วันนี้คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการฮั้วประมูล 3G ได้เปิดเผยผลการสอบสวนว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ของบริษัทเอกชนทั้ง 3 ราย ในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าไม่พบความผิดเข้าข่ายการฮั้วประมูล โดยเตรียมสรุปผลการตรวจสอบและนำเสนอ กสทช. เป็นลำดับถัดไป
นายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่าการตรวจสอบเอกชนทั้ง 3 รายที่ประมูลคลื่นความถี่ไปได้สำเร็จ อันได้แก่ Advance Wireless Network, Dtac Network และ Real Future ตั้งแต่ช่วงก่อนการประมูล, ระหว่างการประมูล และหลังการประมูล ไม่พบว่ามีการกระทำใดๆ ที่เป็นการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล โดยขั้นตอนการประมูลเป็นไปตามกติกาของ กสทช. ถูกต้องทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ยังคงเหลือการพิจารณาคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ 3G อีกคดีหนึ่ง ซึ่งล่าสุดมีนักวิชาการให้ความเห็นว่าแท้จริงแล้วผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจในการฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบการประมูลดังกล่าว เนื่องจาก กสทช. ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ
Comments
ตามคาด
จะสอบทำไมให้เสียเวลา เอกชนจะฮั้วทำไม ไม่ต้องฮั้วก็ได้คลื่นกันครบทุกรายในราคาต่ำสุดอยู่แล้ว น่าจะสอบ กสทช. ผู้ออกแบบการฮั้วดีกว่า
ปล. รับไม่ได้กับการทำงานของ กทช. ชุดนี้ ปีหน้าประมูลคลื่น 4G ถ้ายังเป็นชุดนี้อยู่ก็คงเป็นแบบเดิม ขนาดประมูลคราวนี้ผลออกมาแบบนี้ ยังไม่ยอมรับอีกว่าออกแบบการประมูลผิดพลาด
+3G
นั่นสิจะฮั้วทำไม ประมูลแบบนี้ยังไงก็ไม่มีคนแพ้อยู่แล้ว
ผมว่าคุณมอง กสทช. ผิดไปนะ จริงๆ แล้ว การประมูลเขาไม่ได้ประมูลเพื่อที่จะเอาความถี่อย่างเดียว แต่เขาต้องการช่วงความถี่ต่างๆ ที่จะทำให้สัญญาณนั้นไปถึงผู้ใช้ได้เร็วที่สุด (ต้องไปหาบทความอ่านลึกๆ) ส่วนเรื่องที่แบ่งสัญญาณเท่ากันผมว่ามันก็ยุติธรรมอยู่แล้ว ถ้าเขากำหนดไว้มากสุดให้ประมูลได้เจ้าละ 20 โดยความถี่ทั้งหมดคือ 45 ถ้ามี 2 เจ้าถือความถี่ 20 แน่นอนว่าจะต้องมีเจ้านึงที่ถือ 5 และด้วยจุดอ่อนตรงนี้จะทำให้เจ้าที่ได้ความถี่ 5 ไปก็จะไม่สามารถแข่งกับเจ้าอื่นได้อย่างเต็มที่ และในไม่ช้าก็จะเหลือ 2 เจ้าเท่านั้นที่อยู่ในตลาด และแน่นอน ถ้าทำให้ 3 เจ้านั้นมีคลื่นที่ยุติธรรมเท่าเทียมกัน และไปแข่งขันในตลาด ประโยชน์มันไม่ตกอยู่ที่ใครหรอกครับนอกจากประชาชน...
20-15-10
ถ้าแบ่งเป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เกิดการแข่งขันทางตลาดนะ ถ้าให้ผมมองประโยชน์จะเข้ารัฐมากกว่า
นั่นเป็นข้อแก้ตัวของ กสทช. ครับ วิธีในการออกแบบการประมูลมีตั้งมากมาย เช่น ออกกฏให้มีผู้ประมูลได้ความถึ่ 20 MHz รายเดียว แค่นี้ก็แก้ปัญหาคนที่ได้ 5 MHz ได้แล้ว หรือจะกำหนดไปเลย 20, 15, 10 Mhz ก็ได้ หรือจะใช้วิธี N-1 `ก่อนแล้วค่อยเปิดประมูลตามมาอีกรอบ ได้ทั้งนั้น
อีกอย่างไม่จำเป็นเลยครับที่ผู้ประกอบการต้องมีความถึ่เท่ากัน ธรรมชาติของธรุกิจมีรายใหญ่รายเล็กอยู่แล้ว เห็นได้จากปัจจุบัน AIS มีลูกค้ามากกว่า สองรายรวมกัน และเชื่อว่าแนวโน้มก็จะเป็นแบบนี้ต้อไปแม้ว่า ทั้ง สามรายจะได้ 15 MHz เท่ากัน
อีกประเด็นคลื่นไม่ได้มีแค่ 45 MHz นะครับปีหน้าก็จะมีคลื่นว่างให้ประมูลเพิ่มอีก สมมุติว่ามีรายที่ได้แค่ 5 MHz จริงก็สามารถไปประมูลในปีหน้าได้
ส่วนข้ออ้างของ กสทช. ที่บอกว่าไม่มีทางรู้ก่อนว่ามีผู้ผ่านเข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย ผมคิดว่าเป็นเหตผลที่ฟังไม่ขึ้น กสทช. ออกกฏตั้งใจให้เหลือผูประมูลเพียง 3 ราย เช่น ออกกฏห้ามต่างชาติเข้าร่วมประมูล กำหนดวันเปิดประมูลล่วงหน้าเพียงไม่น่าน รายใหม่ที่ไหนจะเตรียมประมูลทัน
อย่างที่บอกครับ ผมไม่ได้มองประโยชน์ของรัฐ ผมมองประโยชน์ของประชาชน การทำให้โอเปอเรเตอร์แข่งขันเป็นทางที่ดีที่สุด... อีกอย่างยิ่งแข่งขันประชาชนได้ประโยชน์ โอเปอเรเตอร์ได้ตังค์ แล้วตังค์ก็ย้อนไปหา กสทช. อยู่ดี... (ถ้าไปศึกษาสัญญาดูดีดีนะ)
ส่วนข้อกฏหมายอื่นผมไม่อาจรู้ได้ เพราะว่าปัญหา 3G มันเป็นปัญหานานเป็นปีๆ แล้ว การข้ามรัฐบาลแต่ละสมัย การแก้ข้อกฏหมายมันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ กสทช. เลย สู้นำมาให้ประชาชนใช้ก่อนจะดีกว่า
+1 กสทช.เป็นองค์กรอิสระไม่มีพันธกิจหลักในการหารายได้เข้ารัฐ แต่มีภาระผูกพันในการคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่จะตกแก่ประชาชน
A และ Dให้ข่าวก่อนประมูลนานแล้ว ว่าต้องการแค่15MHz ส่วนเงินที่เหลือจะเก็บไว้ประมูลคลื่นใหม่ทำ4G(คาดหมาย1800)
และค่ายT ก็ประกาศออกมาว่า10MHzไม่พอแก่การแข่งขัน ถ้าไม่ได้มากกว่านั้นก็ไม่เอาเลย ยอมทำคลื่น850อย่างเดียวต่อไป
คุณคิดว่าถ้าเขาจัด20-15-10 ผลจะออกมายังไง? ผมคาดเดาว่า อาจมีคนประมูลไม่ครบทุกslot กลายเป็นผูกขาดฮั้วประมูลอีกไหม?
