Neil Fraser วิศวกรกูเกิลได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนประถมและมัธยมในเวียดนามเพื่อดูว่ามีการเรียนด้านคอมพิวเตอร์กันเช่นไรบ้าง และพบว่านักเรียนในเวียดนามเรียนคอมพิวเตอร์กันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตั้งแต่พื้นฐานการดูแลใช้งานคอมพิวเตอร์ ไล่ขึ้นไปถึงชั้นที่สูงขึ้นจะเรียนการเขียนโปรแกรม และพบว่าเด็กมัธยม 5 จำนวนมากสามารถทำคะแนนได้ดีในการทดสอบเขียนโปรแกรม
ในแบบเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จะสอนการใช้งาน Windows XP และเริ่มสอนการเขียนโปรแกรมพื้นฐานในระดับประถม 4 ที่เรียนภาษาโลโก้ ชั้นประถม 5 เริ่มมีการเรียนการเขียนโปรแกรมแบบมีลูปและการเรียกฟังก์ชั่น
ถึงตอนนี้ Fraser ถามครูในโรงเรียนว่าเขาช่วยอะไรได้บ้าง ครูระบุว่าขาดซอฟต์แวร์สำหรับการสอนเขียนโปรแกรม Fraser จึงแปลเกม Blockly Maze เป็นภาษาเวียดนามแล้วเขียนซีดีให้ครูไป เพราะอินเทอร์เน็ตโรงเรียนคุณภาพไม่ดีนัก อีกปัญหาคือการขาดครูสอนคอมพิวเตอร์ที่ตอนนี้มีเพียงคนเดียว Fraser ถามว่าครูหนึ่งคนเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วได้คำตอบว่า 100 ดอลลาร์ต่อเดือน เขาจึงบริจาคเงิน 1200 ดอลลาร์ให้โรงเรียนเพื่อจ้างครูเพิ่มหนึ่งปี
เขาสำรวจว่านักเรียนมัธยม 5 ในเวียดนามเรียนอะไรกัน และพบว่านักเรียนต้องทำโจทย์รับไฟล์อธิบายรูปร่างเขาวงกต แล้วหาช่องที่พื้นที่ใหญ่ที่สุดในเขาวงกตนั้น นักเรียนทำโจทย์นี้ในชั้นเรียนโดยมีเวลา 45 นาที เกือบทุกคนสำเสร็จในเวลา มีบางคนขอเวลา 5 นาทีเพิ่ม
Fraser ส่งโจทย์ข้อนี้ให้วิศวกรของกูเกิลดูแล้วถามว่าถ้าให้เป็นคะแนนในการสัมภาษณ์กูเกิลจะเป็นอย่างไร และได้คำตอบว่าโจทย์ระดับนี้อยู่ใน 30% แรกของโจทย์ที่ยากที่สุด Fraser ประมาณว่านักเรียนครึ่งหนึ่งในชั้นที่เขาเยี่ยมชมจะสามารถผ่านการสัมภาษณ์ของกูเกิลได้
Fraser สรุปสิ่งที่เขาเห็นว่าการได้เรียนคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยังเด็กเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการศึกษา การสอนความรู้คอมพิวเตอร์แต่เด็กจะเปิดโอกาสให้เด็กที่สนใจสามารถต่อยอดได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
อย่างไรก็ดี เวียดนามเพิ่งเริ่มกระบวนการนี้มาได้ไม่กี่ปีเท่านั้น และการเยี่ยมชมระดับมหาวิทยาลัยก็ไม่น่าประทับใจเหมือนระดับประถมและมัธยมเช่นนี้ แต่เขาเชื่อว่ากระบวนการนี้จะทำให้นักเรียนปีหนึ่งที่เข้ามหาวิทยาลัยในรุ่นต่อๆ ไปจะเปลี่ยนไปอย่างมาก
ที่มา - Neil Fraser, The Register
Comments
ทำไมเอาไปโพสใน FB มะได้หว่า
อ่านแล้วหันมามอง รร.ไทย ได้แต่ถอนหายใจ
น่าจะเก่งกว่าผมอีกนะเนี่ย >//<
อืม..... //ไปซื้อมาม่าแปป
//ถือกาต้มน้ำเดินตามไป
Dream high, work hard.
