สำหรับแอปเปิลแล้ว ตลาดอินเดียคงไม่ง่ายนักที่จะเจาะเข้าไปได้ ยอดการจำหน่าย iPhone ก็ยังน้อยนิดทำได้เพียงแค่ 5% สาเหตุหลักก็มาจากราคาเครื่องที่ขายแบบไม่ติดสัญญาแต่ก็ยังแพงเกินไปสำหรับคนอินเดีย
ล่าสุดแอปเปิลได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์อันดับสามในอินเดียอย่าง Reliance Communications เปิดจำหน่าย iPhone 5s และ 5c แบบติดสัญญา 2 ปี โดยจ่ายรายเดือนผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น ซึ่ง iPhone 5s มีราคา 2,999 รูปี (48.5 ดอลลาร์สหรัฐ) และ iPhone 5c ราคา 2,599 รูปี โดยราคานี้สามารถโทรได้ไม่จำกัดรวมบริการอินเทอร์เน็ตด้วย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
แหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่าราคาแบบติดสัญญานั้นต้องผ่อนจ่ายกี่เดือน แต่หากซื้อเครื่องแบบไม่ติดสัญญา iPhone 5s จะมีราคา 53,500 รูปี (865 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งก็ยังแพงมากสำหรับประเทศอินเดีย
Comments
อย่ามาไทย ประเทศนี้ไม่เหมาะแก่การติดสัญญา เพราะจะเแห่กันไปซื้อเพราะคิดว่ามันถูก!!!....
อยากให้มานะ ระบบแบบนี้
ถ้าจำไม่ผิด คือของไทยก็เคยมีนะครับ เครือข่ายฮัทช์ไง (จำกันได้ไหม) เพียงแต่ชอบมีคนโวยว่าติดสัญญาทาส พอมี กสทช เขาก็เลยห้ามขายเครื่องพ่วงสัญญาซะเลย สรุปเลยอดกันหมด ไม่งั้นของไทยก็คงมีแบบนี้แล้วล่ะครับ
เคยใช้อยู่ ของ kyocera มั้ง ลืมไปแล้วนะเนี่ย
ไม่เข้าใจคนโวยอะครับ -_-;; ตอนซื้อเขาไม่ได้อ่านเหรอ
คนจะเอา อะไรก็ไม่สนหรอกครับ เห็นมาเยอะแล้ว
ลองดูนี่สิครับ
3BB หน่วยงานเลว
ป้าแกไม่มีความรู้ แต่ก็ไม่สนใจอะไรเลย คิดแต่จะได้
คนไทย ก็รู้กันอยู่อ่ะครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
คิดดีๆนะครับ ที่อเมริกา,สิงค์โปร์ก็เป็นแบบเดียวกัน คือมีแต่โพสเพด เป็นสัญญาสองปีแล้วขายเครื่องลดราคา แต่ถ้าคุณมีเครื่องมาเอง เค้าก็ไม่ลดราคาสัญญาให้
แล้วสัญญาเค้าก็แพงนะครับ ไม่ใช่ถูกมากอย่างบ้านเรา
ในทางกลับกัน คนขายก็ไม่ได้ทำการกุศลนะครับ เอาจริงๆคุณจ่ายรวมไปในสัญญา (talk plan) อยู่แล้ว แถมเดี๋ยวนี้คนไทยก็มีผ่อนชำระ 0% 10 เดือนกันเยอะอยู่แล้วนิ จะกลัวอะไร?
มันมีพวกReseller ที่เอาเครือข่ายมาขายใหม่ อย่าง Ting ที่ใช้เสาของ Verizon มา สัญญานี่ก็ไม่แพงนะครับ
ผมว่าสัญญามันแฟร์ทั้งสองฝ่ายนะครับ ผมเป็นลูกค้าของ M1 อยู่ครับ สัญญาของเขาก็โอเคนะ มีให้เลือกทั้งรายเดือนแบบไม่ติดสัญญา กับสัญญา 2 ปี พร้อมสิทธิซื้อเครื่องราคาถูก หากใช้ไปได้ 1 ปี สามารถ Re-Contact ซื้อเครื่องใหม่ได้ก็โอเค แถมถ้าไม่อยากใช้รายเดือน ก็มี Pre-Paid ให้ด้วย
แต่คำถามมันอยู่ที่แล้ว ผู้ให้บริการมีทางเลือกที่ตอบโจทย์ของลูกค้ามากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเองครับ... และลูกค้าก็ควรจะหันสัญญาก่อนที่จะเซ็นซี๊ซั๊วอะไรไปเรื่อยนะครับ ผมก็เจอมาหลายรายละ โวย วาย ซะ สุดท้ายตัวเองผิดเพราะไม่อ่านสัญญา...