N-1 ใช้ได้ผลก็เมื่อสองปีที่แล้วครับ ไม่ใช่ตอนนี้ เพราะมันล่าช้าเกินไป ให้มีแค่สองเจ้าเข้ามาก่อน จะทำให้ตลาดปั่นป่วนมาก และเกิดการผูกขาดกลายๆอยู่ดี
ถ้าให้อิสระที่สุด คือต้องเปิดให้เอกชนต่างชาติเข้าประมูลได้เต็มตัว อันนี้แหละ แข่งขันกันดุเดือดแน่นอน น่าเสียดายที่บางคนบอกคือการขายชาติ เลยต้องเลื่อนการเปิดเสรีไปปี2558นู่น
ส่วนเรื่องกสทช.ไม่รู้ว่ามี3ราย ผมว่าคุณตกข่าวนะ เพราะตอนแรกมีคนยื่นซอง4รายตะหาก แต่มาตกเกณฑ์ก่อนเปิดประมูลไปรายนึง เพราะหาหลักประกันเงินสดไม่ทัน และมันก็บ่งบอกเช่นกันว่า เอกชนในไทยที่มีศักยภาพพอจะประมูล มันก็มีเท่าที่เห็นนี่แหละ
ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่าไม่มีการฮั้วประมูลนะ
.. เพราะดูๆ ไปนี่ไม่น่าจะเรียกว่าประมูล แต่จะเรียกว่าเป็นการแบ่งเค้กมากกว่า บางคนเค้าเรียก ประเคน ด้วยซ้ำ 555 :->
ไอ้ที่เอกชนกับกสทช. ออกมาให้ข่าวนั่นมันก็ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสมประโยชน์ด้วยกัน เรื่องประเทศจะเสียประโยชน์มันก็จริง ไม่มีใครเถียงหรอก แต่หลายๆ คนเค้าไม่พอใจเพราะเหมือนรายใหญ่จับมือกับหน่วยราชการมัดมือชก แล้วยังเอาประชาชนเป็นตัวประกันอีก คนที่เค้าไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้..
ถ้าจะเรียกประเคน ต้องเรียกดีลสุดพิเศษCAT-TRUE 850 ที่รัฐไม่ได้เงินสักบาทครับ น่าแปลกนักวิชาการที่ต่อต้านการประมูล ไม่กล้าพูดถึงดีลนั้นกันสักคน
ส่วนเรื่องผลประโยชน์ของชาติ เอาอะไรมาวัด? ถ้านับที่ความเสียหายจากการล่าช้า มีงานวิจัยของนิด้า ว่าเราจะเสียหายวันละสองร้อยล้านนิดๆ ถ้ายังล่าช้าออกไปเรื่อยๆครับ เงินประมูลเป็นเงินเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับความเสียหาย ที่เกิดจากการล่าช้าไปสองปีกว่าๆแล้วนี่แหละ
ผมทราบครับมีผู้ยื่น 4 รายตก 1 ราย ประเด็นคือกฏของ กสทช. นั้นแหละทำให้รายนั้นหาพันธมิตรต่างประเทศไม่ได้ และให้ระยะเวลาไม่เพียงพอเลยหา bank guarantee ไม่ได้
ทาง กสทช. ออกกฎห้าม บริษัทต่างชาติ ที่ไม่ใช่ของไทย เข้าประมูล ครับ ทั้งที่ฝ่ายนั้นสนใจประมูลไงครับ จะอ้างไงดีครับ เผื่อผลประโยชน์ของชาติใช่ไหมครับ
เท่าที่ผมได้ยินมามันเป็นข้อกฏหมายนะ มันไม่ได้เป็นกฏที่ทาง กสทช. กำหนด โดยกฏหมายนี้จะช่วยรักษาประโยชน์ให้กับบริษัทภายในประเทศครับ...
+1 เมื่อกรรมการที่ตั้งขึ้นมาดันไปตั้งประเด็นตรวจสอบการเสนอราคาของเอกชน ผลมันก็ต้องออกมารูปนี้อยู่แล้ว เพราะของมันมีอยู่ 9 ชิ้น ให้ประมูลกันได้คนละ 3 ชิ้น ทั้งหมดเข้าประมูลแค่ 3 เจ้า จะเสนอราคายังไงก็ต้องได้เท่าๆ กัน แค่ยืนราคาต่ำสุดก็ได้ของแล้วมันจะไปผิดตรงไหน
ที่ถูกคือควรไปตรวจสอบหลักเกณฑ์การตั้งเงื่อนไขการประมูลของ กสทช. มากกว่า ซึ่ง กทค. ไม่มีทางทำอยู่แล้ว แถมกรรมการบางคนในคณะกรรมการตรวจสอบก็อยู่ในหน่วยงานหลักด้วย ตั้งกรรมการมาตรวจสอบแบบนี้อีกสามสี่ชุดยังไงก็ไม่ผิด.. เอวัง ประเทศไทย
หลักเกณฑ์ออกมาก่อนประมูลด้วยซ้ำ ทำไมไม่ตรวจสอบครับ ฟ้องศาลปกครองเลยก็ยังได้ถ้าเห็นว่าหลักเกณฑ์ไม่ถูกต้อง (ถ้าคุณเป็นผู้เสียหายโดยตรงอะนะ)
มาแทงหวยหลังหวยถูกอย่างนี้ไม่ต่างจากหมอฟันเฟิร์มเลย ทายผิดทำเงียบ ทายถูกเฮโลสารพา
คนที่ฟ้องระงับการประมูล 3G ผมว่าเขาก็ฟ้องก่อนที่จะมีการประมูล 3G เกิดขึ้นนะ
แต่ด้วยคนที่หิวกระหาย 3G ก็ออกมาต่อต้านว่า จะฟ้องไปทำไม? ปล่อยให้เขาประมูลก่อนค่อยฟ้องไม่ได้หรือไง? ไม่ก็ไม่ต้องฟ้องเลย เพราะมันทำให้ได้ 3G ล่าช้ากว่าชาวบ้านเขา
อีกอย่าง 3G ตอนนี้ก็ไม่ได้เดือนร้อนกันไม่ใช่รึ? เพราะปัจจุบันเราก็ใช้ 3G บน 2G กันอยู่แล้ว และพอโดน FUP ก็ดร็อปความเร็วลงมาที่ระดับ 60 - 384kbps กันอยู่ดีนี่... ถ้าเป็นก่อนหน้านั้น ที่ไม่มี 3G ใช้เลยยังพอว่า แต่นี่มี 3G ใช้แล้ว แต่ใช้บน 2G ผมคิดว่าถ้าให้รอดไปอีกหน่อยมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ เพื่อความโปร่งใส
แต่สุดท้ายกระแสสังคมเองนั่นแหละที่บอกว่าอยากให้มี 3G จริงเร็วๆ แต่พอออกมาผลออกมาแบบนี้ เสียงของแต่ละกลุ่มก็แตกไปคนละทิศคนละทางว่า ฮั้วไม่ฮั้ว? หรือ กสทช.ออกแบบมาให้แบ่งเค้กประเคน? ซึ่งผมคิดว่า การที่มีการแข่งขันกันประมูล มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่เอกชนจะต้องแข่งกันทั้งด้านการลงทุนและราคาที่จะบริการ ถ้าให้เท่ากันหมด ก็มีสิทธิ์ที่จะกำหนดราคาเดียวกันหมดอีกแหละ บลาๆๆๆๆ
