ในปี 2551 มีคดีผู้ใช้เว็บประชาไทที่ใช้ชื่อ bento โพสข้อความหมิ่นตามมาตรา 112 นี้เช่นกัน ในคดีนี้ตำรวจใช้หลักฐาน log จากเว็บประชาไทเพื่อชี้หมายเลขไอพีไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่อยู่ในโรงงานโดยมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกันทำให้คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่วันนี้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษ 5 ปี
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อด้วย username และ password ของจำเลยนั้นสามารถใช้งานได้หลายคน และในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ตำรวจยึดมาได้นั้นก็ไม่ปรากฎข้อความที่โพสในเครื่อง ตำรวจบุกจับโดยจำเลยไม่รู้ตัวล่วงหน้าไม่น่าจะลบข้อมูลได้
แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์ระบุว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2550 และมีผู้ใช้เพียงคนเดียวในขณะที่มีการโพสข้อความ รวมถึงระบุว่าไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้และมีเพียงไอพีแอดเดรสเดียว
ผมยังไม่เห็นหลักฐานทั้งหมดในคดีนี้ และคำพิพากษาตามที่ iLaw บันทึกมานั้นดูไม่ครบถ้วน เช่น รู้ได้อย่างไรว่ามีผู้ใช้งานเพียงคนเดียว และชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านนั้นหมายถึงรหัสผ่านใดระหว่างรหัสผ่านของเว็บบอร์ดหรือรหัสผ่านของอินเทอร์เน็ต รวมถึงไม่มีการพูดถึงการพิสูจน์เจ้าของบัญชีผู้ใช้บนเว็บบอร์ดประชาไทมาก่อน แต่ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์คือการยึดว่าไอพีแอดเดรสเป็นพยานหลักฐานสำคัญ และระบุว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงหมายเลขไอพีได้ การยึดเช่นนี้นับว่าผิดหลักทางคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง
ที่มา - iLaw
Comments
ในโรงงาน!
ถ้าไม่มีหลักฐานแบบวงจรปิด คงยากที่จะระบุได้ว่าใครใช้ ip หรือแม้แต่ pc นั้นๆในเวลานั้นกันแน่ ยิ่งระบบuser รวม แสดงว่าน่าจะเป็นแนว pc ของแผนก ใช้ได้รวมทั้งหมด
โทษสูงสุด ม.112 15 ปีครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
แก้ออกแล้วนะครับ ขอบคุณครับ
lewcpe.com, @wasonliw
โคนอน: ผมมั่นใจว่า คนร้ายต้องใช้ IP 127.0.0.1 แน่นอน!
DDoS ใส่เลยครับ
#ถ้าคุณกล้าชงเราก็กล้าตบ
ขอยืมเครื่องหน่อยได้ไหมครับ ตอนนี้มีแต่วินโดว์โฟน ยิงไม่ได้
#ถ้าคุณกล้าท้าเราก็กล้ายิง
โคนอน: รบกวนยิงใส่ 255.255.255.255 และ 224.0.0.1 ด้วยครับ ใครโดนยิง ให้จับมาสอบสวนให้หมดเลย คาดว่าเป็นกลุ่มผู้ร่วมก่อการที่ใกล้ชิดกับผู้ต้องหาคนแรก :P
ศาลท่านแน่ใจได้อย่างไรครับ ว่าไอพีมันปลอมแปลงไม่ได้!
"ไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้" ผมอ่านแล้วขำก๊ากเลย
ผมว่าถ้ามีคนแย้งชนะได้ ศาลมีเงิบแน่นอนครับ :)
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
จากที่มา ทนายฝ่ายจำเลยก็แย้งแล้วครับ
แต่ศาลไม่เงิบ จำเลยเงิบแทน...
ไม่ต้องแย้ง โชว์ให้ดูเลยยังได้ ฮ่าๆ
กลับบ้านไปฉีก CCNA ทิ้งดีกว่า นี่เข้าใจผิดมาตลอดเลยนะเนี่ย
/faceplam
ว่าแต่เหมือนรู้สึกว่าเคยเห็นประมาณว่า IMEI ปลอมแปลงไม่ได้ที่ไหนหว่า...
