ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา Google ถูกตั้งคำถามมาโดยตลอดเรื่องการเสียภาษีให้รัฐบาลสหราชอาณาจักร จนนำมาสู่การถกเถียงในวงกว้างว่าแท้จริงแล้วยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกานี้กำลังหลบเลี่ยงภาษีอยู่หรือไม่ ซึ่ง Eric Schmidt ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้โดยบอกว่าเขาไม่เข้าใจในประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่นี้ พร้อมยืนยันว่า Google ดำเนินการต่างๆ ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ
ย้อนกลับไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนของปีก่อน สภานิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรได้เชิญผู้บริหารของ Google ประจำเขตสหราชอาณาจักรเข้าชี้แจงเรื่องการเสียภาษีเงินได้ เนื่องจาก Google มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในภูมิภาคสหราชอาณาจักรเป็นเงินราว 4 พันล้านปอนด์ แต่กลับเสียภาษีน้อยมากเพียง 2.1 ล้านปอนด์ (ประมาณ 0.053% ของรายได้) แตกต่างเป็นอย่างมากจากอัตราภาษีที่กฎหมายระบุไว้ 23% ของเงินได้
ผลของการสืบสวนเป็นที่ทราบกันว่า Google ใช้วิธีการลงรายรับส่วนใหญ่ในนามของบริษัทย่อยซึ่งตั้งใน Ireland อันเป็นประเทศที่อยู่นอกสหราชอาณาจักร และมีอัตราการเสียภาษีต่ำกว่าอยู่ที่ 12.5% ซึ่งด้วยแนวทางนี้ดูเหมือน Google จะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการกระทำผิดกฏหมายโดยเลี่ยงภาษี
อย่างไรก็ตามล่าสุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน อดีตเจ้าหน้าที่ของ Google ในสหราชอาณาจักรอีกรายหนึ่งได้ออกมาให้ข้อมูลว่าตนมีหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ได้ว่า Google ได้กระทำความผิดจริงโดยปกปิดข้อมูลรายรับบางส่วนเพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยเขาระบุว่างานการขายโฆษณาที่สำคัญส่วนใหญ่จะทำผ่านทีมงานใน London และนั่นควรทำให้เกิดตัวเลขรายรับในเขต England ของสหราชอาณาจักร ไม่ใช่ใน Ireland ตามที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ อย่างไรก็ตามประเด็นหลักฐานใหม่นี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวนโดยยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
ผลจากความร้อนแรงเกี่ยวกับข้อวิพากษ์วิจารณ์ข้างต้น Schmidt หัวเรือใหญ่ของ Google ในฐานะประธานผู้บริหารของบริษัท ได้ออกมาให้สัมภาษณ์แก่สื่อ BBC โดยกล่าวว่า การถกเถียงในประเด็นภาษีของ Google นั้นทำให้เขารู้สึกงุนงง โดยเขากล่าวว่าสิ่งที่ Google ทำนั้นถูกต้องตามกฎหมายระบุไว้ทุกประการ
เขาพยายามตอบคำถามง่ายๆ ว่า "หากรัฐบาลปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษี เราก็ยินดีปฏิบัติตาม, หากรัฐบาลปรับขึ้นอัตราภาษี Google ก็จะจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น หรือหากภาครัฐจะปรับอัตราภาษีลงมา Google ก็จะจ่ายภาษีน้อยลง, มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร"
นอกจาก Google แล้ว Amazon และ Starbucks ก็เคยได้รับเชิญไปชี้แจงประเด็นการเสียภาษีต่อสภานิติบัญญัติแห่งสหราชอาณาจักรเมื่อปีก่อนด้วยเช่นกัน ในขณะที่ Apple เองก็กำลังอยู่ภายใต้ความกดดันจากภาครัฐของประเทศแม่อย่างสหรัฐอเมริกาในประเด็นที่ว่า Apple ลงตัวเลขรายรับส่วนใหญ่ในบัญชีประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราการเสียภาษีต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี คล้ายคลึงกับที่ Google กำลังโดนสหราชอาณาจักรเพ่งเล็งอยู่เช่นกัน
Comments
รัฐบาลทั่วโลกถังแตก พยายามรีดไถบริษัทรวย ๆ สินะแบบนี้
ถ้าเป็น EU สอบสวนผมยิ่งเชื่อตามนี้เลยครับ
การตรวจสอบภาษีเป็นสิ่งที่รัฐบาลของแต่ละประเทศดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว ... บริษัทไหนสามารถชี้แจงได้อย่างมีเหตุผลก็ไม่มีความผิดอะไรที่รัฐบาลนั้น ๆ จะไปลงโทษ ...
