คำถามที่เกิดขึ้นหลังจากที่ Oculus ได้ถูกซื้อกิจการโดย Facebook ที่มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ก็คือ “ถ้าความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้เพราะการระดุมทุนผ่าน Kickstarter ผู้ร่วมลงทุนควรจะได้หุ้นเป็นค่าตอบแทนหรือไม่?”
Oculus Rift เป็นหนึ่งในโปรเจคที่ระดุนทุนผ่านวิธี crowdfunding ผ่านทาง Kickstarter โดยผู้ที่ร่วมลงทุนด้วยจำนวนเงิน 300 ดอลลาร์จะได้รับ Oculus Rift Virtual Reality (VR) set ไปใช้หนึ่งตัว อย่างไรก็ตามตอนนี้ผู้ลงทุนบางส่วนได้ออกมาบอกว่า ถ้าเกิดการลงทุนผ่านทาง Kickstarter มีการแบ่งกรรมสิทธิในบริษัทด้วย นักลงทุนที่ลงทุนไปคนละ 300 ดอลลาร์ จะได้รับเงินจาก Facebook ที่ซื้อบริษัทไปคนละ 43,500 ดอลลาร์ หรือ 145 เท่าจากจำนวนที่ลงทุนไปในตอนแรก
กรณีนี้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในอุตสาหกรรม crowdfunding นั่นก็คือเว็บ crowdfunding หลายแห่ง เช่น Wefunder, SeedInvest และ Crowdfunder กำลังยื่นเรื่อง กลต. ของสหรัฐ (SEC) เพื่อรอการวินิจฉัยว่าการขายหุ้นบริษัทผ่าน crowdfunding สามารถทำได้หรือไม่
อย่างไรก็ตามซีอีโอของ Kickstarter นาย Yancey Strickler ได้ออกมาบอกว่า Kickstarter ไม่ใช่เว็บสำหรับการลงทุน หรือเว็บสำหรับการซื้อสินค้า แต่มันเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ศิลปินมาสรรหาการสนับสนุนจากแฟน ๆ และผู้ที่สนใจได้ เขายังบอกอีกว่า Kickstarter เป็นแหล่งที่ทำให้คนที่อยากมีส่วนร่วมและได้ลองของใหม่ได้ลอง โดย Strickler ยืนยันว่า ถ้าหาก Oculus มีโปรเจคอีกรอบวันนี้ ก็คงจะมีผู้สนใจมาสนับสนุนอีกอยู่ดี
ขณะเดียวกัน Slava Rubin ซีอีโอของ Indiegogo คู่แข่งโดยตรงของ Kickstarter ได้ออกมาบอกว่า crowdfunding น่าจะมีคำตอบให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนจริง ๆ ด้วย และเมื่อไหร่ที่ crowdfunding สามารถเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้กรรมสิทธิในบริษัทจริง เมื่อนั้นอุตสาหกรรมการระดมทุนจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และมันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ ในอนาคตทางใดทางหนึ่ง
ที่มา - The Verge
Comments
คงเข้าใจผิด ระหว่างคำว่า ร่วมลงทุน กับ มาขอเงินทุน
ใน Kickstarter มีกฏข้อหนึ่งครับ
"ห้ามขอระดมทุนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว" หนิครับ ซึ่งสิ่งที่ Oculus ทำตอนนี้มันก็ใช่เลย ประมาณว่า พอได้ทุนจำนวนหนึ่ง สร้าง Project สำเร็จ แทนที่จะนำไปวางขาย ให้พวกที่ลงทุนได้แตะซะหน่อย อันนี้กลายเป็นเอาไปขายให้ Facebook เลย แหกกฏชัดๆเลย Oculus
กรณีศึกษา รอดูผลสรุป
แต่บริษัทนี่ไม่ได้มีเงินนี่หว่า อาศัยเงินคนอื่น ดังนั้นึนเขาก็มัีสิทธิ์สงสัยว่าจะได้ส่วนแบ่งเหมือนกัน
นี่ก็ดราม่าระดับวงโยเลยเหมือนกันนะนี่
วงโยนะไม่เท่าไหร่ แต่ไอ้นี่เนี่ยกระทบกับผู้ลงทุน ความเชื่อมั่น และธุรกิจการระดมทุนเต็มๆ เลย
Get ready to work from now on.
กลัวว่าจะโดนลอยแพเพราะ Facebook ซื้อไปรึป่าว...
น่าจะคนละประเด็นนะครับ
เขาแค่ตั้งข้อสังเกตว่า บ.นี้ดำเนินกิจการต่อในโครงการ VR ได้ด้วยเงินทุนจาก kickstarter
แต่พอทำมายังไม่ทันขายก็ได้กำไรก้อนโตจากการขายให้ FB
ผู้ลงทุนเขาก็มองว่าเขามีสิทธิจากการร่วมลงเงินทุนทำให้บรฺษัทสามารถได้กำไรจากการขายกิจการเหมือนกัน เขาก็น่าจะได้ส่วนแบ่งด้วย เพราะมองว่าทุนของบริษัทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัทก่อนขายกิจการส่วนนึงมาจาก backer ใน Kickstarter
FB เข้ามาซื้อกิจการ = ซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท
มูลค่าจากการซื้อสินทรัพย์นั้นก็ควรได้ตกแก่ผู้เป็นเจ้าของทุน
งงไหมครับ ผมอาจพิมพ์วกวนไปนิด
เข้าใจว่า ยังไม่มีใครคิดจริงจังนะครับว่า เขา "ควร" จะได้รับส่วนแบ่งนี้ เพราะเงื่อนไขการให้เงินมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว
เป็นข้อสังเกตมากกว่าว่า ถ้าต่อไป แทนที่ crowdfunding แบบ kickstarter จะให้เป็นของตอบแทนแบบปรกติที่ทำกัน เปลี่ยนเป็นให้กรรมสิทธิ์บริษัท (equity) ใน crowdfunding ไปเลยล่ะ (ปรกติ พวก startup จะมีพวก VC ที่ให้ทุนแลกกับ equity แต่ถ้าแบบที่กระจายต่อสาธารณะ ก็ต้องเป็นพวกบริษัทเข้าตลาดหุ้นไป)
ระดุมทุน => ระดมทุน
ระดุนทุน => ระดมทุน
กรรมสิทธิ => กรรมสิทธิ์
เคยมีเคสแบบนี้ในไทยกับนิตยสาร a day ที่ขอระดมทุนจากผู้อ่าน (อันนั้นถ้าจำไม่ผิด คนลงเงินเป็นผู้ถือหุ้น ชัดเจนกว่าเคสนี้อีก) แล้วพอหนังสือติดตลาดก็ขายให้กับนายทุน จำไม่ได้ว่าผลลัพท์เป็นยังไง แต่คงจะเซมๆ
ผมเข้าใจว่าการระดมทุนผ่าน Kickstarter เป็นเหมือนสัญญากันว่าจะทำสินค้าส่งมาให้ ถ้าคนที่ร่วมลงทุนได้สินค้าตามที่สัญญาก็น่าจะโอเค มันเหมือนเป็นการซื้อของล่วงหน้ามากกว่าโดยอาจจะได้ของที่ถูกกว่าหรือพิเศษกว่าตอนวางขายจริง
รอดูผลของเรื่องครั้งนี้ แต่ที่แน่ ๆ ไม่ว่าผลจะออกมาแบบไหน Kickstarter ซวยเต็ม ๆ ครับ
kickstarter = pre-order ชัดเจนครับ ไม่ใช่แพลตฟอร์มระดมทุน