น่าจะให้ผู้พิพากษาด้านคดีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องมีลูกขุนที่เป็น Network Forensic หรือ OHCP cert. อยู่ด้วยนะครับ
ไม่งั้นตัดสินมากี่คดีๆ มีเงิบครับ
อีกอย่าง ทีม Forensic ของตำรวจ ไม่เก่งด้านการสืบสายไอทีครับ การให้การในชั้นศาลเลยดูขาดๆ ผลของศาลเลยอย่างที่เห็น
ไทยไม่ได้ใช้ระบบลูกขุนนะครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ศาลไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์หรอกครับ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของทนายจะต้องนำพยานผู้เชี่ยวชาญเข้าพิสูจน์ว่า IP มันปลอมได้หรือไม่ได้กันแน่
A smooth sea never made a skillful sailor.
ไม่ได้หมิ่นศาลนะ แต่ศาลมั่นใจในความเข้าใจในเรื่อง IP Address แค่ไหน ขนาดเรื่องเล็กๆนักสืบพันทิพเดี๋ยวนี้ยังไม่ค่อยกล้าใช้ IP มายืนยันเลย ส่วนใหญ่พยายามใช้
MAC Address แต่อย่างว่า แต่ละเครื่องใช้ได้หลายคนแล้วจะยืนยันกันอย่างไรว่าคนไหน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงิบหรือไม่ แต่เป็นการท้าทายต่อ"ความมั่นใจ"ในศาลยุติธรรม อย่างที่ศาลรธน. กำลังถูกท้าทายอยู่ ณ ตอนนี้
ปล. ส่วนตัวยังคิดว่าถ้าไม่แน่ใจแล้ว "ปล่อยคนผิดยังดีกว่าจับผิดคน"
ศาลไม่มีสิทธิ์ไปหาอะไรมาเพิ่มเองนะครับ ทางโจทย์และจำเลยให้มาแค่ในก็ใช้ได้แค่นั้น
ในเรื่องที่ต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษ เพื่อให้ความเห็นอันเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี สอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาหลักฐานพิเศษ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ให้อำนาจศาลหรือพนักงานปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ สามารถตั้งผู้ชำนาญการพิเศษเพื่อตรวจสอบให้ความเห็นได้นะคะ เรื่อง IP address นี่เป็นไปได้ว่าศาลอาจตั้งผู้ชำนาญพิเศษขึ้นมาให้คำปรึกษาก็ได้ค่ะ ที่คุณเข้าใจน่ะก็ถูกส่วนหนึ่งนะคะ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะศาลไม่ได้เชี่ยวชาญศาสตร์ทุกแขนงบนโลกนี้ค่ะ
ลืมอธิบายเพิ่ม ในคดีนี้เนื่องจากเป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีแพ่ง จึงไม่สามารถใช้บทบัญญัติใจประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งตรงๆ ได้ แต่ต้องใช้ประกอบกับมาตรา 15 ในประมวลวิธีพิจารณาความอาญาที่ให้นำวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับใช้โดนอนุโลมค่ะ
MAC Address ปลอมง่ายกว่า ip ครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
สงสัยครับ
ถ้าเข้าใจไม่ผิดถ้าสุดท้ายศาลฏีกาพิพากษายืน มันจะเป็นบรรทัดฐานให้คดีต่อจากนี้ใช่มั้ยครับ
เราไม่มีสิทธิโต้แย้งประเด็นแบบนี้ได้เลยเหรอครับ เพราะผมเชื่อว่าคน it รู้แก่ใจว่า ip มันแก้ได้
+1 อยากทราบด้วยครับ
ไม่ยึดครับ การพิจารณาคดีอยู่ที่ดุลพินิจของแต่ละองค์เลยครับ เพียงแต่แนวทางการพิจารณาของคำพิพากษาก่อนหน้าอาจจะมาดูประกอบได้
Texion Business Solutions
ฎีกานี่พลิกเป็นว่าเล่นเลยครับ ประเด็นสำคัญคือความรู้ความเชี่ยวชาญและความพยายามของทนายที่จะนำเสนอพยานมากกว่า
