นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีในเกาหลีใต้ KAIST (Korea Advanced Institute of Science and Technology) ทำการวิจัยสร้างระบบส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายที่จะสามารถชาร์จไฟให้แก่สมาร์ทโฟนถึง 40 เครื่องได้ในเวลาเดียวกัน
ทีมวิจัยได้สาธิตอุปกรณ์รุ่นต้นแบบของ Dipole Coil Resonant System (DCRS) ซึ่งก็คือระบบสั่นพ้องของขดลวดแบบ 2 ขั้ว โดยทำการส่งพลังงานระหว่างขดลวด 2 ชุดด้วยการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ระบบดังกล่าวสามารถจ่ายพลังงานจากขดลวดฝั่งส่งกำลังในปริมาณที่มากเพียงพอที่จะเลี้ยงอุปกรณ์หลายชิ้นได้ในคราวเดียวกัน ไปยังขดลวดฝั่งรับพลังงานที่จะกระจายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ที่วางอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ในห้องผ่านทางสายไฟและปลั๊กที่ต่อพ่วงอยู่กับขดลวดนั้น
ระบบดังกล่าวของ KAIST สามารถส่งผ่านกำลังงานได้ 209 วัตต์ ด้วยความถี่ 20kHz ในระยะ 5 เมตร ซึ่งพลังงานดังกล่าวเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้แก่จอทีวีหรือพัดลมก็ยังได้
แม้ในขณะนี้ชุดอุปกรณ์ต้นแบบยังมีต้นทุนในการผลิตที่สูง แต่ทีมวิจัยก็หวังว่าจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถใช้งานได้จริงด้วยต้นทุนที่ต่ำลงในอนาคต โดยยกตัวอย่างการใช้งานเพื่อจ่ายพลังงานให้ผู้ใช้ในพื้นที่จำกัด เป็นต้นว่าในร้านอาหาร หรือในห้องพักและห้องประชุม คล้ายกับที่มีบริการ Wi-Fi ฟรีในหลายสถานที่อย่างทุกวันนี้
ก่อนหน้านี้มีผลงานวิจัยของ MIT ที่คล้ายคลึงกัน ชื่อว่า Coupled Magnetic Resonance System (CMRS) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 2007 โดยระบบดังกล่าวของ MIT สามารถส่งพลังงานแบบไร้สายได้ในระยะ 2.1 เมตร
แม้ว่าหลักการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าระหว่างขดลวดตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปด้วยการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นหลักการดั้งเดิมที่ใช้กับหม้อแปลงกำลังอย่างที่มีใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ แต่การส่งผ่านพลังงานผ่านอากาศในระยะหลายเมตรของ DCRS นั้นก็น่าสนใจในแง่ของความพยายามที่จะเอาชนะปัญหาการสูญเสียพลังงานในขั้นตอนการเหนี่ยวนำ และยังมีเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหาสัญญาณรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่รายล้อมอีกด้วย
ที่มา - SlashGear
Comments
ใหญ่ขนาดนี้ จะกลายพันธ์มั้ยเนี่ย
นั่งตรงกลางซักชั่วโมง อาจจะได้ความสามารถแบบเดียวกับ Magneto ก็ได้นะ :3
กลัวจะเป็นแบบ electro มากกว่าครับ
กลัวเป็นไก่ในตู้อบมากกว่าครับ
เกาหลีใต้ไม่ธรรมดาจริง
พลังงานขนาดนั้น ฟังดูน่ากลัว ถ้ามันจะวิ่งผ่านตัวเราไป
พลังงานแม่เหล็กครับ
จะเป็นคลื่นแม่เหล็ก คลื่นไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็น่ากังวลอยู่ดีล่ะครับ
chalee คนนี้เขากลายพันธุ์ครับเพื่อนผมเองอยู่ข้างๆ บ้านนี้แหละ 555
ผมรอให้ผู้มีภูมิความรู้ดีกว่าผมมาพูดเรื่องนี้เหมือนกันครับ 206 watt เลยนะ แต่ความถี่ค่อนข้างต่ำมาก ต่ำกว่าอุปกรณ์ไฟบ้านทั่วๆ ไปอีก (50 - 60 Hz)
แก้ไขเพิ่มตามคห.ล่าง