//ไม่ถืออะไรเลย เดินตามรอกินอย่างเดียว
รอที่เดิมก็ได้ครับ เขาไปซื้อมาม่าแปปเดียว ไม่ต้องเดินตามหรอก //เดิมตามไปบอก
//เดิมตามไปบอก ว่าซื้อเผื่อด้วยครับ
บีบมาม่าให้ละเอียด ใส่เครื่องปรุง เขย่าๆ แล้วกินเลยครับ
ต้มกินไม่ทันใจ ^^
สงสัยต้องกินแบบนี้ซะละ.. ดูท่าทางน้ำยังไม่ค่อยเดือดเลย ;p
ปูเสื่อรอ
ขอนั่งด้วยคน ขี้เกียจยืน หรือเดินตามพวกเขาไป
Jusci - Google Plus - Twitter
แอบมองแล้วทำตาละห้อย
ไม่เข้าแฮะ อิอิ อดกินมาม่า
มาม่าอร่อย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
FF แทนได้มั้ยครับ ค่าเท่ากัน
ม4 สอน ใช้ word กับ vegus ได้เรียน c แค่นิดเดัยวเพราะ ชาวบ้านเค้าเขียนไม่เป็นครูเลยไม่สอน
/me faceplam
ตามนั้น -3-
ที่โรงเรียนผมไม่มีสอนโปรแกรมมิ่งเลยครับ ที่ได้มาต้องเรียนเองทั้งนั้นเลย
ของผมไม่สอนเลยนะ TT สอนใช้ flash dream authorware -*-
โปรกรม => โปรแกรม
เรียกร้องคนเก่งๆมาเป็นครูแล้วจ้างเงินเดือนน้อยๆ คงได้คนเก่งหรอกครับ
I need healing.
+๑
สู้เด็กไทยก็ไม่ได้ ม.1 เล่น เฟสบุ๊ค อินตาแกรม กันอย่างคล่อง
ยังไม่ได้ไปดูจาก source แต่ผมว่าน่าจะภาษา Logo มากกว่าเลโกนะครับ สมัยเด็กๆ โรงเรียนผมก็สอนภาษานี้ เป็นพื้นฐานเขียนโปรแกรม
ผมก็เรียน Logo ตั้งแต่ป.6 นะ
ใช่ที่เป็นเต่าหรือเปล่าครับ ผมเคยเรียนตอน ป.4
ของผมจำไม่ได้ว่าป.2 หรือป.3 แต่คิดว่าน่าจะ 3 เพราะจำได้ว่าคอมให้เล่นตั้งแต่ป.1 ส่วนพิมพ์ดีดต้องรอป.3
ผมเคยเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ตอนเด็ก สมัยต้องลงแผ่นboot ห้านิ้วกัน ตอนนั้นได้เรียน basic กับ word chula ตอน ป5 นะ จำได้ว่าเรียน word chula เกือบทั้งเทอม เรียน basic แสดงผลค่าของผลบวกสองตัวออกมา แค่ 3 คาบ( อ.สอนแทน มาสอน) แต่สามคาบนั้นเป็นอะไรที่ประทับใจมาก ตั้งแต่นั้นผมเลยหัดมาเขียนโปรแกรมเป็นต้นมา ผมว่าแม้โรงเรียนจัดสอนก็จริงแต่ อาจารย์ผู้สอนเป้นอะไรที่สำคัญมากด้วยเช่นกันนะ
ดูจาก source แล้วเป็นภาษา LOGO ครับ
เป็นภาษาเหมาะสำหรับเด็กๆ มี IDE ที่น่ารักให้เล่นเยอะ ......... เมื่อก่อนเคยจัด workshop สอนเด็กประถมให้ใช้ภาษานี้ ......... ไม่ถึงสัปดาห์ เด็กๆก็เอามาทำเกม หรือแก้โจทย์กันได้สบายแล้ว
Blacky Maze -> Blocky Maze
เกือบทุกคนสำเสร็จในเวลา --> ทำเสร็จ?
คงจะแปลด้วย Google ครับ
Finish
ถ้าคนแปลก็น่าจะประมาณ
ไม่เกี่ยวครับ แค่พิมพ์ สำเสร็จ ผิดเฉยๆ
Dream high, work hard.
