ที่การประชุม WCIT มาถึงช่วงสุดท้าย แต่ประเด็นหลักของงานคือการสร้างข้อตกลง ITU-R ฉบับใหม่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยผู้แทนที่เปิดเผยตัวว่าจะไม่ยอมลงนามแล้วได้แก่ สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, และประเทศอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ประกาศว่าจะไม่ยอมลงนามหากไม่มีการแก้ไขร่างสนธิสัญญากันใหม่
นอกจากประเทศที่ระบุว่าจะไม่ยอมลงนามแล้ว ยังมีประเทศจำนวนหนึ่งสงวนสิทธิ์ไว้โดยจะนำร่างไปปรึกษารัฐบาลของตนเสียก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลงนามหรือไม่ในวันสุดท้าย เช่น ญี่ปุ่น, ลัตเวีย, และเอสโตเนีย โดยการประชุม WCIT มีกำหนดการว่าจะลงนามกันตอนสองทุ่มครึ่งวันนี้ตามเวลาไทย
ด้วยท่าทีเช่นนี้ในวันเกือบสุดท้ายก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีข้อตกลงอะไรออกมาจากการประชุมครั้งนี้อย่างจริงจัง ยกเว้นว่าจะมีการถอดเนื้อหาส่วนที่มีความขัดแย้งกันอยู่จำนวนมากออกไปก่อน
ฝั่งที่สนับสนุนร่างฉบับปัจจุบันนำโดยจีนและรัสเซีย แสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของประเทศกลุ่มที่ระบุว่าจะไม่ยอมลงนาม รัสเซียนั้นถึงกับระบุว่าท่าที่เช่นนี้อาจจะทำให้อนาคตมีอินเทอร์เน็ตที่แตกเป็นส่วนๆ (fragmented) และจะไม่มีผลดีต่อใครเลย ส่วนผู้แทนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระบุว่าเหมือนถูกทรยศเพราะยอมกลุ่มสหรัฐฯ ที่จะยกเนื้อหาในส่วนของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนไม่บังคับ (non-binding) แยกจากสนธิสัญญาหลักแล้ว
ปัญหาของ ITU ที่ถูกต่อต้านเพราะการทำงานที่เป็นรูปแบบการตัดสินใจจากรัฐ และสร้างข้อตกลงกันภายในมากกว่าการตกลงกันอย่างเปิดเผยเหมือนหน่วยงานควบคุมอินเทอร์เน็ต เช่น IETF หรือ ICANN ที่ผ่านมามาตรฐานต่างๆ การตัดสินใจโดยรัฐนั้นทำให้กระบวนการออกแบบโปรโตคอลต่างๆ มีความต้องการแปลกๆ เช่น UMTS หรือโปรโตคอล 3G นั้นมีความต้องการให้รัฐสามารถดักฟังการสื่อสารได้ด้วยในตัวโปรโตคอล ขณะที่ระบบการออกแบบโปรโตคอลต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการทางวิศวกรรมเป็นหลัก ทำให้โปรโตคอลใหม่ๆ เช่น DNSSEC, HSTS ยิ่งทำให้การสื่อสารถูกดักฟังและควบคุมโดยรัฐได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา - ArsTechnica, C|net, Reuters
Comments
ถ้าล่มนี่ดีหรือไม่ดีกับเราครับ?
สรุปประเด็นแบบสั้นๆ
•ประเทศไทยจะต้องเสนอจุดยืนผ่าน APT (Asia Pacific Telecomminity องค์กรลูกของ ITU โซนเอเชียแปซิฟิก)
ที่เป็นข่าวดัง pay-per-click
ความเห็นส่วนตัว สำหรับไทยเรา
ผมว่า ถ้าว่าตามฝั่งทางพันธ์มิตร เราต้องเลือกอยู่ฝั่งอเมริกา ยุโรปอยู่แล้ว
แต่ว่าถ้าดูตามนโยบายการควบคุมอินเตอร์เน็ตของไทยเราแล้ว เราน่าจะอยากเห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปควบคุมอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเราน่าจะอยากจะอยู่ฝั่งจีน รัสเซีย
ขอบคุณครับ
"รัสเซียนั้นถึงกับระบุว่าท่าที่เช่นนี้อาจจะทำให้อนาคตมีอินเทอร์เน็ตที่แตกเป็นส่วนๆ (fragmented) และจะไม่มีผลดีต่อใครเลย"
ข้อความนี้อ่านแล้วรู้สึกออกแนวเห็นแก่ตัวเล็กๆ แปลว่าการลงนามข้อตกลงทุกชาติต้องเห็นด้วยตรงกันหมด? ถ้าจะไม่เป็นผลดีก็คงจะมาจากประเทศที่แตกตัวออกไป มากกว่าเหตุผลที่ว่าประเทศส่วนใหญ่ไม่ยอมลงนามร่างสนธิสัญญาที่ขัดแย้ง
เหรียญมีสองด้านครับ ถ้าคิดกลับกันก็จะได้แบบเดียวกัน มันไม่เหมือนคนในประเทศเดียวกัน แต่เป็นเรื่องของระหว่างประเทศ ที่มีสิทธิ์เท่าเทียมกันไม่ได้เอาส่วนใหญ่ ถ้าประเทศไหนไม่ยอมรับก็แยกออกแค่นั้น ที่เขาบอกว่า "ไม่มีผลดีต่อใครเลย" ก็เป็นคำพูดที่ถูกต้องและก็แค่พูดออกมาแค่นั้น นอกจากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ย่อมอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ อย่างที่บอกเหรียญมีสองด้านครับไม่มีใครถูกผิดทุกคนต่างย่อมต้องเอาประโยชน์ของประเทศหรือของตนเป็นที่ตั้งฉะนั้นทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว มันก็เหมือนธุรกิจถ้าข้อตกลงไม่สามารถทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายพอใจได้ก็ยกเลิกต่างฝ่ายต่างไปจบข่าวครับ เหรียญมีสองด้าน
อนาคต Internet คงไม่เสรี เหมือนปัจจุบัน ทำอะไรรัฐบาล ของประเทศใหญ่ๆ ก็ล้วงลูกได้หมด
Texion Business Solutions
"เสรี" ของ Internet ในปัจจุบันกับอนาคต จะต่างกันอย่างไร ?
แม้ ITR จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการดักฟัง รัฐบาลของหลายๆ ประเทศก็ล้วงลูกได้อยู่แล้ว (แล้วเหมือน ITR ก้อไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการดักฟังอยู่ด้วย เพียงแต่ยกเอาเรื่องจากที่อื่นมาพูดไว้ด้วยกันเฉยๆ .. ซึ่งนโยบายและกฎหมายรวมถึงแนวทางการบังคับใช้ของบางชาติที่คัดค้าน ITR นั้น เผลอๆ เมื่อเทียบแล้วอาจหนักข้อกว่าแนวทางของ ITU ซะอีก เพียงแต่ไม่ได้ยกเอาเรื่องเหล่านั้นมาพูดไว้ด้วยกัน)
ไม่ได้คัดค้านเรื่องเนตเสรีนะ สนับสนุนเรื่องเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลอย่างเสมอภาคเช่นกัน.. แต่ก้อต้องหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้รอบด้านด้วย จะได้ไม่เผลอถูกใครชักนำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน
คือผมว่ามันก็เป็นเหมือนจุดยืนเพื่อต่อต้านอ่ะครับ
เพราะถ้าคิดว่าทุกวันนี้มันไม่เสรีนั้น ถ้า ITR ผ่านไปมันก็เหมือนยิ่งจะทำให้ล้วงลูกกันอย่างภาคภูมิมากขึ้น(รึเปล่า)
ความต้องการของรัฐ - สามารถดักฟังการสื่อสารได้ด้วยในตัวโปรโตคอล
ฝั่งที่สนับสนุนร่างฉบับปัจจุบันนำโดยจีนและรัสเซีย - อยากดักฟังคนอื่น
อเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอื่นๆ ไม่ยอมลงนาม - ความลับเยอะ UFO Area51 บลาๆๆ ต้องปกปิด
ผมว่า ต่อให้ลงนาม การปิดกั้นก้ ยังเกิดนะ
ผมว่ามันจะหนักข้อขึ้นถ้าลงนามนะ
อย่างที่บอกครับ ว่ามันจะไปอยู่ในระดับ 'protocol' อย่างพวกระบบรักษาความปลอดภัย SSL, DNSSEC ที่ต้องมาคำนึงถึงความต้องการของรัฐ อะไรแบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าทำให้ระบบมันดักฟังกันได้ รัฐบาลคงได้ดักฟังกันเองด้วยขัดแย้งกันหนักกว่าเดิมอีก
ความคิดของผมนะ อินเตอร์เน็ตเนี่ย ตอนที่สร้างขึ้นมามันก็มีจุดประสงค์ให้คนทั้งโลกใช้อยู่แล้วหนิครับ แล้วก็ไม่ควรให้ใครกำหนด หรือบังคับอยู่แล้ว เพราะเป็นของสาธารณะสำหรับทุกๆ คนที่ใช้มัน แต่รัฐบาล หรือไม่ก็กลุ่มคนก็เอาแต่จะพยายามจำกัดไปซะทั้งหมด ไม่อยากให้เราใช้หรือไง กลัวเราถล่มประเทศคนอื่นหรือไง กลัวคนในครอบครัวตายหรือไง รำคาญครับ สงสัยว่ารัฐบาลอยากจะสอดรู้สอดเห็น หรือไม่ก็หาเรื่องกันระดับชาติเป็นแน่แท้
เพราะแบบนี้แหละ ถึงว่าโลกของเราก็ไม่สงบสักที มีแต่ดราม่า ทะเลากันเอง แบ่งฝ่ายกันไป พูดกันเข้าไปก็ไม่มีวันพัฒนา เบื่อจริงๆ นานๆวัน โลกเราชักจะเริ่มเหมือนเผด็จการมากขึ้นไปอีกทีละนิดแล้วแฮะ......
ปล. ผมแค่อยากระบาย อย่าได้ซีเรียสครับ และไม่ต้องดราม่าครับ เดี๋ยวมันจะยาว.....
Get ready to work from now on.
คุณอยากระบาย เลยระบาย แต่ไม่ให้คนอื่นระบาย กลัวดราม่า?
ผมก็แค่ออกความเห็น ระบายออกมาเท่านั้นเองครับ แต่ผมก็เปิดให้ออกความเห็นได้ครับ ต้องขอโทษด้วยที่ผมพิมพ์ไม่เคลียร์เองครับ
Get ready to work from now on.
ดีแล้วครับที่ระบาย เพราะเดิมทีอินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนของทหารเค้า
ไม่เชิงซะทีเดียวครับ DARPA ให้เงินแต่หน่วยงานส่วนมากเป็นหน่วยงานวิจัยพลเรือน
แบบเดียวกับการแข่งรถที่ขับด้วยตัวเองทุกวันนี้ (คันที่กูเกิลทำอยู่) การแข่งขันและเงินสนับสนุนก็มาจาก DARPA แต่ในความเป็นจริงการแข่งมันเปิดพอสมควร อาจารย์มหาวิทยาลัยจับกลุ่มแข่งกันได้ เอกชนเข้าไปเป็นสปอนเซอร์บางกลุ่มก็ได้ แต่ในเวลาเดียวกันบริษัทขายอาวุธก็มาโชว์เทคโนโลยีด้วย (บางครั้งก็แพ้พลเรือน)
lewcpe.com, @wasonliw
ขอแก้คำนิดนึงครับ
ย่อหน้าที่ 4
"สหรัฐฯ อาหรับเอมิเรตส์" ไม่มี "ฯ" ครับ
ประเทศที่อยากคุมก็นะ ขึ้นชื่ออยู่แล้ว
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ถ้าต้องแตกจริงของอยู่ฝั่งที่มันมีเสรีหน่อยแล้วกัน
รัสเซียก็อยากกลับไปเป็นโซเวียตนะ
มันฟังดูจะออกแนว 'ระบอบเผด็จการ'