เมื่อไม่นานมานี้ทาง EMC ประเทศไทยได้เชิญสื่อมวลชนเข้าไปพูดคุยถึงแนวทางใหม่ของดาต้าเซนเตอร์ในประเทศไทย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงหลังจากเจอกับน้ำท่วมไปเมื่อสองปีก่อน
เท้าความจากทิศทางของเมื่อปีก่อนจะเห็นว่า EMC เองก็เล็งเห็นว่าภาคธุรกิจในประเทศไทยให้ความสำคัญกับไซต์สำรอง (DR site) ที่นอกเหนือไปจากการป้องกันภัยพิบัติ แต่มองไปถึงความต่อเนื่องของธุรกิจด้วย จากข้อมูลที่ทาง EMC นำมาให้ดูก็พบว่าจริงแล้วการที่ดาต้าเซนเตอร์ต้องหยุดทำงานนั้นมีเหตุมาจากภัยพิบัติน้อยมากๆ (ต่ำกว่า 1%) แต่สาเหตุใหญ่ๆ กลับมาจากรอบการทำงานพื้นฐานอย่างการแบ็คอัพ, อัพเกรด, ดูแลระบบ ฯลฯ ที่กินเวลาไปมากถึง 85% สูงกว่าความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เสียอีก
ปัญหาที่ว่ามานี้เกิดขึ้นในการใช้งานดาต้าเซนเตอร์แบบเดิมที่เราเรียกว่า Active-Passive คือใช้งานเพียงไซต์เดียว และมีอีกไซต์ไว้ยามฉุกเฉิน โดยจะอยู่ในสถานะว่าง (Idle) แนวทางของ EMC ที่มาเปลี่ยนระบบนี้คือการทำให้ดาต้าเซนเตอร์เป็นแบบ Active-Active โดยใช้งานทั้งสองไซต์พร้อมๆ กัน โดยโซลูชันของ EMC ตัวนี้ชื่อว่า VPLEX ครับ
จุดเด่นหลักของ VPLEX คือการเข้าถึงข้อมูลได้จากสองไซต์ได้ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เข้าดูจะเป็นชุดเดียวกันเสมอ (เพราะซิงก์กันแบบ synchronous) และเมื่อไซต์หนึ่งดาวน์ไปด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ระบบจะโยกแอพที่รันอยู่ไปยังอีกไซต์หนึ่งทันที จึงทำให้เกิด business continuity
จากภาพด้านบนจะเห็น VPLEX มีสามรุ่นย่อย อธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ
EMC อธิบายว่าการเปลี่ยนมาใช้โซลูชันนี้นอกจากความต่อเนื่องทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรในระบบให้คุ้มค่ามากขึ้น และลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามการจะเปลี่ยนมาเป็น Active-Active ได้นั้นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างภายในดาต้าเซนเตอร์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และเหมาะกับส่วนธุรกิจที่จำเป็นต้องรันได้ตลอดเวลาจริงๆ ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาตั้งแต่เปิดตัวโซลูชันนี้มา EMC บอกว่ามีลูกค้าในประเทศไทย (เป็นบริษัททางการเงิน) ใช้งานโซลูชันนี้ไปแล้วหนึ่งราย ส่วนของต่างประเทศที่มีเคสติดตั้งไปและเปิดเผยได้ก็มีของสนามบินมิวนิคครับ
สำหรับใครที่ยังงงๆ เรื่อง Active-Active อยู่ ลองดูวิดีโอด้านล่างประกอบไปเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นครับ
Comments
หากพูดเข้าใจง่าย ๆ คือ การทำ Disk Mirroring ( RAID 1 )
เอาแบบประสิทธิภาพสูงสุด คือ Synchronous หรือ Asynchronous ระดับ Disk Sector
แต่ผมไม่เชื่อว่าจะทำได้ในระดับ Memory หรือ RAM เพราะหากทำเช่นนั้นจริง ๆ ประสิทธิภาพ ระหว่าง Mirroring กับ Performace มันจะ "ผกผัน" กัน ยิ่งมีข้อมูลซึ่งต้อง Update เยอะ ๆ ยิ่งเห็นชัด
แค่ทำ Disk Mirroring ก็มีความ "ผกผัน" เยอะแล้ว ยกเว้นเป็น Passive
ที่สำคัญ VMware ไม่ได้เข้าไปร่วมจัดการ Vitural Memory ร่วมกับ Operating Systems ทำแค่เตรียมสภาพแวดล้อมของ Memroy หรือ RAM กับ Disk Sector ระบบ BIOS หรือ Firmware เท่านั้น
ปล. ผมว่าขาดข้อมูล ...ด้าน Computer Architecture ครับ