แค่โจทย์ N! เด็กมหาลัยไทยยังลอกกันเองตรึมเพราะคิดไม่ออก
เฮ้อ
+1 โจทย์ N! ผมเอามาใช้สัมภาษณ์งานด้วยนะ หลายคนเลยที่งง ทำไม่ได้
+100 ลืมการทำ recursive ถึงกับเงิบเลย
ไม่ต้อง recursive
จะไว้โชว์พาวด้วย recursive
หรือจะโชว์โค้ดสั้นกระทัดรัด้วยสูตรสำเร็จ ก็ไม่เกี่ยง
แต่เด็กป.ตรีเดี๋ยวนี้เริ่มไม่ไหวแล้วนะ
ถูกส่งต่อๆกันมาตั้งแต่ประถมเนี่ย ห่วยลงๆ
ข้อสอบเขาให้แก้โค้ดครับ เขียนใหม่ก็สบายแล้ว T_T
สู้ ม.5 อดีตรร.มัธยมผมก็ไม่ได้ ครูสอน visual basic โดยการให้ดีไซน์หน้าตาโปรแกรม แล้วให้ไปหาก็อปโค๊ดมาใส่ ... สอบก็ให้ท่องโค๊ดไปสอบ จะบ้าตายเหมือนสอบทดสอบความจำอย่างใงอย่างงั้นเลย
กด Like ครับ เคยเป็นเหมือนกันตอนสอบ PHP+HTML
แทนที่ตอนสอบจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต้องมานั่งท่องจำ code ไปสอบ
ของไทยนักเรียนไทย ป.1ก็เรียนกะแท๊บเบล็ตแล้วครับ555. อยากถามคนในนี้ว่าการสอนการเขียนโปรแกรมควรอยู่ในการศึกษาภาคบังคับหรือเปล่าครับ ผมเคยเห็นคนวิจารณ์กันว่า ไม่จำเป็นมันเป็นงานเทคนิค งานlabour ไม่ต้องเรียนรู้ก็จ้างคนมาเขียนให้ก็ได้ ที่เขาเชียร์ๆกันก็เพราะprogrammer ยังไม่พอกับความต้องการของบริษัททั่วโลก การเขียนโปรแกรมไม่ได้เสริมสร้างความคิดอะไร programmer ที่เขาเคยคุยด้วย logicห่วยๆก็ตั้งเยอะ(อันนี้ไม่รู้เขาไปเจออะไรมาเหมือนกัน) แต่ผมเองรู้สึกว่ามันไม่ใช่งานเทคนิค และสิ่งที่ได้จากการเรียนคือการลำดับความคิด + แก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน แต่ก็ไม่มีหลักฐานไปแย้งเหมือนกัน อยากถามว่าคนในนี้คิดยังไงครับ
ต้องดูจริงๆอะครับว่าเจออะไรมา แต่ไม่ว่าเรียนอะไรมันก็มีประโยชน์หมดอะครับแค่คนละด้านอยู่ที่สิ่งที่ไปเจอมา เรียนคอมที่ได้คือ logic แบบตรงไปตรงมา แต่มนุษย์จะไม่เป็นแบบนั้นอะสิ หลายครั้งงานมันใช้ business มาวิเคราะห์ตอนคุยด้วย พอจำรายละเอียดไม่ได้ก็หาว่าเราไม่รู้เรื่อง บางอย่างมันมีทางพลิกแพลงแบบที่เขาใช้กันเป็นปกติเราไม่รู้ อารมณ์แบบคุณทำงานสายนี้มา 10 ปีผมอ่านที่คุณส่งมาคืนเดียวฟังรู้เรื่องก็ดีแค่ไหนแล้ว
ตรรกะที่ผมเห็นส่วนมากจะเป็นเรื่องการขายของซะมากกว่า เพื่อนๆทำ product เองชอบคิดว่าทำของดีๆเดี๋ยวก็ขายได้ ลืมคิดว่าจะขายให้ใคร ตอนแรกเอา business model ไปคุยด้วยมันก็ไม่ฟังมองๆว่าไร้สาระ สรุปขายไม่ได้ไป 2 งาน :D
ผมว่าไม่จำเป็นนะ
แต่ผมสนับสนุนการสอนการคิดแบบเป็นลำดับ
อย่าง flowchart ให้รู้จักจัดลำดับ แตกกระบวนการคิด
จริงครับ
เด็ก ม.5 เก่งกว่าผมอีก -_-'
อยากสอนเด็ก ๆ เขียนโปรแกรมเหมือนกันครับ แต่ยังจับหลักไม่ได้เลยว่าเด็กไทยควรได้อะไรจากคาบวิชาคอมพิวเตอร์กันแน่ ที่สำคัญครูคอมพิวเตอร์บางคนยังใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน (ms windows, ms office) ไม่คล่องด้วยซ้ำ ผมไปเปิดเครื่องครูหลายคนดู เห็น Ask toolbar ติดมาบน browser ก็หมดแรงแล้ว
จริง ๆ อยากสอนให้เด็ก ๆ เขียนภาษา basic แต่ปัจจุบันแค่ภาษาไทย มันยังไม่รอดกันเลย = ="
ผมก็อยากสอน แบบว่าวางพื้นฐานตอน ม.4 แล้ว ม.5 พื้นฐานที่เหลือกับเริ่มเขียนเป็นรูปเป็นร่าง และสุดท้าย ม.6 ตอนต้นเทอมจะบอกเลยว่าเทอมนี้เราจะเขียนโปรแกรมนี้กัน โดยเอาพื้นฐานที่เคยสอนไปมาใช้ อาจจะเดือนละโปรแกรมในช่วงแรก แล้วค่อยเพิ่มความยาก ทำคะแนนเป็น เก็บ:สอบ 90:10
ผมก็อยากสอนนะ แต่อยากเลือกเฉพาะคนที่สนใจจริง ๆ แล้วสอนลงลึกไปเลย ผมอยากสอนแบบว่า พอจบ ม.6 แล้วสามารถรับงานเป็นโปรแกรมเมอร์ได้เลย แล้วระดับมหาลัยก็ไปเรียนเรื่องทฤษฎีคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ถ้าไปเรียน Com Sci นะ)
คือผมเห็นใจเด็กว่าตอนนี้เด็กไทยเรียนเยอะเกินไป แล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไร จับฉ่ายไปหมด พอสอบเสร็จก็ลืม อะไรแบบนี้ ผมว่ามันไม่มีประโยชน์น่ะ สู้เอามาแต่คนที่สนใจจริง ๆ น่าจะดีกว่า
ย่อหน้าหลัง ผมเคยได้ถกเถียงกับเด็ก ม.ดังคนหนึ่งเขาบอกว่ามันคือการฝึกครับ ทำงานจริงหนักกว่านี้ !-_-
I need healing.
