอ่านให้ถูกตามเสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่างคือ3 คำ ใน Quote แรกที่บอก

แต่อย่างคำที่ถามเนี่ย มันจะอ่านต่างกันครับ ไอ้ตรง พิวเตอร์/พิ้วเต้อร์ นี่ออกเสียงเหมือนกัน (แต่ถ้าเขียน "พิวเตอร์ ไม่มีคอมนำหน้า มันก็ออกเสียงว่า พิวเตอร์ เสียงสามัญนะ) แต่ที่ทำให้รู้ว่ามันสะกดต่างกัน ก็ตรงคำว่า คอม/ค็อม นี่แหละครับ "ค็อม" มันอ่านว่า "ค๊อม" คือเป็นเสียงตรีน่ะ :)


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: trufa
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:29 #483351
trufa's picture

ก่อนหน้านี้การทับศัพท์บ้านเรา จะใช้วิธีการทับศัพท์ตามตัวอักษร ถ้าจำไม่ผิดเขาจะเรียก romanization
คือไม่ดูเรื่องเสียงแต่ดูแค่รูปอักษรเป็นหลัก ซึ่งใช้กับทุก ๆ ภาษาที่มีตัวเขียนโรมันเกือบทั้งหมด
รวมไปถึงชื่อสถานที่ และชื่อเฉพาะต่าง ๆ ด้วย

ผมว่าวิธีเดิมมันก็เข้าใจง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันดี แต่ถ้าเปลี่ยนให้ยึดเสียงอ่านด้วย ผมว่ามันจะวุ่นนะครับ

อย่าง calorie นี่ พยางค์สุดท้ายจริง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นเสียงโท "รี่" อย่างชัดเจนซะทีเดียว
นี้ยังไม่นับเรื่องปวดหัวที่ calorie มันมีในภาษาอื่น ๆ ทั้ง ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน ฯลฯ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าออกเสียง
เหมือนกันหรือเปล่า

ผมว่าทับตามรูปไปเถอะ ส่วนจะออกเสียงยังไงก็ไปเรียนรู้กันอีกที


Happiness only real when shared.

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 10:31 #483592 Reply to:483351
chayaninw's picture

แก้นิดนึงคือ Romanisation คือเขียนให้เป็นอักษรโรมัน (ละติน) จากการเขียนแบบอื่นครับ อย่างเขียน อยุธยา เป็น Ayutthaya อันนี้คือ Romanisation

ส่วนเรื่องหลักการทับศัพท์ หลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ เป็นหลักการที่ถอดตามการออกเสียงมาตลอดนะครับ จะตรงบ้างไม่ตรงบ้าง ก็ขึ้นกับภาษามันอำนวย ลองค้นหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ จะมีแยกตามภาษาครับ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน รวมไปถึงภาษาอาหรับ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ เพียงแต่ที่ผ่านมา หลักการของราชบัณฑิตฯ จะกำหนดว่าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ (รวมถึงไม้ไต่คู้ ที่ไม่แน่ใจว่าทำไม) ให้กับคำทับศัพท์ต่างๆ ที่มาจากพวกภาษาที่ไม่ได้มีเสียงวรรณยุกต์ (จะมีก็พวกภาษาที่มีเสียงสูงต่ำอยู่แล้ว เช่น จีน) ดังนั้นหลักการทับศัพท์จะดูแค่ว่า ภาษานั้น พยัญชนะหรือสระแต่ละเสียง จะถอดออกมาเป็นอักษรไทยอย่างไร

ผมเข้าใจว่า ที่ผ่านมา หลักการคือว่า ในเมื่อภาษาที่ถอดมานั้นไม่ได้มีกำหนดเสียงวรรณยุกต์ตายตัว การถอดมาก็ไม่ต้องกำหนดวรรณยุกต์ แต่ในการใช้งานนั้น เรามีรูปเสียงวรรณยุกต์ที่เราจะติดกันในภาษาไทย (กลาง) อยู่ อย่าง คอมพิวเตอร์ เราก็จะอ่านพยางค์สุดท้ายว่า เต้อ (เสียงโท) ไม่ค่อยมีใครอ่าน เตอ (เสียงสามัญ) หรือ เต่อ (เสียงเอก) กัน ซึ่งแนวโน้มของราชบัณฑิตฯ ในช่วงหลังๆ มานี้ จะพยายามให้มีการเขียนบันทึกเสียงวรรณยุกต์ตามการออกเสียงของคนไว้ด้วย (เริ่มมาสักพักแล้ว ไม่ใช่ว่ามีอันนี้เป็นอันแรก)

เอาจริงๆ แล้ว ถ้าสังเกตดู ก็ไม่ใช่ว่าคนไทยจะชินกับการทับศัพท์โดยไม่ใส่รูปวรรณยุกต์กันไปเสียหมดหรอกครับ ผมว่าก่อนหน้านี้เราชินกับการใส่รูปวรรณยุกต์ด้วยซ้ำ อย่างคำว่า ช็อปปิ้ง ถ้าจะเอาแบบไม่ใส่รูปวรรณยุกต์ตามหลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (อันปัจจุบันที่ยังไม่ได้เปลี่ยน) ก็จะเขียนว่า ชอปปิง ซึ่งดูแล้วเราก็คงไม่ได้ชินเหมือนกัน ที่ไม่ใส่รูปวรรณยุกต์เลย ก็ดูน่าจะเป็นความเคยชินยุคหลังๆ หน่อย ถ้าอ่านตามหนังสือพิมพ์กีฬา ก็อาจจะสังเกตได้ว่า พวกชื่อทีมชื่อเมืองที่เป็นภาษาอังกฤษมักไม่ค่อยใส่รูปวรรณยุกต์กันแล้ว (ลิเวอร์พูล ไม่ใช่ ลิเว่อร์พูล) แต่ภาษาอื่นก็ยังชินที่จะใส่กันมากหน่อย (เลชเช่ หนังสือพิมพ์ก็ยังสะกดกันแบบนี้)

ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยกับแนวทางนี้ของราชบัณฑิตฯ นะ ก็มีเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยอยู่

By: terminus
ContributorJusci&#039;s WriterMEconomicsUbuntu
on 30 September 2012 - 22:29 #483353

ประเทศไทยยังคงคิดว่าวัฒนธรรมของสังคม (เช่น ภาษา) เป็นอะไรที่กำหนดโดยจากข้างบนลงมา หรืออย่างน้อยก็สมควรถูกชี้นำโดย authority

ถ้าภายในวันข้างหน้า (อีกสัก 3-4 ชั่วรุ่น) คำแบบที่เสนอใหม่นี้จะกลายเป็นมาตรฐาน มันก็เรื่องของมัน แต่วันนี้ผมจะใช้อย่างที่ผมชอบและสื่อสารกับคนอื่นๆ ทั่วไปได้

