ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ, สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยื่นหนังสือต่อกระทรวงไอซีที คัดค้านร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่กำลังรอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา แม้ว่าที่ผ่านมารัฐมนตรีไอซีทีจะระบุว่าร่างนี้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นไปแล้วก็ตาม
ประเด็นที่หน่วยงานเหล่านี้คัดค้าน ได้แก่
สำหรับสรุปร่างล่าสุดทาง Blognone เคยรายงานไปแล้วก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้นทางรัฐมนตรีก็เคยให้ข่าวว่าร่างพรบ. จะทำให้ผู้ให้บริการมีอำนาจในการหยุดให้บริการหากพฤติกรรม "ไม่เหมาะสม"
Comments
คำว่า "การครอบครองผ่านกระบวนการอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ก็ตาม" นี่รวมถึง Web Caching และ CDN ด้วยหรือเปล่า ถ้ารวมด้วยนี่จัดที ยกกันเป็นหลายสิบเครื่องเลยนะ
ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม หากตราจพบว่าในเครื่องคุณมีสิ่งเหล่านั้นอยู่ถือว่าผิดครับ
ยังงี้ถ้าผมบังเอิญไปกดลิงค์ที่มันต้องผ่าน linkbucks ก็มีโอกาสเข้าคุกแล้วสิ
แม่นแล้ว...
คำพวกนี้ตีความได้หลายความหมายครับ มันแปรผันไปตาม บุญ,กรรม,อำนาจ,วาสนา และกำลังทรัพย์ ของจำเลย ^^
ผมว่าอย่างหลัง.. คงจะมีผลมากที่สุดแหง๋ๆ
มีผลมากเหมือนกันครับ แต่ถ้าไม่มีอำนาจควบคู่ด้วย
อาจจะกลายตัวเงินตัวทองให้คนบ้างพวกดูดไปเรื่อยๆครับ :P
อ่านแบบเดิมแล้ว ทำให้รู้สึกว่า คุกอยู่ใกล้ตัวขึ้น
และตอนนี้ ขาก็อาจจะอยู่ในคุกไปแล้วด้วยแฮะ
ถ้าเขียนข่าววิจารณ์รัฐบาล คงโดนรัฐมนตรีสั่งแบน ถ้าเขียนเชียร์ก็ผ่าน รัฐบาบชุดไหนๆก็เป็นแบบนี้
ผมว่างี้ไม่โดนตั้งแต่เข้าเว็บธรรมดาแล้วเจอแบนเนอร์เว็บโป๊แล้วหรอครับ ถ้าเว็บเขาใช้เด็กเป็นแบนเนอร์
กฏหมายที่มาจากการที่รัฐบาลอยากจะคุมสื่อ ก็เลยเป็นอย่างงี้... เอิ่มมมม
+1
"การครอบครองภาพอนาจารเด็กเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แม้จะเป็นการครอบครองผ่านกระบวนการอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ก็ตาม" อันนี้อ่านแล้วอึ้งเลยครับ
ในเมื่ออินเตอร์เน็ทมันเป็นสื่อสาธารณะ ที่ใช้กันทั่วโลก หากเราเข้าไปเปิดเจอเข้าก็ถือว่าเป็นความผิดไปด้วยเหรอครับเนี่ย
แถมบางทีมันบังคับมาจาก ad ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจจะเปิดมัน
แต่มันกลับเก็บลง cache ของ browser เอง
กลายเป็นว่าเรากระทำผิดกฏหมายไปด้วยซะอย่างนั้น
แถมภาพแค่ไหนถือว่าเป็นอนาจารเด็ก เพราะบางทีเค้าอาจจะถ่ายรูปลูกๆหลานๆแก้ผ้าวิ่งเล่นกันที่ชายทะเลแล้วถ่ายเก็บไว้ แต่คนนอกเห็นอาจจะนึกว่าเป็นภาพอนาจารเด็กก็กลายเป็นว่ามีความผิดไปซะงั้น