3G บน 2G เดือดร้อนครับ เพราะ
FYI ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ศาลก็ไม่รับฟ้องด้วย เพราะความเสียหายยังไม่เกิด ตอนนี้ประมูลเสร็จแล้ว ไม่รู้ว่าความเสียหายเกิดหรือยัง
@HoLY CoMM@nDo
ใช่ครับ ฟ้องก่อนก็มี อย่างคุณสุริยะใสก็ฟ้อง แต่เมื่อศาลยังไม่สั่งระงับ รับไต่สวนฉุกเฺฉิก หรือสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทาง กสทช. ก็ต้องเดินหน้าต่อตามหลักเกณฑ์ครับ
คนฟ้องมีสิทธิฟ้อง คนต้านก็มีสิทธิต้าน ไม่แปลกอะไร ที่ผมข้องใจคือคนที่ออกมาโชว์ "เห็นมะ ว่าแล้วไม่มีผิด" อะไรพวกนี้ครับ แหม หวยออกแล้วแทงถูกกันใหญ่
การประมูล 3G เขาไม่ได้มาแข่งกันเร็วครับ (เร็วและถูกเป็นเรื่องดี แต่ในทางปฏิบัติมันทำได้ยากอยู่แล้ว บลอกนันเองก็มีบทความด้านเทคนิคมาให้อ่านครับ) แต่เป้าหมายคือการกระจายโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ ให้คนไทย (ในฐานะเจ้าของคลื่นตามอุดมคติ) ได้มีสิทธิ์ในการใช้คลื่นอย่างทั่วถึงครับ
เรื่องหิวกระหาย 3G นี่ไม่แปลกครับ ผมเห็นค่ายหนึ่งก็หิวจนไปทำสัญญาสีเทา แต่ทุกวันนี้ผมก็เห็นเหล่าคนดีที่ต้านประมูล 3G เงียบเฉย เห็นบอกว่าอยากให้ถูกต้อง แต่ค่ายสีเทาที่ทำเป็นเรื่องกลับเงียบ ตลกดีครับ
คุณเคยใช้ 3G ปัจจุบันจริงๆ จังๆ หรือเปล่าครับ ช่วงที่คนใช้พร้อมกันเยอะๆ แม้มันไม่ติด FUP มันก็ช้าจนแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
ตอนออกกฏก็มีคนท้วงตลอดแต่ กสทช. ก็ไม่ฟัง ส่วนเรื่องฟ้องร้อย ก็มีหลายหน่วยงานพยามฟ้องแต่การฟ้องต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง และยังไม่ได้ประมูลความเสียหายก็ยังไม่เกิดศาลก็ไม่รับฟ้อง
ปัญหาคือมันไม่มีวิธีทำให้ทุกคนถูกใจใด้นะครับ
ถ้าประมูลมาแพงเค้าก็จะบวกลงในค่าบริการเพราะไม่มีเจ้าใหนยอมขาดทุนอย่างแน่นอน ถ้าประมูลใด้แพงกว่านี้ 100 เท่า แต่เค้าเพิ่มราคาค่าไช้ 3G 100 เท่า คุณจะเอาไหมหละ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ใครไม่รู้ (จำไม่ได้) ศึกษามาแล้วว่าค่าใบอนุญาติไม่ทำให้แต่ละเจ้าต้นทุนเพิ่มจนต้องเก็บค่าบริการแพงขึ้น มันแค่จะทำให้กำไรลดลง แต่ในความเป็นจริงบริษัทไหนจะยอมให้กำไรลดลงล่ะ และผู้ถือหุ้นแต่ละบริษัทก็อยากให้บริษัทมีกำไรสูงสุดทั้งนั้น
ก่อนประมูลมันก็มีคนออกมาร้องนี่ครับ แต่กสทช./กทค. ไม่สน ผมเห็นท่านรองฯ ออกทีวีไม่เว้นแต่ละวัน มาอธิบายวิธีการประมูล สำทับว่าผู้เข้าประมูลจะแย่งช่วงความถี่ที่ดีที่สุด ทำเหมือนกับสามเจ้านี้มันจะแย่งกันกดใส่ราคายังงั้นแหละ พอผลออกมาแบบนี้ ปิดประมูลก่อนเวลาอีกต่างหากก็หน้าแตกสิครับ
คนส่วนน้อยในประเทศนี้ที่เขาไม่เห็นด้วย ทุกคนก็มีสิทธิ์วิจารณ์ เปิดใจรับฟังความเห็นคนที่มองต่างโลกมันจะได้กว้างขึ้น..
การแข่งขันตอนนี้มันไม่อยู่ตรงที่คลื่นความถี่ครับ ถ้าคุณไปศึกษาดีดี กสทช. จะบอกว่าใครที่ประมูลได้แพงสุดจะได้เลือก "ช่วงความถี่" ก่อน ซึ่งมันเหมือนถนนทำให้สัญญาณไปถึงอุปกรณ์ ช่วงความถี่แต่ละอย่างมันจะแตกต่างกันและมีผลต่อการลงเสาสัญญาณด้วย และใครหลายๆ คน ดูข่าวไม่เข้าใจ ดูแต่ว่าได้ 3 ใบเท่ากันจะประมูลไปทำไม เท่าที่ดูเจาะข่าวเด่นของสรยุทธมันก็สรุปมาหมดทุกข้อสงสัยแล้วครับ
ยาวๆ กันไปครับ
4:4:3 น่าจะเป็นสิ่งที่ลงตัวที่สุด ใครจ่ายน้อยสุด รับ 3 ไป
ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาเลยก็ประมูล
5:4:3
ช่วยอธิบายได้มั้ยครับว่าทำยังไง? เท่าที่ผมตามข่าวเค้าแบ่งเป็น 9 slot slot ละ 5 mhz 4:4:3 นี่เอาจากไหนมาอีก 2 slot หรือครับ? ยิ่ง 5:4:3 นี่ผมยิ่ง งง ใหญ่
ถ้ามี 12 Slot ก็พอทำได้ครับ
แต่มันมีแค่ 9 จะแบ่งยังไงให้ได้ 4 4 3
ไม่อย่างงั้นก็ต้องดึงความถี่ของ TOT ออกมาประมูล แต่ทำแบบนั้นเด๋วก็ล้มประมูลอีก
ดีที่สุด ต้อง unlock ให้ต่างชาติเข้ามาครับ
รับรอง แข่งกันสนุกแน่นอน
ปล. ใครห่วงความมั่นคง รบกวนไปดูรายชื่อบริษัทที่ให้บริการมือุถือในต่างประเทศก่อนนะ
ขนาด EE ค่ายใหญ่ uk ยังถือหุ้นโดย เยอรมัน กับ ฝรั่งเศสเลย
อันนี้ผมไม่เห็นด้วยนะ ผมคิดว่าใช่ว่าประเทศอื่นเค้าทำได้ ก็คงจะไม่เป็นไรถ้าเราจะทำบ้าง โดยขาดการศึกษาผลกระทบที่จะตามมา แต่ถ้าศึกษาก่อนให้ดีผมว่าก็โอเคครับ แต่ยังไงผมว่าให้บ้านเราทำกันเองแหละครับ ดีแล้ว
ยังไงบ้างครับ?
