กูเกิลประกาศว่าโครงการฟอนต์โอเพนซอร์ส Noto ที่ริเริ่มในปี 2012 ออกตัวเต็มในปี 2016 และมีภาษาไทยในปี 2018 รองรับภาษาเขียนมากกว่า 1,000 ภาษาแล้ว เรียกได้ว่าครอบคลุมเกือบทุกภาษาในโลก
ชื่อฟอนต์ Noto มาจากคำว่า "No Tofu" หมายถึงเป้าหมายของฟอนต์ที่ครอบคลุมอักขระทุกตัวในโลก ไม่มีอักขระว่างที่แสดงผลไม่ได้เป็นกล่องสี่เหลี่ยม (เหมือนเต้าหู้) อีกต่อไป
ตอนนี้ Noto มีฟอนต์ครอบคลุมระบบการเขียน (writing system) จำนวน 151 ระบบ เกือบครบทั้งหมดตามที่ระบุใน Unicode 160 ระบบแล้ว
การใช้งานภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์มีมานาน 54 ปีแล้ว แต่ในยุคแรกเริ่มเป็นต่างคนต่างทำ ข้อมูลภาษาไทย (คำในแง่เทคนิคคือ รหัสอักขระภาษาไทย) ในคอมพิวเตอร์แต่ละระบบไม่สามารถอ่านข้ามกันได้ง่ายนัก
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์เล่าเบื้องหลังการแก้ปัญหาข้างต้น และวางมาตรฐานภาษาไทยเป็นมาตรฐานกลางให้ทุกฝ่ายใช้งานร่วมกันได้
งานเรื่องการพัฒนามาตรฐานอักขระภาษาไทยเริ่มในปี 2527 โดย ดร.ทวีศักดิ์ สำรวจรหัสอักขระที่ใช้กันในสมัยนั้น และพบว่ามีรหัสอักขระถึง 35 แบบ ทำให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานกลาง (แบบไม่บังคับให้ใช้) ขึ้นมาในปี 2529
จากประเด็นในวันเปิดตัว Assassin's Creed Valhalla หน้าสโตร์ของ Ubisoft ระบุว่ามีการแปลภาษาไทย ก่อนที่ข้อมูลส่วนภาษาไทยจะถูกนำออกไปในภายหลัง สร้างความสับสนให้กับแฟนเกม
ล่าสุด Ubisoft ยืนยันแล้วว่า Assasin's Creed Valhalla จะไม่มีการแปลภาษาไทยแต่ก็ยืนยันว่ามีความพยายามในการแปลภาษาไทยลงเกมอยู่เหมือนกัน ขณะที่ใครที่จองเกมล่วงหน้าไปแล้วเพราะคิดว่ามีการแปลภาษาไทย สามารถขอรีฟันด์ได้ทั้งจาก Ubisoft และ Epic Games
บริษัท LocalizeDirect รายงานสถิติของปี 2019 พบว่า ภาษาแปลในเกมที่มีอัตราเติบโตเพิ่มมากที่สุดในรอบ 4 ปี คือภาษาไทย ที่เติบโตถึงเกือบ 4 เท่า และภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาแปลหลัก เช่น โปแลนด์ ตุรกีและเวียดนาม ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นด้วย
ภาษาที่แปลในภูมิภาคอาเซียนนับได้ว่าเติบโตได้อย่างน่าสนใจ โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มีมูลค่าตลาดเกมสูงที่สุด คาดว่าจะสร้างกำไรให้ผู้พัฒนา จนอาจจะได้เห็นเกมที่มีการแปลภาษาไทยมากขึ้น
หน้าจอตั้งค่าภาษาและภูมิภาคของ Windows ถูกเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงมีปัญหาสำคัญคือ ผู้ใช้ต้องแยกไปตั้งค่าภาษาในเรื่องต่างๆ (เช่น คีย์บอร์ด, ภาษาแสดงผล, หน่วยแสดงผล) ในหน้าจอที่แตกต่างกันไป สร้างความสับสนว่าจะต้องไปตรงไหนกันแน่
ล่าสุดใน Windows 10 Insider Build 18922 (20H1) ไมโครซอฟท์จึงปรับหน้าตาของ Language Settings ใหม่เล็กน้อย แสดงหมวดหมู่ของการตั้งค่าภาษา 5 อย่างคือ Windows displays, Apps & websites, Regional format, Keyboard, Speech รวมกันไว้ที่หน้าเดียว พร้อมแสดงให้เห็นด้วยว่าแต่ละหมวดตอนนี้ตั้งค่าเป็นภาษาอะไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มใช้ใน Windows 10 เวอร์ชัน 20H1 ที่จะออกช่วงต้นปีหน้า 2020