กรณีนี้ เมื่อตรวจสอบแล้วพบส่ิงผิดปกติ แต่ยังถูกกฏหมาย เพียงแค่เรียกมาให้บริษัทชี้แจง ยังไม่ได้ลงโทษอะไร ... คงจะไม่ใช้ประเด็นการต้องการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล
เมืองไทยก็มีที่ๆไม่สามารถชี้แจงได้ และไม่สามารถดูบัญชีได้เลย ..
+1 ครับ
จะพูดมากไปเด๋วผมโดนว่า ว่านี้ไม่ใช่ บอร์ดการเมืองอีก ^^
เช่นบริษัทอะไรเหรอครับ
มหาชนนะ
โพสซะขนาดนี้แล้ว ก็เอ่ยชื่อไปเลย กล้าๆหน่อยสิ
และไม่เสียภาษีซักบาทด้วย ฮิฮิฮิ
หมายถึงบางองค์กรที่ลงทุนแข่งกับเอกชน แต่ไม่ต้องเสียภาษี แถมไม่มีใครตรวจสอบได้ แม้แต่สตง. ปปช. ใช่ไหมครับ?
ขอถาม
คนไทยเข้า google เห็น ad แล้ว google ได้ตังค์
google ต้องจ่ายภาษีให้ รบ.ไทย ไหม?
ขอถามเหมือนกันครับ
google ลงทุนทำระบบค้นหา ลงทุน server ให้ใช้ฟรีแทบจะเกือบทุกอย่าง
คนไทย ต้องจ่ายเงินให้ google ไหม?
ค่าภาษี ad ที่ google ได้ตังค์แล้วไม่ต้องจ่ายให้ รบ.ไทย ก็เหมือนค่าใช้จ่ายที่ใช้งานฟรีของคนไทยทั้งประเทศครับ
ไม่มีลายเซ็น
ตรรกะแบบนี้ไม่ถูกครับ
มันคนละประเด็นกันครับ
ใช่ครับ คนละประเด็น แต่ผมอยากจะชี้แค่ว่า ทุกฝ่ายต้องคุยกันเพื่อให้มันถูกต้องนะครับ แต่ตอนนี้ก็ไม่มีใครคุยกัน ก็เลยต้องยกประโยชน์ไปก่อน เพราะว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันนะครับ
ไม่มีลายเซ็น
อ่านๆดูแล้ว google ก็ไม่ได้ทำอะไรผิดนี้ครับ
กูเกิ้ลไม่ได้ตังจากคนไทยนี่ครับ เขาได้ตังค์จะที่อื่น ตามกฏหมายภาษีใครมีรายได้ก็ต้องเป็นคนจ่าย .... กูเกิ้ลเลยเลี่ยงภาษีโดยไม่ผิดกฏหมาย
แล้วแต่กฎหมายภาษีของแต่ละประเทศ
จริงๆ แล้วคำตอบอยู่ในบทความแล้วครับ
ถ้ารายได้ของ ads เข้าบริษัทที่จดทะเบียนที่ประเทศไหนก็จ่ายที่ประเทศนั้นครับ ถ้าจำไม่ผิด และเข้าใจไม่ผิด เศรษฐีหลายๆ คนในสหรัฐอเมริกาใช้วิธีเอาเงินฝากไปฝากในประเทศอื่นที่ภาษีต่ำเพื่อเลี่ยงภาษีเงินฝากด้วยครับ
อย่าง kim.com ที่เป็นเจ้าของ megaupload (ตอนนี้คือ mega) ก็เอาเซิร์ฟเวอร์ไปวางที่ประเทศนิวซิแลนด์มั้ง (ขออภัยจำไม่ได้) เพื่อหลีกเลี่ยงกฏหมายการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ของอเมริกาครับ ส่วนรายได้ก็ต้องดูว่าเข้าไปยังบริษัทที่จดทะเบียน ณ ประเทศใด
สรุปสั้นๆ ... ธุรกรรมเข้าที่บริษัทใดประเทศใดก็จ่ายภาษีประเทศนั้น และใช้กฏหมายประเทศนั้นครับ
ไม่งั้นถ้าคนดูครบทั้งโลกมีหวัง ... จ่ายภาษีรอบตัว
+1 แต่จริงๆแล้วกฏหมายไทยเรื่องภาษียังไม่ทันในเรื่องการพาณิยช์ บนโลกอินเตอร์เน็ต
กูเกิลเลยไม่มาไทยแบบเต็มตัวไงครับ
เรื่อง กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้วยอีกส่วนหนึ่ง, เรื่องกฏหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ด้วยอีกส่วนหนึ่ง
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ผมคิดว่า......