แนะนำว่า LOGO นี่แหละง่ายสุด
ประเด็นสำหรับการสอนคือให้เด็กเรียงลำดับความคิดถูก ไม่ใช่ให้เขียนโปรแกรมเป็น
ถ้าเด็กคนไหนสนใจเรื่องเขียนโปรแกรมต่อ ค่อยหาทางส่งเสริมอีกรอบ
Tool ดีๆแต่เสียเงินคือ MicroWorlds ครับ ..........ลองโหลด DEMO มาเล่นดู แล้วจะรู้ว่าเอาไปสอนเด็กได้ง่ายๆเลย
ผมอธิบายคนทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายคอมโดยอ้างอิงflowchart ครับ
โจทย์แรกเลยว่า "ต้มมาม่า" มีกระบวนการอะไร ถ้ามีหุ่นยนต์โง่ๆต้องทำตามคำสั่งเราทุกอย่างถ้าไม่บอกก็จะไม่ทำ
ก็จะบอกขั้นต้นของflowเลยว่าให้หุ่นมันไปหยิบชามหยิบฝาหยิบที่ต้มน้ำ หลังจากนั้นให้เค้าคิดต่อเอง
แรกๆก็จะคิดกันแค่หยาบๆตามความเคยชิน ผมก็จะให้แตกลึกลงไปเรื่อยๆ อย่างเช่นว่าน้ำเดือดเนี่ยหุ่นมันไม่รู้เรื่อง ต้องดูยังไงก็บอกหุ่นไป แล้วยืนรอน้ำเดือดนี่นับเป็นนาทีหรือว่าให้ดูจนน้ำเดือด
ลองนี่สิครับ http://www.alice.org
Divide & Conquer สินะ
จำได้ว่าสมัยเรียนม.ต้น ได้เรียน Pascal อยู่ 2 ปี แต่พอขึ้นม.ปลายโดนจับเรียน powerpoint/word อะไรไม่รู้ -*-
น่าจะบริจาคสร้างโรงเรียนแบบปัญญาภิวัฒน์ไปเลย
โอ้วว ประเทศเราตามหลังเค้าเยอะเลย
สมัยป.4 16-17ปีก่อน ผมได้เรียน pascal นั้งวาดรูปด้วย สมัยนั้นยังต้องเรียนคอม คู่กับพิมพ์ดีด แต่หลังจากนั้นไม่ได้เรียนอะไรเกี่ยวกับเขียนโปรแกรมอีกเลย
ความจริงผมว่า วิชาคอมควรจะทำเป็นวิชาเลือกที่มีตัวเลือกเยอะๆ บังคับเด็กทุกคนเขียนโปรแกรม ผมว่าก็ไม่ดีนั้น เพราะเด็กที่ได้เอาไปใช้จริงๆ น้อยมาก
ดูแล้วเวียดนาม น่าจะเดินตามรอยสิงคโปร์
จริงด้วยครับ รวมถึงเขมรด้วยครับ ที่พิฆาตไทยจนได้ชัยชนะครับ
สอนให้คิด เขียน logic
ส่วนเขียนโปรแกรมเดี๋ยวก้อเป็นเอง 55+
ลองนี่ด่วนเลยครับwww.code.org เอาไปสอนเด็กๆได้สบาย
โรงเรียนผมสอน HTML อิอิ
.