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ไปถามเพื่อนมาคร่าวๆครับ เพื่อนบอกว่า
1.อันนี้ยังเป็นศาลอุธรณ์ ไม่ใช่ฎีกา หากมีหลักฐาน/ข้อมูล เพิ่มเติมสามารถแสดงให้ศาลฎีกาเห็นได้
2.เรื่องที่ต้องยึดตามที่ศาลฎีกาตัดสินในคดีก่อนเป็นบรรทัดฐาน เรียกว่า Civil Law ครับ
สมมติครั้งนี้ถึงฎีกาแล้วศาลฎีกาตัดสินด้วยเหตุผลนี้(ไอพีเปลี่ยนไม่ได้) แล้ววันข้างหน้า มีคดีทำนองนี้อีก แต่ถ้าสามารถแสดงให้ศาลเห็นว่า การทียุคสมัยเปลี่ยนไป วิทยาการต่างๆเปลี่ยน (เช่น แสดงให้ศาลเห็นว่าไอพีสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ) ก็ไม่จำเป็นต้องยึดตามที่ ศาลฎีกาคดีนี้ตัดสินครับ สามารถตัดสินตามที่สืบพยานและความรู้ใหม่ๆใหม่ได้
ป.ล. ไม่ 100% นะครับ จำเค้ามาคร่าวๆนะครับ
อย่าว่าแต่ IP เลย MAC Address ยังปลอมได้
ถามจริงครับ
ถ้าผมชอบเล่นอะไรผ่าน windows ที่อยู่ใน vmware แล้วในนั้นผมลอง firefox ที่ลง plugin เป็น tor แล้วเข้าเวบไทยซักเวบไปผ่านที่ glype ที่ต่างประเทศ
อย่างนี้จะตามดูlogกันยังไงครับ
IP มันปลอมแปลงไม่ได้ยังไง เป็นอะไรที่ธรรมดามากเลยนะ โปรแกรมเปลี่ยนก็มีเยอะแยะ
ในสารขัณฑ์แลนด์ สารขัณฑ์เทวาธิราชคอยแก้ไอพีที่ปลอมแปลงกลับให้เหมือนเดิมตลอดเวลาครัฟ :)
F*** You programmer, this is almighty court.
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ส่วนที่จำเลยอ้างว่าถูกบุคคลอื่นปลอมแปลงไอพีแอดเดรสนั้นเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า การปลอมแปลงไอพีแอดเดรส และการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไอพีแอดเดรสของจำเลยทำได้ยาก เพราะ ไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้ และในการโพสต์ข้อความจำเป็นต้องใช้ชื่อและรหัสผ่านด้วย ซึ่งหากรหัสผ่านไม่ตรงกับข้อมูลของจำเลย ก็ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวด้วยตนเอง เป็นการกระทำผิดตามฟ้อง
นอกจากนี้ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของจำเลย พบว่า วันและเวลา ตรงกับการกระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งผู้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะต้องมีรหัสผ่าน และใช้หมายเลขโทรศัพท์ ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่าข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตดังกล่าวตรงกับจำเลย ที่สมัครสมาชิกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 และได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเรื่อยมา
"ซึ่งหากรหัสผ่านไม่ตรงกับข้อมูลของจำเลย ก็ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้"
ขอโทษนะครับ แนะนำลองไปกูเกิลเรื่อง keylogger ดูครับ
ถ้ายังยากเกินความเข้าใจของคุณ แนะนำให้กูเกิลกรณีที่มีคนแจ้งความเรื่อง ถูกขโมยของในเกม Ragnarok ดูนะครับ ทำไมคนอื่นถึงเข้าไปขโมยของได้ทั้งที่ต้องใช้รหัสผ่าน
รวมถึงเรื่องเวบ teenee ถูกเรียกค่าไถ่ด้วย ทำไมคนอื่นถึงเข้าไปได้ทั้งที่รหัสผ่านสำคัญและแข็งแรงอย่างที่คุณเข้าใจ?