ราชบัณฑิตไม่ใช่คนกำหนดอะไรตายตัวได้หรอก สุดท้ายก็ต้องยอมโอนอ่อมตาม norm ทุกที ไม่ต้องไปสนใจเท่าไรนักก็ได้

อย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกว่าประเทศไทยโชคดีครับ ที่มีหน่วยงานอย่างราชบัณฑิตสถานไว้ให้คนพวกนี้มีงานทำ ถ้าเกิดพวกนี้ไปยุ่งกับหน่วยงานที่สำคัญๆ เช่น หน่วยงานที่คุมระเบียบการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ฯลฯ มันจะเป็นโชคร้ายของคนไทยและมวลมนุษยชาติโดยรวม

สรุป 4 ย่อหน้าใน 1 ประโยค คือ ราชบัณทิตไม่ใช่พ่อ

By: trufa
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:47 #483363 Reply to:483353
trufa's picture

อืม... แรง

จริง ๆ การที่เรามีหน่วยงานที่ค่อยดูแลเรื่องมาตรฐานการใช้ภาษามันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ
จริงอยู่ราชบัณฑิตฯ ไม่ใช่เจ้าของภาษาที่มีสิทธิกำหนดนั่นนี่ เพราะสิ่งที่ราชบัณฑิตกำหนด
แล้วคนไม่ยอมใช้ตามก็มีเยอะแยะไป แต่ประโยชน์ของราชบัณฑิตฯ ก็มีอยู่ไม่น้อย ถ้าคุณไปอ่าน
หนังสือเก่า ๆ ก่อนมีราชบัณฑิตฯ คุณจะปวดหัวมากเพราะมันสะกดมั่วไปหมด ตำรายาโบราณนี่
เขียนกันมั่วจนน่ากลัวว่ากินแล้วจะตายเอา

มีมาตรฐานกลาง ๆ มันก็ดีกว่าไม่มีเป็นไหน ส่วนไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานก็มาถกเถียงด้วยเหตุผลดีกว่า


Happiness only real when shared.

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 30 September 2012 - 23:07 #483374 Reply to:483353
Not Available at this Moment's picture

เห็นด้วยทุกประการครับ

จริงๆแทนที่จะมารณรงค์เรื่อง Nonsense แบบนี้ เรามารณรงค์เรื่องที่จำเป็นต่ออนาคตดีกว่ามั้ย? อาเซียนจะเปิดแล้วเรายังเรียกชื่อประเทศไม่ตรงกับชาวบ้านเค้าอยู่เลย

จีน >> ไชน่า

อังกฤษ >> อิงแลนด์

ญี่ปุ่น >> เจแปน

กัมพูชา >> แคมโบเดีย

ฝรั่งเศส >> ฟรานซ์

เกาหลี >> โคเรียน,โคเรีย

พม่า >> เมียนม่า

ผมว่าเรื่องนี่สำคัญกว่าสำเนียงการอ่านพรรค์นี้เยอะนะครับเพราะเปลี่ยนไปก็ใช่ว่าจะตรง เอาเข้าจริงบริติชกับอเมริกันยังอ่านไม่ตรงกันเลย แต่การที่มีแต่คนไทยเรียกชื่อประเทศต่างจากชาวบ้านเนี่ยผมว่ามันไม่เข้าท่าและไม่น่ารักษาไว้ด้วยซ้ำ แทนที่มันจะเป็นอะไรที่สื่อกันเป็นสากลได้สะดวกกลับกลายเป็นว่าสื่อสารไม่รู้เรื่อง


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: Ooh
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 30 September 2012 - 23:20 #483387 Reply to:483374
Ooh's picture

ตุรกี >> เตรอกี ด้วยครับ


Ooh

By: yaruze
iPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 01:33 #483470 Reply to:483374

ไม่ใช่แค่ประเทศไทย

ประเทศที่มีภาษาเป็นของตัวเองก็เรียกชื่อประเทศอื่นตามใจตัวเองเกือบทั้งหมดเหมือนกัน

อีกอย่างผมว่าควรอนุรักษ์ไว้ แม่งเท่ออกจะตายครับ

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 01:33 #483471 Reply to:483374
zerocool's picture

ไม่น่าจะเกี่ยวนะครับอย่างประเทศที่เจริญแล้วหลายประเทศก็ไม่ได้เรียกประเทศตัวเองตามแบบภาษาอังกฤษ

ญี่ปุ่น - Japan - Nihon
เกาหลีใต้ - South Korea - Hankook
กัมพูชา - Cambodia - Kamer (อันนี้ไม่แน่ใจ)

ด้วยความรู้ที่จำกัดผมจึงยกตัวอย่างได้เพียงเท่านี้ครับ แต่เชื่อว่าต้องมีอีกหลายประเทศแน่นอน ขนาดประเทศไทยเรายังไม่เรียกว่าไทยแลนด์เลยครับ


That is the way things are.

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 10:17 #483581 Reply to:483471
Not Available at this Moment's picture

ขอแย้งนะครับ

หนึ่งคือประเทศที่เจริญแล้วเขาใช้ไม่ได้แปลว่าเราควรจะใช้ และ

สองคือภาษาไทยและประเทศไทยเราไม่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกในฐานะเดียวกับเขา

สามคือการศึกษาของคนในประเทศเราไม่ได้มีมาตรฐานดีแบบเขาที่ประชาชนทุกคนจะรู้ชื่อประเทศทั้งรูปแบบท้องถื่นและสากลอย่างเขาในระดับรากหญ้า

ป.ล.ไทยแลนด์ ก็ยังใช้คำว่า ไทย ตรงตัวครับ แต่ที่คุณพูดทำให้ผมนึกกรณีปวดตับออกมาได้อีกอันคือชื่อเมืองหลวงเรานี่เองครับ KrungThep >> Bangkok นี่มันโคตรจะเพี้ยนอ่ะครับ จริงอยู่ชื่อเดิมอาจจะเรียกว่าบางกอกตรง แต่กี่สิบกี่ร้อยปีผ่านไปไม่คิดเลยรึไงว่าควรจะเปลี่ยนภาษาอังกฤษให้ตรงกับปัจจุบันได้แล้ว?


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: takichi12
iPhone
on 1 October 2012 - 13:41 #483738 Reply to:483581

ทำไมดูแคลนภาษาตัวเองขนาดนั้นครับ ต้องดิ้นรนเพื่อให้ภาษาของเราเป็นหนึ่งในภาษาสากลสิครับเพราะภาษาของเรายังเป็นรองภาษาเวียตนามอยู่+++ฝรั่งมันก็เรียก Bangkok มาเป็นร้อยปีแล้วครับ ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอะไรฝรั่งมันก็จะเรียกประเทศเราว่า Siam มาจนถึงวันนี้หรือบางทีถ้าไม่มีกรุงรัตนโกสินทร์ฝรั่งมันก็อาจเรียกประเทศเราว่า Ayothaya ก็เป็นได้+++อีกอย่างนะครับ คุณพูดแบบไม่ให้เกียรติคนที่เรียนหนังสือในเมืองไทย ถึงประเทศเรามาตรฐานจะลุ่มๆดอนๆ แต่ที่คุณว่าประชาชนรากหญ้าเขาไม่รู้ เขาไม่รู้จริงๆหรือครับหรือว่าคุณคิดไปเอง?

