สมาคมภาษาของประเทศสวีเดนได้ตัดสินใจตัดคำว่า Ungoogleable ที่แปลว่า "ไม่สามารถกูเกิลได้เจอ" (ใช้คำว่ากูเกิลเป็นกริยา) ออกจากกลุ่มคำใหม่ที่ถูกบรรจุเข้าสู่พจนานุกรมภาษาสวีดิช หลังจากที่โดนแรงกดดันจากฝ่ายกฎหมายของกูเกิล
จากรายงานของสถานีวิทยุแห่งชาติ Sveriges Radio นาง Ann Cederberg ประธานสมาคมฯ ได้ออกมากล่าวว่านักกฎหมายของกูเกิลได้เสียเวลาและทรัพยากรมากเกินความจำเป็น กับการที่จะเอาคำคำนี้คำเดียวออกจากพจนานุกรม อย่างไรก็ตาม Cederberg เชื่อว่ากูเกิลไม่มีทางหลีกเลี่ยงการใช้คำ ๆ นี้ได้ เพราะมันกลายเป็นคำนิยมใช้กันในสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การกระทำของกูเกิลในครั้งนี้น่าจะเป็นการพยายามรักษาสิทธิในเครื่องหมายทางการค้าของตัวเอง นั่นก็คือ "Google" ก่อนที่มันจะกลายเป็นคำสามัญทั่วไป ซึ่งอาจจะมีผลทำให้กูเกิลไม่สามารถใช้เครื่องหมายทางการค้าของตัวเองได้ในอนาคต
ที่มา - The Verge
Comments
น่าจะใช้คำภาษาสวีเดนคือ ogooglebar มากกว่านะครับ แล้วค่อยแปลว่า ungoogleable
ลบละกัน
อย่างกรณี App Store ที่ Amazon ชนะ Apple ใช่ไหมครับ? แล้วอย่างกรณีชื่อ Apple เองล่ะครับ? ไม่ใช่คำทั่วไปเหรอ?
สามารถนำคำทั่วไปมาใช้เป็นชื่อทางการค้าได้ ถ้าสินค้าไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำนั้นครับ
อารมณ์ซีร็อก แฟ้บ ซันไลต์ ของคนไทย
ในเมื่อเค้าหมายถึง Google ที่เป็นคำกริยา ไม่ใช่ Google ที่เป็นนาม ก็ไม่เห็นจะผิดตรงใหน
"ไม่สามารถกูเกิลได้เจอ" งงนะเนี่ย
มองคำว่า กูเกิล เป็นคำกิริยาสิครับ : )
Unable - > ไม่สามารถ
Google -> กูเกิล
Ungoogleable -> ไม่สามารถหาข้อมูลจากกูเกิลได้
ผมก็ไม่เคยใช้คำว่า Google แทนคำว่าหาซักทีนะครับ มันดูแปลกๆ ไม่เคยพูดว่า "เดี๋ยวไปกูเกิลแปบ" มีแต่บอกว่า "เดี๋ยวไปเซิสกูเกิลแปบ"
ผมเคยเห็นคนใช้แหะ ตอนไปภาคเหนือ เจอภาษาเหนือเข้าไป น้องก็พูดกับผมว่า "Google ด่วน" น่าจะหมายถึงให้ไปค้นความหมายใน Google น่ะครับ
คงหมายถึงให้ไปถาม อากู๋ ดูครับ
เค้าพูดย่อหน่ะครับ ประมานว่า "เข้ากูเกิลด่วน" ถ้าผมทำรายงานแล้วหาข้อมูลไม่เจอผมก้ออาจจะบอกเพื่อนว่า "เฮ่ยกูเกิลดิ๊" ประมานนั้น ถ้าจะแปลคำศัพท์ผมก็ว่าเราควรจะแปลให้คนอื่นเข้าใจนะครับ ไม่ใช่ต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทยอีกที ผมขอยกตัวอย่างที่ slashdot แปลไว้
'ungoogleable,' meaning something that can't be found with a search engine.
Ref: tech.slashdot.org
ผมก็ใช้คำว่า "ลองกูเกิ้ลดู" แทนคำว่าเสิร์ชไปแล้วครับ
ฝรั่งเค้าใช้ว่า google it เลยครับ
ตามนั้น :) รร ผม google it ทั้ง รร
+1 ฝรั่งใช้ I googled it ก็มี ประมาณเป็นคำกิริยาไปเลย
^
^
that's just my two cents.
ญี่ปุ่นก็ใช้.
