ทุกครั้งที่ผมกรอกใบสมัครงาน (แอบบริษัทเก่าไปสมัคร) มักมีคำถามว่า "จะเรียกเท่าไหร่ดีหวะเนี้ย่" มันเป็นปัญหาต้นๆ ของผมเลยก็ว่าได้ ไอ้จะเรียกมากก็เกรงใจคนจ้าง ไอ้ครั้นจะเรียกน้อยก็นะ...
ทุกท่านมีกระบวนการคิดค่าตอบแทนกับงานใหม่ที่จะสมัครยังไงครับ มี factor อะไรบ้างที่ช่วยในการคิด เช่น จำนวนปีที่ท่านทำงานมา , certificate, TOFEL, TOEIC ภาษาที่สามารถพูดคุยได้ ฯลฯ
มีอะไรมาช่วยในการคิดบ้างครับ มีสูตรตายตัวมั๊ย
ผมอยากรบกวนขอมุมมองทั้งของผู้ประกอบการ และ ผู้จะสมัครงาน อ่ะครับ
คำถามเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจจะดูไม่เหมาะสม แต่ อยากรู้จริงๆ โปรดอภัย...ครับ
** ขอแก้ไขจาก IT เป็น ทุกสาขาวิชาเลยละกันครับ... กระบวนการคิดคงคล้ายๆกันครับ
ไอทีผมไม่ทราบหรอกนะครับ แต่ถ้าเป็นทั่วไป อย่างบ้านผมเอง ถ้าจ้าง คนที่มาทำบัญชี กับคนขายสินค้าเนี่ย
ดูที่ประสบการณ์ก่อนเลย ว่าผ่านที่ไหนมาอย่างไร ดูแล้วอยู่ได้หรือเปล่าทำนองนี้ ถ้าใหม่มากๆ ไม่มีทางได้เงินเดือนสูงอยู่แล้วครับ ถึงแม้จะทำงานได้หลากหลาย
สองดูงานที่ทำได้ อย่างทำบัญชีได้ เก่งคอมด้วย ขายของหน้าร้านได้ ติดต่อกับลูกค้า สั่งสินค้าเข้าสต็อคเองได้ ทำนองนี้ครับ
เรื่องภาษา ไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไรครับ เหมือนผลพลอยได้มากกว่าสำหรับบ้านผมนะ เงินเริ่มต้นเนี่ย ตัดสินจากระยะลองงานเดือนแรกก่อนครับ แล้วคุยกันอีกที หลังจากนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้เยอะหรอกครับ เน้นไปที่ปรับเงินเดือนมากกว่า (ปีนึงปรับครั้งเดียว...นะ)
ตอบในฐานะคนสมัคร ผมดู 2 อย่างคือ ราคาเฉลี่ยของตลาดอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วคิดว่าตัวเองทำได้เท่าไหร่ ถ้าคิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนทั่วไป 20% ก็เอา 1.20 x ราคาเฉลี่ย
แค่นี้แหละครับ สิ้นคิดไปมั้ยเนี่ย
pittaya.com
ตอนสมัครงานครั้งแรกเลยผมเรียกไปแบบเวอร์ๆ เลย (แต่ก็ไม่ได้เยอะมาก) แล้วตอนสัมภาษณ์ค่อยตกลงกันอีกที ตอนนั้นก็ฮาๆ ครับ เพราะจริงๆ เค้ามีเรทอยู่แล้วซึ่งผมก็รู้แล้วหล่ะ เค้าก็บอก เนี่ย เค้าให้ได้เท่านี้ โอเคมั๊ย แต่มันน้อยกว่าที่เราขอนะ อะไรแบบนี้อ่ะครับ ผมว่าเค้าแฟร์ๆ ดี พูดตรงๆ
ส่วนหลังจากนั้น ที่สมัครต่อๆ มา ก็ไม่ได้เรียกมากอีกเลย แค่ว่าขอไม่น้อยกว่าที่เดิมจนเกินไปก็พอ :D
---------- iPAtS
iPAtS
เอามุมมองนายจ้างก็