เรียนคอมตั้งแต่ ป1-ม1 ได้เรียนแค่ ความรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอม MS word/excel/Power point
พอย้าย รร ม2-3 ได้เรียน Visual Basic c,MS Access,Desktop Author,เขียน Flowchart
ม4-6 HTML,PHP,Adobe Flash,Movie Maker,Adobe Photoshop
พอไล่ๆดู อ่าวไม่เคยเรียนภาษาแบบจริงๆจังๆเลย เพราะ Visual Basic c ครูก็บอกหมด ไม่ได้คิดอะไรสักอย่าง
จะมีดีหน่อยก็ช่วง มปลาย ที่ทุกคนต้องทำงานเป็นโปรเจคเล้กๆส่ง
แต่ไปๆมาๆก็กลายเป็นแหล่งรายได้ชั้นดีสำหรับคนที่ทำเป็น
ความคิดเห็นส่วนตัวนะ ผมว่า Keyword ของการศึกษา น่าจะเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์มากกว่า การอัดวิชาคอมพิวเตอร์เข้าไป โดยโจทย์ก็ยังซ้ำๆ เดิมๆ ให้เขาต้องนั่งท่องโจทย์ ท่อง Algorithm เข้าสอบไปไม่น่าจะมีประโยชน์อะไร เพราะแบบนี้หาไม่ยากรับสมัครงานแป๊บเดียวก็มาเพียบ แต่คนที่มีทั้ง Ideas, พลัง, ความคิดสร้างสรรค์,ความอดทน ผมว่าเมืองไทยยังขาดอีกเยอะ เคยรับสมัครมาเจอคนแบบนี้แค่ 1-2 คนแค่นั้นเอง ที่เหลือก็จะแบบแรกเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ต้องรับ เพราะงาน Programming โดยส่วนใหญ่แบบไม่ต้องสร้างสรรค์อะไรมากทำตาม Requirement ก็จบ มันทำให้ขาด Keyman หรือ Creative ที่มาช่วยในการคิดงาน
ที่เขามหาลัย ?????
จนจบมัธยม ผมก็ยังไม่ได้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ซักวิชา TT
ก็พอเข้าว่าทุกคนในที่นี้ชอบคอมพิวเตอร์ ทำให้ทุกคนมองคอมพิวเตอร์สำคัญสุดๆ แต่อยากให้มองว่าคอมพิวเตอร์เป็นแค่ทางเลือก คนเราใช่ทุกคนจะมีความชอบเหมือนๆ กัน ในเรื่องการศึกษาควรให้เด็กเล็ก(ไม่เกิน ม.ต้น)ศึกษาพื้นฐานของแต่ละวิชาแล้วค่อยให้เด็กเลือกที่จะเรียนขั้นสูงขึ้นมาตามความชอบในระดับ ม.ปลาย เด็กชอบวาดรูป ชอบกีฬา ชอบอะไรอื่นๆ จะได้ไม่ต้องมาทนเรียนภาษาโปรแกรมให้ทรมาน
แล้วทำไมคนไทยถึงมีความคิดสร้างสรรค์น้อย นั้นต้องโทษระบบการศึกษาครับ เพราะประเทศไทยเน้นการคัดเลือกคนที่คิดเหมือนๆ กันมาเรียนสิ่งเดียวกันแล้วสอนให้คนคิดไปในทางเดียวกัน ทำให้ยากที่จะหาคนที่มีความคิดแตกต่าง มหาวิทยาลัยต่างๆ เน้นรับแต่นักเรียนที่สอบได้คะแนนวิทย์ฯ คณิตฯ ดีๆ เข้าเรียนคอมพิวเตอร์ แล้วนักเรียนที่เก่งด้านอื่นๆ เล่าครับ วาดรูปเก่งอดเรียน เล่นเกมเก่งอดเรียน แล้วจะหาความคิดต่างๆ ได้ยังไง
อันนี้เป็นสิ่งที่แม้แต่ในสหรัฐฯ ก็มีการโต้แย้งกันมากครับ
ฝั่งสนับสนุนการเรียนคอมพิวเตอร์แบบเน้นการเขียนโปรแกรม (ซึ่งรวมตัวผมเองด้วย) มองว่าการเขียนโปรแกรมเป็นการสอนให้คน "จัดลำดับความคิด" เพราะคอมพิวเตอร์แม้จะทำงานได้แม่นยำตามคำสั่ง แต่ไม่สามารถคิดแทนเราในแบบที่คนคิดแทนได้ คนที่จะสั่งงานมันจึงต้องสามารถอธิบายงานในรูปแบบที่แม่นยำ แน่นอน ให้ได้ก่อน
อันนี้ไม่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์โดยตรงซึ่งเป็นอีกปัญหา
