Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ผู้พิพากษาประจำมลรัฐนิวยอร์ก ได้ตีความว่าหมายค้น (search warrant) ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจนั้น มีผลบังคับใช้กับข้อมูลที่เก็บอยู่ภายนอกประเทศด้วย

กรณีนี้เกิดจากการที่ไมโครซอฟท์ได้ยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ตีความหมายค้นฉบับหนึ่งซึ่งได้รับจากเจ้าหน้าที่ โดยร้องขออีเมลของผู้ใช้ โดยปัญหาอยู่ที่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่ศูนย์ข้อมูลในสหรัฐอเมริกา หากแต่อยู่ที่ศูนย์ข้อมูลของไมโครซอฟท์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ต้องส่งมอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามหมายค้นดังกล่าว

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ออกมาระบุว่า การตีความของผู้พิพากษาดังกล่าวสะท้อนถึงแนวโน้มว่า ข้อมูลนั้นสามารถจัดเก็บได้อยู่ทุกที่

ด้านไมโครซอฟท์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการตีความดังกล่าว โดยระบุว่าการตีความเพื่อให้การกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นนั้น เป็นไปไม่ได้ในความจริง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะขอหมายศาลในสหรัฐเพื่อตรวจค้นบ้านของผู้ต้องสงสัยซึ่งอยู่อีกประเทศหนึ่ง ในทางกลับกัน ก็ไม่สามารถขอหมายค้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อขอค้นบ้านผู้ต้องสงสัยในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยระบุว่าจะนำการตีความครั้งนี้ ขึ้นสู่ศาลของรัฐบาลกลางต่อไป

ที่มา - Engadget, Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 27 April 2014 - 13:08 #698767
panurat2000's picture

ผู้พิพากษาประจำมลรัฐนิวยอร์ค ได้ตีความว่า

นิวยอร์ค => นิวยอร์ก

โดยร้องขออีเมล์ของผู้ใช้

อีเมล์ => อีเมล

By: nrad6949
WriterAndroidBlackberryWindows
on 27 April 2014 - 13:13 #698770 Reply to:698767
nrad6949's picture

เรียบร้อยครับ


I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 27 April 2014 - 13:26 #698775
itpcc's picture

ต่อไป FBI อาจได้ไปเคาะประตูบ้านแถวๆ นี้ T____T


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: Aorjor on 27 April 2014 - 14:39 #698788

ตีความชุ่ยๆ อย่างนี้ถ้าพี่ปูตินเล่นด้วย ระวังหนาวใส้นะครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 27 April 2014 - 15:44 #698799
Ford AntiTrust's picture

พรบ คอม. ไทยเราก็พอๆ กัน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

By: lancaster
Contributor
on 27 April 2014 - 16:30 #698805 Reply to:698799

เหมือนตรงไหนง่ะ

By: doanga2007
AndroidSymbianUbuntu
on 27 April 2014 - 17:12 #698811 Reply to:698805
doanga2007's picture

เหมือนตรงกรณีเว็บของไทย ไม่สามรถทำผิดตาม พรบ. คอมได้ ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ซึ่งไม่มีผลกับเว็บ XYZ และ Gam**ing ในต่างประเทศ เพราะกรณีนั้น ไม่ได้ระบุความผิดแบบข้างบนครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 27 April 2014 - 20:01 #698835 Reply to:698805
Ford AntiTrust's picture

ขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีอยู่เหนือขอบเขตของประเทศจริงน่ะครับ

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 27 April 2014 - 20:05 #698837 Reply to:698835
Not Available at this Moment's picture

ทุกประเทศมมีขอบเขตการใช้อำนาจศาลเหนือกว่าเขตแดนทางกายภาพทั้งสิ้นครับ อย่างน้อยๆ เรื่องเรือและอากาศยานก้ใช้กันเป็นสากล


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 28 April 2014 - 01:33 #698899 Reply to:698837
Ford AntiTrust's picture