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 15:55 #483791 Reply to:483738
PaPaSEK's picture

คุณคิดว่าคุณมีเหตุผลอะไรที่จะทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาสากลครับ

ผมถามจริงจังนะ ... เพราะผมเคยถามคำถามนี้กับตัวเองแล้วครับ

By: takichi12
iPhone
on 1 October 2012 - 18:00 #483842 Reply to:483791

ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศเท่าไหร่นะครับ แต่เพราะคิดว่าถ้าเกิดภาษาของเรามันสามารถแทรกซึมไปได้ทั่วโลกประเทศเราก็จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีระดับโลก เราสามารถพูดภาษาของเราได้โดยไม่ต้องพึ่งภาษาอังกฤษแบบในปัจจุบัน องค์ความรู้ก็จะมีมากขึ้นเพราะเกิดการแปลมาเป็นภาษาไทย คิดไม่ออกแล้วครับ ตอบได้แค่นี้แหละ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 18:43 #483862 Reply to:483842
McKay's picture

ประเทศไทยมีความสำคัญอะไรขนาดนั้นที่จะทำให้ชาวต่างชาติจำนวนมากต้องหันมาสนใจศึกษาภาษาเราหล่ะครับ

อย่างภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สเปน ผมเข้าใจว่าคนศึกษาภาษาเหล่านี้ เพราะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ

หากคนไทยจะบอกว่า เราไม่พูดอังกิด(ฤษ)นะ เราจะพูดภาษาไทยเพื่อติดต่อกับคุณ ผมว่าคงไม่มีใครเอาเราหล่ะครับ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่ยังต้องพึ่งประเทศอื่นๆอยู่

ความฝันของคนไทยที่จะพูดภาษาไทยอย่างเดียวโดยไม่พูดภาษาอื่นเลย อาจจะดับวูบไปภายใน 4 ปีนี้ครับ เพราะนอกจากเราจะต้องพูดภาษากลาง(อังกฤษ)ได้แล้ว ยังจะต้องพูดภาษาเพื่อนบ้านได้ด้วยครับ (AEC)


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 19:13 #483876 Reply to:483842
PaPaSEK's picture

นั่นแหละครับ

คือเราไม่มีอำนาจ หรือแรงดึงดูดอะไรที่จะทำแบบนั้นได้

ทำไมชาวต่างชาติจะต้องเรียนรู้ภาษาไทยถ้าไม่มีอะไรมาเป็นแรงดึงดูด

เราพูดถึงภาษาจีนซึ่งเราทราบกันดีว่าจีนเป็นมหาอำนาจในยุคนี้ แต่ถามว่ามีใครมองว่าภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาสากลเทียบเท่าภาษาอังกฤษมั้ยครับ ... ผมตอบเลยว่ามันไม่มีครับ

ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยนะครับ ผมเองก็อยากให้ทุกคนทั่วโลกพูดภาษาไทยได้มากกว่าคำว่า "ผัดไทย, ต้มยำกุ้ง, สวัสดี" เหมือนกันครับ

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 21:15 #483933 Reply to:483738
Not Available at this Moment's picture

เอาง่ายๆคือผมมองโลกตามความเป็นจริงครับ ไม่เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตของผม) ภาษาสากล?? เอาให้เพื่อนบ้านติดๆ กันเนี่ยยอมเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 3 4 5 กันก่อนเสียเถอะครับแล้วค่อยฝันไปถึงขนาดนั้น

การเรียก Bangkok ทั้งๆที่ชื่อจริงๆเปลี่ยนเป็น Krungthep ไปตั้งนานแล้วเนี่ยมันไม่ประหลาดผมก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้วครับ ส่วนจะเรียกอย่างไรผมไม่ได้แคร์เลยสักนิดครับถ้ามันเรียกให้ถูก จะเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือไม่นี่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเด็นผมเลยโดยสิ้นเชิง ไม่รู้ว่าจะยกมาทำไมนะครับ

อีกอย่างผมไม่ได้พูดถึงคนเรียนเลยครับ ไม่ใช่คุณโดนชี้นำจากความคิดในหัวของคุณเองอยู่แล้วหรือเปล่าถึงคิดไปว่าผมไปว่าคนเรียน? สิ่งที่ผมพูดมันชัดเจนนะครับว่าสิ่งที่มันห่วยแตกจริงๆก็คือระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันนี่แหละครับ ตั้งแต่ประถมยันสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ตอนนี้ระบบมหาวิทยาลัยก็เริ่มตกต่ำเช่นกัน)ลองเปิดตา เปิดหู เปิดใจ เปิดอะไรก็ตามที่มันบังตาคุณอยู่บ้างก็ดีครับ จะได้พบกับความจริงอันแสนโหดร้ายและไม่เสนาะหู เพราะเราจะได้รับผลของมันเร็วๆนี้แหละครับ

ส่วนผู้เรียนก็เป็นแค่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายครับ

คุณพูดเกือบถูกนะครับว่าเราควรดิ้นรนให้ภาษาเราเป็นภาษาสากล แต่สิ่งที่คุณคิดมันดันย้อนกลับจากกระบวนการที่ควรจะเป็นครับ

ลองคิดดูว่าจีนกำลังจะกลายเป็นภาษาที่สามเพราะอะไรระหว่าง

ก.คนใช้ภาษาจีนเยอะ จีนเลยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในเวทีโลก

ข.จีนมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก คนเลยหันมาสนใจภาษาจีน

คงจะเห็นใช่หรือเปล่าครับว่าภาษาน่ะมันเป็นผลพลอยได้ ไม่ใช่อะไรที่เราจะทำตัวเป็นเสือมือเปล่าแล้วไปยัดเยียดให้ประเทศอื่นๆ หันมาใช้


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: ch1wat on 1 October 2012 - 01:58 #483481 Reply to:483374

เรื่องชื่อเรียกผมว่าไม่สำคัญหรอกครับ เพราะแต่ละประเทศมีชื่อเรียกแต่ละอย่างที่ต่างกันไปอยู่แล้ว

ยกตัวอย่างให้ฟังครับว่าคนญี่ปุ่นเรียกประเทศพวกนี้ว่าอะไร

จีน >> จู โกะ คุ /
อังกฤษ >> อิ กิ ริ ซึ /
ญี่ปุ่น >> นิ ฮง /
กัมพูชา >> คัม โบ เจีย /
ฝรั่งเศส >> ฟุ ราน ซึ /
เกาหลี >> เหนือ - คิ ตะ โช เซ็น, ใต้ - คัง โคะ คุ /
พม่า >> เมียน มา