ผมว่าต้องมีการตีความให้ชัดเจนกว่านี้อย่างมากเลยครับ เหมือนว่า นักกฎหมายที่เขียนร่างนี้ไม่ได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริง (หรือจงใจ เพื่อผลประโยชน์บางอย่างที่แอบแฝง จะได้เอาผิดได้ทุกกรณีที่ต้องการแกล้งใคร)
ผมว่าน่าจะระบุให้ชัดเจน แล้วถ้าไม่ครอบคลุมค่อยเพิ่มรายละเอียดไปเรื่อยๆ น่าจะเหมาะสมกว่า ไม่ใช่ทำให้กว้างไว้ก่อนแล้วเอาคนไม่ผิดรับเคราะห์ไปด้วย เพราะไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจที่คิดชั่วนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง
อย่าเพิ่งว่าไปครับ ลองดูนี่ก่อน (นาทีที่ 25)
http://www.youtube.com/watch?v=qSeKvEoj0vk
ผมว่าความตั้งใจมันดี แต่เราๆ ท่านๆ ก็ตีความกันไปในแง่ร้ายกันเอง
อย่าง cache ของ browser เนี่ย เขาไม่ได้จงใจเอาผิดหรอกครับ มันขึ้นอยู่กับคนตีความกฎหมาย
อันที่จริงแล้ว เราปล่อยให้กฏหมายขึ้นอยู่กับคนตีความไม่ได้นะครับ
กฏหมายถึงต้องชัดเจน
เคยได้ยินคำว่า เลี่ยงบาลี มั้ยครับ
มันมาจากการ ตีความกฏหมายในชั้นศาล ว่าใครผิด หรือไม่ผิด โดยตีความกฏหมายเป็นรายประโยค
ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้าประโยคไม่ชัดเจน คลุมเครือ ก็จะเกิดการ ตีความจากประโยคกฏหมาย แทนที่จะเน้นไปที่ความผิดจริงๆ
ผลของการเลี่ยงบาลี อาจแลกมาด้วยอิสรภาพของใครสักคน สัก 30-40 ปีก็ได้
กฏหมายถึงต้องชัดเจนทุกประโยค ปล่อยให้ตีความกันตามใจชอบไม่ได้
สมมุติว่า มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง (แบบสมมุตินะครับ)
ได้เกิดการตีความว่า คุณผิด เพราะเบราเซอร์ได้แคชข้อมูลไว้
และใครก็ไม่สามารถท้วงการตัดสินได้ เพราะกฏหมายก็ไม่ได้คัดค้านอะไร
จากการตัดสินครั้งนี้เป็นต้นไป เราก็จะถือว่า กรณีเดียวกันนี้ มีความผิดทันที
เพราะกฏหมายต้องถูกต้องเสมอ ถ้าการตัดสินครั้งต่อไป ถูกตัดสินว่าไม่ผิด
ก็จะเกิดคำถามว่า แล้วตกลงการตัดสินครั้งก่อนหน้านั้น ตัดสินได้ถูกต้องหรือไม่
ปัญหาก็จะตามมา เช่น ขอรื้อคดี อีกจำนวนมหาศาล
ไม่ว่าคำตัดสินจะ ถูก หรือ ผิด ในกรณีเดียวกันนี้ ก็จะเกิดการขอรื้อคดีแน่ๆ เพราะกฏหมายต้องมีมาตรฐานเดียว ตัดสิน 2 แบบไม่ได้
แค่นี้ก็น่ากลัวแล้วครับ
ของแบบนี้ถึงรู้กันว่าน่ากลัวมาก (โดยเฉพาะในสังคมไทย)
แต่ก็มีบ้างคนทำตัวงงๆว่ามันไม่เป็นอะไรหรอก คิดมากไปเอง
มันน่าจะให้เกิดกรณีกับคนๆนั้นจริงๆ หึหึหึ
คิดไปคิดมาจะเริ่มโปรเจคใต้ดินดีมั้ยเนี้ย ^^
ขึ้นชื่อว่ากฎหมาย ยังไงก็ต้องตีความครับผม
คนที่บอกว่าต้องเขียนให้ละเอียดไปเลย ไม่ต้องตีความ สุดท้ายกฎหมายนั้นจะเต็มไปด้วยช่องโหว่
ไปลองคิดใหม่ดูครับ กฎหมายอาญาประเทศไหนไม่ต้องตีความก็บ้าแล้ว
กฏหมายก็ต้องตีความ ก็แน่นอนหละ ไม่ตีความเลย จะเข้าใจความหมายได้ไง
แค่หนังสือการ์ตูน อ่านยังต้องตีความเลย
แล้ว พรบ คอม ที่คลุมเครือแบบนี้ ไม่มีช่องโหว่ใช่ไหมครับ
