คาดว่าแทบทุกคนล้วนเคยมีการบ้านเก็บคะแนนโดยการเขียนเรียงความ หรือทำรายงาน หากแต่คงไม่บ่อยนักที่จะเห็นการให้คะแนนผู้เรียนจากผลงานการแก้ไขบทความบน Wikipedia โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี หากแต่คณะแพทยศาสตร์แห่ง University of California เลือกที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์สามารถทำผลงานเอาคะแนนได้โดยวิธีดังกล่าว
ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับการเรียบเรียง, แก้ไข และเผยแพร่บทความผ่านทาง Wikipedia ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 โดยหลักสูตรมีระยะเวลาราว 1 เดือน และแน่นอนว่าเกณฑ์การวัดผลนั้นย่อมต้องพิจารณาจากผลงานการแก้ไขและเผยแพร่บทความวิชาการบนเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์นี้เอง โดยบทความดังกล่าวจะต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์นั่นเอง
ดอกเตอร์ Amin Azzam ศาสตราจารย์แห่งคณะแพทย์ของ University of California กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลวิชาการที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ ถือเป็นหน้าที่หนึ่งของบุคคลากรในวงการแพทย์ ซึ่งจะยังประโยชน์มหาศาลยิ่งกว่าการเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับบุคคลทั่วไปทีละราย และการเผยแพร่ข้อมูลบน Wikipedia ย่อมหมายถึงการเปิดโอกาสให้ผู้คนอีกมากมายทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ไม่แตกต่างกัน
ผลงานการแก้ไขบทความของบรรดานักศึกษาแพทย์จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Wikiproject Medicine ซึ่งเป็นโครงการของมูลนิธิ Wikimedia ที่มุ่งเน้นการแก้ไขเนื้อหาของบทความทางการแพทย์ที่สำคัญกว่า 100 บทความ ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยในปัจจุบัน Wikimedia ระบุว่ามีผู้ร่วมแก้ไขบทความทางการแพทย์ของโครงการนี้ที่ยังคงมีผลงานอย่างต่อเนื่องอยู่ไม่น้อยกว่า 350 ราย
ที่มา - New York Times
Comments
แนวคิดเยี่ยมครับ
ที่เคยเจอ th.wiki นี่พอเราแก้ให้ถูกแล้วก็โดนพวกผีสิงมาแก้กลับให้ผิดแบบเดิม
เลิกแก้ถาวร
เห็นมีบอทคอยป้องกันแล้วนี่ครับ?
ไม่ช่วยอะไรครับ วันนั้นผมเข้าไปอ่าน SAO ในวิกิไทยตอนเช้า พอตอนบ่ายเข้าไปดูอีกทีโดนแก้ไปบางส่วน แล้วตอนเย็นก็เละไปเลย
กด rollback ย้อนได้หมดครับ
อยากแก้อะไรก็แก้ไป กด rollback ทีเดียวจบ
ก็พวกคนดูแลนี่แหละครับ ชอบแก้ถูกให้เป็นผิด
+100
มูลนิธี => มูลนิธิ
ประโยชนฺ์ มีจุดก่อนตัวฑัณฑฆาตครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผุ้ร่วม => ผู้ร่วม