Tim Brandall หัวหน้าทีม Internationalization ของ Netflix เขียนบล็อกเล่าถึงวิธีการจัดการภายใน ที่ทำให้การแสดงผลเนื้อหาบน Netflix ในภาษาต่าง ๆ แสดงผลได้ดีไม่เกิดตัวอักษรล้น UI ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายหลังจาก Netflix ขยายตลาดไปสู่ 190 ประเทศ ทำให้การแสดงผลต้องเพิ่มจากภาษาอังกฤษภาษาเดียว ไปสู่ภาษาอื่นรวม 26 ภาษา
เมื่อปีก่อน กูเกิลเปิดให้บุคคลภายนอกมาช่วยเพิ่มข้อมูลของ Google Street View ด้วยการให้ยืม Trekker กล้องถ่าย 360 องศาแบบสะพายหลังสำหรับถ่ายภาพนอกสถานที่ และวันนี้กูเกิลเปิดตัวอุปกรณ์แบบเดียวกันสำหรับทำแผนที่ภายในอาคารแล้วในชื่อ Cartographer
Cartographer เป็นเป้สะพายหลังที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคาร (SLAM) ซึ่งทำงานร่วมกับแท็บเล็ตแอนดรอยด์ ให้ผู้ใช้สามารถแตะที่แท็บเล็ตเมื่อเดินไปถึงจุดที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มเข้าไปในแผนที่ได้
สมาชิก Blognone คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า "ที่อยู่อีเมล" ต้องสะกดด้วยตัวอักษรในภาษาละตินเท่านั้น (ASCII) ซึ่งการใช้งานอาจไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่พูดภาษาอื่นๆ เท่าไรนัก
เมื่อปี 2012 Internet Engineering Task Force (IETF) แก้ปัญหานี้โดยออกมาตรฐานเพิ่มเติม ให้ที่อยู่อีเมลสามารถสะกดด้วยตัวอักษรที่อยู่นอกกลุ่ม ASCII ได้ โดยยึดตามมาตรฐานตัวอักษร UTF-8 ที่มีอยู่แล้ว แต่การใช้งานจะต้องเพิ่มส่วนต่อขยายให้โพรโทคอลอีเมล SMTP ด้วย (มาตรฐานอีเมลฉบับเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก RFC-6530)
เป็นข่าวดีสำหรับผู้ใช้ iOS ในบ้านเรา เมื่อทางแอปเปิลประกาศรับสมัครวิศวกรตำแหน่ง "Siri Language Engineer" ที่เชี่ยวชาญภาษาอาหรับ โปรตุเกสแบบบราซิล เดนมาร์ก ดัตช์ นอร์เวย์ สวีเดน ตุรกี รัสเซีย และไทย ซึ่งหมายความว่าในอีกไม่นาน เราจะสามารถพูดคุยกับ Siri เป็นภาษาไทยได้เสียที
คร่าวๆ สำหรับผู้ที่สนใจ แอปเปิลระบุว่าจะต้องจบปริญญาตรีหรือโทด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, วิศวกรรมไฟฟ้า หรือด้านที่เกี่ยวข้อง และเชี่ยวชาญการใช้ภาษาจาวา, ภาษาเพิร์ล และการใช้ shell script รวมไปถึงมีทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของแอปเปิลด้วยเช่นกัน (OS X, iOS)
ทั้งนี้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของการรับสมัครเพิ่มเติมได้จากที่มาท้ายข่าวเลยครับ
มาตรฐานตารางอักษร Unicode ออกเวอร์ชัน 7.0 แล้ว โดยมาตรฐานเวอร์ชันนี้ได้เพิ่มตัวอักษรใหม่เข้ามาอีก 2,834 ตัว
Unicode 7.0 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย (และภาษาหลักของโลกอื่นๆ) ของใหม่เน้นไปที่ภาษาคนใช้น้อยและสัญลักษณ์ใหม่ๆ ดังนี้
Twitter ประกาศข่าวการซื้อกิจการสตาร์ทอัพ Spindle เพื่อเสริมฟีเจอร์การค้นหาข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจโดยอิงจากตำแหน่งของผู้ใช้งานในขณะนั้น ทั้งนี้มูลค่าในการควบกิจการไม่เป็นที่เปิดเผย
Spindle เป็นผู้พัฒนาแอพชื่อเดียวกันสำหรับใช้งานบน iPhone โดยตัวแอพจะทำหน้าที่คล้ายเลขาส่วนตัวที่จะช่วยค้นหาข้อมูลและรายงานแก่ผู้ใช้ว่าในบริเวณใกล้เคียงโดยรอบนั้น มีงานอีเวนท์หรือเหตุการณ์สำคัญที่น่าสนใจอะไรบ้าง รวมทั้งรายงานข้อเสนอขายสินค้าและบริการจากผู้ขายที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย โดยทั้งหมดนี้อาศัยข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ใช้, เวลา ณ ช่วงที่แอพทำงาน และตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้
กูเกิลประกาศเพิ่มคีย์บอร์ดเสมือน เครื่องมือการป้อนข้อความในภาษาต่างๆ (input method editor หรือ IME) และระบบการพิมพ์โดยสะกดตามเสียงภาษาอังกฤษ (transliteration) อีกกว่า 100 ภาษาใน Gmail
จุดประสงค์ของกูเกิลก็เพื่อให้ผู้ใช้งาน Gmail สามารถป้อนข้อความในภาษาของตัวเองได้ง่ายขึ้น โดยไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้
สำหรับภาษาไทยนั้นไม่มี IME หรือ transliteration ดังนั้นจึงมีแต่คีย์บอร์ดเสมือนบนหน้าจอครับ คนที่อยากใช้เข้าไปที่ Settings > General > Language (อันแรกสุด) กดลิงก์ Show all language options จะมีตัวเลือก Enable input tools โผล่ขึ้นมา จากนั้นก็เพิ่มภาษาที่ต้องการ แล้วจะมีปุ่มคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามาที่มุมขวาบนของ Gmail ใกล้ๆ กับรูปเฟือง
ข่าวนี้เป็นภาคต่อของข่าว "ราชบัณฑิตเสนอ มาเขียนคำศัพท์ภาษาต่างประเทศให้ตรงเสียงกันดีกว่า" ครับ
หลังจากที่มีข่าวว่าทางราชบัณฑิตยสถาน จะเปลี่ยนวิธีการเขียน และแก้ไขคำศัพท์ทับภาษาอังกฤษบางคำ เช่นคำว่า คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็น ค็อมพิ้วเต็อร์ เป็นต้น ล่าสุดทางราชบัณฑิตยสถานได้ออกหนังสือแถลงการณ์โดยคุณกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ว่าจะไม่มีการแก้ไขคำยืมภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ตามข่าวครับ
เพราะฉะนั้นหายห่วงกรณีนี้ไปได้ครับ
ถึงแม้ข่าวนี้จะไม่เกี่ยวกับวงการคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสักเท่าไหร่ ผมว่าเว็บที่ค่อนข้างเคร่งกับการตรวจสอบการเขียนอย่าง Blognone ผมว่าน่าจะโดนเต็ม ๆ ซึ่งถ้าหลักการเขียนแบบนี้ถูกตีพิมพ์ออกมาจริง เราอาจต้องมาถกเถียงกันต่อว่าจะยึดตามหลักนี้กันหรือไม่ (แต่หากว่า Founder หรือ Writer ไม่เห็นว่าควรเป็นข่าวขึ้นหน้าแรก ก็แล้วแต่จะพิจารณาครับ)
เนื่องจากราชบัณฑิตเห็นว่า คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายคำ เราเขียนกันผิดหลักเรื่อยมา ใช้กันจนชินมือชินตากันไปแล้วแต่ความจริงที่ว่าผิดก็ยังคงผิดอยู่ ผลที่เกิดตามมาคือชาวต่างชาติที่เรียนภาษาเรา พอเจอศัพท์ที่สะกดผิด ๆ พวกนั้นก็ถึงกับงง (แต่ผมคิดว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ตอนนี้ก็งงไม่แพ้กัน)
ข่าวนี้ไม่ใช่ระบบ auto caption หรือการถอดเสียงในวิดีโอออกมาเป็นซับไตเติลโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีใน YouTube มาสักระยะหนึ่งแล้ว (เป็นบางภาษา) นะครับ
แต่มันเป็นระบบคล้ายๆ กับเว็บพวก dotSUB ที่เปิดให้คนดูเข้ามาช่วยกันแปลซับไตเติลได้
กรณีของ YouTube จะแปลซับไตเติลได้ต้องให้เจ้าของวิดีโอเป็นคนอนุมัติเท่านั้น (กดปุ่ม Request Translation ในหน้า Edit Video) และวิดีโอต้องมีซับไตเติลในภาษาใดภาษาหนึ่งอยู่ก่อนแล้วด้วย
เจ้าของวิดีโอสามารถส่งคำเชิญไปยังคนอื่นๆ ทางอีเมลให้เข้ามาช่วยแปลได้ ระหว่างการแปล YouTube ยังทำหน้าจออำนวยความสะดวก ให้ดูวิดีโอเทียบกับข้อความแต่ละช่วงได้ง่าย และในบางภาษา กูเกิลจะใช้ Google Translate ช่วยแปลทำทางไว้ให้ก่อนด้วย
หลังจากที่เปิดให้ผู้ใช้เข้าไปแปลได้เป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน ทวิตเตอร์ได้เปิดตัวหน้าตาเว็บในภาษาไทยแล้ว โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเปลี่ยนภาษาได้ที่หน้า Settings
แต่ถึงแม้จะเปิดตัวไปแล้ว การแปลภาษาไทยของทวิตเตอร์นั้นทำเสร็จไปประมาณร้อยละ 70 โดยที่การแปลนั้นสามารถทำต่อได้ที่ Translation Center
ที่มา - @translator
ไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลว่า Windows 8 สามารถแสดงหน้าตาในภาษาอื่น (localization) จำนวนทั้งหมด 109 ภาษา (เพิ่มจาก 95 ภาษาใน Windows 7) โดยไม่แยก edition เหมือนอย่างใน Windows 7 อีกต่อไป (ของ Windows 7 ต้องใช้รุ่น Ultimate ถ้าอยากได้ language pack ในทุกภาษา)
อย่างไรก็ตาม Windows 8 จะไม่ได้มาพร้อมกับ language pack ทุกภาษาเพราะเปลืองเนื้อที่ ดังนั้นผู้ใช้สามารถกดเพิ่มภาษา และระบบจะดาวน์โหลด language pack จากเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ให้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ยังปรับเปลี่ยนหน้าจอตั้งค่า Language ใน Control Panel ใหม่ให้เข้าใจง่ายและใช้งานง่ายขึ้น สามารถค้นหาภาษาที่ต้องการเพิ่มโดยพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อภาษา หน้าตาแบบเต็มๆ ดูได้ตามลิงก์
ข่าวสั้นๆ ที่ออกมาได้สักพักแล้ว แต่หลายคนยังไม่รู้คือทวิตเตอร์ได้เปิดหน้าเว็บสำหรับการแปลทวิตเตอร์เป็นภาษาไทย ทั้งในส่วนของเว็บไซต์หลักและเว็บสำหรับมือถือ โดยผู้สนใจสามารถเข้าร่วมส่งคำแปลและโหวตคำแปลที่เหมาะสมกับภาษาไทยได้แล้วตอนนี้ แน่นอนว่าโครงการนี้เป็นในลักษณะของอาสาสมัคร ไม่มีค่าตอบแทน แต่จะมีการเก็บเลเวลกันเล็กๆ น้อยๆ เพื่อความสนุกในการแปล
เรื่องนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการขยายเพื่อรองรับภาษาไทยของทวิตเตอร์ ซึ่งเมื่อทวิตเตอร์สนใจที่จะรับคำแปลภาษาไทยแล้ว ในอนาคตเราก็อาจจะได้เห็นระบบที่รองรับแท็กภาษาไทย การค้นหาคำไทยได้ดีขึ้น และเทรนด์ทวิตเตอร์ของไทยก็ได้นะ
ที่มา - Twitter Translation Center
หลังจาก Firefox 3.0.2 เวอร์ชั่นภาษาไทยเบต้าออกแล้ว ตามมาด้วย Firefox 3.0.3 อย่างรวดเร็ว มีคนสนใจเรื่องการแปลภาษาไทยมาก ผมในฐานะตัวแทนทีมแปล ก็ขอชี้แจงอย่างละเอียดดังนี้
ส่วนนี้จะกล่าวถึงแนวคิดต่างๆ ในการแปลภาษาไทย เช่น ทำไมต้องแปล แปลแล้วได้อะไร
ทำไมต้องแปลภาษาไทย
คำตอบที่ชัดเจนที่สุด ผมแนะนำว่าให้เดินไปดูคอมพิวเตอร์ของห้องธุรการที่ใกล้ที่สุด ว่า Office ที่คุณพี่หรือคุณป้าธุรการใช้ เป็นภาษาอะไรครับ
ส่วนคำตอบแบบขยายความขึ้นมาหน่อย ก็ต้องบอกว่า "ไม่ใช่ทุกคนที่เก่งภาษาอังกฤษ" อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง
หลังจากการที่ได้ระดมพลหน่วยหุ่นยนต์ส่วนหนึ่งมาแปลเร่งแก้บั๊ก 226420 Thai Localization/Translation ที่เหลือจากงาน BugAthon มาแก้และแปลในงาน Firefox 3 Thai Localization Sprint (1, 2) และได้ออกมาให้คนได้ทดลองใช้ตัวทดสอบที่ทำกันเอง
สืบเนื่องมาจากทางทีมแปลภาษาไทยของ Firefox กำลังเร่งจัดการแปลทั้งตัวโปรแกรมและหน้าเว็บของ Firefox ให้เป็นภาษาไทยรวมถึงพวกการตั้งค่าต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง mk ได้มาทำการขอความเห็น เรื่องการตั้งค่าของตัวโปรแกรม Firefox ไปแล้ว ผมซึ่งตอนนี้กำลังจัดการแปลหน้าเว็บทั้งหมดของ Mozilla อยู่จึงมีคำถามมาถามเช่นกัน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาว่าเป็นการตัดสินจากทีมภาษาไทยโดยลำพังครับ
บั๊กที่เกี่ยวข้อง : 447701
ผมได้รับการติดต่อจากทีมของ Mozilla เรื่อง Firefox รุ่นภาษาไทยที่กำลังจะเป็น official supported language และเปิดให้ดาวน์โหลดจากเว็บของ Mozilla (หน้า International versions) สำหรับการแปลนั้น ทีมแปลจัดการเรียบร้อย และเคยเปิดให้ทดสอบกันเป็นวงกว้างไปแล้ว (ดูข่าวเก่า 1, 2) อันที่เหลือคือรายการ search engine, feed และอื่นๆ ที่คนไทยนิยมใช้
ผมคิดว่าให้ผมหรือทีมภาษาไทยตัดสินใจเพียงลำพัง อาจจะไม่ถูกใจคนใช้นัก ดังนั้นขอความเห็นด้วยครับ
หลายปีก่อนแล้ว ที่องค์กร ICANN มีการวางแผนจะนำโดเมนกลุ่มใหม่ซึ่งเรียกว่า IDN TLD มาใช้ โดเมนกลุ่มนี้ จะหมายถึงโดเมนในภาษาถิ่น IDN ย่อมาจาก Internationalized Domain Names ส่วนคำว่า TLD ย่อมาจาก Top Level Domain เช่น .com .net .org .mil .gov .edu .int .biz .museum .name หรือกลุ่มประเทศ เช่น .th .cn .jp .de เป็นต้น ซึ่งจะใช้แทนโดเมนที่ถูกสะกดโดยอักษรโรมันตามระบบโดเมนที่เราคุ้นชิน
สำหรับโดเมน IDN กลุ่ม .com จะมีตัวอย่างเป็น http://โดเมนเนมไทย.com ซึ่งแบบนี้จะเป็นแค่ IDN เฉยๆ ไม่ใช่ IDN TLD
คิดว่าคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านน่าจะเคยใช้ Ubuntu กันมาบ้างแล้ว หรืออย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินบ้าง ในแง่ของการใช้งานนั้น Ubuntu สามารถใช้งานภาษาไทยมาได้ตั้งแต่เวอร์ชันแรกแล้ว และแน่นอน ภาษาไทยไม่ได้ลอยมาจากอากาศแล้วใส่ลงไปได้เอง มันต้องมีคนทำใส่ลงไปแน่นอนอยู่แล้ว แล้ว "คนนั้น" เป็นใครล่ะ อันนั้นเอาไว้ก่อนครับ ไปหาคำตอบกันเอาเอง ส่วนตอนนี้ผมจะมาแนะนำวิธีให้คุณเป็นหนึ่งใน "คนนั้น" ครับ
จากรายงานข่าวเก่า Firefox 3 Thai Localization Sprint วันที่ 1 และ วันที่ 2 ตอนนี้งานแปลมีความคืบหน้าไปหลายส่วนแล้ว หน้าตาหลักๆ ที่ติดต่อกับผู้ใช้มีการแปลแล้ว กำลังต้องการคนทดสอบและ feedback จากผู้ใช้จำนวนมากครับ
Firefox เวอร์ชันภาษาไทยที่ทำกันนี้เป็นการ localize Firefox 3 ตัวล่าสุดจาก CVS ของ Mozilla ดังนั้นก็จะได้เวอร์ชันที่ใหม่สุดๆ สามารถตัดคำไทยได้ในตัว มีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นภาษาไทย ส่วนตัวจริงตามกำหนดจะออกประมาณกลางปี
คนที่ต้องการทดสอบสามารถดาวน์โหลดได้จากหน้าดาวน์โหลดของโครงการ