หลังมีรายงานจากทาง The New York Times เกี่ยวกับประเด็นที่ว่านักข่าวที่ติดตามข่าวในประเทศพม่าหลายคนถูกแฮกอีเมลโดยมีการสนับสนุนจากทางรัฐบาลได้ไม่กี่วัน กูเกิลก็ออกมาเตือนนักข่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้ว
ย้อนไปที่ประเด็นการแฮกอีเมลนักข่าว The New York Times ระบุว่านักข่าวที่เป็นเป้าหมายของการแฮคหลายคนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งของรัฐกะฉิ่นทางตอนเหนือของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น Eleven Media และ The Voice Weekly ที่ช่วงหลังเริ่มมีบทความในหัวข้อหนักๆ ทำให้รัฐบาลทำงานกันอย่างอึดอัดมากขึ้น หลังจากที่พม่าเริ่มเบาความตรึงเครียดในการเซนเซอร์สื่อลงได้ไม่นาน
จากบทความเกี่ยวกับการแฮกอีเมลของ Eleven Media ระบุว่าความพยายามแฮกดังกล่าวไม่ได้เจาะจงแค่ในพม่าเท่านั้น แต่ลามไปถึงนักข่าวในเครือสำนักข่าวนานาชาติทั้ง Kyodo, AP ฯลฯ อีกด้วย รวมถึงการแฮกเว็บไซต์ก็เกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆ กัน
สำหรับประเด็นดังกล่าว Taj Meadows โฆษกกูเกิลประจำโตเกียวได้ออกมาพูดถึงการแฮกดังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะถูกแฮกโดยมีทางการคอยสนับสนุนอยู่ แม้ว่าจะไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีใดในการบอกว่าเป็นโจมตีดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติการดังกล่าวใช้ข้อมูลนี้ไปกระทำการต่อนั่นเอง
แน่นอนว่ารัฐบาลพม่าออกมาให้สัมภาษณ์ผ่าน Wall Street Journal ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการแฮกอีเมลดังกล่าว และยังบอกว่าทางการไม่มีนโยบายโจมตีสื่ออีกด้วย
ที่มา - The New York Times
Comments
แล้วถ้าเป็นประเทศไทยหละ
ไม่รู้นะ แต่ความสามารถและอำนาจมันอยู่ในระยะที่ทำการได้ น่ากลัวจริงๆ รัฐบาลเราอย่าเป็นล่ะกัน ไม่งั้นคงต้องด่าว่าเลวกันเลยทีเดียว
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
รัฐบาลพม่า แฮ็กผลิตภัณฑ์ของ google ได้เลยเหรอ เยี่ยมๆๆๆ
เก่งจัง
ทำไม google มาชี้นำแบบนี้หล่ะเนี่ย
ผมว่าข่าวไม่ค่อยน่าเชื่อถือเลย เรื่องแรกคือ คนพม่ามีศักยภาพพอที่จะแฮกได้ จริงหรือ ต่อจากนั้น สมมุติ นักข่าวรู้ว่าถูกแฮก รู้ได้ไงว่าเป็นคน หรือรัฐบาลพม่าเป็นคนทำ จากนั้นเนี่ย สมมุติว่ารู้ เรื่องมันใหญ่พอที่จะให้โฆษก กูเกิลที่โตเกียว แถลงข่าวเลยหรือ (แล้วไอ้โฆษกกูเกิลที่โตเกียว มันเกียวอะไรกับพม่าเนี่ย) ทุกเรื่องล้วนน่าสงสัยว่า มันเป็นไปได้หรือ ??? จนผมมองว่า มันเป็นประเด็นทางการเมืองมาก ๆ เหมือนคนจงใจ ดิสเครดิสรัฐบาลพม่า เพื่อผลบางอย่าง ซึ่งรอดูสักพัก ก็น่าจะรู้ว่าเขาทำทำไม (บางทีอาจเป็นการเล่นการเมืองภายในพม่าเอง ว่ารัฐต้องการปิดสื่อ คล้ายเมืองไทย เช่น กรณีแบนละคร) ปล. ถ้าเมลกูเกิล มันแฮกง่าย ขนาดคนพม่ายังแฮกได้เนี่ย ผมว่าป่านี้ทั่วโลกคงมีข่าวแฮกเมลกันทุกวันแล้วละ
ประเด็นคือมันไม่จำเป็นต้องให้คนพม่าเป็นคนแฮ็กครับ แล้ววิธีการแฮ็กก็ไม่ได้มีแค่วิธีเจาะระบบอย่างเดียวแต่อาจรวมไปถึง เช่น ดักจับข้อมูล, phishing, scamming หรือแม้กระทั่งวิธีวิศวกรรมทางสังคม (Social engineering) ครับ
คนพม่ามีศักยภาพนะครับ บางศักยภาพเก่งกว่าคนไทยเยอะ //คุณกำลังดูถูกคนเชื้อชาติพม่าทั้งหมด?
