Dennis Woodside ซีอีโอของโมโตโรลาให้สัมภาษณ์กับ AP ในหลายๆ ประเด็นดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ของโมโตโรลาในปัจจุบันไม่ใช่ฮาร์ดแวร์ แต่เป็น "mobile web" ภารกิจของบริษัทคือสร้างช่องทางการเข้าถึง mobile service ให้คนนับล้านๆ คนทั่วโลก ซึ่ง Moto G ที่สเปกดีแต่ราคาเพียงแค่ 1/4 ของ iPhone ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของทิศทางใหม่นี้
- กูเกิลช่วยสนับสนุนให้โมโตโรลาเดินตามวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ ผ่านเงินลงทุนที่ช่วยผลักดันให้โมโตโรลาเปลี่ยนตัวเองได้สำเร็จ
- โมโตโรลาอยากเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของกูเกิลให้มากกว่านี้ แต่ด้วยนโยบาย Android เป็นแพลตฟอร์มเปิด ทำให้โมโตโรลาก็ได้ใช้ Android รุ่นล่าสุดพร้อมกับบริษัทอื่นๆ ซึ่ง Woodside ก็ยอมรับว่าไม่ค่อยพอใจเรื่องนี้ในบางครั้ง (frustrating)
- เท่าที่นั่งเป็นซีอีโอของโมโตโรลามา ปัญหาสำคัญคือวัฒนธรรมที่ต่างกันของทั้งสององค์กร โดยคนของโมโตโรลาให้ค่ากับวิศวกรรมเป็นหลัก ไม่ค่อยลงมาสัมผัสผู้ใช้โดยตรงมากนัก ส่วนคนของกูเกิลเน้นผลิตภัณฑ์และผู้ใช้เป็นหลัก
- ทิศทางในอนาคตของสมาร์ทโฟนที่เขามองเห็นคือ วงการจะแก้ปัญหาเรื่อง "ตกแล้วแตก" โดยเปลี่ยนวัสดุจากกระจกเป็นพลาสติกในช่วง 24 เดือนจากนี้ไป เพราะเทคโนโลยีการผลิตจอพลาสติกก้าวหน้ามากขึ้น, การสั่งงานด้วยเสียงจะมีความสำคัญมากขึ้น โทรศัพท์จะตอบสนองด้วยเสียงได้ดีขึ้น, ส่วน wearable computing ก็อยู่ในความสนใจแต่ยังไม่มีใครสร้างผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จได้จริงๆ
- โมโตโรลามองว่าคู่แข่งที่สำคัญคือแอปเปิลและซัมซุง โดยเฉพาะซัมซุงที่แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้การตลาดช่วยผลักดันให้ยอดขายสินค้าเติบโตได้ ซึ่งโมโตโรลาไม่มีเงินขนาดนั้น บริษัทจึงพยายามใช้ยุทธศาสตร์ที่ต่างไปแทน (เช่น Moto G)
- เขาใช้ Twitter เป็นประจำเพื่อดูว่าคนมีความเห็นอย่างไรต่อ Moto X และ Moto G, ใช้ Google+ แชร์รูปกับครอบครัว และใช้แอพ TrainingPeaks สำหรับออกกำลังกาย (เขาเป็นนักไตรกรีฑาด้วย)
ที่มา - AP
Comments
อวยให้ สำเร็จจ้า
ผมไม่เข้าใจอันนี้น่ะครับ
โมโตโรลาอยากเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของกูเกิลให้มากกว่านี้ แต่ด้วยนโยบาย Android เป็นแพลตฟอร์มเปิด ทำให้โมโตโรลาก็ได้ใช้ Android รุ่นล่าสุดพร้อมกับบริษัทอื่นๆ ซึ่ง Woodside ก็ยอมรับว่าไม่ค่อยพอใจเรื่องนี้ในบางครั้ง (frustrating)
ผมเข้าใจประมาณนี้
โมโตเขาคงอยากให้ android ของตัวเองพิเศษกว่าคนอื่น สามารถเข้าถึงบริการต่างๆของ google ระดับ premium ไม่ใช่ระดับทั่วๆไปเหมือนเจ้าอื่นๆเขา เหมือนกับ microsoft ที่อนุญาติให้ nokia ปรับแต่งหน้าตาตัว os ได้ตามใจชอบ ขณะที่เจ้าอื่น microsoft ไม่อนุญาติให้ปรับ
ผมคิดว่าออกแนวอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพิ่มหรือเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ เหมือนที่โนเกียได้มีส่วนร่วมในวินโดวส์โฟนหรือเปล่า
ก็คืออยากได้สิทธิพิเศษในฐานะบริษัทลูก แต่กูเกิลไม่ให้น่ะครับ
อารมณ์ว่าอยากเป็นคนพิเศษเพราะว่าเราเป็นญาติกัน แต่กูเกิ้ลดันพูดว่า ผมทำไม่ได้ผมต้องรักษาความยุติธรรมนี้เอาไว้(กูเกิ้ลเป็นผู้พิพากษา)
กูเกิลยังไม่พร้อมตรงนั้นมั้ง เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะผลิตอุปกรณ์ให้ ไม่ว่าจะเป็นโมโตโรล่า หรือซัมซุง ถ้ายังรองรับ Google Services ได้ก็ยังขายโฆษณาได้อยู่ดี
ถ้าให้บริษัทลูกมีอภิสิทธิ์ขึ้นมา บรรดาบริษัทที่ผลิตมือถือ Android เกิดไม่พอใจและเรียกร้องอภิสิทธิ์บาง ถ้าให้ก็เสียการควบคุมไป ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนตีตัวออกห่าง
จะทำแท็บเล็ตราคาสุดคุ้ม เหมือนทำ moto g มั่งป่าว?
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
อยู่ในใจเสมอนะ