ทำไมถึงไม่เห็นด้วย?
กลับกันผมเห็นว่า เอกชนที่มีต่างชาติผสม กลับบริหารงานได้มีประสิทธิภาพกว่า เอกชนไทยๆล้วนเสียอีก
ดังจะเห็นผลประกอบการที่สองค่ายใหญ่ ผลประกอบการดี ผู้ใช้มากมาย ได้รับคำชมเยอะ แต่เจ้าไทย กลับมีแต่คนด่าแถมขาดทุนตลอด
การลงทุนด้านinfrastructureขนาดใหญ่ ต้องการเงินลงทุนและความรู้สูง จะมาคลั่งชาติแล้วยอมทนใช้ห่วยๆไป ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องนะ
เอาแค่วันยื่นซอง มีแค่สี่เจ้า แถมเจ้านึงไม่มีเงินมาค้ำประกัน ก็บ่งบอกศักยภาพของเอกชนในไทยแล้ว ว่ามันก็มีเท่าที่เห็นนั่นแหละ อยากได้มากกว่านี้ต้องเปิดเสรีครับ
ผู้ประกอบการในบ้านเราไม่มีรายใหม่เจ้าใหนมีเงินที่จะลงทุนระดับสองถึงสามหมื่นล้านครับ ถึงมีคนกล้ากู้ ธนาคารก็ไม่กล้าให้กู้ครับ แล้วต่างชาติที่มีเงินระดับนั้นก็ไม่มีใครกล้าเอามาให้คนอื่นดูแลหรอกครับ
ผมขออนุญาติตอบทั้งสามท่านใน 1 คอมเม้นนะครับ เพื่อเป็นการประหยัด :) Blognone สอนให้คนคิดเยอะ ๆ พูดน้อย ๆ :)
@khun lancaster
ผมคิดว่าบ้านเรายังไม่พร้อมที่จะยอมรับเรื่องนี้น่ะครับ ถ้าให้บริษัทต่างชาติ 100% มีสิทธิ์เข้ามาทำ อาจจะทำให้เกิดการโต้เถียงกันวุ่นวายน่ะครับ ผมไม่ค่อยชอบเห็นใครทะเลาะกัน
@khun Fourpoint
ขอเริ่มด้วยข้อความ Aggressive เช่นกันนะครับ "ทำไมผมต้องเห็นด้วย?" อาจจะฟังดูกวน ๆ นะครับแต่ผมคิดว่าหลายท่านคงจะเข้าใจ (Hints: คนเรามีสิทธิ์คิดต่างใช่หรือไม่ครับ?)
แต่จริง ๆ ผมคิดเช่นเดียวกันนะครับว่าต่างชาติจะบริหารงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า มีวิสัยทัศน์และเทคโนโลยีที่ดีกว่า แต่เหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วยเป็นเพราะผมอาจจะขาดความรู้ในส่วนอื่นน่ะครับ ไม่มีอะไรเลย ผมคิดแค่ว่ายังไงซะผมก็อยากให้คนไทยเจริญเติบโตและพัฒนาไปมากกว่ากว่านี้ซึ่งมันต้องอาศัยประสบการณ์น่ะครับ เพราะยังไงซะเราก็คนไทย ถ้าเราคิดแค่ว่าให้คนที่เค้าทำดีกว่าเข้ามาทำสิ เราแค่จ่ายเงินอย่างเดียว สักวันเงินเราก็ต้องหมดน่ะครับ ถึงแม้ชาติเราจะทำล้าหลังสู้คนอื่นไม่ได้ แต่ผมเชื่อว่ามันก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นน่ะครับ ผมเห็นประเทศที่พัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว ส่วนนึงก็เพราะไม่ยอมให้ต่างชาติมายึดอำนาจอะไรไว้ แต่จะพยายามดิ้นรนพัฒนาศากยภาพของตัวเองน่ะครับ
@Khun moojack
ก็จริงนะครับ คนไทยไม่มีเงินเยอะแยะมากมาย แบ้งก์ก็ไม่ให้กู้(แต่ลองคิดเหตุผลที่แบ้งก์ไม่ให้กู้ดี ๆ สิครับ อาจจะเพราะว่าให้กู้แล้วผลตอบแทนอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้ อย่าลืมนะครับคนต้องการใช้และมีเงินจ่ายค่า 3G ก็ยังกระจุกอยู่แค่กรุงเทพ ต่างจังหวัดเค้าจำเป็น แต่ศากยะภาพการจ่ายเงินเค้าอาจจะไม่มีก็ได้ครับ สรุปว่าแบ้งก์อาจจะตีว่าขาดทุนเลยไม่ปล่อยกู้ แล้วคิดว่าต่างชาติที่เข้ามาเพราะหวังกำไร จะพยายามพัฒนาระบบให้ใช้ได้ทั่วประเทศเพื่อบ้านเราหรือครับ หรือจะทำแค่เพราะหวังกำไรสูงสุด???)
แต่ถึงแม้ว่าเงินน้อย ทางออกก็ยังมีก็คือทำแบบค่อยเป็นค่อยไปได้นี่ครับ ^^
คือข้อกำหนดในการประมูลมันบอกเอาไว้ครับว่าต้องครอบคลุมพื้นที่เท่าไรในกี่ปี แล้วก็มีการเก็บเงินเข้ากองทุนกสทช ที่เปิดให้บุคลลภายนอกเอาเงินส่วนนี้ไปเป็นทุนวิจัยหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในที่ทุรกันดารด้วยครับ เงื่อนไขส่วนนี้ผมว่ากำหนดไว้ดีแล้วนะครับ คือถ้าไม่สามารถบังคับเอกชนเรื่องการทำกำไรได้ก็ล๊อคคอเอาเงินมาทำเองเลยดีกว่า
คือ เราก็ให้เอกชนไทยทำระบบสัมปทานมาเป็นยี่สิบปีแล้วไงครับ จนถึงตอนนี้มันเลยยุคล้าหลังคลั่งชาติไปแล้ว เทคโนโลยีและทุนเคลื่อนไหวถึงกันหมด อเมริกา อังกฤษ มีบ.โทรคมฯข้ามชาติกันทั้งนั้น ไม่เห็นมีใครว่าเขาขายชาติ หรือไม่เจริญ เหมือนที่คุณกลัวเลย?