ต้องของโทษด้วยที่ ความเห็นผมทำให้คุณคิดแบบนั้น แต่ผมไม่ได้มีเจตนาดูถูกเชื่อชาติแน่นอน แต่ผมกำลังชี้ถึงความไม่สมเหตุสมผลของข่าวนี้ และเชื่อว่าเป็นประเด็นทางการเมือง ในทางตรงข้าม ถ้าใครเชื่อข่าวนี้ เท่ากับเชื่อว่ารัฐบาลพม่าพยายามปิดสื่อ (ที่พึ่งเปิดไม่นาน เพราะเคยปิดมาก่อน มันก็คือการดูถูกรัฐบาลพม่า) และคุณคิดว่า รัฐบาลพม่าเชื่อว่าการ Hack Email มันจะปิดข่าวในรัฐกะฉิ่นได้ (ซึ่งมันไม่ได้ ถ้าอยากปิดจริง ก็กลับไป censer สื่อแบบเก่าง่ายกว่า) และรัฐบาลพม่าก็ออกมายืนยันแล้วว่าไม่ได้ทำ แต่คุณกลับไม่เชื่อ ดันไปเชื่อนักข่าว (ซึ่งอาจมีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองก็ได้) ถ้าดูเทียบเคียงกับเมืองไทย การบอกว่ารัฐปิดสื่อ มันส่งผลทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจรัฐ และเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ซึ่งเรื่องนี้ ก็เป็นหนึ่งในหลายเรื่อง ที่ใช้เป็นข้ออ้างในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) รอดูไปยาว ๆ จะดีกว่า
ทำไมถึงมองว่าการแฮกทำไปเพื่อเป็นการปิดกั้นสื่อล่ะครับ?
ทำไมไม่คิดว่าเค้าแฮกเพื่อล้วงเอาข้อมูล นั่นแสดงว่าต้องการรู้ความลับหรือต้องการข้อมูลไม่ใช่เหรอครับ?
ตรรกะมันแปลกเกินครับ บอกว่าคนอื่นเชื่อนักข่าวมากเกิน แต่ตัวเองเชื่อฝั่งรัฐบาลเฉยเลย ทั้งๆ ที่ข้อมูลทั้งสองด้านมันคลุมเครือพอกัน
+1
ผมก็ดูจากข่าวนั้นแหละครับ ผมไม่ได้เข้าข้างรัฐบาลพม่า (ไม่มีความจำเป็น ทำไมผมต้องเข้าข้าง โชคดีเป็นรัฐบาลพม่า ผมเลยแก้ตัวง่าย ถ้าเป็นรัฐบาลไทย คุณคงไม่เชื่อผม 555+) รัฐบาลไม่มีข้อมูลใด เพียงแต่ออกมาปฏิเสธ ผมก็ไม่เข้าใจว่า คุณต้องให้รัฐบาลต้องปฏิเสธแบบไหน ถึงจะไม่คลุมเคลือ ผมแค่เห็นว่าข่าวนี้ไม่น่าเชื่อถือเลย และกำลังชีประเด็น ให้คนฉุกคิดบ้างว่า เวลามีข่าวแบบนี้มา อย่าเชื่อทันที (ไม่งั้นอาจเป็นเหยื่อของผู้จงใจปล่อยข่าว) ซึ่งเท่าที่เห็นกระทู้เกือบทุกกระทู้ที่ให้ความเห็นกัน ก็เชื่อไปหมดแล้วเกิน 80%
ถ้าไม่อยากให้คนปักใจเชื่อข่าวก็พิมพ์แบบให้ความเห็นเป็นกลางดีมั้ยครับ หรือไม่ก็ให้ข้อมูลในมุมต่างๆ ไม่ใช่ฟันธงฉับๆ แบบตัดสินว่า "ข่าวไม่น่าเชื่อถือ" ซึ่งถ้าพิมพ์แบบนี้ก็ไม่เป็นกลางอยู่ดี (ซึ่งผมก็เชื่อในความไม่เป็นกลางในตัวคนทุกคน)
