ข่าวที่มีกระแสแรงที่สุดวันนี้คงหนีไม่พ้นดีลระหว่าง WhatsApp กับ Facebook ทำให้ตัวผู้ก่อตั้ง WhatsApp ทั้งสองคนกลายเป็นที่สนใจของสื่ออีกครั้งหนึ่ง โดยหนึ่งในผู้ก่อตั้งของ WhatsApp นาย Brian Acton เคยพยายามสมัครเข้าทำงานกับ Facebook และ Twitter ในช่วงปี 2009 แต่แล้ววันนี้เขาก็ต้องกลับเข้ามาทำงานใน Facebook อีกครั้ง แต่ด้วยค่าตัวที่สูงหลักหมื่นล้านดอลลาร์
ผู้ก่อตั้งอีกคน Jan Koum ซึ่งเกิดในประเทศยูเครน และได้ย้ายมาอยู่ในสหรัฐ ต้องเติบโตในครอบครัวที่ยากจน และใช้ชีวิตอยู่กับคูปองแจกอาหารของรัฐบาลสหรัฐฯ
ทั้สองยืนยันจุดยืนของ WhatsApp ที่จะต้องไม่มีโฆษณา ไม่มีเกม และไม่มีของแถมอื่น ๆ เพราะเมื่อใดที่ผู้ให้บริการหันมาใช้วิธีเหล่านี้ในการหาเงิน เมื่อนั้นลูกค้าจะกลายเป็นสินค้าเสียเอง ทั้งนี้ Koum บอกว่าการที่เขามาจากยุโรปตะวันออก ซึ่งตอนนั้นเต็มไปด้วยการพยายามสอดแนมและล้วงข้อมูล ทำให้เขาไม่ต้องการให้ WhatsApp มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
ที่มา - CNN IBN
Comments
ทั้สอง => ทั้งสอง
เล่าเรื่องตอนถูกปฏิเสธเข้าทำงานให้ฟังหน่อยสิครับ ♥
สำหรับผม ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ครับ ปกติคนพวกนี้จะมีแนวคิดที่ไม่ค่อยเหมือนใคร ไม่ค่อยชอบการอยู่ในขอบเขตจำกัดแบบพนักงานทั่วไปมากนัก การถูกปฎิเสธเข้าที่บริษัทดังๆ ไม่ใช่หมายถึงเขาไม่เก่งเสมอไป แต่บางทีบุคลิก ความคิด ไม่สอดคล้องกับองค์กร หรือบางทีเก่งเกินไปก็มี นายจ้างเขาก็ต้องคำนึงถึงหลายๆด้านอยู่แล้ว
เห็นด้วยครับ
Put the right man in the right job ยังคงถูกอยู่เสมอ หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เข้ากับยุทธศาสตร์ขององค์กร ผมก็คงไม่รับครับ แต่เมื่อใดที่ยุทธศาลตร์เปลี่ยนไป ก็อาจจะกลับไปเรียกคนที่มีคุณสมบัติแต่ปฏิเสธไปคราวที่แล้ว มาร่วมงานครับ
ทั้งนี้ การปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน ผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวครับ ผมเคยโดนปฏิเสธ และเรียกตัวอีกครั้งจากบริษัทเดียวกัน มาแล้วครับ
สร้าง Story สินะ
ชอบแนวคิดของทั้งสองคนจัง
กำลังสนใจ WhatsApp ตอนที่บอกว่า ไม่ต้องการให้มีโฆษณา แต่ไม่ชอบที่ WhatsApp ดึงข้อมูลจากสมุดโทรศัพท์
มีหน้านึงตอน initial ครั้งแรกบอกว่าทำไมเค้าถึงไม่มีโฆษณา
น่าจะเป็นแนวๆในข่าวนี้
แต่ผมไม่ได้อ่าน - -"
เค้าเอารายได้จากไหนมา นอกจากค่าบริการ รายปี
จากการขายความอินดี้แบบที่ขายให้เฟสบุ๊คนี่ไงครับ อิอิ
ส่วนใหญ่จะมาจาก Angel investor ครับ
Startup ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโมเดลนี้
แล้วตามมาด้วยพัฒนาแอพออกไป 2 ทาง
1. มีเก็บค่าบริการ/มี in-app purchase หรือถ้าเป็นแอพซื้อขายสินค้าก็กินค่าธรรมเนียม
2. ไม่มีตามข้อ 1 ก็จะพัฒนาแอพจนดังแล้วรอคนอื่นซื้ออีกที
สุดยอด
จริงๆดีลนี้ก็เป็นการขายลูกค้าเหมือนกัน ลูกค้าก็คือสินค้านั่นแหละ
อืม ประวัติน่าสนใจ
ชอบเรื่องคูปองแจกอาหาร...ประทังชีวิตอยู่มาจนประสบความสำเร็จ
ในขณะที่สินค้าของ facebook คือ user ดี ๆ นี่เอง
:-)