ในโลกความเป็นจริง เรามีสิ่งที่ต้องเรียนเยอะมากมายครับ แต่ระบบการศึกษาคงต้องมีความเห็นร่วมระดับหนึ่งว่าอะไรที่จำเป็น อย่างคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ก็ต้องปรับให้วิชาง่ายพอและมีเนื้อหาที่มีประโยชน์กับคนส่วนใหญ่
lewcpe.com, @wasonliw
"อันนี้เป็นสิ่งที่แม้แต่ในสหรัฐฯ ก็มีการโต้แย้งกันมากครับ"
มีแหล่งอ้างอิงไหมครับ
พอดีต้องแปลบทความของ อ. ที่ standford ที่มาทำความร่วมมือ
สร้าง Fab lab ที่ดรุณสิขาลัยที่ลูกชายเรียนอยู่ (เด็กโรงเรียนนี้เรียนวิชาแกนแค่สองวิชาเอง
แต่การใช้คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ใช้แนวคิด Constructionism )
ดูในบล็อกที่มาข่าวได้เลยครับ พูดถึงการโต้แย้งเรื่องนี้ในสหรัฐฯ ไว้ด้วย
lewcpe.com, @wasonliw
เห็นด้วยครับ เพราะสำหรับผมไม่ชอบเรียนวิชา ศิลปะกับพละเลย
ไม่ใช่ว่าไม่ชอบเล่นกีฬานะครับ แต่เหมือนมันเอาเวลามาปล่อยทิ้งมากกว่า ทั้งคาบไม่ได้ทำอะไร ส่วนใหญ่ก็ว่าง
ผมว่าสองอันนี้อ่ะ สำคัญ ควรมี
คือก็ควรเก็บไว้หมดแหละครับ แต่ว่าควรจะลดรายละเอียดลง ตอนนี้มันมากเกินไป
ปล. พละเทอมที่ผมเรียนแล้วสนุกที่สุดคือ เทอมที่เรียนศิลปะป้องกันตัว (ผมเรียนไอคิโดนะ ถ้าจำไม่ผิด)
ใช่ครับ ของพวกนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าควรเก็บไว้หรือเปล่า แต่ผมอยู่ฝั่งที่อยากให้ยังคงมีอยู่ แต่ช่วยทำให้มันดีกว่านี้หน่อย
ปัญหาคือมักได้ผู้สอนที่ไม่มีคุณภาพมากกว่าครับ บางทีก็เอาเวลามาปล่อยให้เด็กเล่นกันลอยๆ วิชาพวกนี้ส่วนใหญ่ต้องใช้อาจารย์ใหม่ๆ เพราะมีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนมากกว่าทั่วไป แล้ววิชาพวกนี้จะสนุกขึ้น ;)
my blog
ตอนม.ปลาย มีโอกาสได้กลับมาเรียนศิลปะอีกรอบ หลังจากที่เรียนครั้งสุดท้ายตอนม.ต้น สนุกมาก อ.ให้ละเลงอะไรได้เต็มที่ แล้วภาพเละ ๆ มั่ว ๆ อาจารย์จะชม ดูเป็น Abstract ดี ทำให้เด็กสนุกที่จะได้ทำ
ที่สำคัญวาดเละ ๆ มั่ว ๆ แล้วต้องพรีเซนท์ได้ด้วยนะว่าภาพนี้มันสื่ออะไร
โรงเรียนผมค่อนข้างเน้นวิชาที่ไม่ใช่วิชาหลัก เน้นกิจกรรมเยอะ แต่อัตราเอ็นติด-ได้โควต้านี่สูงใช่เล่นนะครับ (เด็กห้อง 1 มี 2 คนที่เรียนเอกชน คือผมกับเพื่อนอีกคน เรียนเอแบคทั้งคู่ ที่เหลือติดมหาวิทยาลัยทั้งหมด) เป็นโรงเรียนที่เรียนแล้วสนุกนะ ผมว่า ไม่ใชว่ากลางวันเรียนวิชาหลัก วิชารองมีไว้พัก แล้วตอนเย็นมาติวต่อ ... ตอนเรียนก็แข่งกันตาย ผมว่ามันไม่ได้อะไรอ่ะกับโรงเรียนแบบนี้
อ้อ เป็นโรงเรียนฝั่งธนที่มีสนามฟุตบอลด้วยนะ เจ๋งมั้ยล่ะ :)
ปล. รุ่นพี่ผมที่ดัง ๆ ก็คุณเฉลิม อยู่บำรุง
ปลล. วลีเด็ดของอ.ผมท่านนึงคือ พวกโรงเรียนเตรียมอุดมน่ะ ก็ได้แต่รับเด็กเก่ง ๆ เข้าไป ที่เด็กมันเอ็นติดมันความสามารถเด็กเองทั้งนั้น สอนพวกเธอให้เอ็นติดได้นี่ล่ะน่าภูมิใจกว่าเยอะ แกภูมิใจที่สามารถสอนให้เด็กเอ็นติด/สอบโควต้าได้เกือบยกห้อง (สองคนเรียนเอแบค) น่ะครับ
ฟังดูดีนะครับ (- -)d เยี่ยมเลย
โรงเรียนเดียวกันป่าวหว่า ที่มีสนามบอล2สนาม ซอฟต์บอลอีกหนึ่ง
เป็นคำชม?