ตรงนี้เข้าใจผิดไปจริงๆ

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 27 April 2014 - 20:03 #698836 Reply to:698799
Not Available at this Moment's picture

ผมว่าคุณเข้าใจประเด็นของมาตรานี้ผิดแล้วครับ มันต่างกับข่าวนี้มากเลยนะ

มาตราที่ยกมานี้ล้อมาจากประมวลกฎหมายอาญาของไทยโดยตรงเลย เป็นเรื่องการใช้เขตอำนาจรัฐตามหลักสัญชาติ ซึ่งเป็นหลักที่ยอมรับกันทั่วไปครับ

อ้างอิงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ...


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 28 April 2014 - 01:32 #698898 Reply to:698836
Ford AntiTrust's picture

อืมมมม น่าจะคนละประเด็นจริงๆ แฮะ ><"

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 00:31 #698892 Reply to:698799

อันนี้เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญา คุณ Ford AntiTrust มั่วแล้วครับ ในข่าวเป็นเรื่องการขอหมายค้นข้ามประเทศ
ถ้าเป็นกฎหมายไทยจะอยู่ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งหมายค้นของไทยค้นได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นครับ
ทราบว่าไม่มีความรู้ทางกฎหมาย แต่ถ้าไม่แน่ใจปรึกษาคนที่รู้ก่อนครับ จะดีกว่ารีบแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากข้อมูลที่ถูกต้องครับ
ออกหมายค้นข้ามประเทศ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ถ้าจะทำจะต้องติดต่อผ่านรัฐที่จะไปค้นแล้วให้ศาลของเขาออกหมายค้นในประเทศของเขาให้อีกทีครับ

By: lew
FounderJusci&#039;s WriterMEconomicsAndroid
on 28 April 2014 - 01:13 #698893 Reply to:698892
lew's picture

อันนี้คงไม่ใช่หลักการของเว็บนี้นะครับ เข้าใจผิดแล้วแสดงความเห็นผิด ก็แก้กันไปครับ เราไม่มีปัญหากับการแสดงความเห็นที่ผิด แต่ต้องยอมรับได้เวลาถูกแก้


lewcpe.com, @wasonliw

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 28 April 2014 - 01:43 #698901 Reply to:698892
Ford AntiTrust's picture

ส่วนตัวผมเข้าใจเนื้อหาข่าวผิดไป ทำให้โพสแสดงความคิดเห็นผิดประเด็นไปด้วย ซึ่งทักท้วงได้
(ผมก็มีผิดบ้าง เพราะอ่านบนมือถือและไม่ได้เช็คตอนโพส ต่อไปจะระวังให้มากกว่านี้)

แต่ที่ผมติดใจเล็กๆ คือ คำว่า "มั่ว" ซึ่งผมว่ามันไม่เท่ากับ "เข้าใจเนื้อหาข่าวผิด" นะครับ เพราะเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นไปนั้นไม่ได้มั่วพิมพ์มา เอามาจาก พรบ. เพื่ออ้างอิงในความคิดเห็นด้วยครับ ซึ่งความคิดเห็นผมมาจากความเข้าใจผิดมาก่อนแล้วแค่นั้นแหละครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 03:27 #698911 Reply to:698901

คำว่ามั่ว ความหมายจริงๆคือปนกันไปหมด
แต่แสลงในภาษาไทยคือคือ แปลว่าไม่รู้แล้วพูดไปส่งๆครับ
ถ้าในความเห็นมีคำว่า "ผมคิดว่า" แล้วไม่มีพรบ. มาประกอบผมจะไม่ติดใจเลย มันคือความคิดเห็นธรรมดา แต่ถ้ายกตัวบทมาด้วยมันคือการแสดงความเห็นทางกฎหมาย ซึ่งมาตรฐานมันไม่เท่ากันครับ