แต่ถ้าถามคนญี่ปุ่นว่ารู้จัก ไชน่า อิงแลนด์ เจแปน ฟรานซ์ มั้ย เค้าก็รู้กันนะครับ

By: oatsmart
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 09:34 #483545 Reply to:483481
oatsmart's picture

ฟุ ราน ซึ
อันนี้ออกเสียงเป็นฟรานซ์ในแบบญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่เหรอครับ ฮ่าๆ

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 11:53 #483660 Reply to:483481

ผมว่าการที่ประเทศนึงมีศัพท์เรียกอีกประเทศนึงที่ไม่เหมือนคำภาษาอังกฤษ มันสะท้อนได้เหมือนกันนะว่าประเทศเค้ามีความสัมพันธ์กันมานาน มันแสดงถึงประวัติศาสตร์ผ่านทางภาษา

By: i_heatie
AndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 06:41 #483523 Reply to:483374
i_heatie's picture

คิดว่าถ้าจะเปลี่ยน ก็เปลี่ยนให้ตรงกับชื่อนั้น ๆ ที่คนที่นั่นเขาเรียกจริง ๆ ดีกว่า ตามภาษาอังกฤษหมดก็ไม่ได้แปลว่าถูกอยู่ดี

Mecca > มักก๊ะฮ์
Medina > มาดีนะฮ์
Turin > โตริโน
Florence > ฟิเรนเซ

คือสุดท้าย ฝรั่งก็ทำเหมือนเรา คือเรียกไปตามความคุ้นลิ้นนั่นแหละ ไม่ได้มมีมาตรฐานอะไร

แถมของไทย

Ko Yo > เกาะยอ (อันนี้ไม่ได้ไปเห็นเอง ครูภาษาอังกฤษเล่าให้ฟังอีกที)

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 10:42 #483609 Reply to:483374
chayaninw's picture

ไม่เห็นด้วยเลยครับ

การเรียกชื่อภูมิศาสตร์ เป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเรียกไม่ตรงกัน อย่างที่ท่านอื่นบอกไปแล้วคือ ชื่อเหล่านั้นก็เป็นชื่อที่คนพูดภาษาอังกฤษเรียก ไม่ได้มีสถานะความเป็นสากลอะไรขนาดนั้น (ถ้าอยากได้อะไรที่ใช้กันทั่วไปเกือบหมด เป็นมาตรฐานหลัก ระบบปี ค.ศ. ยังดูยิ่งใหญ่กว่ามาก)

ถ้าสังเกตดู ทุกภาษามีวิธ๊เรียกชื่อภูมิศาสตร์แบบของตัวเองกันหมด แม้แต่ภาษาอังกฤษเอง เพราะภาษาอังกฤษก็เรียกชื่อประเทศต่างๆ ไม่ตรงกับวิธีคนอื่นเลยเหมือนกัน (มีประเทศไหนในยุโรปเรียกเยอรมนีว่า Germany บ้าง?)

การรู้จักชื่อภูมิศาสตร์ในแต่ละภาษา เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนภาษาครับ คุณเรียนภาษาไหน ก็จะมีเรื่องนี้ให้เรียน (เอาจริงๆ เป็นเรื่องที่ปวดหัวน้อยที่สุดแล้วล่ะ แป้ปเดียวก็จำได้ ง่ายกว่าจำศัพท์ในชีวิตประจำวันตั้งเยอะ)

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 10:57 #483623 Reply to:483374
nessuchan's picture

แหม่ พูดแล้วก็นึกอยากกิน ขนมไชน่าน้ำเงี๊ยว

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:01 #483629 Reply to:483353
ตะโร่งโต้ง's picture

ผมว่าคุณมองข้ามความสำคัญของการสร้างมาตรฐานให้กับการใช้ภาษาไทยแล้วล่ะ เรื่องการเปลี่ยนวิธีสะกดคำนี่ยังอยู่ในขั้นตอนการเสนอขอความเห็นนี่ครับ? ใช่ว่าจะมีผลบังคับใช้ในทันทีทันใด มันอยู่ที่ผู้ใช้ภาษาไทยอย่างเราๆ เองต่างหากที่จะยอมรับปรับใช้กำเกณฑ์เหล่านี้หรือไม่?

ผมอ่านแล้วรู้สึกได้ว่าคุณดูถูกการทำงานของพวกเขามากเลยนะ หรือคงคิดว่าเขาไม่มีภูมิความรู้ในเรื่องที่ทำนี่เลย?

ถ้าไม่ใช่คนในวงการไอที ก็ไม่ควรมาออกความเห็นเรื่องคำศัพท์ไอที....อย่างนั้นหรือครับ?

คนที่ไม่ได้จบมาทางวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ควรมาออกความเห็นเรื่องคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์....อย่างนั้นหรือครับ?


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: takichi12
iPhone
on 30 September 2012 - 22:28 #483355

ถ้าเปลี่ยนจริงนี่ขอบายใช้ไปใช้ตัวละตินดีกว่าครับมันใช้ยากมาก ลองเอาภาษาเวียตนามเป็นตัวอย่างที่ตัวกำกับการออกเสียงเยอะเกิน

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 30 September 2012 - 22:29 #483356
tomyum's picture

อยากได้ภาษาไทยแบบออกเสียงตามรูปกันจริงๆเหรอ... ขอเชิญให้ไปเที่ยวเมืองลาว แล้วฝึกอ่านภาษาลาวสักหนึ่งสัปดาห์ แล้วคุณจะหลงรักความเรียบง่ายตรงไปตรงมา ไม่ต้องซับซ้อนของภาษาต้นกำเนิดของไทยทางเหนือ

By: degreebeat
iPhoneWindows PhoneWindows
on 30 September 2012 - 22:41 #483360
degreebeat's picture

จะไปเปลี่ยนให้คนเค้ายิ่งสับสนทำไม เขียนทับศัพท์แทนตามตัวอักษรก็ดีอยู่แล้ว
เสือกไปใส่วรรณยุกต์ อย่างคำว่า คอมพิวเตอร์ คุณเปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์
มันก็คือภาษาอังกฤษสำเนียงไทย เพราะสำเนียงอังกฤษมันไม่ได้ออกเสียงแบบนี้
ไปทำสำเนียงภาษาอื่นเค้าเพี้ยนไปอีก
คุณเปลี่ยนไปก็ไม่ได้มมีประโยชน์อะไรเลย ถ้าคุณจะเปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์ ที่จริงควรจะเป็น
"ข่อมพิ๊วเถอะ" แบบนี้ถึงจะถูก คำว่า ter ฝรั่งมันไม่ได้ออกเสียงว่า เต้อ สักหน่อย

By: O.J.
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 30 September 2012 - 23:05 #483371 Reply to:483360

+1

By: patachan
iPhoneAndroidBlackberry
on 30 September 2012 - 23:18 #483382 Reply to:483360

ที่จริง pu นี่ต้องอิกับอูผสมกันด้วยซ้ำ lol

By: 077023
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 00:02 #483413 Reply to:483360
077023's picture

+1


もういい

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 30 September 2012 - 22:59 #483367
pittaya's picture

ถ้าสรุปแล้วเปลี่ยนจริง คนทำงานแปล UI ของโปรแกรมต่างๆ รวมทั้ง dictionary, เครื่องมือตรวจตัวสะกด คงต้องมาไล่แก้กันเหนื่อย


pittaya.com

By: sunback
Contributor
on 30 September 2012 - 23:35 #483399 Reply to:483367
sunback's picture

ทีมแปลโปรแกรม โอเพ่นซ้อส ต่างๆ มีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ?

