เวลาที่เราฝากเงิน ตัวเลือกแรกที่เราฝากกันเสมอคือ ฝากออมทรัพย์ หรือไม่ก็ฝากเผื่อเรียก แม้ชื่อของการฝากออมทรัพย์จะเป็นการฝากเพื่อออม แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราต้องการออมเงินในระยะยาวจริงๆ การฝากแบบฝากออมทรัพย์กลับเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนักเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เราจะมาดูกันว่าเงินฝากแบบไหนที่เหมาะกับเรา
เมื่อก่อนนี้ ธนาคารมักจะมีเงินฝากสี่รูปแบบหลักๆ ได้แก่
- เงินฝากออมทรัพย์ ไม่มีเงื่อนไขในการถอน คือจะฝากหรือถอนเท่าไหร่ก็ได้ ยกเว้นถอนด้วยบัตรเอทีเอ็มที่จะมีกำหนดจำนวนเงินและครั้งในการถอนผ่านบัตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายรับรายจ่ายเป็นประจำ และสามารถทำรายการถอนเงินด้วยตัวเองได้ แต่ข้อเสียสำคัญคือดอกเบี้ยน้อย
- เงินฝากประจำ จะมีอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าสูงกว่าเงินฝากออกทรัพย์ แต่จะมีเงื่อนไขระยะเวลาระบุ เช่น 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินและไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะต้องคงเงินเอาไว้ในบัญชีตามที่ระบุไว้ ไม่อย่างนั้นดอกเบี้ยจะลดลง และเนื่องจากเป็นเงินฝากระยะยาว หลายธนาคารจะระบุขั้นต่ำไว้ระดับ 10,000 บาทไปจนถึงหลักแสนบาท
- เงินฝากปลอดภาษี เป็นเงินฝากประจำที่มีเงื่อนไขระบุระยะเวลา ลูกค้าจะต้องส่งมอบเงินฝากให้ธนาคารประจำทุกเดือน ยอดรวมไม่เกิน 600,000 บาทเมื่อครบกำหนด เหมาะกับผู้มีรายได้สม่ำเสมอและต้องการสร้างวินัยในการออมอย่างมาก เพราะต้องฝากเท่ากันทุกเดือนเป็นเวลานับปีจนกระทั่งครบแล้วจึงจะถอนออกมาได้ หากต้องใช้เงินระหว่างนั้นก็จะกลายเป็นเสียผลประโยชน์ไป
- เงินฝากกระแสรายวัน ไม่มีข้อจำกัดในการถอน แต่ลูกค้าจะไม่ได้รับสมุดเงินฝาก แต่จะถอนเงินได้ในรูปของเช็คแทน เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการถอนเงินเป็นประจำโดยไม่ต้องการถอนเงินด้วยตัวเอง คือใช้เช็คในการจ่ายเงินแทน รูปแบบนี้แม้จะสะดวกหลายอย่างแต่ก็แลกมาด้วยการไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย
ลองมาดูอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2556 กันเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
จะเห็นว่าอัตราดอกเบื้ยโดยทั่วไป การฝากออมทรัพย์จะให้ดอกเบื้ยต่ำมาก ขณะที่ดอกเบื้ยของการฝากประจำนั้นอาจจะสูงได้ถึง 3% ต่อปี แต่ก็หมายถึงเราจะถูกจำกัดการฝากถอนเงินไปถึงสองปีเต็ม
ช่วงหลังหลายธนาคารเริ่มให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ที่เปิดให้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ยังมีอิสระในการฝากถอนเงินอยู่ หลายบริการให้บริการแบบดอกเบื้ยขั้นบันได นั่นคือเมื่อเราฝากเงินไปช่วงเวลาหนึ่งก็จะได้ดอกเบื้ยในแต่ละเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบนี้แม้ช่วงเดือนท้ายๆ จะได้ดอกเบี้ยสูงเหมือนฝากประจำระยะเวลานานๆ และยังมีอิสระในการถอนเงินมาใช้ก่อนหมดช่วงเวลาได้ แต่เมื่อนำดอกเบื้ยมาเฉลี่ยกันแล้วบางครั้งก็ไม่ได้สูงมากนัก
