เมือครั้งงาน CES 2012 เราได้เห็นกับบริการเคลือบเครื่องกันน้ำจาก Liquipel ผ่านไปหนึ่งปี Liquipel กลับมาอีกครั้งกับรุ่นใหม่ 2.0 ที่เอามาโชว์ในงาน CES 2013 ด้วย
Liquipel 2.0 รุ่นนี้เคลมว่าเพิ่มความทนทานมากขึ้น ทั้งในแง่ของการกัดกร่อน การป้องกันน้ำ ในขณะเดียวกันก็ช่วยดูแลการทำงานของอุปกรณ์ภายในเครื่องให้ทำงานได้ดีในระหว่างอยู่ในน้ำ พร้อมทั้งโชว์ iPhone 5 เคลือบรุ่นใหม่ที่สามารถจมน้ำได้ลึกถึงสองฟุต
สำหรับระดับการป้องกันของ Liquipel 2.0 อยู่ที่ประมาณ IPX7 หรือจมน้ำได้ลึก 1 เมตรเป็นเวลา 30 นาทีครับ
ที่มา - Engadget
Comments
อยากทราบว่าจะเข้าเปิดกิจการที่ประเทศไทยไหมครับ ราคาเท่าไหรครับ
รีบๆ เข้ามาเปิดกิจการในไทยด่วน จากคนเคยทำมือถือตก.....
จำได้ว่าเคยเห็นคล้ายๆ กัน ชื่อ H2O อะไรซักอย่างนี่แหละคับ ใช้นาโนเทคโนโลยีด้านการเคลือบสารกันน้ำเหมือนกัน เรียกว่ายอมให้นำสัมผัสวงจรไฟฟ้าภายก็ได้ (เพราะเคลือบไว้แล้ว)
ป.ล. Liquipel ไม่มีตัว d นะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ดีครับ เวลาเล่นน้ำสงกรานต์จะได้ไม่ต้องหาถุงห่อ
เวลาเอาไปเคลือบไม่ถือว่าประกันหมดหรอครับ
แล้วรู 3.5 มิลล่ะ จะป้องกันยังงัย
เวลาเอาไปทำ เค้ารื้อเอาไปเคลือบถึงด้านในเลยครับ มันถึงกันน้ำได้ไง
พอรูถูกเคลือบแล้ว ตอนที่เราเสียบหูฟัง สัญญาณไฟฟ้ามันก็วิ่งผ่านไม่ได้สิครับ?
ตรงนี้แหละที่ผมเองก็สงสัยว่าจะป้องกันยังไง
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
น่าจะเป็นเพราะนาโนเทคโนโลยีที่ทำให้ไฟฟ้าผ่านได้แต่น้ำผ่านไม่ได้นะครับ
สาร nano coating กัน "น้ำ" ไงครับ ไม่ได้กันไฟฟ้าไหลผ่าน ไม่รู้ผมเข้าใจถูกรึเปล่าว่าสารที่เคลือบเอาไว้ป้องกันโมเลกุลของน้ำ พวกไฟฟ้ามันเป็นระดับนิวตรอนเล็กกว่าโมเลกุลน้ำเลยผ่านไปได้ครับ
กันน้ำคือ ไฟฟ้าไม่ไหลออกไปสู่น้ำแล้วไปวิ่งกลับเข้าไปที่วงจรส่วนที่อื่นไม่ได้ต้องการ ?