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 30 September 2012 - 23:00 #483368

ส่วนตัวคิดว่ามันก็คงจะงงในตอนนี้ แต่คนรุ่นใหม่มาก็ไม่งงแล้ว ถามว่าตอนนี้งงกับภาษามั้ย เราก็งงนะ กีตาร์ ทำไมเขียนกีตา แต่ออกเสียงกีต้า อะไรแบบนี้ เค้าคงไม่ได้จะเขียนให้ตรงคำอ่านภาษาอังกฤษ แต่เขียนให้ตรงคำอ่านภาษาไทยนี่แหละ ปัจจุบันที่เขียนกับที่อ่านคนละแบบกันอยู่หลายคำมาก


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: O.J.
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 30 September 2012 - 23:06 #483373 Reply to:483368

ผมว่า ถ้ามีความรู้พื้นฐานการสะกดคำภาษาอังกฤษ จะไม่งงเลยครับ

By: hoolala
Android
on 30 September 2012 - 23:08 #483375

อย่าลืม "ฟุตบาท" ด้วยนะตัวเธอว์

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 1 October 2012 - 00:11 #483414 Reply to:483375

คำจริงๆมันคือ "ฟุตปาธ" (Foot Path) ที่แปลว่าทางเท้าไม่ใช่หรือครับ ?

ปล. ผมคืดว่ายึดตามที่สังคมเห็นสมควรและถนัดดีกว่าครับ มาตรฐานตั้งได้เรื่อยๆ แต่ก็จะปรับเปลี่ยนไปตามการยอมรับโดยรวมครับ ดังนั้น แคลอรี่ หรือ แคลอรี ก็เป็นไปได้ทั้งคู่ครับตราบใดที่การสื่อสารยังส่งสารคือคำว่า Calorie ได้ครับ​ คือผมอยากให้มองภาษาเหมือนน้ำมากกว่าก้อนหินน่ะครับ ผมชอบคำว่า เกมส์ หรือ เท่ห์ มากกว่า เท่ หรือ เกม แต่มันไม่ใช่คำมาตรฐาน แต่การสื่อสารเกิดขึ้นได้ ...​ผมก็คิดว่ามันไม่น่าจะผิดนะครับ ....​ แต่หากแก้มาแล้วเป็นที่ยอมรับก็โอเคครับ ถ้าไม่ก็ไม่เป็นไรน่ะครับ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

By: lancaster
Contributor
on 1 October 2012 - 00:31 #483422 Reply to:483414

+1

ฟุตบาท = เท้าเท้า

ฟุตปาธ = ทางเท้า

By: inkirby
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 01:19 #483454 Reply to:483414
inkirby's picture

คำว่า เท่ กับ เท่ห์ นี่ผมไม่รู้ครับ

รู้แค่ว่า คำว่า เกมส์ ใช้กับการแข่งขันใหญ่ๆ ที่ส่วนมากเป็นกีฬา เช่น โอลิมปิกเกมส์

ส่วนคำว่า เกม ใช้กับการแข่งขันเล็กๆ หรือเกมที่เราๆ เล่นกันอยู่ในค็อมพิ้วเต้อร์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กระดานทั้งหลายนี่แหละครับ

แต่มันก็ทำให้ผมงงว่า แล้วถ้าเกมคอมพิวเตอร์มันแข่งกันระดับโลก จะเรียก เกม หรือว่า เกมส์? -*-


Dream high, work hard.

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 09:38 #483548 Reply to:483454

เท่าที่สังเกตนะครับ จริงหรือเปล่าไม่ทราบ

เกมส์ -> ใช้กับคำเฉพาะ

เกม -> ทั่วไป


^
^
that's just my two cents.

By: errin on 1 October 2012 - 09:51 #483556 Reply to:483414

ภาษาไทย "ฟุตพาธ" ไม่ได้แปลว่าทางเท้าแต่แปลว่า "ตลาด" หรือ "ร้านอาหาร" ครับ

By: HMage
AndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:08 #483633 Reply to:483556

เจ็บ!

By: supawichable on 1 October 2012 - 00:43 #483428 Reply to:483375
supawichable's picture

บาทวิถี

By: hoolala
Android
on 1 October 2012 - 01:34 #483472 Reply to:483375

เปลี่ยนชื่อแยก "Henri Dunant" ด้วย :D

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 16:56 #483818 Reply to:483472

เข้าใจว่า อันนี้ (พยายาม) อ่านตามเสียงฝรั่งเศส แล้วเพี้ยนอีกทีนะครับ.

By: myungz
In Love
on 30 September 2012 - 23:26 #483392
myungz's picture

เปลืองตัวอักษร

By: inkirby
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 30 September 2012 - 23:53 #483409
inkirby's picture

//สะกิดคุณบอทมาให้ความเห็น


Dream high, work hard.

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 01:54 #483479 Reply to:483409
PaPaSEK's picture

ผมว่าปวดขมับล่ะทีนี้

คราวนี้ปัญหาต่อไปที่ผมมองคือ เด็กไทย ... อย่าว่าแต่เด็กไทยเลยครับ รุ่นๆ ผมหลายคนผันวรรณยุกต์ยังผิดๆ ถูกๆ กันอยู่เลย

By: inkirby
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 01:57 #483482 Reply to:483479
inkirby's picture

+เยอะๆ

บางทีเตือนแล้วก็แก้ได้ทีสองที ก็กลับมาเป็นอีก เหมือนกับผิดจนชินเลยครับ...


Dream high, work hard.

By: menu_dot on 1 October 2012 - 00:16 #483418

เสนอให้ราชบัณฑิตหัดเขียนโปรแกรมแก้คำผิด อัตโนมัติ ในโลก internet เพื่อเด็กรุ่นใหม่จะได้อ่านคำศัพท์ที่ถูกต้อง จากทุกเวบ

เปลื่ยนตัวเองง่ายกว่าเปลื่ยนคนอื่นนะครับ เหล่า ราชบัณฑิต

By: Go-Kung
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 1 October 2012 - 01:24 #483419

งี้เราควรจะเขียนตัวสะกด Computer ว่าอย่างไรครับ ระหว่าง

  • คอมพิ้วเต้อร์ (ตามการ pronounce เสียงแบบไทยๆ)
  • ข่อมพิ่วเท่อร์ (ตามการ pronounce เสียงแบบอังกฤษ ซึ่งยังไม่ตรงเป๊ะ เพราะสารพัดสำเนียงก็ผันเสียงต่างกันอีก)

ส่วนตัวผมว่าถ้าจะยึดหลักตามนี้ มันจะมีปัญหาหลายๆอย่างตามมาค่อนข้างเยอะนะครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 1 October 2012 - 00:35 #483426

แล้วภาษาอังกฤษสำเนียงไทย มันมีมาตรฐานหรือเปล่า เราถึงพยายามเขียนตัวเขียนให้ออกเสียงตามแบบสำเนียงอังกฤษแบบไทยๆ?