และอย่างที่เห็นชัดเจน เอกชนเจ้าอื่นๆในไทย ไม่มีศักยภาพพอจะเข้าประมูลโครงข่ายราคาหลายหมื่นล้านนี้ได้ครับ มันก็มีแค่สามเจ้า(ที่สองเจ้าเป็นลูกครึ่งด้วยซ้ำ)
แล้วจะกีดกันต่อไปเรื่อยๆ ให้คนไทยดักดานต้องทนใช้ของห่วยๆ เพราะไม่มีใครมีศักยภาพมากกว่านี้ต่อไป?
จะมองผลประโยชน์ของชาติ ต้องมองภาพรวมครับ
สาเหตุที่ทะเลาะกัน มันก็มาจากการโหมกระแสคลั่งชาติ ให้คนรู้สึกหวาดกลัวการถูกครอบงำการสื่อสาร โดยกลุ่มทุนต่างชาติครับ ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไป มันเป็นแค่การหาเรื่องเท่านั้น จริงๆ ต่างชาติจะถือหุ้น 100% หรือ 49% เขาก็มีสิทธิ์ที่จะออกเสียง หรือทำอะไรไม่ให้เรารู้ได้เหมือนกัน (ถ้าเขาอยากจะทำ)
สิ่งที่คนทั่วไป ถูกทำให้กลัว คือการรั่วไหลของข้อมูล, การที่ต่างชาติเข้ามาหาประโยชน์บนทรัพย์สินของไทย? (ทั้งที่สุดท้ายคลื่นมันก็ไม่หายไปไหน แค่เปลี่ยนจากคนให้บริการจากไทยเป็นต่างชาติ) ทั้งที่ข้อแรกมันไม่น่ามีประเด็นอะไร ไม่ถ้ากลัวนัก ก็ปิดอินเตอร์เน็ตไปเลยดีกว่า ผมมองว่า ถ้ามันลับมาก ก็เข้ารหัสมันสิฟะ!!
ส่วนข้อหลัง ถ้ามองว่าการลงทุนจากต่างชาติมันไม่ดี ไม่ควร แล้วไอ้สารพัดโรงงานที่เราแทบจะกราบกรานไม่ยอมให้เขาหนีไปจากเมืองไทยตอนที่น้ำท่วม นั่นมันอะไร?
สรุปผมยังสงสัยจริงๆ ครับ ที่ว่า "บ้านเรายังไม่พร้อม" มันคือเรื่องไหน ในเมื่อสิ่งที่กลัวๆ กันมัน Myth ทั้งนั้น ที่เกิดจากการหาเรื่องของคนกลุ่มหนึ่ง แล้วก็มีบริษัทหนึ่งเอามาโหมให้เป็นกระแสเพิ่มไปอีก
ผมก็ไม่เห็นด้วยนะ เพราะ ถ้าบริษัทนั้นๆ ได้รับความเสียหายจากเศรษฐกิจโลก มันก็อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจในไทยด้วยครับ... สู้เราทำเอง รับความเสี่ยงเองดีกว่ามันคุมง่ายกว่ากันเยอะ
ทำเองก็โดนครับ ศก. เล็กๆ แบบไทย ต้านไม่อยู่หรอก
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อ้าวตอนนี้นึกว่ามีต่างชาติอยู่แล้ว 2 จาก 3 ซะอีก
เทมาเสก กับเทเลนอร์... o_0
ถ้าต่างชาติ 100% มาทำ ได้มีเดินขบวนประท้วงว่าขายชาติแน่ แค่ลูกครึ่งยังจะโดนฟ้องเลย
ใกล้ได้ใช้แล้ววว
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
อย่าลืมว่า กสทช มีหน้าที่ให้ทุกคนได้ใช้ความถี่อย่างเท่าเทียมด้วยนะครับ
เงินที่ได้จากการประมูลความถี่ คือผลประโยชน์อย่างนึงของชาติ
แต่การใช้ความถี่อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นผลประโยชน์อย่างนึงของชาติเช่นกัน
เงินมันพอจะหาเพิ่มได้
แต่ความถี่มันมีจำกัดนะครับ
ลองคิดดูว่าถ้าจะประมูลให้เกิดการแข่งขันจริงๆ ก็น่าจะเป็น 4:3:2 แล้วคนที่ใช้ค่ายที่ได้ 2 ไปเค้าจะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพหรือเปล่า
สุดท้ายแล้ว ผู้ให้บริการก็อยู่ไม่ได้ คนย้ายค่าย ก็จะเหลือแค่ 2 เจ้า ดีไม่ดี คนแห่ไปค่ายเดียว ผูกขาดก็จบเลย ถ้าเป็นแบบนี้ เราน่าจะเห็นอยู่แล้วว่าใครมีเงินพอจะได้ 4 Slot ไป
คนไทยส่วนใหญ่ยังคิดว่าผลประโยชน์ของชาติคือการได้เงินก้อนเยอะๆ หรือจ่ายเงินน้อยๆอยู่ครับ
เอาจริงๆไม่ใช่เฉพาะผลประโยชน์ของชาติ แต่ผลประโยชน์ส่วนตนก็ด้วย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1
+1 ยังมีหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมญี่ปุ่นให้คลื่นไปใช้โดยไม่ต้องประมูล
+1024
+1 อ่านโพสของท่าน McKay กับท่าน obnetarena ทำให้ผมนึกถึงคำพูดที่ว่า "ยาจะดีก็ต่อเมื่อมีคนกินมัน"
คุณค่าของเครื่องใช้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลขเงิน แต่อยู่ที่ว่ามันถูกนำไปสร้างคุณค่าอื่นๆได้ขนาดไหน
+3G
Give us ... THE GREEN LIGHT !!!
มีคนอยากให้การประมูลเป็นแบบ n-1 เพื่อที่จะให้ TrueMove ที่มีทุนน้อยที่สุด ไม่สามารถประมูลเพื่อใช้ 3G ได้ยังไงหละ
อีกนัยหนึ่ง เราประมูล 3G เป็นประเทศท้ายๆ จะให้ได้ราคาอู้ฟู่เท่าอินเดีย คงจะไม่ได้ เพราะที่อื่นเขาหันราคาความสนใจไป 4G LTE กันหมดแล้ว อีกอย่างบ้านเราไม่ได้มีรายได้ GDP ต่อหัวสูงเท่ายุโรป ที่จะประมูลสามจีแพงๆได้ เพราะแค่นี้เราก็กลายเป็นประเทศที่มีต้นทุนสามจีแพงที่สุดในอาเซียนแล้ว และเป็นรองแค่ได้หวัน อินเดีย สิงคโปร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็มีเศรษฐกิจสูงกว่าเรา และมีสามจีใช้ก่อนเราไปสิบปี
คลื่นที่ประมูลได้ไม่ได้ใช้กับ 3G ได้อย่างเดียวนะครับ เอาไปใช้กับเทคโนโลยีอะไรก็ได้ 4G 5G หรืออื่นๆ ระยะเวลาถือครองคลื่นถึง 15 ปี มูลค่ามันไม่ได้ลดลงเพราะเราเปิดประมูลช้า ราคาที่ประมูลได้มันไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเพราะมันไม่จำเป็นต้องประมูลเพิ่มราคาก็ได้คลื่นมาครอง
ส่วนเรื่องที่ว่า ไทยก็กลายเป็นประเทศที่มีต้นทุนสามจีแพงที่สุดในอาเซียน ที่ กสทช กล่าวอ้างก็เป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ลองดูบทความนี้ครับ
มูลค่าการประมูลคลื่น 3G ของไทยเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับ ตปท.?