มั่ว กับ เข้าใจผิดนี่คนละเรื่องนะครับ
กรณีของคุณผมมั่นใจว่าไม่ใช่การเข้าใจเนื้อหาผิด แต่เป็นการมั่วกฎหมาย (ภาษากฎหมาย) เพราะกฎหมายที่เอามาอ้างอิงนั้นถูกแต่ยกมาไม่หมด หลักการก็ยกมาไม่หมด ถ้าไปทำงานทางนี้แล้วไปแนะนำหรือให้ความเห็นแบบนี้ ชีวิตการงานหมดสิ้นทันทีครับ เพราะอะไรเกี่ยวกับกฎหมายมันต้องระวังสุดๆ อย่างที่เห็น ผู้พิพากษาบางคนถูกด่าทุกวันก็เพราะบางอย่างมันผิดหลักการ ผมจึงได้บอกว่าถ้าไม่แน่ใจสอบถามก่อนครับ เพราะถ้าแสดงความเห็นไปแล้วมันแก้ไม่ได้แถมจะโดนด่าด้วย

การแสดงความคิดเห็นทางกฎหมายนอกจากตัวบทกฎหมายแล้วยังต้องมีเหตุผลและหลักมาประกอบด้วย
ถ้าคุณเรียน นิติแล้วแสดงความคิดเห็นแบบที่ผ่านมาก็จะโดนด่าว่ามั่วเช่นกัน (เป็นเรื่องปกติครับสายนี้แรง) ข้อสอบนิติตอบแบบคุณได้ 0 ครับแถมโดนด่าว่ามั่วด้วย (ดังนั้นอย่าคิดลึกกับคำว่ามั่วครับจะเศร้าเสียใจไปเปล่าๆ) เช่นกันครับมันเป็นแค่คำตำหนิธรรมดาๆอย่าไปคิดลึก

คำว่ามั่วในที่นี้ ผมหมายถึง มั่วกฎหมายครับคือเอามาปนกันจนมั่วตามความหมายในพจนานุกรมนั่นแหละครับ

กฎหมายมันให้คุณให้โทษได้นะครับถ้าไม่มั่นใจถามคนในนี้ได้ครับการแสดงความเห็นทางกฎหมายควรศึกษาให้ถี่ถ้วนเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะมา copy paste คงจะไม่ได้ครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 28 April 2014 - 03:57 #698919 Reply to:698911
Ford AntiTrust's picture

ผมอธิบายไปบนเนื้อหาที่เข้าใจ ณ ตอนนั้น และแน่นอนว่าเมื่อเข้าใจผิด ผมก็ยอมรับว่าเข้าใจผิด ซึ่งน้อมรับตามนั้น

ส่วนตัวเรื่องกฎหมายแม้ไม่ได้ศึกษาอย่างครบถ้วน (ผมไม่ได้ศึกษามาด้านนี้โดยตรง) แต่ปรกติแล้วนั้นผมมักชอบศึกษาและอ่านศึกษาไปเรื่อยๆ ซึ่งข้อกฎหมายต่างๆ ผมก็พยายามทำความเข้าใจ ซึ่งผมชอบถกเถียงกันแบบนั้นมากกว่า ผมมีเพื่อนๆ ที่ถกเถียงเรื่องข้อกฎหมายเหล่านี้อยู่พอสมควร ก็ไม่เคยมีปัญหาหรือถกเถียงแบบคุณเลยสักคนแฮะ ส่วนใหญ่จะถกเถียงกันด้วยความเคารพในประสบการณ์ และความรู้แต่ละคนที่แตกต่างกัน และปรับปรุงหรือแย้งๆ กันไป (ซึ่งกรณีการตอบโต้ของคุณนั้นผมเลยแปลกใจ)