ต้องไปดูว่ารายได้จาก Ad นั้นๆ เป็นรายได้เข้าที่ประเทศไหน
ถ้าเป็น Ad ที่ขายให้ผู้ประกอบการในไทย (เก็บเงินจากผู้ประกอบการในไทย) เกิดรายรับในไทย ก็ต้องเสียภาษีให้ รบ.ไทย ด้วยล่ะครับ
แต่ถ้าเป็น Ad ที่ขายให้ผู้ประกอบการเมืองนอก ต่อให้มันมาแสดงผลต่อหน้าคนไทย ในเว็บไซต์เมืองไทย และมีการเปิดดูหรือเข้าถึงโดยผู้ใช้งานในประเทศไทย ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีให้ รบ.ไทย แต่ต้องไปจ่ายให้ รบ.เมืองนอก (ที่มีการตกลง ซื้อ-ขาย โฆษณานั้นล่ะคับ)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
+1 น่าจะเป็นแนวนี้ครับ
รายได้เกิดตรงไหน ก็จ่ายภาษีตรงนั้น
ถ้าทำธุรกรรมซื้อขายพื้นที่โฆษณาในไทย ก็ควรเสียภาษีในไทยครับ
ถ้าเป็น ad ที่มาจากตปท.แล้วเราเห็น ก็คงไม่ต้องเสียภาษีนะ
ไม่เกี่ยวกับว่าใครเห็นซะหน่อย เหมือนเบียร์ไทยไปซื้อพื้นที่โฆษณาข้างสนามบอลเมืองนอก แล้วคนไทยเห็นจากการถ่ายทอดสด ทีมบอลนั้นก็คงไม่ต้องตามมาเสียภาษีในไทยหรอกมั้งครับ
บ.กับserverที่ขายadไม่ได้ตั้งในไทย แล้วจะเสียภาษีให้ไทยได้ยังไง?
ยังไงถ้าผู้ซื้อad อยู่ในไทย มีรายได้ขายของจากการโฆษณานั้นได้ ก็ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศตัวเองอยู่แล้วไม่ว่าลูกค้าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติจากที่อื่นในโลก
googleก็เช่นกัน มีรายได้จากการขายad เขาก็จ่ายภาษีเข้าประเทศที่ตั้งบ.หรือserverไปเท่านั้นเอง
เหมือนตัวอย่างเรื่องโฆษณาเสื้อที่คุณยกมา คนซื้อad คือบ.ไทย แต่ซื้อโฆษณาที่บ.ทีมฟุตบอลที่เมืองนอก แม้ว่าจะทำให้คนไทยดู และซื้อสินค้าของบ.ที่ซื้อโฆษณาในไทย แต่ทีมฟุตบอล เขาก็ไม่ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทยสักหน่อย เขาก็เสียภาษีให้ที่ตั้งของบ.ทีมฟุตบอลเขาก็คืออังกฤษเท่านั้นเอง
เข้าใจว่า กรณีนี้ เขาไม่ได้จ่ายเงินกันในประเทศไทย ดังนั้นคงไม่ใช่รายได้ที่เกิดในประเทศไทยครับ
ผมจินตนาการว่า การที่เราเห็น ad ที่เป็น server เมืองนอกนั้น เหมือนเรา บินไปเที่ยวดิสนี่แลนด์(server) แล้วซื้อเสื้อ(เห็น ad)
ดิสนี่แลนด์ จ่ายภาษีให้ประเทศที่เค้าตั้งอยู่ ไม่ได้สนว่าคนชาติไหนจะมาซื้อ -->> server ตั้งอยู่ที่ไหน ทำรายได้จากใครก็ตามในโลกมาดู ก็จ่ายภาษีให้ประเทศที่ server ตั้งอยู่ เพราะใช้ทรัพยากรของเค้าในการตั้ง server
ส่วนเสื้อนั้นอาจจะผลิตมาจากประเทศไทย ซึ่งบริษัทขายเสื้อก็ต้องจ่ายภาษีให้ไทยตามรายได้อยู่แล้ว -->>บริษัทที่ซื้อ ad ของ google พอมีคนมาเห็น มีคนซื้อของเค้า เค้าเกิดรายได้ เค้าก็จ่ายภาษีให้ประเทศนั้นๆที่ตัวเองตั้งอยู่
เรื่องปกติ บริษัทไหนๆ ก็ทำกัน
"ใคร ๆ ก็ทำ" ไม่ได้แปลว่าถูกต้องเสมอไปนะครับ ^_^
ไม่ได้ว่ากรณีนี้ผิดหรือถูก แต่ประโยคลอย ๆ แบบนี้เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันนะครับผม
blog.semicolon.in.th
+1 "ใครๆ ก็ทำกัน" เป็นประโยคที่ผมเจอบ่อย เวลาคนทำผิดกันนะครับ
ปล. แต่กรณีนี้ไม่ได้ว่าผิดหรือถูกนะครับ
ผมมองว่าท่าน narasak ก็แสดงความคิดเห็นในข่าวนี้ มันก็ต้องพูดถึงเรื่องนี้สิครับ จะไปหมายรวมถึงเรื่องอื่นให้ปวดหัวทำไม
โลกธุรกิจใครๆเค้าก็เลี่ยงภาษีครับ บุคคลทั่วไปก็หัดลดหย่อนต่างๆนาๆได้ บริษัทใหญ่ๆ ก็ซอยบริษัทลูกเป็นรายย่อยๆ ถ้าช่องกฎหมายเปิดไว้ให้ จะทำก็ไม่ผิดครับ
เรื่องจริยธรรมอะไรนั่นมันไม่มีเกณฑ์ตัดสินที่แน่นอนจริงไหมครับ แค่ทำตามกติกาได้ครบถ้วนก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ไม่งั้นก็ไม่จบไม่สิ้นกันพอดี
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ข้ออ้าง เมื่ออยู่ในคนกลุ่มใหญ่ จะกลายเปนเหตุผล เท่าที่สังเกตมาเอง
กฎหมายก็ไม่ใช่ว่าจะต้องถูกต้องเสมอไปเหมือนกันน่ะครับ
ผู้ที่ออกกฏหมายก็เหมือนนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ถ้าออกแบบมาไม่ดีผู้เสียภาษีรู้สึกว่าถูกขูดรีด เค้าก็ต้องหาทางออกโดยไม่ผิดกม. แต่ถ้าออกแบบมาดีคนก็ยินดีจะจ่าย มันเป็นการต่อรองของมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์สองฝั่ง ภายรัฐก็รู้ดีว่าถ้าบีบมากไปก็ไม่มีใครยอมจ่าย แต่ถ้าน้อยไปก็ไม่มีรายได้ ฝ่ายผู้เสียภาษีก็ต้องบริหารความเสี่ยง หาวิธีอยู่รอดให้ได้โดยที่ไม่มีความผิด
กฎหมายไม่ดี ก็ต้องแก้กฎหมายครับ
ทำไมต้องจ่ายให้กับกูเกิลในเมื่อเขามีรายได้จากโฆษณา เหมือนเราดูทีวีทำไมต้องจ่ายค่าดู ในเมื่อเขามีรายได้จากค่าโฆษณา ยกเว้นเคเบิลทีวี
ค่าวางโครงข่าย ค่าทราฟิก ค่าเซิฟเวอร์ ค่าจ้างแอดมินควบคุมดูแล บลาๆ บริการเป็นของเขาเขาจะคิดค่าบริการหรือไม่ขึ้นกับเขานะครับ
อย่าคิดว่าบางบริการเขาให้ฟรีแล้วบริการอื่นๆมันต้องฟรีเหมือนๆกันหมด ประเทศอื่นบางประเทศค่าดูทีวีต้องจ่ายต่อเครื่องนะ
ป.ล.แล้วถ้าค่าโฆษณาเกิดได้ไม่มากพอกับค่าดำเนินการ ไม่ต้องปิดบริษัทเลยเหรอครับ?
นิตยสารมีโฆษณามาครึ่งเล่ม ยังมีวางขายอยู่ทุกแผงหนังสือ
นสพ. มีพื้นที่โฆษณาทั้งด้านนอก, ด้านใน, หน้ากลาง, ครึ่งหน้า ฯลฯ ก็ยังมีวางขายนะครับ
เคเบิลทีวีอย่างทรูวิชั่นที่จ่ายตังค์ดูกัน....มีโฆษณามั้ยครับ?????
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ถ้าตัวเงิน หรือบัญชี หรือรายได้อยู๋ที่ไทยล่ะก็ google ก็ต้องเสียภาษีให้ไทยครับ ผมเข้าใจคร่าวๆว่าแบบนี้นะ
มันเป็น tax avoidance (หลีกเลี่ยงภาษี ไม่ผิดตัวบทกฎหมาย) ไม่ใช่ tax evasion (หนีภาษี ฝืนกฎหมาย)
เรื่องนี้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจและเหมารวมว่าเป็นเรื่องเดียวกันครับ
Google ตั้ง Schmidt ไว้เถียงอย่างเดียว
ใจเย็นๆ นะครับ เห็นว่าออกความเห็นแนวนี้ทุกข่าวเลย
+1
ผมว่า google คงวางแผนภาษีแหละครับว่า จะใช้ฐานรายได้ให้เกิดขึ้นที่ไหน ยกตัวอย่างคร่าวๆ
ถ้าคิดว่าอังกฤษ ภาษีสูงกว่า ireland ก็ให้บริษัทที่ตั้งขึ้นที่ ireland เป็นคนทำธุรกรรมกับบริษัทที่จะ
ให้โฆษณา
เหมือนกรณี สิงห์ไปสนับสนุนเซลซี ถ้าจ่ายเงินให้เชลซีจากบัญชีในประเทศไทย เชลซีก็ถือว่ามีรายได้จาก
เมืองไทยก็โดนหักภาษีให้ รบ ไทย แต่ถ้าสิงห์เกิดมีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามพวกหมู่เกาะที่ปลอดภาษี แล้วใช้
บริษัทนั้นจ่ายให้ รบ. ไทยก็อด เหมือนกัน
สมมตินะครับ บริษัท กูเก่ง จำกัด ให้พนักงานในไทย ติดต่อขายโฆษณา แต่เวลา ตกลงทำสัญญาซื้อขาย ให้ บริษัทในมาเลเซียทำสัญญาเพราะจ่ายภาษีในมาเลเซียน้อยกว่าในไทย
เราควรเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า บริหารภาษี หรือ เลี่ยงภาษีดีครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ตรงนี้มีอธิบายไว้แล้วครับ
เข้าใจละครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ผมเข้าใจเอาเองว่าตรงนี้เป็นช่องโหว่ของกฏหมายนะครับ หรือถ้ามองอีกมุมนึงอาจไม่ใช่ช่องโหว่ แต่อาจจะตั้งใจเว้นไว้ให้เป็นอย่างนี้ครับ
เค้าไม่ได้ทำผิดกฏหมาย เค้าทำในสิ่งที่กฏหมายไม่ได้ห้ามเอาไว้, ใครสักคนกล่าวเอาไว้
ดีนะเค้าไม่ตอบว่า Google ไม่ได้ทำผิดกฏหมาย แค่ทำในสิ่งที่กฏหมายห้าม
ใครสักกล่าวไว้ก็ไม่รู้
คุ้นๆ ว่าแอปเปิลพึ่งโดนจัดหนักเรื่องทำนองนี้ไปเช่นกัน.. แต่หาข่าวใน blognone ไม่เจอ ถ้ามีข่าวนี้และใครทราบว่าอยู่ตรงไหน วานช่วยชี้เป้าทีครับผม
เนื้อข่าวเคยอ่านแล้ว แต่อ่านจากที่อื่น.. ที่สนใจคืออยากดู comment ของข่าวนี้ใน blognone
ทักษิณงง! เลี่ยงภาษีตรงไหน?
ฟริ้วววว