ทางการตุรกีได้ทำการบล็อคการใช้งาน Twitter ของประชาชนในประเทศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdoğan ซึ่งจำนวนผู้ใช้งาน Twitter ที่ได้รับผลกระทบมีประมาณ 10 ล้านคน
"เราจะกำจัด Twitter" คือคำประกาศกร้าวของ Erdoğan ในระหว่างการรณรงค์เลือกตั้งที่เมือง Bursa ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของตุรกี โดยเขายังกล่าวอีกว่า "ผมไม่สนว่าประชาคมโลกจะพูดอย่างไร, ทุกคนจะต้องประจักษ์ถึงพลังของสาธารณรัฐตุรกี"
Erdoğan อาศัยอำนาจตามกฏหมายใหม่ที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาตุรกีท่ามกลางกระแสคัดค้านและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก โดยกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (คล้าย กสทช. ของบ้านเรา) สามารถสั่งปิดเว็บไซต์ได้เมื่อเชื่อได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวได้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งนอกจาก Twitter ที่เป็นเป้าหมายของ Erdoğan แล้ว เมื่อสองสัปดาห์ก่อนเขายังได้ขู่ว่าจะปิด Facebook และ YouTube ด้วยเช่นกัน
ด้าน Twitter เองได้ตรวจสอบและยืนยันถึงการถูกปิดกั้นการให้บริการในตุรกีจริงเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ต่อมาภายหลังทางการตุรกีได้ส่งข้อความผ่าน Twitter ระบุว่าผู้ใช้ Twitter ในประเทศตุรกียังคงสามารถรับ-ส่งข้อความได้ผ่านทางบริการ SMS ของโทรศัพท์มือถือ
ย้อนหลังไปก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ Erdoğan เคยแถลงต่อสภาตุรกีเกี่ยวกับเรื่องบอตใน Twitter โดยอ้างว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพุ่งเป้าโจมตีการทำงานของรัฐบาล เขากล่าวว่า "หุ่นยนต์จอมวิ่งเต้นนั้นถูกจัดฉากสร้างขึ้นมาและกำลังโหมถล่มด้วยข้อความทวีตจำนวนมาก" และย้ำว่า "พวกเขาสนใจแต่เรื่องการโจมตีด้วยข้อความให้เพิ่มมากขึ้น" โดยวาทกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับตอนที่มีข้อมูลเบอร์โทรศัพท์จำนวนหนึ่งถูกเผยแพร่สู่สังคม ซึ่งเชื่อว่าอาจมีการพัวพันกับการทุจริตในรัฐบาลของ Erdoğan
หลังจากนั้นไม่นาน Erdoğan ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเห็นจากหลายฝ่ายต่อกฎหมายเจ้าปัญหานี้ว่า "คนบางกลุ่มที่รู้จักกันดีได้ลุกขึ้นมาต่อต้านกฎหมายอินเทอร์เน็ตนี้ทันที" เขายังกล่าวอีกว่า "เรามีความมุ่งมั่นที่จะไม่ยอมให้ผู้คนชาวตุรกีต้องตกเป็นเหยื่อของ YouTube และ Facebook" พร้อมอ้างว่า "ผู้คนเหล่านั้น (เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ) ปลุกเร้าความเสื่อมทรามทางจริยธรรม และจารกรรมข้อมูลต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง"
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนท่าทีของบุรุษผู้นี้ดูจะสวนทางกับความเห็นของ Abdullah Gül ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของตุรกี ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์ภายหลังคำขู่ปิด Facebook และ Youtube ของ Erdoğan ไว้ว่า "การปิดกั้นสิ่งเหล่านั้น (เครือข่ายสังคมออนไลน์) ไม่อาจทำได้" และทิ้งท้ายว่า "ทั้งคู่คือแพลตฟอร์มที่สำคัญมาก, เรามีความภาคภูมิใจเสมอที่ได้เพิ่มขยายเสรีภาพ"
ที่มา - Mashable
Comments
โหดแท้
..: เรื่อยไป
เหลา...//เติมคำเพื่อ?
แต่ก็โหดจริงๆนั่นล่ะ มันคือการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพการแสดงความเห็นของประชาชนเต็มๆเลยนะครับ ผมไม่รู้นะครับว่านายกฯตุรกีทำไมถึงต้องทำแบบนี้
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
วิธีคิดล้าหลังสุดกู่ แบบนี้
ไม่รอดแน่ ๆ
คนนี้สินะที่เคยบล็อคยูทูบไป 2 ปี
ก็ไม่รู้สินะ
ไม่รู้จริงๆ
มันต้องมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากกว่านั้นแน่ๆ
มีคลิปเสียงโทรศัพท์ของนายกคนนี้หลุดออกมาครับ ลองค้นหาดูกันเองนะครับ ยิ่งร้อนตัวออกมาบล็อคกันแบบนี้คนยิ่งสรุปกันได้เลยว่าคลิปเสียงนั้นเป็นของจริงแน่นอน
คือนายกคนนี้ทำภาพกับคลิปลับตัวเองหลุดแล้วต้องการปกติความอับอาย .. มะโนล้านๆ ^^
เหมือนได้กลิ่นตุๆ ของความวุ่นวายในตุรกี
Writer no.59 เพื่อสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้
T ถ้าเป็นพยัญชนะใช้ ท แต่ถ้าใช้เป็นตัวสะกดใช้ ต << สิ่งที่ผมสงสัยคือ Bot ควรใช้ยังไง? เพราะบางคำมีการยกเว้นด้วย
..............................