ช่วงนี้เราน่าจะได้เห็นสื่อต่างๆ ประชาสัมพันธ์ ME by TMB กันมาบ้าง แม้จะเห็นโฆษณาหลักๆ ว่าให้ดอกเบี้ยห้าเท่า และชื่อต่อท้ายว่า by TMB แต่ที่จริงแล้ว ME by TMB เป็นบริการธนาคารที่แยกออกมาต่างหาก มีสาขา (ที่เรียกว่า ME Place) และบริการต่างๆ แยกออกจากกัน โดย ME by TMB ตอนนี้มีบัญชีแบบเดียวคือ ME ที่เป็นบัญชีที่ต้องใช้บริการทางออนไลน์แทบทั้งหมด โดยที่เราแทบไม่ต้องไปที่สาขาอีกเลยหลังจากเปิดบัญชีครั้งแรก
ME เป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง (ในตอนที่เขียนบทความ ไม่รวมโปรโมชั่นก็ยังอยู่ในระดับเดียวกับดอกเบี้ยฝากประจำ 24 เดือน) โดยไม่มีเงื่อนไขระยะเวลาฝากหรือปริมาณเงินฝากขั้นต่ำ แม้ว่า ME by TMB จะแยกจาก TMB แต่เราก็ยังใช้ช่องทางของ TMB เพื่อฝากเงินได้ทั้งเครื่องรับฝากเงิน (ADM) หรือการโอนเงินเข้าจากบัญชีอื่นๆ รวมไปถึงการฝากผ่านเช็ค (เฉพาะ ME Place) โดยมีข้อจำกัดเดียวคือเราไม่สามารถไปถอนเงินสดออกจาก ME โดยตรงได้ แต่ต้องโอนออกไปยังบัญชีหลักอีกบัญชีที่เราระบุไว้ตอนสมัคร โดยทั่วไปก็แนะนำให้ใช้บัญชีหลักเป็น TMB เพราะสามารถโอนออกได้ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง เมื่อเราต้องการใช้เงินก็ต้องโอนเข้าบัญชีที่ผูกไว้แล้วจึงสามารถถอนเป็นเงินสด หรือโอนออกไปยังบัญชีอื่นๆ
ด้วยรูปแบบนี้เราสามารถใช้บริการฝากเงิน ME เป็นจุดพักเงินออมเอาไว้แทนที่จะปล่อยเงินฝากเอาไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบื้ยน้อย รูปแบบการฝากเงิน ME นั้นให้ดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมาอยู่ในช่วง 3.0 ถึง 3.5 เปอร์เซ็นต์ (ขึ้นกับเงื่อนไขในแต่ละช่วงเวลา) อย่างไรก็ดี การปรับดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นไปตามประกาศของ กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงิน) ว่าจะปรับสูงหรือลดดอกเบี้ย แต่โดยรวม ME ก็ยังให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปอยู่ดี
โดยสรุป ความแตกต่างสำหรับบัญชีแต่ละประเภท ได้ตามตาราง
จะเห็นว่า ME ให้อิสระในหลายรูปแบบมากกว่า แต่ข้อจำกัดสำคัญคือการถอนออนไลน์ที่ต้องถอนด้วยการโอนออกไปยังบัญชีหลัก แต่ในแง่ความปลอดภัย การล็อกเงินไว้ในบัญชีที่โอนเข้าไปได้เฉพาะบัญชีของเราเองเท่านั้นก็ช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาการถูกแฮคบัญชีธนาคารออนไลน์ผ่านทางมัลแวร์และการล่อลวงให้โอนไปยังคนร้าย ถ้าเรามีเงินเอาไว้ในบัญชีปกติเท่าที่เราพอใช้งานในแต่ละเดือนแล้ววางเงินเก็บไว้ใน ME หากจะมีคนร้ายมาล่อลวงเอาเงินออกไปก็ต้องผ่านการโอนออกไปยังบัญชีหลักก่อน หากวันหนึ่งเราพลาดพลั้งถูกมัลแวร์หลอกโอนเงินเข้าจริงๆ ความเสียหายก็ยังจำกัดอยู่ที่เงินที่เราเตรียมไว้ใช้ประจำวัน
นับว่า ME น่าลองใช้แบ่งเงินเก็บออกจากบัญชีออมทรัพย์ มาเป็นบัญชีที่ใช้เก็บเงินส่วนที่เรายังไม่ได้ใช้ทันทีเป็นประจำ แล้วเราอาจจะพบว่าเราเสียโอกาสได้ดอกเบี้ยปีละหลายพันหรือหลายหมื่นบาทมานานกว่าที่คิด
ที่มา - Fun Fund Forum, TMB Bank, Bank of Thailand, Bank of Thailand (2)
Comments
ข้่อ => ข้อ ไม้เอกซ้อนไม้โท
ไม่มีออมสิน (T^T)
แม้จะชื่อ ?
ฝากเผื่อทรัพย์ ?
ไม่มีเงินไข => ไม่มีเงื่อนไข
T.T
ออกทรัพย์ ?