มัน 20 kHz เลยนะ น่ากลัวขึ้นไปอีก
20 Hz > 20 kHz
โอย ขอโทษมากๆครับ
พิมพ์ตกไปตัวเดียว นัยเปลี่ยนไปจมเลย
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
แล้วพื้นที่ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้วางไว้ก็สูญเปล่า
ใช้พลังงานเหนี่ยวนำ200wแต่วางชาร์จโทรศัพท์แค่นิดเดียวเปลืองเลย
จริงๆแล้ว การส่งไฟฟ้าแบบไร้สาย และปลอดภัย มีมานานแล้วครับ คือ Tesla coil เป็นผลงานของ Nikola Tesla นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งมากๆ แต่ว่าไม่ค่อยมีใครพูดถึง
ผมพูดบ่อยนะครับ แต่ในแบบว่าเป็นป้อมเทพของฝ่ายโซเวียต ใน C&C (เฉพาะภาค 1 กับRA2) //:D
(ผมชอบป้อมนี้นะ)
อันที่จริงผมก็มีสรุปไว้ท้ายข่าวแล้วนะครับ ว่าเรื่องของการเหนี่ยวนำด้วยคลื่น EMW มันก็คือหลักการหัวใจของหม้อแปลงที่ใช้งานในระบบไฟ AC โดยทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่านี่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นจากทฤษฎีหรือกฎใหม่ในทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด
แต่ผมมองว่าตัว DCRS ในข่าว กับ Tesla Coil มันต่างกันค่อนข้างมากนะครับ
Tesla Coil นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างแรงดันไฟสูงครับ สูงจนมันเอาชนะค่า dielectric strenght ของอากาศ จนทำให้เกิดการ break down มีกระแสไฟไหลผ่านได้ เป้าหมายนั้นไม่ใช่เพื่อการส่งผ่านพลังงานเพื่อนำไปจ่ายโหลด หากแต่เป็นการสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดลอง/ทดสอบและศึกษาเสียมากกว่านะครับ
หากจะเปรียบเทียบหาผลงานของ Tesla เรื่องการส่งกำลังแบบไร้สาย น่าจะหมายถึง Tesla Tower แต่น่าเสียดายที่มันไม่เคยได้ทดลองใช้จริง) หรือไม่ก็งานทดลองจำลองฟ้าผ่า (ซึ่งทำให้หลอดไฟไกลหลายสิบเมตรติดสว่างได้) มากกว่านะครับ
ที่สำคัญ Tesla Coil ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้/ควบคุมนะครับ การใช้งานในห้องปฏิบัติการต่างๆ ก็จำเป็นต้องกันพื้นที่ผู้ปฏิบัติงานออกห่างจากตัว coil ในระดับหนึ่ง (โดยหลักแล้วก็ขึ้นอยู่กับแรงดันไฟที่จะถูกสร้างขึ้น) ซึ่งก็มักมีการกั้นรั้ว หรือแยกห้องสำหรับผู้ปฏิบัติงานออกมาต่างหากเลย
(ที่เราเห็นภาพถ่ายเก่าๆ ของ Tesla ที่ถ่ายในห้องทดสอบของเขา ว่ากันว่านั่นทำให้เขาเป็นหมัน)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
20Hz มีคนได้ยินเสียงแน่ๆ ครับ ถึงจะน้อยมากๆ
...ว่าแต่ห้องมันไม่ถล่มเหรอ ของผม 300Watt 40Hz ยังสะเทือนไปหมด ขนาดเปิดโวลุ่มไม่ถึงครึ่ง
ป.ล. อ่าว ไม่ใช่ลำโพงเรอะ!
positivity
20kHz ครับ
ไม่เชิงได้ยินครับ แต่จะรับรู้ได้ ส่งผลตรงต่อสมองทำให้กระวนกระวาย
(เคยอ่านมาเมื่อนานมาแล้ว อย่าถามถึงอ้างอิง -_-)
ช่วงความถี่ที่มนุษย์สามารถรับได้ (จากแลป โดยเฉลี่ย) อยู่ที่ 22-22KHz ครับ (ที่จริงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลครับ)
ที่ไฟล์เสียงต้องทำ sampling rate ที่ 44KHz นี่ก็เพราะว่าความถี่สูงสุดของช่วงเป็น 22KHz นี่แหละ
แต่ที่แน่ๆ หมาหอนทั้งบ้านแน่นอนครับ
พวกอุปกรณ์ทางการแพทย์จะมีปัญหาไหม อย่างพวกอุปกรณ์หัวใจ
อีกหน่อยก็พัฒนาให้่ส่งไฟฟ้าร่วมกับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ ฟินเลย!
หมายถึง Power Line หรือปล่าว
จะเป็นหมันไหมอะ?