- Scale งานที่เคยจับ เคยจับงานใหญ่ก็ได้เปรียบเรียกได้เยอะหน่อย - เทคโนโลยีที่เคยใช้ ถ้าตรงกับกับที่นายใหม่เค้าใช้เยอะ เค้าก็สู้ได้เยอะ - จำนวนปีประสบการณ์ เด็กใหม่ส่วนมากเป็น Fixed Rate กันนะครับ - ภาษานี่ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับเงินเดือนรึเปล่า แต่เกี่ยวกับรับ/ไม่รับแน่ๆ ครับ บางที่เป็น Required - ที่เหลือก็ความสามารถด้าน Technical เจอยิงแบบลึกๆ แล้วตอบได้มั๊ยอะไรอย่างนั้น
นี่เท่าที่เคยเห็นสัมภาษณ์กันมานะครับ แต่อะไรเป็น Factor สำคัญนี่ไม่รู้เหมือนกัน ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมคิดเยอะนะ ผมแยกคิดเป็นสองส่วน
ส่วนแรกเป็นพวกค่าใช้จ่ายในการทำงาน
ย้ายงานแต่ละที่ค่าเดินทาง ที่พัก ค่าอาหารก็เปลี่ยนไปนะ พวกค่าใช้จ่ายที่ใช้ระหว่างทำงานก็คำนวณคร่าวๆ ต่อเดือนแล้วเก็บไว้ในใจ
ส่วนที่เหลือคือค่าตัว ก็คิดเอาละกันว่าช่วงที่ผ่านมาได้ค่าตัวเท่าไหร่ ผ่านงานมาเท่าไหร่ เราอยู่ระดับไหน ควรได้เพิ่มอีกเท่าไหร่
เรื่องเิงินทองอย่าเกรงใจครับ เปิดอกคุยไปเถอะ ไม่ได้ไปขอข้าวเค้ากิน สำคัญคือเข้าไปก็ทำงานเต็มความสามารถละกันให้สมน้ำสมเนื้อกับค่าตัว
เห็นด้วยกับคุณ deans4j ครับ
ตอนผมย้ายงานก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน
ดูว่าปััจจุบันได้เท่าไร (รวมโบนัส เงินพิเศษต่างๆ แล้ว) ย้ายไปที่ใหม่มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้นหรือไม่ ค่าใ้ช้จ่ายต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่เป็นเช่นไร
พอหักลบคิดตรงจุดนี้ได้แล้ว ก็มาคิดว่า คุณต้องการอีกเท่าไรถึงจะพอใจ
สมมุิติว่า ตอนนี้คุณได้เงินเดือน 18000 ย้ายไปที่ใหม่มีระบบโบนัส ค่าใช้จ่ายค่าเดินทางเหมือนเดิมทุกอย่าง คุณขอ 22000 ... ถามตัวเองว่า 4000 นี่คุ้มแล้วเหรอที่เราจะย้าย อาจจะเสียน้ำใจกับเจ้านายเก่า ต้องจากเพื่อนที่ทำงานเก่าไป อะไรแบบนี้
ส่วนเค้าจะให้เท่าไรนั้น ผมคิดว่า ถ้าผมเป็นเจ้านาย ผมจะดูว่าคุณสามารถเข้ากับบริษัทเราได้มากแค่ไหน ทำงานให้กับเราได้มั้ย ถ้าได้เค้าก็อยากได้คุณแล้วครับ
ทรัพยากรบุคคลดีๆ น่ะ หายากจะตาย ถ้าเค้าอยากได้นะ เงินเดือนคุณเสนอไปเท่าไร เค้าก็สู้เอง แต่ถ้าเค้าสู้ไม่ไหวเค้าก็ต่อเองแหล่ะครับ แฟร์ๆ(แต่อย่าขอให้มันเวอร์นะ จาก 20k ไป 100k แบบนี้อาจจะเกินไป) -------------------------------------------------------- เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก www.mooling.com
ขอตอบแบบที่ตัวเองใช้ก็แล้วกัน
ก่อนอื่นจะหาค่ากลางของตลาดมาดูก่อน หาได้ตามแบบสำรวจเงินเดือนตามสาขาทั่วๆไป แล้วก็เอาคุณสมบัติของตัวเอง กับเงินเดือนที่ได้อยู่เข้ามาบวกลบคูณหาร แต่จริงๆควรจะแอบสืบเรทของบ.นั้นๆมาด้วยก็จะดีที่สุด เพราะบางบ.เรทเงินเดือนต่ำ เรียกสูงไปเขาก็ไม่ค่อยอยากเรียก แต่บางบ.เรทเงินเดือนสูง เรียกต่ำไปก็เสียเปรียบนิดหน่อย แต่จริงๆเราจะเรียกในเรทที่เราอยากได้เป็นหลักค่ะ
