ทีมวิจัยความปลอดภัยจากบริษัท artemis นำเสนอความก้าวหน้าในวงการรหัสวิทยาในช่วงหลัง และคาดว่ากระบวนการแยกตัวประกอบตัวเลขขนาดใหญ่นั้นน่าจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นอย่างมากภายในห้าปีข้างหน้า
กระบวนการแยกตัวประกอบเป็นกระบวนการสำคัญในการเข้ารหัสแบบกุญแจไม่สมมาตร RSA และการแลกเปลี่ยนกุญแจ (key exchange) แบบ Diffie Hellman โดย RSA นั้นประกาศ "ผลคูณ" ของเลขจำนวนเฉพาะสองจำนวนเป็นกุญแจสาธารณะ โดยเชื่อว่าการแยกตัวประกอบนั้นทำได้ยาก โดยยังไม่มีการพิสูจน์ว่าการแยกตัวประกอบนั้นเป็นงาน "ยาก" ในทางคณิตศาสตร์ จริงหรือไม่ และความเชื่อใจใน RSA ทุกวันนี้ก็มาจากความเชื่อว่ากระบวนการที่มีประสิทธิภาพนั้นยังไม่ถูกค้นพบ
ตัวอย่างงานวิจัยที่สำคัญในช่วงปีนี้คือ "Faster Index Calculus for the Medium Prime Case Application to 1175-bit and 1425-bit Finite Fields" โดย Antoine Joux ที่สามารถแยกตัวประกอบขนาดใหญ่ได้เป็นผลสำเร็ โครงสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญให้นักวิจัยคนอื่นๆ นำไปต่อยอดได้ เมื่อเครื่องมือครบถ้วนการถอดรหัสก็สามารถทำได้ในเวลาไม่นาน
กระบวนการเข้ารหัสแบบใหม่อย่าง elliptic curve cryptography (ECC) ดูจะเป็นทางออกสำหรับวงการเข้ารหัส เมื่อถึงวันที่ RSA ไม่สามารถใช้งานได้ ภายใน NSA เองก็มีกระบวนการเข้ารหัส SuiteB ที่ใช้ ECC เป็นฐานสำหรับการเข้ารหัสเอกสารของราชการ และสำหรับภายใน NSA เองก็มี SuiteA ที่เชื่อกันว่าใช้ ECC เช่นกัน และทางฝั่งรัสเซียนั้นก็พัฒนามาตรฐานตัวเองบนฐานของ ECC แล้ว
ความน่ากลัวของการใช้งานระบบการเข้ารหัสที่อาจจะไม่ปลอดภัยในอนาคต คือ ผู้ร้ายอาจเก็บข้อมูลที่ดักฟังมาได้เอาไว้ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง เพื่อรอวันที่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกถอดรหัสออกมา รวมถึงความเชื่อที่ว่าหน่วยงานรัฐบางหน่วยงานอาจจะเข้าถึงเทคนิคการถอดรหัสที่ยังไม่รับรู้กันในวงกว้างไปก่อนแล้ว
ที่มา - MIT Technology Review
Comments
ของใหม่ออกได้กระชั้นเหลือเกิน
ผมว่าเค้าคิดไว้นานแล้วครับ แต่พอเรื่อง prism แดงออกมา เรื่องนี้เลยใด้รับความสนใจมากกว่า
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมหมายถึงออกใช้กันเป็นทางการทั่วไปน่ะครับ หรือกลัวปล่อยของใหม่มาแล้วตัวเองยังดักไม่ได้มากกว่าก็ไม่รู้
Daffie Hellman -> Diffie Hellman
ผมชอบแยกตัวประกอบ(แล้ว -- แบบว่าซน) โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียแล้ว แต่ประกอบกลับแล้วมักเหลือชิ้นส่วนประจำ
ผลสำเร็ > ผลสำเร็จ
I am Cortana.
Nice to meet you.
ผมเคยเขียนวิชา network security ผมว่าคิดมือมันก็ยากแล้วนะ ฮ่าๆๆ
ผมอยากจะเข้าใจอ่ะครับ อยากฮามั่งอ่ะ
ที่ว่าไม่ปลอดภัยนี่คือกรณีที่สาธารณะชนรู้ว่าข้อความที่ส่งกันนี่ใช้ algorithm อะไรเข้ารหัสแต่ไม่มี key ใช่มั้ยครับ
แต่ถ้าเป็น algorithm เพี้ยนๆ จะปลอดภัยมั้ย เช่น ใช้ Base63 แทน Base64 (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่ encrypt เพื่อความปลอดภัยหรอก)
สิ่งที่คุณคิด เรียกว่า Security through obscurity ครับ
และบทเรียนทั่วโลกเหมือนๆ กันคือถ้ามันไม่ได้กับพิสูจน์กว่าแข็งแกร่ง (ด้วยความรู้คณิตศาสตร์ในโลก) มักจะหลุดเร็วกว่าข่าวนี้เสียอีก
lewcpe.com, @wasonliw