บางทีผมก็ชอบใช้ Bing google เอา (ใช้Bingค้นหาเอา)
ผมใช้นะ ปัจจุบันถ้าต้องใช้ Internet หาข้อมูล จะพูดเลยว่า "Google ดิ"
ผมใช้นะ เวลาไล่พวกโง่+ขี้เกียจ ให้ไปหาข้อมูลเองบ้างก็ด่าไป JFGI จัส ฟุคกลิ้ง กูเกิล อิท :)
โอ้ว
บอร์ดฝรั่งเจอประจำครับ googling มั่ง google it มั่ง google for มั่ง
ถ้าเป็นบ้านเรา คงคล้ายๆกับ "ไปวินนิ่งกัน" หรือ "เดี๋ยว line/whatsapp ไป" ครับ มันเป็นเหมือนแสลงที่ละกริยา จนตัวมันเองเป็นกริยา ซึ่งต่างประเทศใช้กันเยอะอยู่
อ่านข่าวแล้วไม่เข้าใจอ่ะครับ
อันผมเกิ้ลเอเบิ้ล
ฮาาา คำว่า Googling ถูกใช้ครั้งแรก โดย Larry Page ใน mailing list "Have fun and keep googling!"
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Google_(verb)
:: DigiKin8 ::
การตลาดล้วนๆสินะคะ อ่านแล้วแอบฮาเบาๆ
เป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับแบรนด์จริงๆ ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Generic_trademark
ใน Oxford Advanced Learner's Dictionary เล่มที่ 8 ปี 2010 หน้า 647 บอกไว้ว่า google เป็นกริยา โดยในพจนานุกรมใช้คำแปลว่า (somebody or something) to type words into the SEARCH ENGINE Google in order to find information about somebody or something โดยในพจนานนุกรมได้ยกตัวอย่างไว้เช่น You can google someone you've recently met to see what information is available about them on the Internet. เป็นต้น
งั้น 2 คำนี้ควรแปลว่าอะไรดี
Unbingable ไม่สามารถ bing ได้
Unappleable ไม่สามารถออกรุ่นใหม่หน้าตาเดิมเติม S แล้วขายถล่มทลายได้ ฮ่าๆๆๆ
มันน่าจะเป็นการโฆษณาชั้นดีมากกว่านะที่คนเรียกจนติดปาก นักการตลาดย่อมเล็งชื่อที่จดจำได้ง่าย
กรณีส่วนใหญ่ Generic Term จะทำลาย Brand มากกว่าครับ
มันจะเสียสภาพเครื่องหมายการค้าครับ
หลักการของเครื่องหมายการค้าคือ เป็นเครื่องหมายเฉพาะให้กับรายใดรายหนึ่ง คุ้มครองไม่ให้รายอื่นมาใช้ให้สับสน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตนมใช้ชื่อว่า มะลิ ผู้ผลิตนมรายอื่นจะมาใช้ชื่อ มะลิ นี้ไม่ได้
ดังนั้นแล้ว การใช้เครื่องหมายการค้า จึงห้ามใช้ชื่อสามัญของสินค้านั้นๆ เช่น จะมาตั้งชื่อนมว่า นม อย่างนี้ไม่ได้ (เพราะถ้าได้ ก็แปลว่าผู้ผลิตรายอื่นห้ามเรียกสินค้าตัวเองว่านม)
ทีนี้ พอเครื่องหมายการค้าถูกเอาไปใช้เป็นคำสามัญ ถึงจุดนึง เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็อาจจะเสียการคุ้มครองทางกฎหมายในฐานะเครื่องหมายการค้าได้ เพราะถือว่าเป็นคำสามัญแล้ว ตัวอย่างที่เคยเกิดก็อย่าง escalator หรือ aspirin ที่เคยเป็นชื่อทางการค้ามาก่อน แต่กลายเป็นคำสามัญในภายหลัง (ดู generic trademark)
ดังนั้น ถ้าคำว่า google กลายเป็นคำสามัญของการเสิร์ชเมื่อไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่บริษัทจะเสียสิทธิเครื่องหมายการค้าไป บริษัทก็เลยจะต้องพยายามที่จะไม่ให้คำนี้กลายเป็นคำสามัญ
ทีแรกคิดว่าเขาน่าจะดีใจที่แบรนด์ติดปากเป็นคำสามัญไปเลย มาถึงย่อหน้าสุดท้ายถึงบางอ้อเลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จดเครื่องหมายการค้าแล้วโดนถอนได้ด้วยเหรอครับ ในเมื่อมันเกิดก่อน