จะให้ยึดตามต้นฉบับ ก็งงอีกว่า จะเอา American English accent หรือ British English accent อีกอยู่ดี(ยังไม่นับประเทศอื่นๆอีกที่ออกเสียงแตกต่างกัน) ส่วนตัวผมว่าเขียนกลางๆแบบไม่ใส่วรรณยุกต์ ก็ถือว่ากลางๆดี ส่วนการออกเสียงคงขึ้นกับครูผู้สอนคนแรก ว่าสอนให้อ่านออกเสียงอย่างไรนั่นแหละ แล้วเด็กก็จะจำไปตลอด

อย่างที่ข้างบนว่าหากกำหนดการเขียนตามเสียง(แบบไทยๆ) แล้วคนที่จบนอกมาอ่าน ยิ่งงงกับการเขียนไปใหญ่ เขียนตามสำเนียงที่ตัวเองใช้เป็นประจำมา กลายเป็นแต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน งงกว่าเดิมอีก

By: sunback
Contributor
on 1 October 2012 - 00:53 #483433
sunback's picture

ขอเอาความคิดเห็นคุณเทพพิทักษ์มาแปะด้วยครับ

คำถามคือ

หลักการเดิมที่ไม่ใช้วรรณยุกต์กำกับหายไปไหน?

การที่เดิมไม่ใช้วรรณยุกต์กำกับก็เพราะเป็นการทับศัพท์ตามรูปคำ ไม่ใช่ตามเสียงอ่าน ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับคำยืมภาษาอื่นที่สามารถถอดอักษรได้ เช่น บาลี-สันสฤต ทำให้เห็นรูปคำภาษาเดิมได้ชัดเจน

อนึ่ง ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ ปิ๊กหนิก อาจจะเป็นสำเนียงหนึ่ง แต่ผมคิดว่าคนจำนวนมากออกเสียงว่าปิ๊กนิก ซึ่งถูกทั้งคู่ แต่ปัญหาคือ จะมีคนไม่เห็นด้วยกับเสียงที่กำหนดเสมอ เช่น คอมพิ้วเต้อร์ จะมีคนแย้งว่าเขาออกเสียงเป็น คอมพิ้วเถอะร์ มากกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาทั่วไปของการเขียนตามเสียง

คำที่ยืมมานานแล้วปัญหาอาจเห็นไม่ชัด แต่เวลาทับศัพท์คำใหม่ ถ้ากำหนดให้ใช้วรรณยุกต์กำกับจะมีปัญหาเรื่องสำเนียงสูงมากครับ

จะเปลี่ยนอีกบ่อยไหม

ที่ผ่านมา รถ. เปลี่ยนหลักการเป็นว่าเล่น เอกสารเดิมเคยใช้อย่างหนึ่ง วันดีคืนดีก็มาเปลี่ยน ทำให้ต้อง revise เอกสารใหม่หมด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เคยจัดการภาษาแบบเดิมได้ ก็ต้องแก้กันขนานใหญ่ให้จัดการกับแบบใหม่รวมกับแบบเก่าได้ในเวลาเดียวกัน

คำถามคือ เปลี่ยนถี่ขนาดนี้ หลักการที่ประกาศนี้จะเชื่อถือได้แค่ไหน? อีกไม่นานก็จะเปลี่ยนอีกใช่ไหม?

By: yaruze
iPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 01:14 #483453 Reply to:483433

เห็นด้วยกับการเขียนให้ถูกต้องตามตัวอักษรที่ภาษาแม่ใช้มากกว่าตามเสียงอ่าน

อย่างที่ปฏิบัติมาตลอดคือ l=ล r=ร c=ค g=ก

จินตนาการดู หากเขียนตามเสียงอ่าน เขียนออกมาอ่านเสียงก็เพี้ยน ฝรั่งไม่เข้าใจเหมือนเดิม แถมจะถอดคำออกมาเป็นภาษาแม่ ก็ยิ่งมั่วหนักเข้าไปกันใหญ่เลยทีเดียว

By: jinxplay
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 15:06 #483769 Reply to:483433
jinxplay's picture

+1 ครับ เพราะเสียงพูดของภาษาต่างประเทศไม่มีมาตรฐาน การไปยึดกับสิ่งที่ดิ้นได้ยิ่งจะทำให้เกิดความสับสนมากขึ้น

ศัพท์อื่นๆที่ออกเสียงไม่ตรงคำก็มีเยอะแยะ เช่น อนึ่ง (คำกร่อน) ตำรวจ สำเร็จ กำเนิด(คำแผลง)เสมา (ชื่อต้นไม้) ซึ่งผมมองว่าทำให้ภาษาดูเรียบร้อยกว่าเยอะเลยครับ หรือถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้ปรับเสียงอ่านให้ตรงกับภาษาเขียนมากกว่านะ

By: yaruze
iPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 01:01 #483440

อ่านดูเหมือนจะไม่ใช่การทำให้เกิดประโยชน์ต่อชาติต่อภาษาซักเท่าไหร่ คล้ายจะสนองนี้ดตัวเองอยู่กลายๆ

ถ้าจะทำจริงๆ คำอย่างค็อมพิ้วเต้อร์ควรไปอยู่ในวงเล็บที่แสดงให้รู้ว่าคอมพิวเตอร์มันอ่านออกเสียงแบบนี้นี้นะ ไม่ใช่เอามาใช้เป็นคำมาตรฐานที่แสดงบนสื่อทั่วไป

อีกอย่างฝรั่งเองมันก็ไม่เคยสนว่าประเทศเจ้าของภาษาจะอ่านยังไง คนในประเทศมันถนัดอ่านแบบไหนมันอ่านออกเสียงตามใจตัวเองซะอย่างนั้น อันนี้หมั่นไส้ส่วนตัว

ฮ่าฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า

By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 01:22 #483458
Be1con's picture

เพลียมากครับ ไม่ไหวนะ


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: nottoscale
Windows Phone
on 1 October 2012 - 01:27 #483463