ความเห็นแบบนี้ใครจะไม่นึกว่าคุณเข้าข้างรัฐบาลพม่าล่ะครับ จริงอยู่ว่าใครก็สามารถคิดอะไรได้ต่างๆ นาๆ ครับ แต่จะดีกว่าถ้าให้ความเห็นด้วยความระมัดระวัง จะได้ไม่ต้องออกมาปฏิเสธพัลวัลแบบนี้ไง
สุดท้าย ผมต้องขอโทษด้วยครับที่เข้าใจผิด :D ก็ยังงงๆ ว่าจะเข้าข้างทำไม
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเป็นกลาง หรือไม่ครับ (เพราะเราทั้งหมดเป็นคนดู คู่ขัดแย้งคือรัฐบาลพม่า กับนักข่าว ซึ่งเราไม่มีส่วนได้เสียทั้งคู่) ผมเห็นว่าข่าวมันไม่น่าเชื่อถือ ก็ให้ความเห็นตรง ๆ ว่าไม่น่าเชื่อถือ ผู้เสียหายจากข่าวนี้คือรัฐบาลพม่า (ถ้าเขาไม่ได้ทำ) ถูกดิสเครดิตจากนักข่าว ว่าพยายามคุกคามสื่อด้วยการ hack และผมก็เชื่อว่าเป็นแบบนั้น เพราะไม่มีความสมเหตุสมผลในข้อมูล จึงให้ความเห็นตรง ๆ (ไม่รู้ว่าจะต้องปรับให้เป็นกลางเพื่ออะไร) โชคดีที่เป็นข่าวพม่า ถ้าเป็นข่าวไทย ผมคงโดนเล่นไปหลายดอก ยิ่งกว่านี้แล้ว
ถ้าเป็นข่าวของไทยแล้วยังไงเหรอครับ ผมงงๆ
ผมก็จะถูกผลักไปเป็นสีเหลือง หรือสีแดง โดยไม่มีใครฟังเหตุผลอีกต่อไป
อ่อ ... เข้าใจเป๊ะเลยแบบนี้
ผมขอชี้เพิ่มข้อมูลทางเทคนิคหน่อยถึงความเป็นไปได้ว่าการสนับสนุนของรัฐช่วยอะไร ทำให้เกิดอะไร
รัฐสามารถครอบงำ ISP ได้ เรื่องนี้คงไม่ต้องพูด ประเด็นคือเมื่อรัฐสั่ง ISP ได้ สิ่งที่น่าจะเกิดคือระบบ sniffer ขนาดใหญ่ที่สามารถดักได้ทุกอย่าง ซึ่งมันดักได้กระทั่ง HTTPS (SSL) เพราะการเข้ารหัสจะไม่มีผลเลย ถ้าดัก public key จาก server และ session key ที่สร้างจาก browser ในลักษณะ one-time (ปิด browser แล้วเลิกใช้)
เมื่อดักคีย์พวกนี้เขาก็สามารถจะอ่านข้อมูลที่เข้ารหัสกันได้หมดเลย กลไลพวกนี้รวมถึงการเข้ารหัสทางอื่นที่อาศัย SSL/TLS Protocal ด้วย ไม่ว่าจะ FTPS หรือ SMTP ก็ยังใช้ตรงนี้
อันนี้ขอตอบว่ามันเป็นไปได้ ไม่ต้องอะไรมาก เดี๋ยวนี้ขนาด Router Cisco บางตัวรองรับการทำ packet capture มาแบบ out-of-box กันเลยทีเดียว แถม HTTPS ก็ไม่ต้องกลัวเพราะมันดักมันทุกอย่าง
กลัวสักนิดเถอะ มองโลกแง่ดีเกินไปก็ไม่ได้ลบความจริงที่ว่ามันมีโอกาสตรงนี้อยู่
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ขอบคุณครับ
เรียนผ่านมานาน จนลืมหลักการหมดแล้ว
ไม่ต้องมองไกล แค่บ้านเรา สำนวนตอนสืบพยานในบางคดี บ่งชี้ว่า ทางการบ้านเราทำอะไรกับgateway จริงๆ เขาใช้คำสวยหรูว่า "สืบสวนในทางลับ" ครับ
แต่รัฐบาลกึ่งทหารของพม่าก็ออกวีซ่าให้นักข่าวต่างชาติ 1 ปีเลย สงสัยให้อยู่นาน ๆ จะได้แฮคสะดวก