อีกบทความที่น่าสนใจของคนแถวนี้ครับ
ปัญหาของการลดเพดานประมูลคลื่น 3G จาก 20MHz เหลือ 15MHz
ส่วนเรื่อง TrueMove ทุนน้อยสุด ลองดูกลุ่ม CP เทียบกัน Temasek กับ Telenor ดูครับ จะเป็นว่า CP ใหญ่กว่า Telenor Temasek ด้วยซ้ำ
เอาแต่ truemove สิครับ อย่าไปเอากงสี ผมเห็นขาดทุนอยู่ทุกปี
I need healing.
ขาดทุนเพราะแต่งตัวเลขครับ ถ้ามันขาดทุนแบบที่เหนจริงแล้วทำไมมันยังอยู่ได้ ...
Destination host unreachable!!!
แต่งตัวเลขนี่ผิดกฏหมายนะครับ และว่าเขาแต่งตัวเลขนี่ก็อาจถูกฟ้องนะครับ เสียวง่ะ
ขาดทุนทางบัญชีไม่จำเป็นต้องธุรกิจล้มเสมอไปครับ
... ถ้าเห็นแค่นั้น มันก็แค่นั้นครับ แต่สิ่งความเป็นจริงมันไม่ได้แค่เท่าที่ตาเห็น
กงสีมันก็ทำเพื่อย้ายตัวเลขในบัญชีแหละครับ เพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยลงและลดการเพ่งเล็ง
ปล.ผมไม่เคยเห็นนะบ.ที่บอกขาดทุนแต่ขยายการลงทุนเพิ่ม
ถ้าขาดทุนจริงต้องลดจำนวนพนักงานก่อนครับ..
รายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็ขาดทุกท่านครับ แต่ไม่ใช่ไม่มีเงินจ่าย เงินมีเยอะ แต่รับน้อยกว่าครับผมว่าเป็นแบบนั้นน่ะ และที่ขาดทุนน่าจะมาจากลงทุนซื้อฮัท และลงทุนระบบ 3G
วิธีประมูล มีวิธีประมูลอีกหลากหลายแบบเพื่อที่จะให้รัฐได้ผลประโยชน์ และคงสภาพการแข่งขันไว้ครับ ไม่จำเป็นต้อง n-1 ก็ได้
ถ้าจะบอกว่าแพงคงต้องไปดูในรายละเอียดครับว่าแพงไม่แพงยังไง แต่มูลค่าที่ จุฬาประเมิณก็เอาจาก GDP แล้วก็ผลย้อนหลังมาประเมิณอยู่แล้ว ถ้าจะไม่เชื่อราคากลางของจุฬา ก็ควรจ้างของที่อื่นมาทำ แล้วก็ทำตามเป้านั้นไป
ลองดูเรื่องตั้งราคานี้ดูครับ >> http://goo.gl/Y6ci5
คือประมูลน่าจะมีสองราคาเริ่มต้น ถ้ามีมากกว่าสามเจ้ามาประมูล ก็เริ่มที่ช่องละ 4500 แต่ถ้ามีแค่สามเจ้าหรือน้อยกว่ามาประมูล ก็เริ่มที่ช่องละ 6000 เป็นต้น
แบบนี้เกิดการแข่งขันแน่ถ้ามีสี่เจ้า และตรวจสอบง่ายถ้าทั้งสี่เจ้าจะฮั้วกัน เช่นราคาไม่ค่อยขยับ หรือมีบางเจ้าไม่สู้ราคาเลย ก็ดำเนินการตามกฎหมายหรือปรับเงินเจ้าที่เป็นนอมินีซัก 5000 ล้าน ให้เข็ดหลาบ
และถ้ามีแค่สามเจ้า รัฐก็ไม่สูญเสียรายได้จากการไม่เกิดการแข่งขันประมูล
มันก็ก้ำกึ่งกัน ถ้าอยากได้เงินมาก ก็ประมูลแบบมีผู้เสียเปรียบได้เงินมากแต่สุดท้ายไม่มีการแข่งขันในตลาด
สินค้าและบริการก็ราคาแพงขึ้น สรุปมันก็คือการเก็บภาษีแบบหนึ่งเก็บมากเก็บน้อยขึ้นกับรัฐต้องการเพิ่มภาษีหรือต้องการส่งเสริมโดยการลดภาษี
การตั้งราคาขึ้นอยู่กับสัดส่วนการแข่งขันการประมูลครับ http://goo.gl/Y6ci5 ลองฟังดูครับ
อยากให้แข่งขันแบบ N-1 นะ แต่ถึงอย่างนั้น AIS อาจชนะ โดยที่ TM ไม่สามารถประมูลได้ และอาจจะโดนสอบเรื่องกีดกัน เรื่องเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องอีก เฮ่อออ
ไม่แน่นะ เพราะ A มีสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาล D มีสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายค้าน ส่วน T ยังขาดทุนอยู่เลยและมีคลื่น 3G 850 ราคาโคตรถูกสำรองอยู่ ดูลงตัวดีออก
T อาจจะเริ่มมีกำไรเพราะต้นทุน 3G ถูกกว่าทุกเจ้า
การที่ทุกเจ้าได้คลื่นความถี่เท่ากันหมด มันจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาได้อย่างไรน้อ
พอได้เท่ากันหมดก็กำหนดราคาเท่ากันหมด แต่ถ้ามีการแข่งขัน ก็จะมีการกำหนดราคาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตรงนี้ ก็จะเริ่มมีการแข่งขันกันทางอื่นแล้ว และเผลอๆ ราคาจะลงเร็วกว่าปกติด้วย
กสทช.ออกแบบการประมูลมาแบบนี้ มันไม่มีการฮั้วประมูลหรอก แต่ตกลงกันแบ่งเรียบร้อยเสร็จสรรพเลย ถ้า กสทช.ออกแบบแบบอื่นมา มันก็จะมีการแข่งขันเรื่องการลงเงินประมูลกันเอง
อะไรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ทุกเจ้าต้องกำหนดราคาเท่ากันหมดเพราะได้คลื่นเท่ากันหมดครับ?
