Tags:
Node Thumbnail

Vidya Narayanan วิศกรของกูเกิลที่ทำงานร่วมกับกลุ่ม IETF ตั้งแต่ปี 2003 ถึงปี 2010 เธอเคยถูกเสนอชื่อเข้าเป็น Internet Architecture Board (IAB) แต่เธอปฎิเสธตำแหน่งและลาออกจาก IETF หลังจากนั้นไม่นาน ตอนนี้เธอมาเขียนบทความอธิบายสาเหตุที่เธอลาออกจาก IETF ลงใน GigaOM

เธอระบุว่ากระบวนการพัฒนามาตรฐานไม่ได้เร็วขึ้นเลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่กระบวนการนำซอฟต์แวร์ไปใช้จริงนั้นเร็วขึ้นอย่างมาก กระบวนการพัฒนามาตรฐานกลับกลายเป็นสนามประลองกำลังระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่มีวาระของตัวเองมากมาย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแนวทาง Internet of Everything (IoE) ที่เริ่มมีสินค้ามากมายในท้องตลาดแล้ว แต่สินค้าเหล่านั้นกลับทำงานร่วมกันไม่ได้เลย ตลาดต้องการมาตรฐานกลางอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สินค้าเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้ แต่จนทุกวันนี้มาตรฐานก็ยังพัฒนาไม่ได้มากนัก เพราะรอมาตรฐานชั้นกายภาพ (Physical) และชั้นการเข้าถึงสื่อกลาง (MAC) จากทาง IEEE

อีกกรณีคือการถกเถึยงกันเรื่องการรองรับ CODEC ในมาตรฐาน WebRTC (การประชุมมาตรฐานแตกเป็นสองค่าย และสุดท้าย WebRTC ก็ยังไม่มี CODEC ใดเป็นมาตรฐานให้ทุกคนต้องรองรับร่วมกัน) แนวทางที่สุดท้ายทุกคนต่างมีวาระของตัวเองเช่นนี้ทำให้สุดท้ายมีมาตรฐานแต่ก็อาจจะทำงานเข้ากันไม่ได้อยู่ดี

Narayanan ระบุว่าหน่วยงานพัฒนามาตรฐานจะต้องปรับโครงสร้างขนานใหญ่เพื่อให้กลับมามีบทบาทสำคัญต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง โลกของมาตรฐานกับโลกความเป็นจริงก็จะต่างกันไปเรื่อยๆ

ที่มา - GigaOM

Get latest news from Blognone

Comments

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 14 April 2014 - 00:57 #695041
itpcc's picture

นึกถึงประเทศสารขันธ์
ถ้าไม่ขัดขากันเองมันจะพัฒนาไปได้ขนาดไหนกันนะ...


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 14 April 2014 - 07:47 #695060
panurat2000's picture

อีกกรณีคือการถกเถึยงกันเรื่องการรองรับ CODEC ในมาตรฐาน WebRTC

ถกเถึยง => ถกเถียง

By: laner
Windows
on 14 April 2014 - 11:08 #695072
laner's picture

ยกตัวอย่างง่าย ๆ อาจจะคล้าย ๆ กับว่า โทรศัพท์มือถือรองรับระบบ 4G หรือมากกว่า (อาจจะเป็น 5 G) แต่ถึงผู้ผลิตมือถือจะผลักดันเทคโนโลยีนี้อย่างไร ประเทศนั้น ๆ ก็ยังทนใช้ ยืดใช้ ขยายเวลาใช้ ซ่อมใช้ ผ่อนใช่ วนใข้ อื่นๆ ใช้ 2G อยู่เหมือนเดิม

ซึ่งเป็นผลให้ระบบ 4G ไม่มีความหมายบนมือถือเครื่องนั้นๆ เพราะทางเครือข่ายผู้ให้บริการ ต้องรอใบอนุญาต 3G ก่อน(สัมปทานคลื่นระบบ 3G จาก กสทช ก่อน) (และวาระเร่งด่วน สัมปทาน 4G อีกกี่ปีก็ไม่ทราบ) ก็ประมาณนี้ คือตัวอย่างที่เทียบเคียงกับบทความด้านบนได้

ทำให้ผู้พัฒนาระบบ 4G,5G เป็นต้น เกิดอาการหงุดหงิด และลาออกเป็นต้น ดังกล่าวแล้วข้างต้น (หรือย้ายไปผลิตให้ประเทศอื่น)

บทความทั้งหมด เป็นเพียงการเปรียบเปรยเท่านั้น (ทั้งนี้ผู้ผลิตมือถือทุกบริษัท ต่างก็รู้และเข้าใจว่า ควรขายโทรศัพท์ที่สนับสนุนระบบการรับส่งสัญญาณ (คลื่นสัญญาณ)อย่างไร กับประเทศไหน ๆ ที่ระบบในประเทศนั้นๆ รองรับ หรือใช้งานอย่างแพร่หลาย)