เขียนแบบไม่ต้องตามเสียงที่ออกน่าจะดีแล้ว อย่างดิกชันนารีปกติเขาก็มีเขียนการออกเสียงไว้ด้วยไม่ใช่เรื่องที่น่าจะต้องปรับปรุง ควรเอาเวลาไปทำการรณรงค์วิธีเขียนที่ถูกต้องและชัดเจนจะดีกว่า ข้อดีของแบบเดิมคือคงการเขียนให้ง่ายเข้าไว้ไม่มีวรรณยุกต์สะดวกและลดโอกาสผิดพลาดลงได้มาก

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 1 October 2012 - 01:32 #483468

ตายห่า เผลอไปนึกถึงคำนึง ไม่ได้เกี่ยวกับศัพท์ไอทีเลย

คำว่า esquire มิต้องอ่านว่า เอ็สคว.. หรอกเรอะ -__-"

By: ch1wat on 1 October 2012 - 02:02 #483484 Reply to:483468

"เอส ควาย เย่อ" ไม่หมิ่นเหม่ ยกเว้นจะคิดลึก

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 1 October 2012 - 15:24 #483782 Reply to:483484

ผมออกเสียงสั้นอะ - -

By: ppJr
iPhoneAndroidUbuntu
on 1 October 2012 - 03:05 #483500

เอาแค่ภาษาอังกฤษภาษาเดียว
ก่อนอื่นต้องเลือกประเทศก่อน ว่าจะให้ตรงกับประเทศไหน อเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลียก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน
ต่อมาก็ต้องมาเลือกว่าจะเอาสำเนียงไหน เหนือ, ใต้, ออก, ตก การออกเสียงก็ต่างกันเหมือนแต่ละภาคของไทย
และภาษาอังกฤษเองก็มีการเปลี่ยนการออกเสียงมาตลอดเวลาอยู่แล้ว

ภาษาอังกฤษนี่ตัวพ่อเรื่องการสะกดไม่ตรงเสียงเลย วิธีออกเสียงในดิกยังต้องมีสัญลักษณ์พิเศษมาบอก

ตัวอย่าง เขียนคล้าย ๆ กัน เสียงออกมาคนละเรื่อง

though
thought
through

By: 17November
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:54 #483661 Reply to:483500
17November's picture

เรียนภาษาอังกฤษไม่เคยอ่านคำนี้ถูกเลยจริงๆ

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 15:18 #483777 Reply to:483500

มีคำว่า live(ลีฟ) กับ live(ไลฟ์) อีก

By: equivalent
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 03:26 #483506

warp - ว้าบบบบ

(กุมขมับ)

By: 17November
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:48 #483658 Reply to:483506
17November's picture

wrap รึเปล่าครับ

หรือ wrap ไม่ได้ออกเสียงว่า วาร์ป

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 12:51 #483713 Reply to:483658
PaPaSEK's picture

wrap = แ(ว)ร้ป
warp = วอ้ร์ป หรือที่คนไทยชินว่า ว้าร์ป

By: HoLY CoMM@nDo on 1 October 2012 - 03:29 #483509
HoLY CoMM@nDo's picture

ตอนนี้ผมมีปัญหาที่ไม้ยมก (ๆ) มากกว่า คือถ้าใช้ในการพิมพ์เอกสารหรือะไรต่างๆ นาๆ มันจะไม่ตัดคำให้ จนผมเอือมระอาสุดๆ แล้วผมก็ติดการใช้แบบชิดหน้าเว้นหลังแบบที่ผมใช้โพสต์นี้ตลอดมาเลย เพราะอย่างแรกคือมันตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ได้ดี และอีกข้อคือมันไม่เปลืองวรรคมากจนเกินไป ซึ่งผมก็ไม่รู้ราชบัญทิตควรจะทำอย่างไรกับไม้ยมกนี้ดี ควรจะปรับใช้ใหม่จาก เว้นหน้าเว้นหลัง เป็นชิดหน้าเว้นหลังดีหรือไม่?

By: oatsmart
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 09:42 #483551 Reply to:483509
oatsmart's picture

เห็นมีแต่คนใช้ชิดหน้าเว้นหลัง

อ้อคุณใช้ไม้ยมกผิด นาๆ => นานา

By: heart
ContributoriPhone
on 1 October 2012 - 04:34 #483516
heart's picture

อาจจะลืมไปว่า ยุคที่มีการออกเสี้ยงเพี้ยนจากสำเนียงต้นฉบับ
คือยุคที่การสื่อสารยังล้าสมัย

เห้อ.....ไปกินน้ำมะเน็ดดีกว่า

By: koalaz
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 04:48 #483517
koalaz's picture

อาจจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยน โดยส่วนตัวช่วงแรกยังไงก็ควรอนุญาตให้เขียน/อ่าน ตามสมัยนิยมไปก่อน

แต่ถามตามใจผม ถ้าพวกที่มัน มีการใส่รูปวรรณยุกต์ มาแต่อ้อนแต่ออกแล้ว อย่างพวก แก๊ส ก๊าส อะไรพวกนี้ เปลี่ยนให้ถูกตามหลักนี๋โอเค.

แต่อย่างคำว่าคอมพิวเตอร์ นี่ จริงๆ ศัพท์บัญญัติ ก็มี แต่ล้มเหลวในการใช้งาน แล้วคุณจะมาตามแก้ทับศัพท์อีกเหรอ ?


Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ

By: keen
iPhoneAndroidUbuntu
on 1 October 2012 - 09:07 #483536
keen's picture

ผมว่าเอาเข้าจริงแม้แต่คำไทยเราก็ออกเสียงผิดกันเยอะครับ

น้ำ ออกเสียงเป็น น้าม
เก้า ออกเสียงเป็น ก้าว

อะไรอีกน้า ก่อนหน้านี้คิดได้หลายคำ แต่คิดตอนนี้ไม่ออก

By: jedising
iPhone
on 1 October 2012 - 09:36 #483546

น่าจะเรียกกระทรวงวัฒนธรรมมาทะเลาะกับราชบัณฑิต ผมว่าราชบัณฑิตนี่แหละตัวทำภาษาวิบัติเลย

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 09:44 #483553

นอกจากแบบสอบถาม 300 ฉบับแล้ว

อยากให้ราชบัณฑิตฯ มาอ่านค็อมเม้นท์ข่าวนี้ด้วย


^
^
that's just my two cents.

By: crayon
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 1 October 2012 - 10:09 #483574

นี่ล่ะภาษาวิบัติของแท้เลย

By: natt_han
ContributoriPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 10:14 #483576

ไม่เห็นด้วยนะครับ เหตุผลเรื่องชาวต่างชาติมาเรียนภาษาไทยแล้วอ่านไม่ถูก ก็ต้องให้เรียนเพิ่มเอาแหละ คำหลายๆ คำมันต้องใช้การจำเอาแทนการอ่านตามหลัก เป็นพวกข้อยกเว้น
เรื่องแบบนี้ภาษาอังกฤษก็มี ถ้าคนไม่รู้จัก ใครมันอ่าน restaurant ถูกบ้าง

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 1 October 2012 - 10:47 #483613

สงสัย ราดบันดิด คงไม่รู้จักคำว่า

If it work, don't fix

ปล. ผมตั้งใจเขียนให้ไม่ถูกนะ

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 1 October 2012 - 11:04 #483631 Reply to:483613
nessuchan's picture

อ่า ชอบอันนี้ที่สุด ใช่เลย - -

By: virinprew on 1 October 2012 - 11:21 #483637

ผมว่าบางคำเช่น แคลอรี ควรมีไม้เอกนะ เพราะมันก็เขียนผิดๆอย่างนี้บ่อยพอๆกับเขียนแบบถูกต้องอ่ะ การเปลี่ยนไปใช้ แคลอรี่ คงทำได้ไม่ยาก แล้วมันก็อ่านออกเสียงอย่างนั้นจริงๆ

แต่บางคำเช่น คอมพิวเตอร์ มันเห็นอย่างนี้มาชินแล้ว อย่าไปเปลี่ยนเลย วรรณยุกต์วุ่นวายไปหมด

By: 9rockky
AndroidIn Love
on 1 October 2012 - 12:25 #483690

เห็นเเต่ละคำเเล้วน้ำตาจะไหล โอ้ว...

By: neonicus
Android
on 1 October 2012 - 12:37 #483700

มีฝรั่งถามว่าทำไมคนไทยออกเสียงคำว่า "น้ำ" ว่า "น้าม" ทำไมไม่ออก "นั้ม"

เหอๆ คนไทยตอบไม่ได้

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 1 October 2012 - 13:13 #483727 Reply to:483700
GodPapa's picture

ผมเดาว่าเกิดจากการเรียนการสอนของไทยที่นิยมให้เด็กทั้งชั้นท่องตาม และต้องออกเสียงให้พร้อมกันทำให้เกิดการลากเสียงจากเสียงสั้นจนเป็นเสียงยาว พอพูดติดปาก มันก็ออกมาเป็น น้าม

By: virinprew on 1 October 2012 - 13:29 #483733 Reply to:483700

พอดีเห็น comment ข้างบน "น้ำตา" คำนี้ก็อ่าน "นั้ม" สั้นๆนะ

By: equivalent
ContributorAndroid
on 1 October 2012 - 16:43 #483812 Reply to:483700

อ่านได้สองแบบขึ้นอยู่กับคำที่ตามมา

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 1 October 2012 - 17:03 #483819 Reply to:483812
GodPapa's picture

ตามหลักแล้ว สระ ำ เป็นเสียงสั้น ควรอ่าน นั้ม มากกว่า

By: febthor
iPhoneAndroid
on 1 October 2012 - 12:44 #483707
febthor's picture

ผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงแบบนี้นะครับ เพราะว่าเราสะกดผิดมาตลอด

อีกอย่างที่เขาเปลี่ยนมาสะกดแบบนี้เพื่อให้ตรงตามเสียงที่ "คนไทย" อ่านครับ ไม่ใช่คนต่างชาติหรือเจ้าของภาษา

ที่ผ่านมาการสะกดของไทยมันผิดเพี้ยนและไร้แบบแผนมานานมากแล้วครับ จนจับจุดไม่ได้ว่าควรจะสะกดอย่างไร มันวิบัติมานานแล้ว

ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนอ่านคำว่า "พาส" ไม่เหมือนที่เวลาอ่านคำว่า "พาด" เพราะมักจะอ่าน "พาส" เป็น "พ้าด" โดยอัตโนมัติทั้ง ๆ ที่ไม่มีวรรณยุกต์โทกำกับ เพราะชินกับคำว่า "Pass" แล้ว ซึ่งมันไม่ถูกต้องครับ

By: jedising
iPhone
on 1 October 2012 - 12:56 #483715 Reply to:483707

งั้นแปลว่าเราควรจะเขียนตามการออกเสียงเหรอครับ ผมเข้าใจว่าการเขียนภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยอาศัยการเทียบตัวอักษรซะอีก ถ้าเขียน พ้าด แล้วให้นึกถึงคำต้นฉบับผมว่าไม่มีใครรู้นะว่าหมายถึง pass และถ้าแบบนี้ก็ต้องทำแบบข้างบนบอกคือเขียน ชั้นแทนฉัน มั้ยแทนไหม เพราะก็ออกเสียงแบบนี้กัน

By: atmeid001
Windows
on 1 October 2012 - 14:09 #483746

หาเรื่องให้เด็กไทยอีกและราชบัณฑิต...

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 October 2012 - 16:20 #483804
PaPaSEK's picture

สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ ส่งครูภาษาไทยไปอบรมเพื่อให้ผันวรรณยุกต์ได้ถูกต้องก่อน

ครูเดี๋ยวนี้ไม่สอนอะไรไปมากกว่าไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ... แต่ไม่บอกให้นักเรียนเข้าใจว่ามันคืออะไร มันเอาไว้ทำอะไร ต้องทำยังไง ฯลฯ

เอาแค่ ค่ะ, คะ, ขา, จ้ะ, จ๊ะ, จ๋า ให้มันถูกต้องก่อนเถอะครับ กราบขอร้องเลยครับ

ถามเพื่อน ... "จ๋า อ่านออกเสียงว่า" มันบอกว่า "จ๊า" ผมเลยถามกลับไปว่า "แล้ววีเจคนสวยล่ะชื่ออะไร ใช่วีเจจ๊ามั้ย"

มันตอบว่าถ้าเป็นชื่อคนออกเสียงว่าจ๋า ถ้าใช้ในประโยคทั่วไปอ่านว่าจ๊า

ได้จ๊า... ขอตัวลาไปกรัมม็อกโซนนะจ๊า

ลาล่ะจ๊า

By: inkirby
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 1 October 2012 - 19:28 #483880 Reply to:483804
inkirby's picture

ผิดบ่อยๆ เจอแล้วคันไม้คันมือมากคือ "ค่ะ" กับ "คะ" นี่แหละครับ

ดีนะผู้ชายใช้คำเดียวกันหมด "ครับ" :P


Dream high, work hard.

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 2 October 2012 - 10:29 #484203 Reply to:483804
superballsj2's picture

คะ กับ ค่ะ นี่เจอบ่อยมาก เจอทีไรก็คิดทุกทีว่าจะใช้ให้มันถูกๆหน่อยไม่ได้หรอว้าาาาาาา

แต่จะไปเตือนอะไรมากก็ไม่ได้ เดี๋ยวโดนปรี๊ดใส่

ขนาดแฟนตัวเองยังผิดเลย แต่ไม่กล้าบอก กลัวหูชา -*-

By: neon02
Contributor
on 1 October 2012 - 18:27 #483857
neon02's picture

หวังว่าคงจะไม่ผ่านละกันนะครับ

By: komkit0710
Windows PhoneSUSEWindows
on 1 October 2012 - 19:46 #483893

ภาษาเขาขึ้นอยู่กับการออกเสียง ดันจะไปนิยามการออกเสียงให้เขาอีก