เออ...คือที่ผมโพสมันเป็นเนื้อข่าว ที่เจ้าของโพสเขาไม่ได้ลงไว้นะครับ
มิใช่ความเห็นส่วนตัวครับผม
อีกอย่าง เครื่องคุณโดน keylogger หรือเปล่า คุณก็ต้องพิสูจน์ว่าโดนจริง
เช่นกัน แจ้งความว่าถูกขโมยของในเกม Ragnarok ก็ต้องไปพิสูจน์ไปต่อสู้
ไม่ใช่คุณเอาใบแจ้งความไปให้ GM แล้วจะได้ของคืนซะเมื่อไหร่
ผมถึงย้ำให้คุณรู้ไงครับ ว่าเนื้อข่าวที่คุณตั้งใจจะเอามาเพิ่มเติมเนี่ย มันไม่ได้เปลี่ยนรูปการณ์ของคดีนี้ในความเห็นของคนที่เข้าใจอยู่แล้วเลยแม้แต่น้อย
อีกอย่าง คดีนี้มีการพิสูจน์ต่อเชิงลึกรึเปล่าล่ะครับ ก็เนื้อความที่คุณพยายามยัดเยียดเพิ่มเติมนี่แหละที่บอกออกมาเองในสิ่งที่มันขัดกับความเป็นจริง ถ้าเค้ามีบอกว่าพิสูจน์เชิงลึกอย่างที่คุณกล่าวอ้างเหมือนในแบบ Ragnarok เนี่ย คนแถวนี้เค้าก็ไม่รู้สึกติดใจอะไรหรอกครับ แต่มันไม่มีนี่สิ เล่นสรุปรวดยอดเอาดื้อๆเลยว่าไม่ได้ทั้งที่มันได้
ผมก็ไม่ทราว่าไอพีเอดเดรสที่พูดถึง หมายถึงไอพี่จาก Log ของเว็บบอร์ด
หรือไอพี จากฝั่งที่ ISP จ่ายให้เครื่องที่ก่อเหตุ
แต่เข้าใจได้ว่าไอพีจากทั้งสองที่มันตรงกัน เลยเอาผิดได้
เรื่องแรก ถ้าคุณยักแยกความเห็นตัวเองออกเป็นหลายๆ ความเห็นแบบเดิมอีกครั้ง คุณจะโดนแบนฐานสแปมนะครับ
เรื่องที่สอง ไม่มีใครเถียงเรื่องหมายเลขไอพีตรงกันหรือไม่ครับ มันตรงกัน แต่ความที่มันตรงกันสามารถพิสูจน์ได้ไหมว่าคนนั้นส่ง ไม่มีใครปลอมไอพี หรือไม่มีคนอื่นใช้เครื่อง
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องแรก ขอบคุณครับที่เตือน แต่ถ้าท่าน lew ตามข่าวนี้จริงๆ
คงรู้ว่าอันไหนเป็นความเห็นผม อันไหนเป็นเนื้อข่าว
เรื่องที่สอง ปลอมหรือไม่ มีคนอื่นใช้เครื่องหรือเปล่า อันนี้จำเลยต้องหาหลักฐานแก้ต่างให้ได้ครับ
ซึ่งรายละเอียดของคดีมันคงมีเยอะ ถ้าได้อ่านรายละเอียดต่างๆคงเข้าใจอะไรได้มากกว่านี้
เรื่องที่สาม อยากให้นำคำพิพากษาหรือลิงค์คำพิพากษา มาอ้างอิงให้คนอื่นได้อ่าน
มิใช่ ตัดมาเพียงเนื้อหาบางส่วนมา โดยไม่มีฉบับเต็ม เข้าใจว่าด้วยความรีบเร่งก่อนโพสข่าวนี้
ท่านคงยังไม่ได้อานคำพิพากษาฉบับเต็ม เพราะถ้าท่านได้อ่านฉบับเต็มมาแล้ว ท่านคงแยกออกว่า
โพสไหนคือความเห็นส่วนตัว โพสไหนคือเนื้อข่าว
ประเด็นคืออย่าซอยย่อยครับ ผมขอเรียกว่า post แทนคำว่า "เนื้อข่าว" / "ความเห็น" นะครับ
การกระทำดังที่กล่าวไปด้านบนจะทำให้ความเห็นกระจัดกระจาย ถ้าทำแบบนี้กันทุกคนมันจะเละครับ
ยังไงก็ขอให้รวบเป็น คห.เดียวดีกว่า อย่างในกรณีนี้ ก็สามารถ edit เพื่อแก้ไข/เพิ่มความเห็นเข้าไปที่ post เดิมได้ ไม่จำเป็นต้อง reply เป็นความเห็นย่อยๆ
ปล. ะผมไม่ได้เป็นผู้ดูแลเว็บด้วย ผมออกความเห็นในฐานะผู้อ่านที่อยากอ่านความเห็นของทุกท่านแบบสะดวกๆ ครับ
รับทราบเพื่อนำไปปรับปรุงครับผม
รักนะครับ จุ๊บๆ