การที่คุณมาบอกว่าไม่รู้นั้นไม่รู้นี่ ไม่ควรแสดงความคิดเห็น ผมมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะความเข้าใจคนเราความรู้ไม่เท่ากัน ก็แค่นั้นแหละ ส่วนการขยายความต่างๆ ไปเรื่องอื่นๆ ซึ่งนอกเขตเนื้อหาซึ่งมุ่งโจมตีฐานความรู้คนอื่นๆ นั้นผมมองว่าเกินขอบเขตที่ผมต้องอธิบายความเพิ่มเติมมั้ง

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 04:12 #698921 Reply to:698919

ถ้าดูไม่ดีก็ขอโทษก็แล้วกันครับ
แต่เรื่อง มุ่งโจมตีฐานความรู้คนอื่นๆ ผมว่าไม่ใช่
ผมแค่อธิบายว่ามันไม่ใช่นะมีแค่นั้น
ผมพยายามปรับคำพูดแล้วว่าคุณไม่มีความรู้ทางด้านนั้น คือไม่ได้ดูถูกฐานความรู้แต่บอกว่าที่คุณตอบแบบนั้นเพราะคุณไม่รู้ไม่เข้าใจจึงตอบแบบนั้น หากคุณเข้าใจคงไม่ตอบเช่นนั้น ส่วนเรื่องห้ามแสดงความคิดเห็นผมบอกไปแล้วว่าเป็นแค่คำแนะนำบังคับห้ามใครแสดงความคิดเห็นไม่ได้ครับและในหัวผมไม่เคยคิดเรื่องทุเรศๆแบบนั้นครับ

ส่วนที่เหลือคือการอธิบายครับคือประมาณให้เห็นภาพว่าจริงๆเป็นยังไงถ้าไม่พอใจก็ขอโทษด้วยก็แล้วกันครับ

ขอให้เข้าใจว่าผมพึ่งอ่านข้อความนี้เมื่อครู่นี้เอง อาจเป็นเรื่องดีเลย์ของการแสดงผล ขอให้ท่านดูเวลาที่ผมโพสต์ข้อความประกอบการตอบครับ
อันไหนเป็นการโต้ตอบจะอยู่ต่อๆกันครับถ้าขึ้นเป็น rep แยกคือพูดกลางๆครับ

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 27 April 2014 - 20:18 #698840
put4558350's picture

เดี่ยวจีนก็จะตีความแบบเดียวกัน ... และถ้า ms ไม่ทำตามก็คงจะลำบากน่าดูเพราะ notebook / wp phone ประกอบในจีนเป็นส่วนใหญ่


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 03:24 #698912

ผมขออธิบายในเนื้อข่าวหน่อยนะครับ
ที่บางคนบอกว่าเข้าใจเนื้อหาข่าวผิดจริงๆไม่ใช่ครับแต่เป็นขาดความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายมากกว่า
ในเนื้อข่าวประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ความรับผิดทางอาญา และ อำนาจของหมายค้น

คุณ Ford AntiTrust ไม่ได้เข้าใจผิดในตัวกฎหมายแต่คุณ Ford AntiTrust ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทางกฎหมาย ในเรื่องหมายค้น จึงตอบไปแบบนั้น

หมายค้นใช้ได้เฉพาะในประเทศนั้นๆ ถ้าอยากออกหมายค้นในต่างประเทศต้องให้ศาลในประเทศนั้นๆเป็นคนออกให้
เช่นตึกอยู่ในประเทศไอร์แลนด์ จะขอค้นตึกก็ต้องประสานผ่านกระทรวงต่างประเทศยื่นเรื่องให้ศาลในประเทศไอร์แลนด์เป็นคนออกหมายค้นให้จะมาออกหมายค้นในศาลที่อเมริกาไม่ได้ คำวินิจฉัยของศาลดังกล่าว ไมโครซอฟท์จึงไม่เห็นด้วยเพราะทำให้ดำเนินธุรกิจได้ยาก