รร ไรหว่า
ฝั่งธนเหมือนกัน แต่มีสนามบอล สระว่ายน้ำ
มีถนนตัดผ่านพื้นที่โรงเรียน เลยต้องมีสะพานลอยในโรงเรียน
ชอบความเห็นนี้ครับ ผมเคยเข้าไปเรียนสายเทคนิคอลตามรอยเดิมที่เรียนป.ตรีมาแล้ว เวลาผ่านไปก็พบว่ามันไม่ใช่ที่ต้องการผมต้องการคนที่คิดไม่เหมือนกัน ต้องการไอเดียเลยไปเรียนสายที่รวมคนหลากหลายสาขาไว้ด้วยกัน เรียนสนุกสุด ๆ ได้อะไรกลับมามากมาย วิชาการในตำรามีอยู่หาได้ทั่วไป
ผมเรียนเขียนโปรแกรมภาษา Logo ตั้งแต่ ป4 สมัยนั้นยังใช้ Disk แผ่นใหญ่ๆอยู่เลย รู้สึกจะชอบตั้งแต่ตอนนั้น
HTML ซื้อหนังสือมาหัดเขียนเองตั้งแต่ ม.2
แล้วก็มาเรียน Delphi อีกทีตอน ม.4
Texion Business Solutions
ตอนเรียน ปวช. อาจารย์ผมให้ฝึกลากเมาส์ 100 ที
ผมเป็นหัวหน้าห้องแต่ไม่ทำเลยโดนให้ไปยืนบนเก้าอี้ 555
โหววว+ แต่ละคนเขียนโปรแกรมกันมาตั้งแต่ประถมเลย น่าอิจฉา ผมเพิ่งเขียนโปรแกรมครั้งแรกตอนเข้า ปี 1 เอง >_<
+1
ผมเรียนตอนป.2 หรือ 3 นะครับ แต่ลืมไปแล้ว ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านั่นคือเขียนโปรแกรม มารู้ตอนโตว่ามันคือภาษาที่ว่านี่ (- -") พึ่งมา shutdown เครื่องเป็นตอนม.2 นี่เอง จบมัธยมต้นมาแบบพิมพ์งานได้เพราะเรียนพิมพ์ดีดมา (>_<)
ขอบอกว่าเพลียกับวิชาคอมพิวเตอร์มาก จำได้ตอนม.4 อาจารย์สอนเปิดปิดคอมพ์ คือมันไม่ควรจะพูดแล้ว เรียนกับโปรแกรมซี ไม่สอนอะไรเลย ให้ผู้ช่วยอีกคนที่ท้องมาเดินไปเดินมา สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไร แถมไม่ได้เกรด4 ในขณะที่อีกห้องเรียนคอมไม่ได้เพราะติดเรียน รด.ได้4 เต็มหมด
แต่ม.ต้น ผมเรียนEnglish program อ.ฝรั่งสอนดีมาก ได้เด็กทำFlashส่ง สอนเขียนเวป มีเวปเป็นของตัวเอง ใช้โคดง่ายๆ เรียนแล้วสนุก
เพลียมากกับประเทศไทย บ่องตง ยังไม่นับวิชาอื่นที่เรียนพิเศษแล้วได้เกรดอีกนะ=.,=
นั่งอ่านแต่ละคอมเม้นแล้วอนาถ
โรงเรียนเราสอนได้ยิ่งใหญ่สุดคือ Logo กับเขียนแฟลชตอน ม.1 Dream ตอน ม.2
พอขึ้น ม.ปลาย กลายเป็นต้องมานั่งจำสูตร Excel ซะอย่างนั้น
เคยไปเข้าเรียนวิชาครูคอมของมหาลัยเปิด
สุดยอดมาก ขนาด Facebook คนสอนยังยืนด่าทุกคาบว่าไม่มีประโยชน์
ของคุณอนาถ แล้วของผมจะเรียกว่าอะไรครับเนี๊ย
ตอนประถมไม่มีสอนอะไรเลยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ทั้งโรงเรียนมีอยู่เครื่องเดียว ของครู เอาไว้พิมพ์ต๊อกๆ แต๊กๆ
ขึ้นมัธยมก็มีแต่ที่เรียกว่า "ชุมนุมคอมพิวเตอร์"
แย่งกันสมัครแทบตาย เพราะรับจำนวนจำกัด
พอได้ถึงคาบชุมนุม ที่ได้เรียนคือจำได้แม่น CW -*- หัดพิมพ์ชื่อตัวเอง หัดวาดตาราง
เทอมเดียวครับ ถ้าจำไม่ผิด หลังจากนั้นก็ไม่มีอีกเลย "คอมพิวเตอร์"
จนกว่าจะได้ซื้อเองตอนเรียน ปวช. 2 แล้ว อินเทล เพนเที่ยมทรี 550MHz แรม 128 การ์ดจอ S3 Savage4
จำได้แม่น ตอนนั้นถึงจะได้หึดเขียน C จาก Turbo C เอง
ไอ้ภาษา โกกงโกโก้ เนี๊ย ผมเพิ่งเคยได้ยินก็ข่าวเนี๊ย -"-
^
^
that's just my two cents.