factor ที่ช่วยในการคิด - วุฒิ: ถ้าเพิ่งจะได้ปริญญาเพิ่มมา ก็ควรบวกไปด้วย - ประสปการ์ณ : เน้นว่าต้องตรงสายกับงานใหม่ที่จะสมัคร หรือว่ามีประโยชน์เกื้อกูลกันได้ อันนี้เป็นตัวเร่งเงินเดือนสุดๆ ยิ่งทำงานนาน ประสปการ์ณตรงมากๆ หรือทำโปรเจคน่าสนใจสุดๆ ยิ่งเรียกได้สูงขึ้น - cert : ถ้าเป็นพวก software house จะสนใจ cert ในขณะที่บ.ที่ไม่ได้ทำ IT เป็น core business อาจจะไม่สนใจมากนัก ก็เวทๆกันไป - ภาษา : ถ้าเป็นบ.ต่างชาติ ส่วนใหญ่จะ require Eng เป็นหลักอยู่แล้ว ก็ไม่มีผลกับเงินเดือนเท่าไหร่ แต่ว่าโดยทั่วไป บ.ต่างชาติมักจะเงินดีกว่าบ.ไทย ก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ก็แล้วกัน แต่เท่าที่รู้มา เงินเดือนจะสูงกว่าปกติก็เวลาที่บางบ.เขาต้องการภาษาที่สาม ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ซึ่งภาษาพวกนี้มีคนเป็น (ระดับ fluent) น้อยมาก ถ้าเราได้ ก็ได้เปรียบเลยล่ะ ที่เคยรู้มานะ ถ้าตำแหน่งใช้แค่ eng ได้แค่ 35K แต่ใช้ภาษาเยอรมันหรือญี่ปุ่น ได้อาจจะถึง 40K ได้ อะไรเงี๊ยะ แต่ว่าตำแหน่งที่ต้องการภาษาที่สามเป็นหลักนี่ก็มีน้อยเหมือนกันนะ และอาจจะออกแนวติดต่อลูกค้ามากกว่าเขียน program - ตำแหน่งที่สมัคร : อย่างเช่นถ้าสมัครเป็น programmer กับสมัครเป็น project manager แน่นอนว่า manager ต้องเรียกเงินเดือนได้มากกว่าอยู่แล้ว
ปกติถ้าทำงานมาแล้ว จะดูเงินที่ตัวเองได้เป็นหลักอยู่ แล้วบวกขึ้นไปเป็น % แล้วก็ขอเทียบพวก benefit ของแต่ละที่ด้วยนะ แล้วก็เป็นเงินเดือนที่คิดว่า ย้ายแล้วต้องคุ้มที่ย้ายค่ะ เพราะว่าย้ายออกจากที่นึงก็จะเสีย benefit หลายๆอย่างไปนะ เช่นวันหยุดที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี หรือว่า provident fund ที่บ.จะให้ ดังนั้นถ้าย้ายแล้วไม่คุ้มก็ไม่อยากจะย้ายอะค่ะ
ขอสั้นๆนะครับ พอดีพี่ชายทำงานบริษัท recruitement
เอาเงินเดือนคุณตอนนี้ x 25% - 35% ถ้าสวัสดิการณ์ที่ใหม่ แกว่า หรือไม่ดีเท่าที่เดิม x 5% ถ้างาน contract หรือ temp ก็ x ไปอีก 20% ถ้าคุณมี certify ดังๆ ( sun , microsoft , cisco ) ให้ + ไปใบละ 1,000 - 3,000
ผมไม่รู้เหมือนกันที่อื่นคิดยังไง แต่พอดีพี่ชายคิดให้ผมตอนสมัครงานใหม่คับ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
เรียกให้มากกว่าเดิม 15-20% จากเงินเดือนเดิม เผื่อต่อ....
>> My Portfolio <<