Wikipedia ถอดบทความทั้งหน้าที่มีชื่อว่า Bicholim Conflict (ตอนนี้อยู่ในสถานะ Deleted แล้ว) หลังจากที่บทความนี้อยู่ใน Wikipedia และหลอกผู้คนมาได้ถึง 5 ปี
บทความนี้กล่าวถึงสงครามของโปรตุเกสกับอินเดีย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นบทความจำนวนกว่า 4,500 คำ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาสวยหรู (เป็นหนังสือที่ไม่มีอยู่จริง) นี้ยังเคยได้รับการโหวตให้เป็นบทความในระดับดีของ Wikipedia อีกด้วย
ดังนั้นจงระวังหากคุณจะใช้ Wikipedia เป็นที่มาของข้อมูล! คุณอาจจะกำลังสร้างประวัติศาสตร์ของสงครามทั้งๆ ที่มันไม่เคยเกิดขึ้นมาเลยแม้แต่นิดก็ได้
ที่มา:
Wikipedia, MailOnline, DailyDot via The Verge
Comments
เป็นตัวอย่างที่ดี ที่แสดงว่า wikipedia ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิง
นานาจิตตังครับ อย่าว่าแต่ wikipedia เลย ขนาดหนังสือวิชาเดียวกันคนละอาจารย์ยังเขียนไม่เหมือนกันเลยครับ
ไม่จิตตังอ่ะครับ จริงจังครับ ไม่อย่างนั้นเขาจะเขียนวารสารวิชาการทำไมล่ะครับ รีวิวตั้งกี่ครั้งกว่าจะผ่าน
ส่วนหนังสือที่เขียนไม่เหมือนกันก็ดูคนเขียนเอาครับ แล้วก็คิดตามไปด้วย ถึงแม้จะเป็นไอน์สไตน์มาเขียนก็ไม่แน่ว่าจะใช่ **เพราะธรรมชาติไม่มีบทสรุปครับ ไม่มีเฉลย คนเราก็แค่ค้นพบเครื่องมือ ค้นพบความรู้ แล้วบังเอิญมันใช้ได้กับโจทย์ที่เราสนใจขณะนั้น ก็เท่านั้นเอง พอโจทย์กว้างออกไปหรือลึกลงไปเครื่องมือหรือความรู้เดิมอาจจะใช้ไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีการใหม่ๆ ไม่มีใครรู้จริงสมบูรณ์หรอกครับ
ครั้งแรกที่เขียนรายงาน ใช้บรรณานุกรม เป็น วิกิ อาจารย์แกโมโหมาก แกบอกว่าห้ามเด็ดขาด เพราะเป็นสารานุกรมเสรี
ถ้าไม่เคยพูดมาก่อนก็ไม่ควรโมโหนะ
มหาวิทยาลัยหลายๆที่ก็ท้วงติงเรื่องอ้างอิงเนื้อหาจากที่นี่อยู่พอสมควรครับ แต่ยกเว้นมหาลัยผมละกัน อ้างอิงตามปกติ
ของมหาลัยผมก็ไม่ให้อ้างอิงจาก Wikipedia นะครับ
ผมว่าการอ้างอิง ข้อมูลจาก wikipedia ทำได้ครับ แต่ต้องดูที่มาด้วย
และเรื่อง Bicholim Conflict ก็ดันมีที่มาหลอกๆ ซะด้วย...
เผื่อใครอยากลองเข้าไปอ่านหลังถูกลบ
อ่านแล้ว ก็เข้าใจว่าทำไมมันอยู่มาได้ 5 ปี เขียนได้ครบถ้วนทั้งเนื้อหาและแหล่งอ้างอิง ไม่เห็นความผิดปกติอะไรเลย
มันก็ไม่แปลก..เป็นเรื่องที่เป็นไปได้อยู่แล้ว .. ขนาดผลงานวิจัยก็ยังเคยมีการโกงโกหกหลอกลวงมาแล้ว
มันอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรกับข้อมูลข่าวสารที่รับเข้ามานั้น
ส่วนใหญ่ wikipedia ใช้อ้างอิงไม่ได้ แต่ใช้เพื่อหาแหล่งอ้างอิงได้ ;)
+1
เห็นด้วยครับ ถ้าไม่ใช่เด็กประถมคงไม่มีใครกล้าเอาwikiไปใส่อ้างอิง
ผมเด็กมัธยม ใส่ได้ชิวๆฮะทั้งที่รู้ทั้งรู้ แต่ข้อมูลมันหาง่าย + ครูเชื่อ
blog
ถ้าปล่อยไปนาน ๆ เข้าอาจจะกลายเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ก็ได้
อาจารย์มหาลัยผมก็ไม่ให้อ้างอิงจาก Wikipedia เหมือนกัน บอกว่าข้อมูลเชื่อถือไม่ได้
my blog :: sthepakul blog
นึกถึง Britannica ที่ตอนแรกๆก็ไม่มีใครยอมรับ หาว่ามั่วบ้าง นั่งเทียนกันเขียนบ้าง จนมาตอนนี้ยอมรับกันเป็นที่เรียบร้อย เคยลองเปิดบทความดู จัดได้ว่าละเอียดเอามากๆ แต่เรื่องการอัพเดทนี่่ น่าจะแพ้ wiki อยู่บ้าง
แบบเรียนไทยยังมีแผนที่ลิ้นอยู่เลยครับ
ผมว่าแทนที่จะบอกว่ายอมรับไม่ยอมรับ ผมว่านักวิชาการทุกๆมหาวิทยาลัยน่าจะช่วยกันแบ่งปันเวลาและทรัพยากรบางส่วนเพื่อช่วยทำให้ Wikipedia เป็นสาระนุกรมเสรีที่ "เชื่อถือได้ในทางวิชาการ" มากกว่าจะบอกปัดหรือบอกใช่ครับ .... ผมว่าบางบทความถ้ายกระดับให้เป็นงานที่ใช้ยืนยันทางวิชาการได้ (แล้วก็มีที่ที่น่าเชื่อถือได้รับรอง) มันก็จะไม่เป็นปัญหานะครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ไม่มีอะไรมารับประกันว่าหลังจากแก้ให้น่าเชื่อถือแล้ว จะไม่มีคนมาแก้ทำให้มันกลายเป็นไม่น่าเชื่อถืออีกครับ
ที่ wiki ไม่น่าเชื่อถือคือมัน "เสรี" คือใครๆก็เข้ามาแก้ได้ครับ
ผมคิดถึงกรณีแบบ "ผ่านการตรวจแล้ว" ใน Revision นี้ แต่ถ้ามีการแก้ใขใหม่ ตัว "ผ่านการตรวจ" ก็จะหลุด (แต่ยังอ้างอิง Revision ดั้งเดิมที่ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการแล้วน่ะครับ)
คือคงความเสรี ขณะเดียวกันก็คงความแม่นยำทางวิชาการไปด้วยในระดับนึงครับ ...คิดว่าบทความไม่มากนักที่จะผ่านแบบนี้ แต่อย่างน้อยมันก็ดีกว่าปล่อยให้เป็นเว็บที่ไม่น่าเชื่อถือในสายตากลุ่มวิชาการ/ภาคการศึกษาครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ระดับวิชาการเขาไม่ยอมรับการอ้างอิงเนื้อหาที่ไม่ static ครับ
ถ้าในวงการแพทย์มีเว็บที่คล้าย Wikipedia แต่มี Editor มา Approve ก่อน (คนที่จะเขียนได้ต้องเป็นหมอ หรือมี PhD เท่านั้น) คือเว็บนี้ครับ: http://www.medpedia.com/ ทำโดยความร่วมมือของหลายมหาวิทยาลัยในอเมริกา (หลักๆ Harvard, Stanford, UC Burkley)
แต่ปรากฎว่าไม่ค่อยได้รับการสนใจเท่าไหร่ครับ Article ก็ไม่ค่อยอัพเดต บางอันเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่มีอีกตะหากทั้งๆ ที่เปิดมาได้หลายปีแล้ว บางทีนักวิชาการอาจคิดว่า จะเอาเวลานั่งแก้ไปทำไมโดยที่ไม่ได้รับอะไรตอบแทน เอาเวลาไปเขียน Review Article ลงวารสารดีกว่า ทำตำแหน่งวิชาการได้อีก
wikipedia เป็นแค่หน้าต่างที่สรุปเรื่องราวพอสังเขปครับ เอาไว้เวลาหาสิ่งที่สนใจเป็นเบื้องต้น ถ้าจะอ้างอิืงต้องไล่อ่านตาม reference ตัวจริงก่อน แล้วค่อยอ้างอิงจาก reference โดยตรงอีกที
ใครส่งรายงานแล้วอ้างอิง wikipedia ตรงๆ คงให้ไม่ผ่านล่ะครับ ยกเว้นจะยกมาพูดคุยกัน แบบไม่เป็นทางการมาก
เรื่องที่แย่กว่าคือการแปลที่ผิดเพี้ยนครับ ผมอ่าน wikipedia ภาษาไทยหลายหน้า แปลจากฉบับภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนมากๆ ชนิดต้องเรียกว่าจงใจบิดเบือนเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเพจที่เกีี่่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ปกครอง ฉบับภาษาไทยจะเลือกเขียนแค่หัวข้อบางหัวข้อ โดยละเลยเนื้อหาหลัก หรือแม้แต่บิดเบือนคำอธิบายเลย
ตรงนี้แหละน่ากลัวถ้าเด็กไทย อ่านแต่หน้าภาษาไทย โดยไม่เข้าค้นหาต้นฉบับอ้างอิง อาจจะได้ความรู้ผิดๆจำฝังหัวไป
มหาวิทยาลัยผม โดยเฉพาะอาจารย์ชาวต่างชาติ ไม่ยอมรับอ้างอิงจากวิกิพีเดียครับ แต่ถ้าเป็นอย่างบริทานิกา ที่มีการกรองข้อมูลก่อนตีพิมพ์ ใช้อ้างอิงได้.
ตั้ง 5 ปี นี่ไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
เรื่องบางเรื่อง ก็จำเป็นต้องใช้ครับ เพราะไม่มีใครเขียนถึงเลยจริงๆ เช่น เรื่องการ์ตูนเป็นต้น (กรณีผมเช่น Family Guy)
ตอนนั้นผมก็จำได้ว่าต้องชี้แจงเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Wikipedia ในการอ้างอิงด้วยความจำเป็น อาจารย์ก็เข้าใจครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
IMDB ใช้ได้มั้ยครับ
ปล. เรื่องนี้ผู้หญิงเมกันเชื้อสายไทยเขียนบทหนิ
เวลาผมเขียน thesis หรือรายงาน ผมเข้า wiki เพื่อเอา link ref ไปหาอ่านแค่นั้นครับ
เข้าไปเขียนเรื่อง "ช้างเป็นสัตว์กินเลือด" บ้างดีกว่า :P
:-)
ถ้าแบบนั้น ไปทางนี้ดีกว่าครับ
http://th.uncyclopedia.info
ถ้าอยากให้เชื่อถือได้น่าจะทำแบบโครงการ Debian ประมาณว่า Freeze บทความก่อน แล้วค่อยออกมาเป็น RC1 RC2 แล้วก็ค่อยปล่อยตัวจริงกันเมื่อบทความนิ่งแล้ว อิอิ
Wikileaks ล่ะครับ