ผมอยู่เชียงใหม่อยากสมัครแต่ทำไม่ได้ จัดทำยังไงดีครับ ไม่มีเวลาเข้า กทม
เป็นข้อจำกัดในตอนนี้น่ะครับ ฉะนั้น 'ทำใจ'
ผมอยู่ในกทม แต่ไม่สามารถไป 4 สถานที่แสนไกลจากผมได้(งามวงศ์วาน) หลายครั้งที่สมัครแต่ไม่ได้ไปยืนยัน
นั่ง taxi ไปสาขา สีลม วันเสาร์สิ คนน้อย รถไม่ติด ไม่กี่วันก้อได้ค่า taxi คืนแล้ว
ผมก็อยู่แถวงามวงศ์วาน ไปยืนยันตัวที่ central world
5 นาทีก็เสร็จแล้ว
นึกถึง ME ผมนึกถึง...
http://mobiledista.com/me-by-tmb-has-been-hacked/
ตอนแรกว่าจะไปลองใช้ดูซักหน่อย เห็นข่าวนี้ ขอดูไปอีกซักระยะดีกว่าครับ
รอซักมกราคมปีหน้า ถ้าครบปีพอดีน่าจะพอวัดอะไรได้หลายๆอย่าง
ลองอ่านดูก่อนครับ วิเคราะห์การโจมตีและผลกระทบต่อการโดนโจมตีของเว็บไซด์ Me by TMB
วิเคราะห์แล้วเงินเฟ้อยังดอกสูงกว่าอีก
ไม่มีดอกเบี้ยเงินฝากใดที่สูงกว่าเงินเฟ้อ
เมื่อไหร่ที่ดอกสูงกว่าเงินเฟ้อ แสดงว่า วันนั้นเงินไม่มีค่า
สมัยก่อนประเทศเรา ดอกเบี้ยเงินฝาก เคยสูงกว่าเงินเฟ้อนะครับ
เงินก็มีค่านะครับ เพราะตอนนั้นคนกูเงินกันกระจายย แบงค์ก็ปล่อยกู้สนุกสนาน
ไม่จริงครับที่ว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแล้วเงินจะไม่มีค่า
ความคิดเห็นส่วนตัวคือ ธนาคารได้ทีตั้งแต่ปี 40 พอได้จังหวะปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ยาวเลย
ธนาคารเอาเงินฝากของเราๆไปบริหารปล่อยกู้ เอาไปทำอะไรอีกเยอะแยะ พอได้กำไรจริงๆก็ควรจ่ายให้กับเจ้าของเงินฝากเป็นรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งถ้ากลไกปล่อยตามปกติก็ไม่น่าจะมีผลต่อค่าของเงินมากนัก
ผมก็เป้นลูกค้า ME อยากจะบอกว่า ME เป็น ระบบ Online ที่ ปลอดภัยมากกว่า ระบบ E Bank ทุกตัว ทุกธนาคาร (ผมมี E Banking อีกธนาคาร นึง ยังเสียวกว่าเลย) ข้อมูลมี ดังนี้
ไม่จริงครับ ของธนาคารออมสินทำไม่ได้
นี่ก็ไม่จริงครับ ของธนาคารออมสินทำไม่ได้
ของธนาคารออมสินต้องไปยื่นเรื่องที่สาขาเช่นกันครับ
ถ้านับออมสิน ไม่มีอะไรปลอดภัยกว่าออมสินแล้วครับ
แรงครับ ฮ่าๆๆ
555 สังเกตจากคำที่ผมใช้นะครับ มีแต่คำว่า "ทำไม่ได้" เต็มไปหมดเลย :p
+1 ไม่เคยมีบัญชี ออมสินครับ ตามนั้น
แก้ไข *เม้นผิดที่ครับ
ผมว่าคำว่า ปลอดภัย != ทำไม่ได้ นะครับ มันแปลว่าไม่มี feature นี้มากกว่า อย่างแบงค์เขียวออนไลน์ ทำได้ทุกอย่าง อันไหนสำคัญๆ ก็ต้องยืนยันผ่านมือถือ ผมว่าคนที่เลือกใช้ธนาคารออนไลน์เพราะไม่อยากไปธนาคารครับ
เค้าประชดจ้า
เค้าไม่รู้ เค้าเมา
เมาก่อนเป็นเมียจ้า
#ผิด
ME ปลอดภัยจริงครับ แต่เมื่อโอนไปบัญชีที่ผูกไว้ แล้วบัญชีที่ผูกไว้เปิด Online Banking ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ วิธีการของผมคือโอนออกมาใช้เท่าที่จำเป็นครับ ไม่เก็บไว้เยอะ