+1 ครับ
มีเครื่องเองอยู่แล้ว แต่จ่ายรายเดือนเท่ากับพวกที่ซื้อเครื่องติดสัญญานี่ก็รู้สึกเซ็งพอสมควร
อย่ามาเลย มันทำให้ตลาดเบี้ยว สัญญาทาสแบบนี้
อ๊ะ แต่ว่าถ้าไม่มีระบบนี้ ไอโฟนมันก็ไม่โตนี่หว่า เอาไงดี
บ้านเราไม่เหมาะกับการขายแบบติดสัญญาครับ เอาแค่สัญญาว่าจะไม่คิดย้ายค่ายกันใน 2 ปีนี่เดี๋ยวนี้ยากนะครับ โปรโมชันลด 50% ทั้ง 3 ค่ายจัดเต็มอีรุงตุงนังไปหมด จำนวนคนโอนย้ายเครือข่ายต่อ 1 วัน ไม่ต่ำกว่า 20,000 เลขหมาย บางช่วง ครึ่งแสนเลขหมายต่อวัน จะให้คนไทยซื่อสัตย์ติดสัญญาได้เป็นปีๆ เห็นจะยาก .. ไม่ได้เหมารวมนะครับ แต่พูดถึงส่วนใหญ่
ผมเป็นลูกคนเล็ก
อยากให้บ้านเราทำระบบนี้บ้าง หรือไม่ก็หานโยบายยกเลิกการขายเครื่องพร้อมเปิดเบอร์ใหม่ เพื่อเอายอดหน่อยเหอะ -*-)
ต้องการสัญญาทาสซึ่งแพงกว่า แต่ไม่อยากได้ซื้อเครื่องพร้อมแพคเกจที่คุ้มกว่าสมัครแบบไม่ซื้อเครื่อง โดยเครื่องก็ไม่ได้แพงกว่าซื้อที่อื่น เพื่ออะไรครับ?
เบื่อระบบที่บังคับเปิดเบอร์ใหม่เรื่อยๆ และอย่างน้อยพวกชอบซื้อมาเก็งกำไรจะได้น้อยลงไปในตัว - -)a
ปล.สัญญาทาสถ้ามีแข่งกันมากๆ พร้อมกัน ก็จะถูกไปเองครับ
ais ซื้อเครื่องใหม่ใช้เบอร์เดิม แต่เปลี่ยนมาใช้โปรแถมกับเครื่องได้นะครับ ไม่ต้องเปิดเบอร์ใหม่ก็ได้
dtac ก็มีนะครับ ใช้เบอร์เดิมได้
อ่านคอมเม้นท์จบ สรุปคือคนไทยชอบระบบผ่อนครับ ฮ่าๆ
จำได้ว่าเมื่อก่อน Orange ที่ทำตลาดในไทยก็ใช้แบบนี้นะ แต่แล้วก็เหมือนจะได้ผลตอบรับไม่ดี ก็เลยเลิกๆ ไป อีกอย่างรูปแบบการซื้อคนไทยชอบฉีกสัญญา คนทำแผนธุรกิจแนวนี้เลยปวดหัว เพราะต้องมานั่งคิดแผนรองรับ
สมัยiPhone 3Gที่ทรูเอาเข้ามาตอนแรกก็เป็นเครื่องล็อคนะครับ ผมจำได้
ไม่ใช่ครับ เครื่องไม่ได้ lock แต่ก็มีขายเครื่องพ่วงสัญญา 2 ปีแบบนี้อยู่เหมือนกัน
สรุปรูปแบบสัญญาแบบนี้ไม่เวิร์ค หรือใช้กับพฤติกรรมคนไทยไม่เวิร์คอิอิ
ที่เขาเลิกไม่ใช้เพราะสัญญาทาสหรอก แต่เป็นเพราะคนไทยใช้วิธี ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย แล้วเขาก็ทำอะไรไม่ได้ บริษัทเลยปวดหัวกันเป็นแถว
+1 ครับ orange นี่คงกลัวคนไทยไปอีกนาน
A smooth sea never made a skillful sailor.
คอมเม้นเจอแต่คำว่า คนไทย
ผมก็เป็นคนไทยครับ ได้แต่เศร้า เพราะก็เห็นด้วย และเจอกับตัว เรื่องการผิดสัญญาบ่อยๆ
ผมขอแชร์สิ่งที่คุณสมคิด ลวางกูรได้เล่าไว้ใน Facebook ซึ่งเข้ากับเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย เรื่อง "สมัยผมเป็นผู้บริหารสนามบิน"
ผมขอเสนอให้มีการสร้างสัญญามาตรฐานเหมือนกับ GPL, LGPL, BSD License เป็นต้นแต่เป็นเรื่องบริการ เช่น สัญญาการบริการมาตรฐานทั่วไปฉบับที่1 (SCSv1:Service contract standards Version1)
โดยจดเป็นลิขสิทธิ์ด้วย แล้วระบุลงไปว่า ถ้าจะอ้างอิงสัญญานี้ต้องใช้ฉบับเต็ม ไม่สามารถดัดแปลง หรือใช้เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของสัญญาได้ เพื่อทีอำนวยความสะดวก ความเข้าใจ และสบายใจทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