คำว่าตีความเนี่ยะ ผมไม่ได้หมายถึงว่าไม่ต้องตีความเลย แต่ ให้ตีความได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
ที่บอก กฏหมายต้องชัดเจน อะไร คืออะไร ต้องชัดเจนจริงๆ ไม่ใช่ปล่อยให้ไปตีความกันเอง
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ กฏหมายจราจร
คำว่า ห้ามจอดรถ ในที่ห้ามจอด
กฏหมายกำหนดว่า "จอดรถ" คือ ผู้ขับต้องออกจากรถไปแล้ว หรือหยุดรถนานไป
แต่ถ้าผู้ขับยังอยู่บนรถ เขาให้เรียกว่า "หยุดรถ"
หรืออยู๋ในตำแหน่งที่สามารถควบคุมรถได้ทันที
หยุดรถได้ในแถบขาวเหลือง
ห้ามหยุดและห้ามจอดในเขต แถบขาวแดง
ถ้ามันคลุมเครือ คุณเห็นแถบขาวเหลือง คุณจะรู้ได้ไง ว่าตอนนี้ เรียกว่าคุณหยุดรถหรือจอดรถกันแน่
ถ้าเป็นคุณ คงจะบอกว่า ก็ไม่เป็นเป็นไร กฏหมายเขาหวังดี เขาคงไม่จับเราหรอก
อย่าตกใจกันไป มันขึ้นอยู่กับคนตีความ
แล้วสุดท้ายคุณจะเสียค่าปรับไหม ... หรือคุณยังงงอยู่ ว่าผิดหรือไม่ผิด
เอาแค่พ่อแม่รักลูกยังไม่เท่ากันเลย
คิดว่าคนตีความจะเป็นกลางเสมอไปเหรอ ไม่มีทาง
อันนี้....คุณตีความอย่างนั้นใช่มั้ยครับ? แต่ผมตีความอีกอย่างนึงนะ เพราะผมอ้างได้ว่ามันถูกบันทึกเก็บลงบนเครื่องคุณไว้แล้ว
กฎหมายควรมีความชัดเจนไม่ควรคลุมเครือไม่งั้นจะเกิดปัญหาได้
การระบุใช้ชัดเจนไม่ใช่เรื่องยาก นอกเสียจากตั้งใจให้คลุมเครือเพื่อหวังผลบางอย่าง
หรือขี้เกียจอธิบายเยอะ วันนึงถ้าเราโดนจับอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว
เริ่มจะเหมือนเกาหลีเหนือ+จีนเข้าไปทุกที
ผมว่า พรบ.คอม ควรมี Term ที่ใช้ศัพท์เทคนิคให้มากขึ้น และลดการใช้ศัพท์กฏหมายลงนะครับ เพราะนักกฏหมายไม่เคยนิยมศัพท์คอมพิวเตอร์ได้เข้าหูเท่าไหร่ แถมเวลาแปลความหมายมาไม่ตรงตามที่พวกเราเข้าใจกันอีก เช่นคำว่า ไม่เหมาะสม อนาจาร หรือ โดยอัตโนมัติ นี่ในความคิดของคนที่เขียนโปรแกรมเป็น กับคนที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์ คำเดียวกันมันคนละ Paradigm กันเลยทีเดียว
ผมว่าผู้ใช้งานตัวบทบัญญัติกฎหมายหลัก ๆ คือนักกฎหมาย ถ้าเกิดว่าเราเขียนให้เขาอ่านไม่รู้เรื่อง เขาอาจจะดริฟท์ไปไกลมากกว่าเราจะจินตนาการณ์ได้อีกนะครับ 555
"ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่" ประโยคนี้มันโคตรจะครอบจักรวาล
เรื่อง browser เก็บ cache โฆษณาหรือเว็บทั่ว ๆ ไป นี่ขึ้นศาลยังไงก็หลุดครับ เพราะเท่ากับขาด "เจตนา" อันเป็นองค์ประกอบของความผิดอย่างชัดเจน
แต่ถ้าจงใจเข้าเว็บโป้ แล้วมีการเก็บ cache ไว้นี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งนี้ผมไม่แน่ใจนะว่า cache นี่จะดูได้รึเปล่าว่ามาจากเว็บอะไร
แต่ปัญหาสำคัญที่สุดคือ ขึ้นศาลเป็นความลีวิตก็แย่แล้วครับ ต้องหาเงินมาประกันตัว เสียค่าทนายความ เสียเวลาไปศาลอีก ทางที่ดีแก้เถอะ -*-
A smooth sea never made a skillful sailor.