ตอนมัธยม ...
ถ้าเทียบกับระบบของไทยนี้...
ชอบเกมส์ นี้จัง สนุกดี : )
สอนเขียนโปรแกรม
สอนปลูกข้าว
สอนเย็บปักถักร้อย
สอนทำเซรามิค
สอนเขียนแบบ
สอนซ่อมเครื่องยนต์
สอนเชื่อมเหล็ก
สอนทำเก้าอี้ไม้
สอนซักผ้า (ถุงเท้า)
สอนผ่ากบ
สอนทำอาหาร
ที่โรงเรียนผมได้ทดลองหมดเลย
แต่ที่ขาดจริงๆ ก็คงเป็นวิชาฝึกให้กล้าถามคำถาม, กล้าถกเถียงกันในห้องเรียน และ รักษาบทสนทนาให้ตรงประเด็น ครับ
ผมเถียงอาจารย์ตอน ป.6 ว่าคำตอบบนกระดานผิด โดนตีเลย ข้อหาเถียงอาจารย์ แต่สักพักอาจารย์แก้ไขบันกระดานมาเป็นแบบที่ผมบอก แต่ท่านก็เงียบไป แต่ผมไม่ได้โกรธอะไรนะ แต่เพียงกำลังบอกเฉยๆ ว่า ถ้าเป็นคนส่วนใหญ่ ก็คงไม่มีครั้งต่อไปที่จะแสดงความคิดเห็น แต่สำหรับผมก็ยังเหมือนเดิม แต่ฟังมากขึ้น จนกว่าเห็นว่าเริ่มมั่วแล้ว ก็จะเตือน หรือข้อมูลผิดจริงๆ ก็จะบอก
ป.1 - ป.6 เล่นแต่เกมทุกวัน ร้านอยู่ข้างร.ร. แม่มาตามทุกวันเลย(คอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก ) (T-T)
ผมไม่เคยเรียนเขียนโปรแกรมเลยจนกระทั้ง ปวส. ครับ
อาจเป้นเพราะโอกาสดีกว่าชาวบ้าน ตั้งแต่ ป.5 ป.6 มั้ง พี่ชายผมเขียนโปรแกรมเป็น ผมเลยลอกพี่ชาย พี่ชายเริ่มหาอะไรใหม่ๆ จากเน็ต ผมก็เริ่มเขียนโปรแกรมแบบที่มีสอนในเน็ต (ลอกพี่ชายทุกอย่าง)
ตอนนั้นส่วนมากเป็น QB กับ VB3 บน Windows 3.11
โรงเรียนผมเป็นโรงเรียนประจำตำบล สัปดาห์ที่แล้วรับสมัครนักเรียน ม.1 นักเรียนที่มาสมัครประมาณครึ่งนึงอ่านหนังสือไม่ออก
จบ ป.6 แล้วอ่านหนังสือไม่ออก! แล้วครู ม.1 จะสอนอะไร เรียนอะไรกัน :-( พูดไม่ออกเลย...
ครูหนึ่งคนเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วได้คำตอบว่า 100 ดอลลาร์ต่อเดือน
ทำไมผมรู้สึกว่ามันน้อย
ผมกว่าจะได้เรียนเขียนโปรแกรมก็นู่น เข้ามหาลัยแล้ว
ถ้าไม่นับ HTML กับ BASIC ง่อยๆ ที่เรียนเองอะนะ
สุดท้ายไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับคอม (จริงๆ ป ตรี ก็ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับคอมแล้ว) แต่ก็ยังมี Skill การเขียน program ติดตัว เรียกได้ว่าอาจจะไม่ได้เรียน Algorithm เป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็เขียนพวก Macro ได้ ไม่กลัวคอมกัด
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
How about in case of nested loops?