เสียบช่องหูฟังจริงๆ ผมว่ามันเสียดสีตรงทองแดงที่สัมผัส สารเคลือบไม่รุ้หลุดเปล่าอีก ผมคิดว่มันน่าจะกันเรื่องความต่างศักดิ์สักอย่าง นะไม่งั้น ถ้ากันแบบเทพเลยไฟไฟ้าไม่ไหลออกไปไหนเลย เสียลหูฟังเออ ช่องแบตเอง ไรงี้ไม่ทำงานอีก
ผมเข้าใจว่า สัญญาณเสียง/ภาพ ต่างๆ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีคุณสมบัติการเหนี่ยวนำผ่านชั้นฟิล์ม หรือชั้นสารเคลือบนะครับ การที่สมาร์ทโฟนจะรับสัญญาณเสียง/ภาพ ผ่านทางช่อง port ต่างๆ จำเป็นต้องมีกระแสไฟไหลผ่านเข้าไปถึงตัวถอดรหัสสัญญาณโดยตรง
ยิ่งในส่วนของภาคการจ่ายกำลังงานให้อุปกรณ์ ซึ่งชัดเจนว่าเป็นไฟ DC ก็ไม่มีความสามารถในการเหนี่ยวนำผ่านฉนวน ยิ่งถูกจำกัดใหญ่ครับ (เราไม่พูดถึงพวกอุปกรณ์ wireless charge ที่ใช้การเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังตัวแปลงกำลังงานซึ่งเป็นวงจรเฉพาะในอุปกรณ์นะครับ)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า แม้การเคลือบสารพิเศษจะป้องกันไม่ให้น้ำสัมผัสกับชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนได้โดยตรง แต่หากสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการปล่อยผ่านประจุอิเล็กตรอน (ใช่ครับ มันเล็กกว่าโมเลกุลของน้ำ) ก็กล่าวได้ว่าสารที่เคลือบมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าครับ
ที่นี้ พอสารเคลือบมันนำไฟฟ้าได้ ก็เท่ากับว่ามันไม่สามารถป้องกันการลัดวงจรของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เพราะไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านชั้นสารนาโนเหล่านั้น ผ่านไปยังน้ำที่อยู่โดยรอบ ไปยังส่วนอื่นๆ ของวงจรไฟฟ้า
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ลองอ่านในหน้า FAQ ของบริษัทมีอธิบายครับ :)
http://www.liquipel.com/faq
อย่างที่ท่าน TeamKiller พูดมาถูกแล้ว ตัวสาร nano coating มันไปเคลื่อบอุปกรณ์ทั้งภายนอกภายใน มันไม่ได้กันน้ำเข้าเครื่อง แต่เป็นการเพิ่มฉนวนความต้านทานบนชิ้นส่วน เรื่องการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านนั้นขึ้นอยู่กับความต่างศักของแรงดันไฟฟ้า ไม่เกียวกับเป็น AD/DC เช่น การที่ฟ้าผ่าเกิดจากแรงดันบนชั้นบรรยากาศมากกว่าความทนต้านทานของพื้นที่ระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน
แค่อยากจะบอกว่าทุกอย่างนำไฟฟ้าได้ถ้าแรงดันมันสูงพอ
ผมว่าหน้า FAQ ของผู้ผลิตไม่ตอบคำถามสักเท่าไหร่นะครับ
การอธิบายว่า สารเคลือบไม่มีผลต่อสายสัญญาณ, ไม่รบกวน, ไม่ลดทอนคุณภาพ ของสัญญาณในกรณีต่อสายตรงฯ
คือในหน้า FAQ แค่บอกว่า "ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่าจะมีอะไรใช้การไม่ได้นะ" แต่ไม่ได้บอกอะไรเลยว่าทำได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาอธิบายเทคโนโลยีของตัวเองให้คนอื่นฟังหมดทุกเม็ด
ผมแค่มาคิดเอาเองว่า ถ้าสารเคลือบมันปล่อยไฟฟ้าสัญญาณผ่านมันได้สบายๆ แล้วจะมั่นอกมั่นใจได้อย่างไรว่าจะป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรอันเนื่องมาจากการสัมผัสโดนน้ำได้?
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เค้าจะแกะเครื่องเราไหมครับตอนที่เคลือบ
อารมณ์แบบปลั้กกันน้ำของคนไทยเลยแฮะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.