ลองอ่าน
"การครอบครองภาพอนาจารเด็กเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แม้จะเป็นการครอบครองผ่านกระบวนการอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ก็ตาม"
อีกสักรอบครับ เมื่อรวมกับคำวิเศษอย่าง "ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่" แค่รูปโดเรมอนอาบน้ำก็อาจจะซวยได้
คำว่า ภาพอนาจารเด็ก นี่ไม่น่าจะนับรวมการ์ตูนหรือเปล่าครับ
จริง ๆ จะว่าไปทีวีเรายังมีเอาภาพอนาจารเด็กมาฉายให้ดูอยู่บ่อย ๆ เลย
พวกโฆษณา แป้งเด็ก, ผ้าอ้อมเด็ก, แชมพูเด็ก ฯลฯ
ความเห็นขำๆนะครับ
อะไรบ้าง ที่ไม่ใช่ประบวนการอัตโนมัติ ผมว่าไม่มีครับ
ลำพังแค่เราคลิกขวา save as เนี่ยะ คอมพิวเตอร์ก็มีกระบวนการอัติโนมัติตั้งหลายอย่าง
หรือถ้าผมไม่อยากทำเอง ผมเขียนโปรแกรมขึ้นมาจัดการให้อัตโนมัติหละ
แล้วถ้าผมลบซอร์สโค้ดไปหมดแล้ว ไม่มีหลักฐานว่าผมเขียนโปรแกรมนี้ขึ้นมา
แต่โปรแกรมมันรันอยู่ของมันเอง แบบ background service หละ
กฎหมายต้องการเอาผิดกับกรณีที่ 2 ที่คุณยกตัวอย่างมาเท่านั้นครับ แต่มันพ่วงกับกรณีที่ 1 ไปด้วย
เช่น cache ของ browser ถ้าระบุว่ามันไม่ผิดก็จะมีคนหัวใสจงใจตั้งให้ cache เพราะเวปโป๊แล้วอ้างว่าไม่ผิดเพราะกฎหมายยกเว้น คล้ายๆกับว่าเหวี่ยงแหตาถี่จับปลามาเยอะๆ แล้วคัดปลาตัวเล็กทิ้งไป เพราะไม่อยากเหวี่ยงแหตาใหญ่แล้วพลาดปลาตัวขนาดกลางหลุดไป
ผมเข้าใจที่คุณอธิบายนะครับ
แต่ผมท้วงว่า มันไม่ดี ถ้าจะคิดแบบนั้น
ที่ผมไม่เห็นด้วยเนี่ยะ เพราะว่า ไอ้คำว่า จับมาให้หมดก่อน มันจะกลายเป็นเครื่องมือของคนทุจริต แต่มีอำนาจจับกุม เพื่อกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์ครับ
ผมเข้าใจว่าคุณเชื่อใจ ไว้ใจ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ประหนึ่งเหมือนคุณเองไปนั่งกำกับอยู่ตรงนั้น
คุณเองต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
1.แล้วใครเป็นผู้คัดปลาเล็กทิ้งไป
2. คนผู้นั้นมีการกระทำที่ สุจริต หรือ ทุจจริต
3.แน่ใจได้ไหม ใครลงลายเซ็นรับประกันว่าผู้นั้นจะสุจริตเสมอไป
4.ถ้ามีคนทุจริต ใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์ คุณจะช่วยเขายังไง
ถ้าคุณไม่ได้เป็นคนไปนั่งกำกับผู้มีอำนาจ คุณจะรู้ได้ไงว่าคนนั้นเขามีความสุจริตจริง
ในอุดมคติ ใครก็อยากเห็นผู้มีอำนาจที่บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใครจะรู้ได้หละครับ