รบกวนเหล่าเทพใน blognone ช่วยชี้แนะหน่อยว่าปลอมไอพี นี่เขาทำกันยังไงหรอครับ
ปล. ปลอมไอพี ไม่เหมือนกับ เปลี่ยนไอพีนะครับ
อยากรู้เหมือนกันครับ พอดีอ่านไม่เจอในบทความว่าเป็น public หรือ private หรือเขาทำท่ายากๆเช่นยิงผีดิบซักตัวไปรอบังคับให้โพสหว่า อาจจะมีวิธีที่เหมาะสมนะแต่อ่านผ่านๆยังนึกที่สอดคล้องกับแถวนี้ไม่ออก
ง่ายสุดน่าจะเป็น web surf web anonymous ครับ
หรือโปรแกรมพวก ปลอมไอพี ต่อ VPN อะไรประมาณนี้อ่ะครับ
"โจทก์อาศัยเพียงหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) และข้อมูลการเชื่อมต่อโทรศัพท์มาเป็นหลักฐาน แต่ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความจริง"
"พยานโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตรงไปตรงมา ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งจำเลย อีกทั้งความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังในการตรวจสอบ จนทราบว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจึงจะดำเนินคดีตามกฎหมาย พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงจริง"
ครับ.... พูดไม่ออกครับ ><"
ซักพักก็มี "การตรวจสอบด้วยวิธีพิเศษ" แบบคราวก่อนมาอ้างกันอีก
/ไปสั่งพิซซ่าแปป
ขอย้ายไปด้านบนเพื่อรวมความเห็น
อ่านจากที่มาแนบท้ายแล้วค้นพบอย่างนึงว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามความเห็นของผู้ชำนาญการที่เป็นพยานฝั่งจำเลยว่า "การใช้ไอพีแอดเดรสเป็นเครื่องมือระบุตัวผู้ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีความไม่แน่นอน เพราะการปลอมแปลงไอพีแอดเดรสสามารถทำได้โดยง่าย หากบุคคลใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ และมีโปรแกรมที่เอื้ออำนวย ก็สามารถปลอมแปลงไอพีแอดเดรสได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้อื่นปลอมแปลงหมายเลขไอพีแอดเดรสในการโพสต์ข้อความตามฟ้องลงในเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งอาจจะตรงกับหมายเลขไอพีแอดเดรสซึ่งจำเลยกำลังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในขณะเดียวกัน"
แล้วไหงศาลอุทธรณ์ดันวินิจฉัยประเด็นนี้ว่า "ไอพีแอดเดรส ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกันและมีเพียงไอพีแอดเดรสเดียวเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้"
ปวดตับจริงๆ
คือต้องตีประเด็นเรื่องไอพีแอดเดรสก่อนครับ
1.ไอพีแอดเดรส ที่ปรากฎที่เว็บประชาไท
2.ไอพีแอดเดรส ที่ได้จาก ISP
ไอพีแอดเดรส ในข้อ1 มันสามารถไม่ตรง(เปลี่ยน ปลอม)กับไอพีแอดเดรสในข้อ2ได้ครับ
ไอพีแอดเดรส ในข้อ2 มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกครั้งที่ปิดโมเด็ม ยกเว้นพวกที่ใช้เพจเกจแบบ fix ip
