Hiroshi Lockheimer ผู้บริหารของกูเกิลให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Computerworld เกี่ยวกับฟีเจอร์ความปลอดภัยของ Android 4.2 ซึ่งเคยมีข่าวมาแล้วก่อนหน้านี้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ฟีเจอร์ verify apps ซึ่งเป็นตัวเลือกที่เพิ่มเข้ามาในหน้า Settings โดยไม่ได้เปิดใช้ตั้งแต่แรก แต่เมื่อเราเปิดฟีเจอร์นี้เมื่อไร กูเกิลจะสแกนแอพทุกตัวที่ติดตั้งเพิ่มเข้ามาในเครื่อง (ไม่ว่าจะผ่าน Play Store, ลง apk เองแบบ sideload หรือลงผ่านแอพภายนอกอย่าง Amazon Appstore) ว่าเข้าข่ายแอพอันตรายตามฐานข้อมูลของกูเกิลหรือไม่ (วิธีการเช็คคือตรวจ apk signature กับเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล) ถ้าพบแล้วจะป้องกันไม่ให้เราติดตั้งแอพดังกล่าวลงในเครื่อง
Lockheimer อธิบายว่ากูเกิลรู้จัก signature ของแอพกว่า 700,000 แอพใน Play Store เป็นอย่างดี และยังคอยสแกนไฟล์ .apk จากทั่วอินเทอร์เน็ตเพื่ออัพเดตฐานข้อมูลแอพอยู่ตลอดเวลาด้วย
ฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Bouncer ที่สแกนแอพอันตรายในเซิร์ฟเวอร์ Play Store ของกูเกิลซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ไม่เกี่ยวกับการซื้อกิจการ VirusTotal เมื่อเร็วๆ นี้
ส่วนฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของ Android 4.2 ได้แก่
ที่มา - Computerworld
Comments
เป็นก้าวแรกที่เยี่ยมครับ
ทำให้รู้สึกปลอดภัยขึ้นนะ
แล้วถ้าเราทำ app เองแต่ไม่ขึ้น play store หรือที่ไหนๆ เลยปล่อยให้โหลดจากเว็บเราเองจะโดนไหมเนี่ย
I need healing.
ต้องบล็อกไม่ให้ bot ของกูเกิลมาเจอด้วยมั้งครับ?
ว่าแต่ถ้าขึ้นแค่เวบส่วนตัวไม่ค่อยกระจาย (เพื่อให้ bot ไม่เจอ) ก็ไม่ค่อยกระจายแอพอันตรายสิ.....
apk signature ถ้าไม่ตรงนี่ จะเปิดไม่ได้รึเปล่าครับ
apk ที่ลงเอง อาจเน่าหมด
ไม่เกี่ยวครับ ลองอ่านรายละเอียดในข่าวดู
ถ้าจะลงแอพเถื่อนต้องปิดรึเปล่าครับ ถ้าอย่างนั้นหลายคนคงอันตรายเหมือนเดิม
มันอันตรายตั้งแต่ลงแอพเถื่อนแล้วล่ะครับ...
Dream high, work hard.
ปกติแอพเถื่อนของดรอยนี่ไม่ได้แก้ apk น่ะครับแค่ดึงออกมาเลย ดังนั้น signature จะเหมือนกัน
ถ้าเป็นตามข่าวจริง ก็แปลว่ากูเกิลจะเข้าใจว่าเป็นแอพอันเดียวกับใน play store แล้วไม่ถือว่าอันตรายครับ
ส่วนพวกที่แฮค apk เพื่อ bypass ระบบ billing นี่ก็ต้องเตรียมใจเอาเองล่ะครับ คิดจะเป็นโจรก็ต้องอยู่ในสังคมโจรให้ได้
เข้าใจว่าเถื่อนบางตัวจะมี crack เพิ่มเพื่อข้ามการเช็ค license ด้วยครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ใช่แล้วครับ จริงๆมีไม่เยอะหรอก แต่ผมแค่แปลกใจว่าทำไมข้างบนพูดเหมือนการแครกเป็นเรื่องปกติ แล้วเป็นความซวยของผู้ใช้ที่ต้องปิดระบบตรวจสอบเพื่อจะแครก
เจ๋งครับผม ^^
แล้วจะมีงานเปิดตัวอีกรึเปล่าครับ ?
ข้อมูลกระจัดกระจายมากเลย
ป้องกันไม่ให้แอพแอบส่ง SMS เพื่อสมัครบริการใช้งานแบบเสียเงิน (ซึ่งแอพบางตัวแอบทำเพื่อสร้างรายได้แก่นักพัฒนา)
ชอบตรงนี้
ชอบมากครับ เพราะผมโดนมาแล้ว แค้นฝังหุ่น
ผิดคาดแฮะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
กูเกิลหันมาสนใจด้านความปลอดภัยและเรื่องความแลกของแอนดรอยด์ช้าไปหน่อย
จริงๆ น่าจะเริ่มแต่แรก หรือซักช่วง Gingerbread
Educational Technician
เขาก็ทำมาเรื่อย ๆ นะ (อย่างการ encrypt ตัว apk เป็นต้น)
แต่ก็ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