ทางแก้ "ชั่วคราว" น่าจะเปลี่ยนจาก "การอบรม" ไปเป็นกำหนดให้ ผู้พิพากษา อัยการ ทนาย และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องไปเรียนและสอบ tech cert (vendor-neutral เช่น CompTIA, (ISC)2, ISACA) ให้หมด แล้วก็ re-cert ทุก 3 ปี ถ้าไม่ผ่านไม่สิทธิ์ทำคดีด้านคอมพิวเตอร์
รูปถ่าย(ฟีล์ม)ตอนผมเด็กๆ แก้ผ้าเล่นน้ำยังมีอยู่เลย แบบนี้เอามาแชร์(fb)มันจะโดนด้วยไหมเนียะ(รูปตัวเองแท้ ๆ)
ผมลองอ่านดูแล้วแบบว่า.. อืมม.. ไม่รู้จะพูดอะไรดี -
หลายคนไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่เห็นด้วย
เราจะมีแถลงการณ์คัดค้านร่างพรบ.คอมพ์ฯ ฉบับใหม่นี้หรือเปล่าครับ
ผมคิดว่าเจตนาของกฎหมายนั้นดี แต่ร่างออกมาแล้วไม่ชัดเจนพอ คัดค้านก็สมควรอยู่ครับแต่ไม่ได้ช่วยอะไร
เพราะยังไงก็ต้องร่างขึ้นมาใหม่ ผมว่าคัดค้านแล้วเรายังจำเป็นต้องเสนอร่างที่คิดว่าชัดเจนกว่าเข้าไปด้วย
ไม่งั้นร่างมาใหม่ก็เหมือนเดิม เพราะเรื่องคอมนั้นมันซิกแซกได้เยอะมาก จะเขียนยังไงให้ชัดเจนและครอบคลุมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แน่นอน
คัดค้านไม่ได้ช่วยอะไร ปล่อยผ่านช่วยได้มากเลยนะครับ
เขียนให้ชัดเจน มันยาก คำว่ายาก ก็ต้องพยายามสิครับ ไม่ใช้สักแต่ว่าให้เขียนไป
กฏหมาย ขึ้นไปแล้ว เอาลงยากนะครับ ไม่ใช่ว่า นึกขึ้นได้วันไหน ก็เอากลับมาแก้
เจตนานี่ผมไม่ทราบครับ คงไปอ่านใจใครไม่ได้ ถามคนร่างคงไม่มีใครบอกว่าตัวเองมีเจตนาเลว
แต่กระบวนการร่าง มีปัญหาแน่ๆ ทั้งที่เป็นกฎหมายคอมพิวเตอร์ ไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เปิดกว้าง ไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีการรับฟังความเห็นออนไลน์ ฯลฯ
กระบวนการร่างสับสน กลับไปมา ร่างอยากให้มีกระบวนการ notice and take down (เขียนไว้ในอธิบายหลักการ) แต่พอเขียนเป็นกฎหมายไม่กำหนด เขียนวนไปวนมา สรุปได้ว่าไม่รู้ว่าตัวกลางจะโดนเอาผิดหรือไม่ แล้วแต่ดวงชะตา
lewcpe.com, @wasonliw
คุกจะพอขังหรือเปล่านะ
กฎหมายสำหรับเอาผิดอาญา ต้องชัดเจน ไม่ต้องตีความครับ
รูปอนาจารเด็กนี่ อาญาเต็ม ๆ ดังนั้นกฎหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรต้องมีความชัดเจนด้วย
เห็นควรให้เอากลับไปแก้ไขครับ
สุดท้ายคือขึ้นอยู่กับการตีความล้วนๆ แล้วการตีความขึ้นอยู่กับอะไร ก็อำนาจและก็เงินไง