ส่วนเรื่องความรับผิดทางอาญาเป็นเรื่องที่บัญญัติไว้เฉพาะเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีในเรื่องอำนาจฟ้อง
ถ้าใน พรบ.คอม ไม่บัญญัติไว้ โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องครับศาลต้องยกฟ้องสถานเดียว
แต่คุณ Ford AntiTrust อ้างว่า พรบ. คอมก็มีอำนาจล้นเกินเขตอำนาจศาล

ภาษานักกฎหมายเขาเรียกว่ามั่วซึ่งแปลว่า "มั่วในข้อกฎหมาย" ไม่ได้แปลว่ามั่วเพราะพิมพ์ผิดครับ
กฎหมายมันไม่ได้มีแค่ตัวบทนะครับมันมีหลักการใช้กฎหมายด้วย ถ้าไม่สามารถมองภาพรวมทั้งกระบวนการได้การแสดงความเห็นด้านกฎหมายเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก แม้แต่ทนายยังพลาดได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผมจะบอกว่า

"ถ้าไม่แน่ใจปรึกษาคนที่รู้ก่อนครับ จะดีกว่ารีบแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากข้อมูลที่ถูกต้องครับ"

ซึ่งเป็นแค่คำแนะนำไม่ใช่คำสั่งห้ามอะไร เพราะผมห้ามการแสดงความคิดเห็นไม่ได้ แนะนำได้ นอกจากนี้หากหาข้อมูลและศึกษาก่อนย่อมเป็นการดีกว่าที่จะรีบแสดงความคิดเห็นไปในทันที

ข้อมูลผิดแก้ได้แต่จะดีที่สุดหากศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจจะทำอะไรครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 28 April 2014 - 03:48 #698915 Reply to:698912
Ford AntiTrust's picture

คุณต้องการอะไรจากผมครับ?

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 03:54 #698917 Reply to:698915

สงสัยจะยาวไปขอโทษก็แล้วกันครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 28 April 2014 - 05:35 #698916

เคสนี้ผมเห็นด้วยกับไมโครซอฟท์ เพราะว่าในทางปฏิบัติมันทำไม่ได้ แม้ศูนย์ข้อมูลจะเป็นของไมโครซอฟท์
แต่กฎหมายในบางประเทศอาจไม่อนุญาตให้ทางการของสหรัฐอเมริกาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้จนกว่าจะขออนุญาตจากศาลในประเทศนั้นๆเพราะข้อมูลดังกล่าวอาจมีข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยให้อเมริกาได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ
การวินิจฉัยของศาลครั้งนี้อาจไปขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักของ cyber security
มีแต่จะทำให้เกิดความวุ่นวายจะเรียกว่าเป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็พอจะอนุมานได้
หากศาลในประเทศไอร์แลนด์ ไม่อนุญาต ไม่โครซอฟท์ก็สามารถอ้างได้ว่าไม่สามารถเอาข้อมูลออกมาได้

ศาลในอเมริกาบางทีก็มั่ว เคสที่เคยเห็นก็คือเคสซื้อขายสโมสรลิเวอร์พูลระหว่างเจ้าของสโมสรเดิมและเจ้าของสโมสรคนใหม่ซึ่งเป็นคนอเมริกันทั้งคู่ เจ้าของสโมสรคนเก่าไปฟ้องศาลที่อเมริกาห้ามคนซื้อไปซื้อซึ่งศาลทะลึ่งรับเรื่องแถมยังคุ้มครองชั่วคราวด้วย (ขอแขวะศาลหน่อยนึงนะ เพราะถ้าผู้พิพากษาดูหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจนก็ไม่ควรจะรับคำฟ้องในคดีนี้เพราะไม่มีอำนาจที่จะรับไว้ เข้าใจว่าศาลก็เป็นคนแต่ก็ควรจะอยู่บนหลักการที่ถูกต้องครับ)