การแข่งขันกันดึงดูดให้คนมาใช้บริการ ก็คือการแข่งขันที่จะทำให้ราคาต่างกันด้วยนะครับ ไม่ใช่แข่งขันกันประมูลเพื่อเอาช่วงคลื่นที่เยอะอย่างเดียว
คุณอาจจะคิดว่าแต่ละเจ้าก็ตกลงราคากันเองไปเลย เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกแค่นี้
แต่ในความเป็นจริง แต่ละเจ้าต่างก็อยากได้ลูกค้ามากกว่า ก็ต้องพยายามลดราคาให้ถูกลง หรือเพิ่มคุณภาพบริการ เพื่อดึงดูดลูกค้า และนั่นคือการแข่งขันที่เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค และราคาถูกลง
และถึงแม้ราคาในบิลจะเท่ากัน แต่ถ้าคุณภาพของบริการหลังการขายต่างกันก็ไม่เรียกว่าราคาเท่ากันนะครับ
ในทางตรงข้ามการกำหนดให้แต่ละเจ้าได้คลื่นความถี่ไม่เท่ากัน จะเกิดกรณีว่ารายที่มีคลื่นน้อยมีความสามารถให้บริการคนได้น้อย ผมสมมุติว่า10%ของคนในพื้นที่ละกัน กรณีแบบนี้แหละที่รายใหญ่สบายไม่ต้องแข่งขันราคา ตั้งไว้แพงๆได้ ยังไงคนก็ต้องมาใช้เพราะใช้ของรายเล็กแล้วเกิดปัญหาการใช้งาน
การมี Infrastructure ที่ดีและ capability ที่เพียงพอที่จะรองรับรับคนได้มากกว่า ย่อมทำให้เกิดการแข่งทางราคามากกว่าอยู่แล้วครับ
ยกตัวอย่าง หากระบบคุณรองรับคนได้เพียง 1000 คน และปัจจุบันคุณมียอดผู้ใช้เกิน 1000 คุณคิดว่าคุณควรจะลดราคาลงมาแข่งขันหรือไม่ครับ
ในขณะเดียวกัน หากระบบคุณรองรับคนได้ 3000 คน และยอดผู้ใช้ปัจจุบันอยู่ที่ 1000 คน คุณคิดว่าควรจะดึงดูดผู้ใช้ใหม่หรือไม่อย่างไรครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ซึ้งเลย T^T ข่าวก่อนมีแต่คนด่านู้นนี่ มาวันนี้เพื่อนๆมีความรู้ความเข้าใจแล้ว
อาจเพราะคนด่าเริ่มเบื่อแล้วก็ได้ ๕๕๕
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขอสรุป FAQ ที่โดนถามบ่อยๆนะครับ
1.ราคาต่ำเกินไป ตอบ ถ้าราคาสูงเกิน True สู้ไม่ได้, รายเล็กที่เข้ามาศักยภาพไม่พอ (แปรผันตามเงินที่มี), 3G มันมีมานานมากแล้วราคาก็ตก ไม่งั้นก็ไปเอา 4G ดีกว่า, แก้ได้โดยการมาเก็บค่านู้นนี่ทีหลัง
2.มี 3 Slots พอดีคน ตอบ ขอถามกลับว่า ถ้าผมเปิดประมูลของใน eBay 3 ชิ้น มีคนมาประมูลที่ราคาต่ำสุดชิ้นละ 1 คนนี่ผิดมั้ย?
3.ทำไมให้สูงสุดแค่ 15 ไม่ใช่ 20 ตอบ เพื่อให้ไม่มีโอกาศที่จะเกิดเหตุการณ์ 20-20-5 เพราะ 5 MHz มันไม่เพียงพอ มีผลกับคุณภาพ?
4.3G ไม่เห็นจะจำเป็น ตอบ ..... =_="
อีกอย่างนึงครับ... ถึงแม้ว่าจะมีคลื่นความถี่เท่ากัน แต่การแข่งขันอยู่ตรงช่วงความถี่ ถ้าประมูลได้ราคาเยอะสุดก็จะได้เลือกช่วงคลื่นความถี่ก่อน... (ช่วงความถี่นั้นมีผลต่อสัญญาณที่จะส่งไปยังมือถือของผู้ใช้ด้วย ฉะนั้นมันจึงเป็นการแข่งขันที่แท้จริง ต่างจากที่ทุกคนมองไปที่คลื่นความถี่)
3 นี่มันดูแถๆ ครับ มันสามารถกำหนดแบบ ห้ามมี 20 มากกว่า 1 ราย เป็นต้น
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ทุกอย่างมันมีทั้งถูกต้องกับตามใจครับ การประมูลก็เช่นกัน
การกำหนดอย่างที่คุณว่า นอกจากจะเป็นการเอื้อให้เอกชนรายใดรายหนึ่งแล้ว ยังเป็นที่กังขาต่อสายตาประชาชนคนอื่น และประเทศอื่นด้วยครับ
สุดท้าย AIS ได้ 20 ไป ก็จะมีคนมาบอกอีกว่า กสทช ขายชาติ (และแน่นอนว่า โดยบุคคลกลุ่มเดิมนี่แหละ)
ถามว่าความพึงพอใจของคนเราอยู่ที่ไหนกันครับ ส่วนเรื่องราคาประมูลที่ไม่ได้ตามเป้า หากเคยประมูลอะไรซักอย่างแบบขายออกจะรู้ดีครับว่าการประมูลมันเป็นสิ่งไม่แน่ไม่นอน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+infinity
ตรงกับที่ผมคิดไว้หมดเลย แต่ผมถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรสั้นๆกระชับได้ใจความแบบคุณ McKay ไม่ได้
อยากจะ +1 รัวๆ ให้คุณ McKay จริงๆ ครับ แบบนี้แหละตรับที่คิดไว้...
Dream high, work hard.