การที่ ME จำกัดนู่นนี่นั่นเยอะนั้น ก็เพื่อเป็นการลดโอกาสในการถอนเงินของคุณ
การเพิ่มบัญชี การถอนเงิน การโอนเงิน ถ้าใช้บัญชีธนาคารเดียวกันย่อมได้เปรียบเรื่องค่าธรรมเนียมแน่นอน
แต่ขอบอกว่าดอกเบี้ยที่ให้นั้นมีกำหนดการฝากขั้นต่ำนะครับ
ไม่ใช่ว่าฝาก 1,000 บาทแล้วจะได้ดอกเบี้ย เท่าฝากล้านบาทนะครับ
ส่วนเรื่องการเสียภาษี ถ้าดอกเบี้ยสูงกว่า 2 หมื่อนเมื่อไหร่ก็โดนทุกคน
และดอกเบี้ยที่ให้นั้น ไม่ได้ยั่งยืนนะครับ
ก่อนหน้านี้ ตอนเปิดตัวแรกๆ 2.5% พอ BAY เปิดออมทรัพย์มีแต่ได้ ดอก 2.9% ก็ปรับเป็น 3%
แต่ BAY สะดวกกว่ามากตรงที่ อยากเปิดก็เดินไปเปิดได้เหมือนบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป
ไม่ต้องไป verify ตัวตน เหมือน ME และยังสาขาน้อยด้วย
ME ฝาก 1 บาทก็ได้ดอกเบี้ยเท่าล้านบาทนะฮะ (เว้นแต่ฝากเกิน 10 ล้าน ส่วนเกินเหลือ 0.75) โอนต่างธนาคารฟรีเดือนละ 2 ครั้งแบบ 1 วันทำการ (ส่วน TMB ด้วยกันโอนฟรี)
ดอกเบี้ย อันนี้เรื่องปกติอยู่แล้ว มันเป็นกฎหมาย
ตอนเปิดตัวแรกๆ ME ให้ 3.5 นะฮะ ต่อมาสักพักเหลือ 3 คนด่ากระจาย
ส่วน BAY ต้องมีเงิน 100,000 ขึ้นไปถึงจะได้ 2.65 นี่ฮะ
ปล. ล่าสุด TMB ให้ฟรีค่าธรรมเนียมทุกอย่างกรณีทำรายการในธนาคารเดียวกัน แต่กดดอกเหลือ 0.125 เนียนมาก
+1
+11111111
แนะนำให้ไปศึกษาผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนจะมาตำหนินะครับ
เรื่องบางเรื่องมีดีก็มีเสียครับ ความสะดวกแลกมาด้วยความเสี่ยงนะครับ
การยืนยันตัวตัวเป็นการมาตรการรักษาความปลอดภัยประเภทนึงครับ
ไม่งั้นเขาจะแยกบริการต่างหากมาทำไม ให้ไปทำที่ TMB เองเลยมิง่ายกว่าหรือ
ผมเป็นคนนึงที่เพิ่งไปเปิด ME มายอมรับว่ามันไม่สะดวกในหลายๆอย่างแต่มันก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีของเรามากครับ
ไม่ได้ตำหนิครับ แค่เปรียบเทียบให้เห็นว่า ME มีดีมีเสียยังงัย
ผมก็ไม่ได้บอกว่า BAY ดีกว่าในทุกมุม
BAY เปิดตัวด้วย 2.9% แต่ก้มีข้อกำหนดเรื่องการถอนการโอน และค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า
และสุดท้ายก้ทยอยปรับลดดอกเบี้ย เป็น 2.8 และก็ 2.65
แต่ก็สะดวกในเรื่องการไปเปิดบัญชี ที่สาขาไหนก็ได้
ตกม้าตายที่ ME Place (เพราะไปไม่ได้ ไกลมาก)
+1 เป็นบริการสำหรับคน กทม. ไปโดยปริยาย
ผมอยู่กรุงเทพและ ME Place ก็อยู๋ใกล้บ้านผมมากไม่ถึง10กิโล อยากสมัครตั้งนานแล้วแต่ก็ขี้เกียจหาข้อมูลอะไร มาดูกระทู้นี้เลยไปทำเลยละกันเพราะอ่านคอมเมนต์ก็มีคนเปรียบเทียบโน้นนี่ให้ดู เลยคิดว่าอันนี้เหมาะสุดเพราะอันอื่นคงไม่ต่างกันมาก ไม่ดีก็ถอนออกก็จบ
ME เท่านั้น