แต่ถ้ามองจากหลักกฎหมายระหว่างประเทศสโมสรลิเวอร์พูลตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศก็ต้องใช้กฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินนั้นๆตั้งอยู่ คือต้องใช้กฎหมายอังกฤษและฟ้องในศาลที่อังกฤษซึ่งเป็นศาลที่อยู่ในเขตอำนาจจะไปฟ้องศาลที่อเมริกาไม่ได้ แค่เรื่องอำนาจศาลผู้พิพากษาศาลที่อเมริกายังสอบตกผมก็ไม่รู้ว่าเขาสอบผ่านมาได้อย่างไร หลักกฎหมายระหว่างประเทศใช้หลักเดียวกันทั่วโลกนะครับ

อัพเดทเนื่องจากตอนนี้ตัวข่าวใส่ส่วนนี้มาเพิ่มเติม
เรื่องของเรื่องคือศาลไปตีความว่าหมายค้นทรัพย์สินที่เป็นดิจิตอลก็ควรจะถูกค้นได้ด้วยหมายค้นของศาลใน US แต่ทางไมโครซอฟท์ไม่เห็นด้วยเพราะการขอค้นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศอื่น นั้นไม่อาจกระทำได้โดยปราศจากการเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายที่ถูกต้อง (น่าจะหมายถึงกฎหมายระหว่างประเทศคือต้องประสานไปยังประเทศที่ขอค้นด้วยไม่ใช่จะมาออกหมายค้นดื้อๆ) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขอหลักฐานซึ่งอยู่ในต่างประเทศด้วยวิธีนี้ (ปัญหามาจากกฎหมายในประเทศในโซนยุโรปที่ว่าด้วยการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหากต้องการข้อมูลก็ต้องขออนุญาตต่อศาลในประเทศนั้นๆก่อนซึ่งตอนไปเอาข้อมูลก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ไปคุมด้วยเพราะข้อมูลดังกล่าวอาจมีข้อมูลของประชาชนในประเทศนั้นๆด้วย) ไมโครซอฟท์ไม่ได้เจตนาที่จะปกปิดข้อมูลกับหน่วยตรวจสอบของรัฐบาล แต่ปัญหามันอยู่ที่ข้อกฎหมายมากกว่าที่มันไม่เปิดช่องให้ทำได้เนื่องจากเป็นข้อมูล user's account ซึ่งมันมีผลต่อประเทศที่เป็นที่ตั้งศูนย์ข้อมูลด้วย

ดังนั้นผมเห็นว่าข้อวินิจฉัยของศาลนิวยอร์กขัดหรือแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งในที่สุดแล้วคำสั่งศาลดังกล่าวไม่น่าจะนำไปบังคับใช้ได้ ผมมองว่าศาลนิวยอร์กทำตัวไม่ต่างจาก NSA ทำตัวเป็นมาเฟียเสียเองตีความเกินขอบอำนาจที่ตนเองจะทำได้ คำพิพากษา เช่นนี้ มีแต่จะสร้างความเสียหายมากกว่าแก้ปัญหา ผมมองว่ามันเป็นความมักง่ายของผู้พิพากษาคนนั้นรึเปล่าที่ไม่ได้มองให้มันรอบคอบกว่านั้นมันไม่เหมือนการกระทำผิดนอกราชอาณาจักรแล้วต้องรับโทษในราชอาณาจักร แต่มันเป็นเรื่องการขอพยานหลักฐานที่อยู่ในต่างประเทศ

ถ้าเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเตอร์เนตคงจะจำ CIA Triad ได้ (ไม่ใช่หน่วยงาน CIA นะมันเป็นตัวย่อเฉยๆ) ถ้าจะเอาข้อมูลแบบนี้ก็ต้องขอหมายจากศาลแต่ก็ต้องขอให้ถูกศาลด้วย ถ้าขอผิดศาลก็กลายรัฐบาล US ไปละเมิดกฎหมายเสียเอง ไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถ้ายอมก็โดนศาลไอร์แลนด์เล่นงานได้ถ้าไม่ทำตามก็โดนศาลนิวยอร์กเล่นงาน