ตามคุณ McKay นี่เลยครับ ขยายความสุดๆ ใครจะมาถามอีก ก๊อปไปแปะ (ให้ credit พี่เค้าด้วย) ตอบได้หมด 555+
ก็ดีแล้วครับ เพราะตามหลักการประมูล 3G ราคา หรือรายได้จะเข้าไปสู่ กสทช. มากน้อยแค่ไหนก็ย่อมเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดราคา หรือความสามารถในการบริการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของผู้ให้บริการ หากเช่นว่า เมื่อ ผู้ให้บริการประมูลด้วยเม็ดเงินสูงๆ ตามที่หลายท่านอาจจะเข้าว่า เงินจะเข้าประเทศจำนวนมาก(แล้วเข้าใครเอาไปทำอะไรต่อท่านคิดหรือปล่าวครับ บางที่อาจจะไม่ถึงท้องพระคลัง ฮ๋าๆๆ) แต่นั่นก็เป็นเหตุผลให้ผู้ประกอบการกำหนดราคาของการบริการบนคลื่อ 3G ได้สูงขึ้น ผมว่าประเด็นหลักเรามาดูดีกว่า ว่าที่เค้าประมูลไปในราคาต่ำนั่น ราคาการให้บริการแก่เราผู้ใช้บริการจะได้เป็นอย่างไร หลังจากได้ใช้งานจริงค่อยทักท้วงจะไม่ดีกว่าหรือครับ
การประมูลเป็นไปเพื่อขอช่องให้บริการแก่ผูุ้ใช้บริการ และหากได้รับการประมุูลอย่างถูกต้องแล้ว ก็ยังจะสามารถพัฒนาคลื่นของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องรอการพิจารณาจาก กสทช. เพื่อการแข่งขันต่อไปในอนาคต สรุปแล้วผลประโยชน์เราควรมองที่เรามากกว่า เพราะเราประชาชน
เงินที่เค้าประมูลวิ่งเข้ารัฐ(มากกว่าประเทศ) เราควรจะได้ประโยชน์มากๆในส่วนนี้ เพราะบางคนเค้าจน(อย่างผม) ก็ต้องการเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตในหลายๆด้าน อย่าลืมนะครับ ตอนนี้ลาวไป 4G แล้ว เราเอง(ประเทศไทย) ก็เสียเวลากับการจัดสรรค์การแบ่งช่องแบนด์วิดธ์นี้มานานมาก (ก็ตั้งแต่ 6 ปีก่อน เพราะผมติดตามมาตลอด) อย่าภูมิใจในตัวเองให้มากนักที่ใช้เทคโนโลยีอย่างไดโนเสาร์ แต่ความถูกต้องคือการได้กำไรเพียงบางส่วนของกลุ่มบุคคล ประเทศไทยเราได้บริโภคหลายตัวบริการที่ถูกกว่าหลายๆประเทศแล้วทำไมถึง มาเถียงกันเพราะสิ่งเหล่านี้
ยังไงผมก็ยังเชื่อว่าสุดท้ายแล้วเงินรายได้บางส่วนของผู้ให้บริการก็ยังจะเข้าไปสู่ส่วนกลางอยู่ดี เพราะประเทศไทยเรามักผูกมัดด้วยวิธีการต่างๆมากมายอยู่แล้ว จริงๆแค่เค้าเสียภาษีก็สนุกแล้วนะค่าใช้จ่าย หึๆ
ผมคิดว่า ถ้าประมูล 3G แบบนี้ได้ คือของพอดีคน
การประมูลต่อ ๆ ไปก็จะเป็นบรรทัดฐานแบบนี้ เพราะเคยทำได้ และไม่ผิด
ถามว่าเราอยากให้เป็นแบบนี้หรือไม่ ?
การประมูลมันก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้วนิครับ?
ผมเข้าใจว่า เวลาหน่วยงานรัฐมีการประมูล ก็จะมีการกำหนดหนดสเปคเพื่อจำกัดผู้เข้าประมูลหรือแทบจะระบุสเปคสินค้าที่มีผู้จำหน่ายเพียงไม่กี่เจ้า
แต่ละบริษัทที่เข้าประมูลก็จะต้องมีคู่เทียบซึ่งตามหลักควรจะต้องเป็นคู่แข่ง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่มีคู่แข่ง หรือคู่แข่งน้อยและสู้เราไม่ได้ (เนื่องจากสเปคระบุมาเข้าข้างเรา) เราก็จะตั้งบริษัทนอมินีเข้ามาเป็นคู่เทียบเพื่อให้ครบองค์ประกอบในการประมูล และเราก็ชนะการประมูลในที่สุด ในราคาที่เราและรัฐพอใจทั้งคู่
ถ้าจะแก้จริงๆ รัฐต้องระบุสเปคให้เป็นธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้มีผู้เข้าร่วมประมูลเยอะๆ และมีการตวรจสอบลงโทษบริษัทนอมินีต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจังด้วย
คุณรู้ได้ไงครับว่าของมันพอดีคน ?
ไม่ใช่เพราะราคามันสูงเกินไป จนทำไหวแค่ 3 เจ้าหรอครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
แก้ไขกฏจนเหลือแค่ 3 เจ้าครับ..
จริงๆผมไม่มีปัญหาหรอกนะเรื่องราคาประมูลแจกฟรีไปเลยก็ได้ แต่ปัญหามันอยู่ที่พอได้ไปแล้วมันก็เอาไปจับมือฮั้วกันมากกว่าผมประโยชน์ก็ตกอยู่กับเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่มอยู่ดี จะจัดประมูลทำไมให้เปลืองงบแล้วเสียเวลา..
ปล.บางทีก็รู้สึกว่า คนดี/คนเก่ง อยู่ในประเทศไม่ได้เพราะประเทศไม่ต้องการ คนดี/คนเก่ง แต่ต้องการคนที่ดีแต่สร้างภาพเก่ง
ที่มาที่ไปยังไงบ้างครับ แก้ข้อไหนเป็นอะไรบ้างอะครับ สรุปคร่าวๆก็ได้ครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
เรื่องแก้ไขสัญญายังไม่พบนะ เกิดจากการเข้าใจผิดไปเอง
เจอแค่เรื่องที่มันแปลกๆแค่นี้
พยายามกีดกันรายอื่น
ปรับปรุงการกีดกัน
ความพยายามแก้ไขสัญญาให้เกิดช่องโหว่
ขออภัย ที่ดันออกตัวแรงไปหน่อย
ผมเข้าใจว่า การประมูลคลื่นอื่นๆ ของ กสทช. ก็จะมีการกำหนดกติกา และออกประกาศเป็นรายครั้งไปนะครับ ซึ่งรายละเอียดก็คงแตกต่างกันไปตามบริบทขณะนั้น
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ถ้าล้ม 3G ได้ มีสองค่ายที่เดือดร้อน แต่หนึ่งในสองจะเดือดร้อนมาก เพราะสัมประทานจะหมดแล้ว
ส่วนอีกค่ายเขาไม่เดือดร้อนอะไรเพราะคู่แข่งไม่มี เพราะคู่แข่งสภาพย่ำแย่ Data ก้อแย่ Voice ก้อแย่เพราะแบ่งคลื่นมาทำ
ถ้าล้มได้ 3G ได้ จะสามารถฟ้องได้ไม๊ว่า การล้ม 3G นั้นเปนการเอื้อผลประโยชน์ให้เอกชน เพียงรายใดรายหนึ่ง
Destination host unreachable!!!
เราคงต้องได้กลับไปยุคขอ sim ต้องจ่ายใต้โต๊ะเหมือนเมื่อก่อนแล้วมั้ง
I need healing.
เคลียร์ๆกันไป ดูมุมไหนก็ไม่มีฮั้ว
มองในแง่ดี กสทช อยากให้คนไทยได้ใช้ 3G เท่าเทียม มองในแง่ร้าน คือ กินกันใต้โต๊ะ มีแค่นี้เอง ผมอยากเป็นนักวิชาการมั่งอะต้องทำไง เห็นพูดไร มีแต่คนเชื่อ ^^''
จริงเรอะ! ทำไมผมไม่เคยเชื่อ ฮ่า ฮ่า ฮ่า