ซึ่งจะปลี่ยนหรือปลอมได้หรือเปล่านั้น ต้องรอให้ผู้รู้มาชีแนะครับ
ปล.วิเคาระห์ด้วยความรู้อันน้อยนิด ผิดพลาดตรงไหนก็ชี้แนะได้ครับ
log จาก (1) โยงไปหา log จาก (2) โดยอิงจากเวลาเดียวกัน ซึ่ง log จาก (2) นั้นจะบันทึกไว้ด้วยทุกครั้งว่า
จะปิด / จะเปิด / จะ re-new IP กี่ร้อยรอบก็เก็บไว้หมด ดีไม่ดีบอกได้ด้วยว่า IP อะไรเข้าเว็บอะไร เวลาใด ต้องจำให้ขึ้นใจเลยว่าระบบสารสนเทศตามกฏหมายแล้วต้องมีการเก็บ log เพื่อช่วยในการระบุตัวตนเสมอ
ประเด็นที่ผู้เขียนข่าวพยายามนำเสนอคือ
ซึ่งในทางเทคนิคแล้วข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง
คราวนี้ก็ต้องดูในรายละเอียดว่าหลักฐานต่างๆ / วิธีการต่อสู้ของแต่ละฝั่งมันเป็นยังไง ศาลถึงพิพากษามาแบบนี้ คือศาลไม่ได้นั่งตัดสินตามความรู้ที่ตัวเองมี แต่พิจารณาตามหลักฐานที่แต่ละฝ่ายเสนอครับ
ไอพีแอดเดรสในข้อ 2 ไม่ใช่เปลี่ยนด้วยการต่อเนตใหม่อย่างเดียวครับ แนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่อง IP spoofing ดู นอกจากวิธี vpn หรือ ให้ proxy ที่ยังพอจะสามารถ trace กลับมาได้ แล้วยังมีวิธีที่ trace กลับมาไม่ได้ด้วย
คิดว่าปลอมแล้วโพสข้อความอยากพอสมควรนะครับ
อ่านจากที่มีแล้วมีการขอสัญญาญอินเตอร์เน็ต 4 คู่สาย เดาแบบนี้ครับ
- 1 คู่สายต่อ 1 เครื่อง
หากปลอม IP ได้(ปลอมจากคนละที่) ตามจากคู่สายก็หาเครื่องที่เชื่อมต่อเจอ กรณีนี้ IP ไม่มีความหมาย
**ตรวจจากเครื่องผมเองตอนเกิดเหตุการณ์แบบนี้อาทิตย์ก่อนก็พบว่ามีเก็บครับ น่าจะใช้เป็นข้อมูลในการต่อสู้ได้
ความคิดส่วนตัวถ้าดูข้อมูลอื่นๆประกอบก็น่าจะระบุได้ชัดพอสมควรนะครับว่าเป็นเครื่องที่ใช้ในการโพสข้อความจริง แต่ใครเป็นคนโพสนั้นก็น่าจะเป็นอีกเรื่องที่ต้องหามากกว่า
+1 เห็นด้วยครับ สิ่งที่โยงจำเลยเข้าหาความผิด ผมเข้าใจว่ามี 2 อย่าง คือ
สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมคิดว่า ถ้าไม่โพสด้วยเครื่องนี้ ก็เป็นการจงใจปลอมแปลงให้เป็นเครื่องนี้ - ไม่ใช่การ spoof IP มั่วๆแล้วมาตกปุ๊ลงพอดี
นั่นสิ เหมือนข่าวพยายามจะเน้นแต่ ศาลตัดสินด้วย IP
เพื่อให้ดูเหมือนศาลมีหลักฐานไม่พอที่จะตัดสิน
โดยไม่พูดถึง ศาลก็มี log ประชาไท ด้วยซักคำ...
เหมือนกรณีอากง ก็เขียนซะแบบ...
ศาลมีแต่เลข IMEI ที่ปลอมแปลงได้ ศาลหลักฐานอ่อนๆๆๆๆ
ทั้งๆที่ศาลมีจริงคือ operator log ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ มากกว่า IMEI
ชนิดบอกได้ว่า ไม่มีการปลอม IMEI ในระบบ
พฤติกรรมเดิมเข้าข่ายอยู่แล้วด้วยรึเปล่า โจทย์เลยขึงขัง ไม่ลดราง่ายๆ
พยายามทุกทาง เอามาเป็นหลักฐาน
ยังไงก็รอดูคำพิพากษาฉบับเต็มอีกที
ผมว่าคดีนี้มันมีประเด็นอยู่แค่ว่า ต้องพิสูจน์ถึงขั้นต้นที่ว่าเป็นผู้ใช้คนนั้นจริงๆ เป็นคนโพสข้อความนั้นหรือเปล่า?
ส่วนตัวผมว่าไม่มีทางจับได้หรอก มันก็เหมือนยิงคนในห้องปิดห้องหนึ่ง จะไปพิสูจน์ได้ยังไงว่าคนนั้นยิงจริง?
ส่วนมากมันก็หลักฐานแวดล้อมทั้งนั่นล่ะ ที่สำคัญจริงๆ คือผู้ใช้ต้องรับผิดชอบข้อความที่ปรากฎในชื่อบัญชีตัวเองมากกว่า ถ้าพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้นี้จริง ส่วนตัวผมคิดว่ายังไงก็ผิด 100% จะให้ไปไล่ว่าโพสมาจากเครื่องไหน คนกด click ส่งเป็นจำเลยจริงๆ หรือไม่? สงสัยต้องใช้เครื่อง time machine ย้อนเวลาไปดู
เห็นด้วยในเรื่องหลักฐานแวดล้อม แต่ไม่เห็นด้วยเรื่องกระบวนการตัดสิน หากคุณจะตัดสินใครสักคนหนึ่ง คุณไปหาหลักฐานแวดล้อมดังกล่าวมามัดตัวจำเลย สมมติมีหลักฐาน 100 ชิ้น แต่มาตกม้าตายกับหลักฐานที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ 1 ชิ้น
ถามว่าความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมสำหรับหลักฐาน 99 ชิ้นที่เหลือยังมีอยู่หรือไม่? แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างยุติธรรมจริงๆ
ปล. ผมไม่สนใจว่าจำเลยผิดจริงหรือไม่ ผมสนใจกระบวนการยุติธรรมในบ้านเราตอนนี้มากกว่า
ผมไม่รู้เรื่องวิธีการตัดสินของศาลนะครับ แค่สงสัยว่าถ้ามีกรณีแบบที่ผมว่าศาลควรจะเป็นในความคิดแต่ละคน ควรจะทำยังไง? ถ้ามีแค่หลักฐานแวดล้อม
+1
ปัญหามันอยู่ตรงกระบวนการมากกว่า ต่อให้คดีนี้ถูกคนจริงๆ
แต่การใช้หลักฐานแค่นี้แล้วตัดสินได้
ก็เหมือนการเปิดช่องให้คนสามารถกลั่นแกล้งคนอื่นได้ เพราะหลักฐานแค่นี้มันปลอมกันได้
โอยตาย... คุณภาพกระบวนยุติธรรมไทย
ผมเปิด Tor แล้วใช้ Tor Browser โพสต์ แค่นี้คนโพสต์ก็มี IP มาจาก ตปท แล้ว..
ทำไมต้องจำกัดสิทธิคนทั้งประเทศเพื่อคนไม่กี่คน
เพราะคนไม่กี่คนที่ว่า เมื่อเกิดผลกระทบขึ้นแล้ว อาจกระเทือนความมั่นคงของประเทศไงครับ
ประเทศไทยถ้าขาดใครไปซักคน คงไม่ล่มจมหรอกครับ
สงครามกลางเมืองแน่ๆครับ คนไทยจะฆ่ากันเองอย่างแน่นอน ไม่ได้ตายแค่หลักร้อยอย่างที่ผ่านมาด้วย แต่ผมพูดเฉพาะแค่ตัวบุคคลเท่านั้นนะครับ
แล้วพวก Dynamic IP Address ที่ ISP แจกมาจะตามยังไง??
I am Cortana.
Nice to meet you.
ในข่าวมีเขียนไว้แล้วครับ
ทาง blognone จะมีจดหมายเปิดผนึกเหมือนเคสอากงอีกไหมครับ? ถ้ามีแล้วให้ร่วมลงชื่อ ผมยินดีครับ
ดูจาก iLaw จำเลยต่อสู้ด้วยการบอกว่า งานยุ่ง แถมใครก็ใช้เน็ต ที่บริษัทได้ เหตุผลฟังไม่ขึ้นหรือเปล่า
ถ้าชั้น อุธรณ์ ให้เหตุผล ว่า ip address ไม่สามารถเปลี่ยนได้ งั้น ชั้นฎีกา จำเลยต้องให้การหักล้างประเด็นนี้ประเด็นเดียว หรือ ต้องหาเหตุมาหักล้างทุกประเด็นทั้งหมดอ่ะครับ
ผมคิดว่า Point ที่ทำให้ศาลตัดสินกลับคำพิพากษา
น่าจะเป็นเพราะ
"ทั้งเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบผู้ใช้งานในวันและเวลาขณะเกิดเหตุพบว่า
มีผู้ใช้งานเพียงคนเดียว
ซึ่งไอพีแอดเดรส ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกันและมีเพียงไอพีแอดเดรสเดียวเท่านั้น"
สงสัยตรงนี้แหละครับ ว่าตรวจสอบยังไง
เพราะ iLaw ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เจ้าหน้าที่ทำยังไงถึงรู้ได้ว่าเขาใช้งานแค่คนเดียวในวันนั้น ทั้งๆที่คนในโรงงานมี 70 คน
แสดงว่ามีพยานให้การว่า
วันนั้นเห็นนพวรรณเล่นคอมเครื่องเดียว นอกนั้นคอม 10 เครื่อง ทั้ง 69 ไม่มีใครเล่นเลย ตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนถึง 16 โมงเย็น
แบบนี้เลย??
ซึ่งจริงๆแล้ว ทุกคนควรตกเป็นผู้ต้องสงสัยด้วยซ้ำ เพราะว่าใครๆ ก็รู้ user password เข้า internet ทำให้ใครๆ ก็สามารถใช้คอมเครื่องไหนก็ได้ เคสแบบนี้ พยานมีน้ำหนักพอจะให้สืบได้หรือ?
แถมก็ไม่เห็นมีการพิสูนจ์ด้วยว่า bento เป็น user ของนพวรรณ
ถ้าคดีนี้จบลงด้วยนพวรรณติดคุกจริงๆละก็ เมืองไทยอยู่ยากละครับงานนี้
ผมอ่านดูแล้วยังงงกับคำเบิกความของพยานโจทย์
"พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า การปลอมแปลงไอพีแอดเดรส และการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไอพีแอดเดรสของจำเลยทำได้ยาก เพราะ ไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้"
ดูมันแย้งกัน ประโยคแรกบอกปลอมได้ยากประโยคหลังบอกปลอมไม่ได้
เชื่อว่าถ้าได้ทนายเก่งๆในชั้นฎีกาโอกาสหลุดก็มีครับ
คุกเมืองไทยไม่ได้มีไว้ขังคนรวยกับคนมีอำนาจ
จากที่อ่าน เหมือน ศาลอุทธรณ์ มีเจ้าหน้าที่ IT มาให้การเพิ่ม
จนระบุได้ว่า ไม่ใช่ IP ร่วมของโรงงาน แต่เป็น IP ของโน๊ตบุ๊ค นิครับ?
โจทก์มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมทั้งเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มาเบิกความยืนยันว่า จากการตรวจสอบ ไอพีแอดเดรสของผู้ที่โพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ประชาไทและตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต พบว่า
"ไอพีแอดเดรส ตรงกับ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลย"
เมื่อรวมกับ login ประชาไท ที่มีแต่เจ้าตัวเข้าไปได้ มันก็ชัดเจน กว่าที่คิดนะ
112, 112 everywhere
ผมเข้าใจว่าในทางเทคนิค มีช่องทางที่จะทำให้คนอื่นปลอมเป็นเราได้
แต่ในขณะเดียวกัน คำถามคือ จะทำไปเพื่ออะไร มูลเหตุจูงใจคืออะไร
ถ้าไม่เคยมีปัญหาหรือโกรธแค้นกันมาก่อน จะทำทำไม ?
ถ้าตอบตรงนี้ไม่ได้แล้วหลักฐานชื้ไปที่ตัวเอง จะโดนศาลตัดสินว่าผิดจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ
สมมติว่าถูกปลอม IP
ผู้ปลอมแปลงคงไม่ได้หวังผลว่าจะปลอมเป็น IP ของใครหรอกครับ ก็แค่สุ่ม valid IP ขึ้นมา เอาแค่ปกปิดตัวเองพอ ใครจะโดนคงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้
โดยเฉพาะพวกคดีพิเศษเนี้ย ดูเหมือนจะดำเนินการเร็วนะครับ