ปิดกั้นกันสุดฤทธิ์แบบนี้ มันจะมีผลให้ประชาชนออกมาต่อต้านไหมน้อ?
ขออย่าให้เมืองไทยมีวันแบบนี้เลย แต่สงสัยอีกสักพัก คงจะมี
เอาจริงๆ ทั้งเฟซบุค ทวิตเตอร์ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิวัติ ยุคหลังๆ โดยเฉพาะโลกอาหรับเลยนะครับ
ปิดคราวนี้ ผมว่าคงไม่ได้มีแค่เหตุผลเดียว
ระบอปเผด็จการมันเป็นแบบนั้นแหละครับ ตั้งองค์กรณ์สูงสุดขึ้นมา (คุณสมบัติคือ สั้งใครก็ใด้ ถอดถอนใครก็ใด้ แต่ตั้งใครก็ใด้ แต่ไม่มีใครฟ้องใด้) จากนั้นไช้การแต่งตั้ง เอาคนของตัวเองเข้ามาควบคุมทุกอย่าง
ระหว่างนี้อาจยอมให้มีการเลือกตั้ง แต่ก็ไช้กลไกลควบคุมกำหนดผู้ชนะซึ่งเป็นพวกของตนเอง และล้มการเลือกตั้งถ้าคนของตัวเองไม่ชนะ หรือมีหน่วยงานที่ควบคุมผู้ที่ใด้รับเลือกตั้งอีกชั้น สุดท้ายก็เข้าควบคุมประชาชนผ่านกลไกลต่างๆ ลึกลงไปถึงความคิดและจิตรใจ
สื่อที่เสรีที่ปิดบังตัวตนใด้ ไม่เลือกข้าง เปิดให้ทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้คนเริ่มคิดและรับข้อมูลด้านอื่นๆนอกจากที่ควบคุมเอาไว้ และทำลายเปลือกของระบอปเผด็จการ หลายประเทศที่ไช้ระบอปเผด็จการจึงไม่ชอบ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
+1 การปิดสื่อเป็นตัววัดที่ดีของระบอบเผด็จการ คือในโลกที่ก้าวหน้าทุกคนมีความรู้ เขาเชื่อกันว่าทุกคนจะมีวิจารณญาณและกรองการรับสื่อเองได้ การปิดสื่อเพื่อความมั่นคงจึงไม่มีความจำเป็น เหมือนเมืองไทย ตอนนี้มีสื่อของทุกค่ายเลือกรับกันตามสบาย สุดท้ายคนก็ฉลาดเอง ถ้าเมื่องไทยเริ่มมีการปิดเมื่อไร ให้สงสัยไว้ว่าเริ่มเข้าระบอบเผด็จการอีกแล้ว และคิดว่ามันคงจะจวนแล้ว ถึงวันนั้นคงไม่มีใครขำออก ว่าประเทศตรู ก็เป็นเหมือนกัน
Google+ รอด ควรดีใจไหม
พี่ไทย เดี้ยวเราตามไป
ใครจะบล็อกยังไงก็ช่าง มุดอุโมงค์ VPN กับหัวหอม โลด :P
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
อยู่ตรงนี้พูดใด้ แต่อยู่ตรงนั้นกล้าหรือไม่ ... อย่าลืมว่าไม่นานมานี้
สาวซีเรียถูกลงโทษโดยการปาหินให้ตายหลังถูกจับได้ว่าใช้เฟซบุ๊ค
https://www.blognone.com/node/53437
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มีครับ ทำไปแล้วด้วย
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ถ้าเป็นเผด็จการก็ทำใด้แค่นั้นและทำใด้ไม่นานครับ เดี่ยวทั้ง dns และ proxy ก็จะโดน block
แต่ ตุรกี เป็นประเทศประชาธิปไตย คงต้องดูต่อไปแหละครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ความกลัวจะทำให้คนนั้นเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
ส่วนเราก็รอคนดีมาปกครองประเทศครับ เชื่อว่าเขาจะไม่มาทำอะไรแบบนี้ อิอิ
"… สามารถสั่งปิดเว็บไซต์ได้เมื่อเชื่อได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวได้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล …"
เอ่อ การสั่งปิดนู้นปิดนี่มันไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเลยเนอะคุณเอ๋อฯ
เริ่มมีการตอบโต้จากประชาชนแล้วครับ
โดยการพ่นเสปรย์ DNS 8.8.8.8 กับ 8.8.4.4 ไว้ทั่วๆ
บอกให้ใช้ตัวนี้
เอ ว่าแต่เขาบล็อคแค่ DNS เหรอ
เพื่อศีลธรรมอันดี...
:-)
จะว่าไปเมืองไทยก็มี block เยอะแยะไปนะครับ คนที่รู้ว่าใครอะ
ตั้งแต่ชาวตุรกีประท้วงในช่วง Arab Spring นี่ก็ยิ่งทำให้ Social Media อย่าง Twitter, Facebook ฯลฯ ถูกเหล่าผู้นำเผด็จการอำนาจนิยม หรือแม้กระทั่งผู้นำในประเทศประชาธิปไตย พวกนี้ต้องระแวดระวังอยู่ตลอดอยู่แล้ว เพราะกลัวประชาชนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลปลุกระดมต่อต้าน วิพากษ์วิจารณ์ทำให้รัฐบาลเสียชื่อเสียง หรือสร้างความกดดันอื่น ๆ
อย่าให้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเลย