เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำกับดูแลฝ่ายสังคมจิตวิทยา ประชุมพิจารณาโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (OTPC) และมีมติให้ยกเลิกการจัดซื้อแท็บเล็ตตามปีงบประมาณ 2556 ที่เหลืออยู่หนึ่งโซน (1,170 ล้านบาท) และปีงบประมาณ 2557 ทั้งหมด (5,800 ล้านบาท)
พล.ร.อ.ณรงค์ ให้เหตุผลของการยกเลิกไว้ 4 ข้อดังนี้
- นักเรียนทุกคนไม่จำเป็นที่ต้องได้รับแจกแท็บเล็ตเป็นของตัวเอง เพราะใช้แท็บเล็ตเรียน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน เท่านั้น ซึ่งอาจใช้งานหมุนเวียนกับนักเรียนทุกๆ คน-ทุกๆ ชั้นในโรงเรียน จึงไม่คุ้มค่าไม่เหมาะสมที่จัดซื้อให้แก่นักเรียนทุกคน
- แท็บเล็ต ไม่เหมาะ-ไม่ควรที่นำมาสอนตลอดเวลา ควรใช้เป็นเครื่องในการเรียนบางชั่วโมง และเด็กๆควรเรียนรู้จากครูผู้สอน
- แท็บเล็ต มีขนาดหน้าจอเล็กทำให้นักเรียน มีปัญหาด้านสายตา ราคาเครื่องแท็บเล็ตถูก-ต่ำ อายุใช้งานสั้น แค่ 3 ปี การซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าเมื่อต้องซ่อมแซม
- แท็บเล็ต เป็นครุภัณฑ์ของโรเรียน ไม่เหมาะสมที่ไปมอบให้นักเรียนเป็นของส่วนตัวได้ และคณะกรรมการว่าด้วยพัสดุ กรมบัญชีกลาง แจ้งว่ามอบให้เด็กนักเรียนไม่ได้
ที่ประชุมยังมีมติให้นำงบประมาณซื้อแท็บเล็ตไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น และ คสช. จะให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐฯ ตรวจสอบการจัดซื้อแท็บเล็ตย้อนหลังไปจนถึงปีงบประมาณ 2555 อีกด้วย
ที่มา - โพสต์ทูเดย์
Comments
เห็นด้วยอย่างแรง ...
จริงๆโครงการนี้มันขาดการสนับสนุนcontent เท่านั้นแหละ ข้ออ้างที่ยกมาบางข้อเข้าตัวคนเสนอด้วยซ้ำ รอบๆตัวที่ทำงานผมที่มีลูก ซื้อipadให้ลูกเล่นตั้งแต่สองสามขวบกันทุกคน :x
I think there are ton of cheap affordable devices right now.
If they get access to "cheap" internet connection Google should help them find online-content easily.
+1 ที่ทุกคนขาดแทปเลตไม่ได้หรอกครับ นี่คือความจริง โครงการควรปรับปรุง ไม่ควรยกเลิกครับ
+1 บทเรียนที่ใช้สอนใน Tablet มันล้าสมัยมากครับ วิธีการอัพเดทก็ใช้เมมโมรี่การ์ดที่ให้มาโรงเรียนละ 1 อัน ลงโปรแกรมที่ให้มา 5-6 โปรแกรม ต้องลงทีละโปรแกรมแถมพาสเวิร์ดยาว 15-16 ตัวอักษร (ทุกโปรแกรม) -*-
โครงการดี แต่ควรทำเป็นดีลจริงจังแบบดีลกับโครงการกูเกิ้ลที่เค้าทำอยู่แล้ว เพราะอุปกรณ์จะไม่ได้ต้องเจอปัญหาล้าสมัยทำจากจีนแดง
แล้วดูพฤติกรรมเด็กเหล่านั้นใกล้ๆ มั่งปะ เคยมีลูกหรือยัง?
ผมทำงานสายนี้ก็จริงยังไม่เห็นด้วยให้เด็กจมปลัก กับของพวกนี้เลย
มันเป็นข้ออ้างการเลี้ยงลูกแบบ บัพเฟ่มากกว่า(ดูแลตัวเองไป)
เห็นด้วยเรื่องลดการแบกหนังสือ ใช้แบบ คิดเดิลก็พอ
คอนเท็นดีๆ อย่างต้นแบบเกาหลี แล้วตอนนี้เป็นไง...
จริงๆ อยากให้คนเสนอแนว คิดเเนวทางมีลูกกันก่อน นะ ได้เลิกมโน เลี้ยงเด็กมันมากกว่าให้วัตถุนะ
แล ผมไม่ได้ซื้อให้ตั้งกะสองขวบนะ ซื้อให้ตอนเข้า รร แล้ว และแรกๆ ใช้คุย google talk กับผมเวลาไกลๆ ส่วนตัวปัจจุบัน อย่างน้อยก็ดีใจที่เวลาไปหนมาไหนกัน ไม่มีอุปกรณ์จิ้มๆ นี่ติดไปก็ทำกิจกรรมกันได้ปกติ แค่นี้ผมก็ดีใจหละ
Ton-Or
ผมว่าการมี tablet กับการติด tablet มันคนละเรื่องกันนะครับ ถ้าสังเกตุ มันมีปัญหานี้มาตลอด มีทีวีก็มีปัญหาเด็กติดทีวี มีมือถือก็มีปัญหาเด็กติดมือถือ (ถ้าถามว่าปัญหามีมั้ย คำตอบคือมี และถามว่าควรซื้อ tablet ให้ลูกมั้ย คำตอบคือควรเช่นเดียวกัน) ถึงตอนนี้แล้วมันปฏิเสธความจริงเรื่องนี้ไม่ได้หรอกครับ
+1 เรื่องเลี้ยงลูกแบบบุฟเฟต์ครับ รอบตัวผมไม่ว่าจะเด็กเล็กเด็กโตมันเป้นสังคมก้มหน้าแบบสุดโต่งไปแล้ว นึกออกเลยว่าเด็กที่ได้จับของพวกนี้ตั้งแต่ 2 ขวบจะโตมาเป็นไง
แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังเชื่อว่ามีผู้ปกครองบางคน (ย้ำว่าแค่บางท่าน) สามารถ balance เรื่องสังคมกับเรื่องส่วนตัวของเด็กได้ ไม่ทำให้เด็กติดอุปกรณ์พวกนี้จนเกินไป
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมว่ามันไม่ค่อยเกี่ยวกับของซักเท่าไหร่ ปัญหาอยู่ที่การเลี้ยงดูมากกว่า คนที่มีของพวกนี้อยู่กับตัวแต่พ่อแม่มีเวลาดูแลผมเห็นโตมาก็ไม่เห็นมีปัญหาซักคน
ผมคนนึงอะตอนเด็กเริ่มจับคอมตั้งแต่ยังไม่ขึ้นป.1 เลยถ้าจำไม่ผิดจะประมาณปิดเทอมอ.2 ขึ้น 3 มั้ง เครื่องแรกก็สมัย 486 แหละ สมัยก่อนที่เทรนด์มันจะมาทุกคนมองว่าผมอยู่แต่กับของพวกนี้ขนาดตอนเด็กๆบางคนเอามาล้อก็มี ทุกวันนี้ถ้าไม่นับเรื่องงานผมใช้มันน้อยกว่าชาวบ้านอีกมั้ง เวลาชวนกันไปกินข้าวไอ้คนที่เคยพูดแบบนั้นตอนนี้ก็ชอบหยิบมือถือขึ้นมาเล่นกันจังคนรอบข้างอยู่ด้วยกันแท้ๆไม่สนใจ ส่วนผมถ้าไม่ติดงานก็แทบจะไม่หยิบมันขึ้นมาเลย แค่คิดว่ามากับเพื่อนก็ต้องสนใจเพื่อนที่มาด้วยกันดิไปสนใจอะไรคนไกลๆที่ไม่ได้มาด้วยกัน
มันเป็นไปไม่ได้ครับที่จะปฏิเสธกระแสของโลก แต่ผมเห็นด้วยนะเรื่องยุบโครงการนี้ไปซะทำอะไรไม่ศึกษาให้ดีก่อนจุดบกพร่องที่ควรแก้ก่อนแบบที่ทำได้ไม่ยากยังมีอีกเยอะ
+1000 ครับ
+100
"อย่างน้อยก็ดีใจที่เวลาไปหนมาไหนกัน ไม่มีอุปกรณ์จิ้มๆ นี่ติดไปก็ทำกิจกรรมกันได้ปกติ แค่นี้ผมก็ดีใจหละ"
แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะเด็กนะครับ - -'
เยี่ยมมากครับ ผมคารวะแนวคิดคุณเลย ผมว่าเรื่องแบบนี้มันคงเป็นเพราะ อุปนิสัยส่วนตัว ของพ่อแม่ล้วนๆ ครับ
เล่าแล้วเล่าอีก ผมยังไม่มีลูก แต่มีหลาน และหลานที่เล่นpc เป็นตั้งแต่สองขวบ ก่อนอ่านหนังสือออก แต่เข้าgoogle หาเกมเล่นเองได้ เด็กมีการเรียนรู้เร็วครับ
การให้เด็กเล็กเล่นอุปกรณ์พวกนี้ ต้องมีจำกัดเวลา มีระบบreward ครับ ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กเล่นไปคนเดียวทั้งวัน
เอาเป็นว่าหลานขึ้นป.1แล้วแทบจะเก่งที่สุดในชั้นเรียนสองภาษา เพราะมีโอกาสในการเข้าถึงสื่อต่างๆมากกว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน
แนวทางการสั่งสอนคงขึ้นกับแต่ละครอบครัว เพียงแต่ผมแปลกใจที่คนค้านเรื่องOTPC มักจะซื้อtablet ให้ลูกเสียเอง
แน่นอนโครงการมีข้อเสียมากมาย ทั้งเรื่องcontent อุปกรณ์คุณภาพต่ำ หรือความสับสนว่าจะให้เด็กเอากลับบ้านไหมฯลฯ แต่ไม่ใช่เรื่องแบบไม่อยากให้เด็กเล่นtablet ทั้งๆที่คนพูดซื้อipadให้ลูกเล่นกันทุกคน :P
เพิ่มเติม ตอนนี้OTPCอาจไม่ค่อยจำเป็นแล้ว เพราะtablet ราคาถูกมีให้เลือกมากแล้ว ไม่เหมือนตอนโครงการยุคแรกtabletจีนยังแพงกว่านี้มาก เด็กๆเรียกร้องให้พ่อแม่ซื้อtabletให้ มากกว่าที่จะอยากได้pc หรือมือถือเสียอีก (แต่ในโรงเรียนระดับinter เขามีแจกให้เล่นตั้งแต่อนุบาล โดยคุณภาพอุปกรณ์และcontent ดีมากๆ แต่อย่างว่า คุณภาพตามราคา)
เทคโนโลยีมาก็ต้องปรับตัว ไม่ใช่ฝังหัวความเชื่อแบบเก่าๆ ว่าให้เด็กเล่นแต่ดีดลูกหินเหมือนตัวเองตอนเด็กๆก็พอครับ เพียงแต่ก็ต้องมาดูแลการเล่นของเด็กด้วย ไม่ใช่ปล่อยไว้ให้เล่นคนเดียว ไม่งั้นมันก็ไม่ต่างจากปล่อยเด็กดูทีวี ปล่อยเด็กเล่นเกมคอนโซล ทั้งวัน ฯลฯ จนเกิดปัญหาaddict หรือสมาธิสั้น อันนี้ต้องโทษคนดูแล ไม่ใช่โทษเทคโนโลยีครับ
อีกนิดkindle ผมก็ชอบครับ แต่ถ้าให้เด็กอนุบาลป.1 คงไม่สนใจ เพราะinteractive ยังน้อย มันเหมือนทดแทนหนังสือแบบธรรมดาๆ มากกว่าจะเป็นสื่อการเรียนรู้แบบใหม่
ผมค้านเพราะไม่เห็นประโยชน์ ในด้านการศึกษา ที่เอามาใช้จริงๆ จากนโยบายนี้ ผมเห็นด้วยถ้าจะลดการใช้หนังสือ อย่าวที่บอกไปแล้ว
ปัจจุบัน ที่บ้าน การใช้งานหลักคือดูหนัง สารคดี การตูนบลาๆ ที่ผมเอามาลงไส้ใน plex server ที่บ้าน มีใช้เล่นเกมส์ตามเพื่อนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เล่นได้ต้องมีเงื่อนไขด่อนตลอด ถ้าทำได้ถึงจะได้เล่น
ซึ่งจะไม่ซื้อให้ไปซื้อทีวีมาติดให้ทุกห้อง ทีวีต้องต่อเนทเวิคเพื่อเอามาเชื่อมกับ plex ให้ตรงกับความต้องการ รี่มันคงจะไม่ค่อยเมคเซ็นเท่าไหร่
ผมไม่ได้ค้านสุดโต่งคือห้ามเลย
แต่ขอเเนวทางและหนทาง มี่นำเอามาใช้ได้จริงอุปกรณ์ ดูเหมาะสมกับราคาที่ต้องจ่ายสักหน่อยเถอะ
Ton-Or
ถ้าเอาตรรกะนี้ไปใช้กับ PC เมื่อสมัย 10 กว่าปีที่แล้ว โรงเรียนต่างๆ(โดยเฉพาะเขตชนบท)คงจะยังไม่มีคอมพิวเตอร์ให้เด็กใช้งานเพราะกลัวเด็กจมปลักกับของพวกนี้
ประโยชน์ของ pc มันมีมาแต่แรกอย่างน้อยเรื่องงานพิมพ์ เวลาทำโปรเจคผิดทีไม่ต้องไปไล่จ้างเขาพิมพ์ ใหม่ทุกหน้า (กรณีต้องเพิ่มตัวหนังสือเยอะอ่ะนะ) ผมจับคอมฯ ครั้งแรกเป็นช่วงรอยต่อ(จอเขียว) เรื่องนี้พอดี มันมี software ที่เอามาใช้งาน ให้เกิดประโยชน์ มาก่อนแล้ว คือเรามองเห็นประโยชน์ของมันทันที ที่ได้เอามาใช้
เอามาใช้เขียนแบบ แทนที่ต้องเอามาวาดมือ ดราฟแบบกันทีสนุก!
ส่วนแทปเล็ต นี่ยกประโยชน์ ให้ผมเห็นหน่อย แอพไหน? ที่มีคอนเท็นต์ใช้มันก็แค่วีดีโอการสอนหรือเปล่า?
ข้อแตกต่างจากคอมแค่จิ้มแทนเมาส์ ซื้อดีๆที่มีปากกาใช้งานด้วย หรือ ipad+ ปากกาเทพ ให้เป็นของโรงเรียน ให้ใช้สอนเสริมไปกับวิชาคอมปกติ ก็พอแล้วหรือเปล่า ถ้าจะเปิดโลกทัศน์?ทางเทคโนโลยี
ต่ออีกหน่อยแล้วคุณคิดว่าทุกวันนี้ทุกโรงเรียนมีพีซีสอนนักเรียนเพียงพอแล้ว?
Ton-Or
ผมไม่ได้บอกเลยนะ ว่า content มันรองรับ เพียงแต่ผมเห็นว่าคุณมองข้างเดียวมากเกินไปว่ามันเป็นผลเสียสำหรับเด็ก ซึ่งจริงๆอาการติดงอมแงมอะไรเนี้ยมันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะชี้นำให้เด็กๆ การตัดขาดไปมันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเลย ทำไมไม่มองว่าเด็กจะเปิดวิสัยทัศกว้างขึ้นละครับ คุณมั่นใจได้ยังไงว่าครูที่สอน(บางเรื่อง)รู้จริง และบางเรื่องที่เด็กสงสัย สิ่งเหล่านี้แท็บเล็ตตอบโจทย์ได้ในเบื้องต้นแล้ว
เอาไว้ผลิตได้เองสักคนเลี้ยงเองแบบครอบครัวเดี่ยวจน ป 1 แล้วเดี๋ยวเรามาถกกันใหม่ ;)
Ton-Or
คุณมีเด็กๆในบ้านที่อยู่ในวัยที่จะเข้าโครงการมั๊ยครับ เคยเห็นสภาพเครื่องมั๊ย บ้านผมเด็กๆมีสมาร์ทโฟนแท็บเล็ทกันเองทุกคน (ได้กันไปตามสัญญาว่าถ้าทำคะแนนดีจะซื้อให้ ปรากฏว่าทำได้กันหมดเลย) แต่แทบเล็ทของโรงเรียนเนี่ย ผู้ปกครองหลายๆคนส่ายหน้า เพราะต้องเซ็นสัญญารับผิดชอบตัวเครื่องว่าจะต้องดูแลให้ดีและส่งคืนตอนสิ้นปี สเปคก็ต่ำทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ พังง่ายกว่า i-mobile อีก ภาระชัดๆครับ ยกเลิกไปดีแล้ว แล้วเอางบไปสนับสนุน Content อย่างที่คุณว่า ทำเป็น App ลงทั้ง Android iOS หรือทำเป็น ebook ก็ได้ ให้เปิดได้จากเว็บก็ได้ จะได้ทั่วถึงทุกประเภทดีไวซ์ แล้วถ้าเด็กคนใหนไม่มีเครื่องค่อยจัดการให้มีการยืมใช้ของโรงเรียนเป็นรายบุคคลไป ประหยัดงบกว่า และทั่วถึงกว่าเยอะครับ โครงการเดิมมันประชานิยมแจกของหลอกเอาคะแนนเสียงแล้วพอทำจริงก็ลดสเปค ไม่ได้ประโยชน์จริงๆหรอกครับ
ไอ้ 4 ข้อนั่นคนที่เค้าคัดค้านเค้าก็บอกกันไว้ตั้งน๊านนานแล้วนี่นา
ดีละครับที่คิดได้
จริงๆ คือควบคุมเรื่องผลประโยชน์จากการจัดซื้อไม่ได้ต่างหาก บริษัทที่ตั้งขึ้นมาขายก็ปิดหนีไปตั้งนานแล้วนี่
โครงการในมาเลเซียก็โดนตรวจสอบนิ? ถ้ามีคนผิด ขอให้คนผิดได้รับโทษด้วยเถิด.
ไม่น่านะครับเพราะ deal กับ google (ชี้อ chromebook) ไม่กล้า corruption หรอก
อันนั้นโดนเพราะ overprice ครับ
ส่วนอันนี้นี่เหมือนเอาเงินไปซื้อขยะมา
หาความพอดีไม่เจอ orz
โรเรียน -> โรงเรียน
ต้นตอจริงของที่มาโครงการนี้คือ คือการปฏิวัติการแบกหนังสือไปโรงเรียนใส่กระเป๋าเป็นกิโลๆ เหลือลงที่ tablet เครื่องเดียว ซึ่งผมคิดว่าไอเดียมันดีนะ แต่... ใช้งานจริงๆแล้ว เรากลับหวังที่ตัวคอนเทนมากกว่า คิดไปถึงชนิดที่ว่าเด็กจะเขียนหนังสือไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ แล้วความผิดพลาดซ้ำสองอีกอย่างหนึ่งของโครงการนี้คือ การให้เทปเล็ตกับเด็กป.1 ซึ่งรู้ๆกันอยู่ว่าตามโรงเรียน ครูที่ประจำชั้นประถมต้นๆ มักจะเป็นครูแก่ๆ หมดไฟ ไม่เรียนรู้เทคโนโลยี (แต่ต้องยอมรับว่าครูเหล่านี้เก่งทั้งเรื่องการออกเสียง ตัวสะกด หรือการกระทำใดๆที่ย้ำคิดย้ำทำ) ยิ่งครูเองไม่ชักนำด้วยแล้ว ยิ่งแทบจะไม่เกิดประโยชน์ ผมจะยินดีซะมากกว่าถ้าโครงการนี้เดินทางตามแนวของ kiddle คือลดภาระการใช้หนังสือลง จะแสกนหนังสือลงมาเป็น pdf หรือ epub ก็ยอม แล้วใช้อุปกรณ์ประกอบการอ่านแทน และยังคงวิธีการเขียนลงสมุดไปด้วย จะเวิร์คมากกว่านะครับ
+1 อ่านแล้วโดนใจมาก ๆ ครับ
เห็นด้วยเลย
Kindle แบตอึด ไม่ทำให้เด็กว่อกแว่กกับ internet และความเห็นส่วนตัว ผมว่ามันถึกกว่า tablet จีนถูกๆ เน้นที่การบรรจุหนังสือหลายสิบเล่มลงในอุปกรณ์ แทนที่จะไปเน้นที่ตัวแอพ แบบนี้ก็ไม่เห็นต้องประมูล content กัน ลดเวลาการอบรมครูผู้สอน แล้วการดีลกับเจ้าใหญ่ๆ อย่าง kindle มันก็ดูชัดเจนกว่า เสียอย่างเดียว kindle ไม่รองรับภาษาไทย 100% ถ้าใช้สแกนเป็น pdf ก็จะสูญเสียความสามารถดีๆ หลายอย่าง เช่น highlight dictionary comment ฯลฯ
ผมหมายถึงรุ่นที่เป็นหน้าจอ e-ink น่ะ
ผมเคยเห็นรร.ที่ใช้ Kindle นะครับ (รร.หลานผมเอง 555 ค่าเทอมอ่านข้างล่าง) แต่ไม่รู้ว่าเขาใช้สอนอะไรยังไง
ส่วนตัวผมว่าปัญหาต้นตออยู่ที่ปริมาณเนื้อหาที่ต้องเรียนในแต่ละเทอมมากกว่า เด็กตอนนี้เรียนเยอะเกินไป เยอะซะจนหลายคนเรียนจบแล้วยังไม่รู้แม้กระทั่งชื่อตัวเองเขียนยังไง (อย่าถามผมนะว่าเขาทำข้อสอบยังไง) ถ้าลดปริมาณเนื้อหาลง ให้เรียนตามความสนใจของเด็ก ปัญหานี้ก็น่าจะลดลงได้บ้าง (และลดปริมาณหนังสือที่เอาไปเรียนต่อวันได้ระดับนึง)
ผมว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเราเพิ่มเป็น 12 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตไปตั้งแต่ 6 ปีแรกอย่างที่เคยเป็นมา เฉลี่ย ๆ ให้เป็น 12 ปีก็น่าจะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นแล้วล่ะครับ
เพิ่มอีกนิด การแสกนเป็น pdf หรือ epub แทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือทำได้ก็คุณภาพไม่ดีพอครับ เหตุผลคือ OCR ภาษาไทยเรายังไม่แม่นขนาดแสกนแล้วมั่นใจว่าไม่ต้องแก้ไข (อย่าลืมว่า epub เป็นมาตรฐาน HTML ประเภทหนึ่ง) ตรงนี้คงต้องขอความร่วมมือไปที่สำนักพิมพ์ผู้ถือต้นฉบับ แต่ผมก็ไม่รู้นะว่าเขาเปลี่ยนเป็นดิจิตัลหมดหรือยัง แล้วก็ไม่รู้ว่าซอฟต์แวร์ที่เขาใช้นั้น export ออกมาเป็น epub ได้ไหม เผลอ ๆ อาจจะยังมีโรงพิมพ์ใช้ aldus pagemaker อยู่เลย :P
โครงการดีแต่การนำมาใข้มันผิดปกติ ทั้งคุณภาพแท็บเล็ตที่ค่อนข้างต่ำปัญหาเยอะ รวมไปถึงเนื้อหาภายในที่ไม่ค่อยดี พาโครงการเน่าไปหมดเลย ยกเลิกไปก็น่าจะดีเหมือนกัน
1 ในนโยบายที่ได้ยินครั้งแรกแล้วรู้สึกว่า ง่าวมากๆ ..(เอาแมวที่ไหนมาคิดให้ฟะเนี้ย)
..1 ปีผ่านไป
คนคิดแล้วกล้านำเสนอนี่ไม่ธรรมดาเลย รู้ได้ไงว่ามันจะแซง pc ได้ในเวลาไม่นาน
ค่าซอฟแวร์คอนเท้น แว่วมาตั้ง 20 ล้าน ฉนั้น คอนเท้นดีแน่นอนครับ!!
ดีมากครับ
นึกถึงโครงการแปลวิกีพีเดีย 10 ล้าน อา~
เอิ่ม โครงการนี้ถ้ามีจริงก็บ้ามาก เอาเวลาไปตั้งใจสอนภาษาอังกฤษให้เด็กดีกว่า
ก็มีจริงน่ะสิครับ ผลงานรัฐบาลอภิศพ
https://www.blognone.com/node/35433
ความคิดดีนะ แต่เทคโนโลยีไม่ถึง ก็เลยได้ขยะราคาแพงชิ้นใหญ่มา 1ea
ความคิดดี แต่ไม่มีการประเมินผลที่ได้ก่อนดำเนินการเลยเหรอครับ แบบ ไม่มีการทดสอบแปลมาสักสิบหัวข้อมาให้อ่านก่อนเลยหรือ?
AsiaOnline เว็บแปลจากวิกิพีเดียโดยงบรัฐบาลปิดตัวแล้ว
หมดมื้อแล้ว...อิ่มไปตามๆกัน
Software จริง ล้านนึง กินกัน 19 ล้านครับ!!!
เห็นด้วยในการที่เด็กจะได้ลดการแบกหนังสือ ผมว่า 2 กิโลสำหรับเด็ก 7-10 ขวบเยอะไป แล้ว
แต่เห็นด้วยกับการตรวจสอบมากยิ่งกว่า
หนังสือแบกเท่าเดิม + น้ำหนัก tablet
เอาอำนาจยกเลิกมาจากไหนหรือครับ
ตอนนี้คำสั่งและประกาศของ คสช. คือกฏหมายครับ ...
พอพูดถึงแท็บเลตเพื่อการศึกษา ทำให้นึกถึงโครงการ OLPC ของ XOTablet ขึ้นมาทันที
ถ้าต้องให้เด็กจ้องมองจองคุณภาพต่ำแบบนั้นนานๆ (บางคนก็อาจจะเร่งแสงจอซะแสบตา) ผมว่ายกเลิกไปหน่ะดีละ
จริงๆโครงการนี้แนวคิดดี ถ้าทำให้มันโปร่งใสตรวจสอบได้มากขึ้น จริงจังให้มากกว่านี้อาจถึงขั้นปฏิวัติวงการศึกษาของไทยได้ แต่ดูท่าจะล่มโครงการนี้ไปเลย
ถ้าพูดถึงการแบกหนังสือแล้ว ทำล็อกเกอร์ที่โรงเรียนเหมือนที่ญี่ปุ่นไม่ได้หรือครับ แล้วแท็บเล็ตมันก็เป็นแค่ออฟชั่นไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เอาไว้ทุอย่างพร้อมค่อยเริ่มก็ยังไม่สายศึกษาข้อดีข้อเสียไปก่อน
โรงเรียนตามต่างจังหวัด มีอาคาร หลังคา กระดานดำ เก้าอี้ ก็หรูแล้วครับ
ตอนผมเรียนประถม ครูประจำชั้นห้ามเอาหนังสือไว้ที่โรงเรียน สมุดสักเล่มก็ไม่ได้ครับ (เหตุผลคือ ไม่เป็นระเบียบ ไม่สวยงาม).
คุณรู้ไหมครับว่า นอกจากจะเป็นแค่ฝันเรื่องล็อกเกอร์แล้ว...
แม้แต่ห้องประจำ หรือแม้แต่ห้องที่มีกุญแจล็อก นโยบายโรงเรียนจำนวนมาก ไม่อนุญาตให้เอาสมุด หนังสือ หรืออะไรก็ตามไว้ใต้เก๊ะครับ เพราะฉะนั้นเด็กไทยที่เรียนวัน ๆ หนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 7 วิชา ก็แบกกันวันละเท่านั้นล่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่งี่เง่าปัญญาอ่อนมาก
ดีมากครับ อยากให้ตรวจสอบการจัดซื้อของ ทบ ย้อนหลังด้วยได้ไหมครับ
ถ้าอยากใช้แทนหนังสือจริงๆ ควรทำหน้าจอเป็น E-Ink แบบ Kindle มากกว่า เพราะ LCD อ่าน นานๆ ปวดตา สายตาเสีย
แนวคิดริเริ่มของโครงการดีครับ แต่ให้รัฐทำก็สุกเอาเผากินสัมฤทธิ์ผลแค่ได้เงินได้กล่องกันเท่านั้นแหละ ของงี้ต้องให้เอกชนทำ ขอรัฐขอนักการเมืองอย่าเข้ามาขัดขาขูดรีด มือไม่พายเอาเท้าราน้ำก็พอ
ดีแล้วครับ
1. หลายคนบอกว่าจะทดแทนหนังสือได้จริงๆ คือทดแทนไม่ได้ เมื่อแบตหมด ก็จะมีปัญหา สำหรับ โรงเรียนขนาดใหญ่ค้องข้างมีปัญหาในเรื่อง ระบบไฟที่จะรองรับ การซาต 30 -40 เครื่อง ต่อห้อง มันไม่ง่ายเลย
2. จะทดแทนสมุดหรือหนังสือผมว่าเด็กควรจะหัดฝึกวาดเขียนของจริงๆ มากกว่า
3. คุณภาพแท็บเล็ต ต่ำ
4. ถ้าอยากให้นักเรียนได้ใช้จริงๆ ควรจะจัดห้องสำหรับเรียนรู้กับแท็บเล็ต แล้วเอาเครื่องคุณภาพดีมาใช้งาน ในห้องแท็บเล็ต จัดตารางการใช้ห้อง ให้แต่ละชัดได้ใช้งาน อาจจะทำเป็นห้องปฏิบัติการหรือสืบค้น 1 เครื่องสามารถใช้ได้หลายคน มันคุ้มค่ากว่าครับ
คือมีแท็บเล้ตก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ความคุ้มค่าการใช้งาน วิธีการบางอย่างมันไม่ง่ายเหมือนที่นั่งคิด คนคิดไม่ถามความพร้อมโรงเรียน มันไม่ใช่แค่เรื่อง บอกว่าครูไม่พร้อม ครูรุ่นเก่าบ้าง มันมีหลายปัญหา แต่ผมมองว่าเอามาเป็นหลักในการทดแทนหนังสือไม่เหมาะ และแจกเป็นรายบุคคล อยากให้ทำเป็นห้องปฏิบัติการแทนมากกว่า หลายห้องหลายระดับชั้นมีโอกาสใช้งาน
ประโยคนี้คล้ายกับบอกว่าเราควรเรียนกับกระดานชนวน
โดยยกเหตุ ซึ่งจริงแต่ไม่มองเหตุผลด้านอื่น เช่นเด็กติดเกมเพราะมันมี interactive สูง ดังนั้นสื่อการสอนควรจะมี interactive ด้วย
ปัญหาคือครูส่วนใหญ่ดักดานเกินไป และการเตรียมเนื้อหาไม่เรียบร้อย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมไม่ได้หมา่ยความว่าไม่จำเป็น ต้องใช้ ครับ แต่เรามองถึงความคุ้มค่า ต่อคน ต่อเครื่อง แต่บอกตัวก็ไม่มี แน่นอนครับ บุคลากรในด้านไอที ในสถานศึกษามีน้อย ปัญหาหลายอย่าง เหตุผลผมคงอธิบายไม่ได้หมดหรอกครับ ตราบใดที่นโยบาย ที่ ออกมาโดยไม่มีการศึกษา ว่าจะมีอะไร ออกมาแล้ว จะเกิดอะไร เจอปัญหาก็แก้กันไป แท็บเล๊ต ปีที่แล้วพึ่งจะได้รับ แต่บรรจุเนื้อหาของปีที่แล้วมา แต่เด็กขึ้นไปอีก 1 ชั้น เครื่องหลายๆ เครื่อง ใช่ได้ไม่ได้ พฤติกรรมในการใช้ของเด็ก มันมีหลายอย่างครับ ผมถึงบอกว่า ให้ทำเป็นห้องปฏิบัติการ ใครพร้อมเนื่อหา แบบนี้ก็เอาเข้าสอน ในชั้นได้ ไม่ใช้ มโนนั่ง คิดเอาครับ ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ และอีกอย่าง เกาหลีเอง คิดจะทำครับ แต่เขาศึกษาผลกระทบ แล้ว มันไม่เหมาะ เขาก็ยกเลิก ผมไม่ค้านว่าจะห้ามให้เด็กใช้ แต่ คือทั้ง วัย ความรับผิดชอบ คุรภาพเครื่อง บุคคลากร พฤติกรรมการใช้ ล้วนแล้วแต่ต้อง ศึกษาวางแผน การผลิตสื่อที่ interactive ไม่ใช่ว่าครูทุกคนจะทำได้ ฉะนั้น ผมถึงบอกแล้วว่า ความไม่พร้อมหลายๆด้าน ควรจะว่าแผนในการใช้งาน ไม่ใช่ประชานิยมบอกแจกคนละเครื่อง จบ ตอนนี้ ศูนย์ ซ่อมยังต้องหาก่อนเพราะยังไม่มี ศูนย์ที่รับซ่อม เยอะครับ ระหว่างแจกคนละเครื่อง ผมถึงบอก ทำห้องปฏิบัติการเหมาะกว่า แจกคนละเครื่อง เครื่องคุณภาพดี หน่อย ใช้งานได้ 1 เครื่องต่อหลายคน
ผมว่ามันใช้แทนหนังสือไม่ได้หรอกครับ
ถ้าจะใช้แทนหนังสือ ผมว่าทำเป็นเว็บไซต์ดีกว่า ทุก แพลตฟอร์มเข้าถึงได้
แล้วแยกเป็นบทเรียนไป ผมว่าเกือบทุกบ้านก็มีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว หรือถ้าบ้านไหนไม่มีเน็ตก็ แจก CD-ROM
ไปเปิดดูเพลินๆที่บ้าน ทำเป็นเกมส์ หรือ การ์ตูนอะไรก้ว่ากันไปครับ
ผมว่ายังไงมันก็ต้องใช้ หนังสือสะมากกว่า
ไม่งั้นทุกโรงเรียน เปลี่ยนจากคาบคอมเป็น คาบแท็บเล็ตให้หมด - -"
"ควรใช้เป็นเครื่องในการเรียนบางชั่วโมง" > "ควรใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนบางชั่วโมง"
ที่จริงผมแอบโล่งใจด้วยเหตุผลส่วนตัว 555
บ้านเรามีปัญหาตรงที่ content เป็น flash แล้วทีนี้ Flash บน Android ดันหยุดพัฒนาไปแล้ว ซึ่งจากที่เคยลองมันก็ใช้ได้จนถึง Android 4.2 (หลังจากนั้นเปิดไม่ขึ้น) ซึ่งแท็บเบล็ตนักเรียนยังพอบังคับเวอร์ชั่นได้ แต่ว่าของครูที่ซื้อแท็บเบล็ตใช้เองมันลงเองแล้วใช้ไม่ได้ เพราะบางตัวมาถึงก็ 4.3 ไปแล้ว
จะว่าไปรร.หลานผมเขาแจก Kindle ทั้งโรงเรียนนะ (เห็นว่า ค่าเทอมปีละห้าแสน ฟังแล้วช๊อค 555)
"ถ้าคนยกเลิกเป็นคนอื่น คงจะวิจารณ์เหตุผลที่ยกเลิกกันสนุกเลยทีเดียว"
#มิตรสหายท่านหนึ่ง
ไม่เห็นด้วย ที่ จะให้ยกเลิก
ความคิดโครงการนั้นดีแล้ว ควร แก้ไขในรายละเอียดมากกว่า
อย่าเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเลยครับ มันคือ ทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง
ในหลายทางเลือกที่ควรเอามาประกอบการเรียนการสอน
หนังสือ ต้องมี Tablet ต้องใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องนำมาประกอบกัน
เคยนึกย้อนหลังไปว่า สมัยก่อน เรียนด้วยการท่องจำ อาขยาน แล้วผ่านกระดานฉนวน
แล้วผ่านตัวอักษร สมุด หนังสือ มาถึงยุค ฟลอปปี้ดิสก์ ล่วงผ่านมายุค USB ผมก็เชื่อว่า
ในแต่ละการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย ย่อมมีคนคัดค้าน ย่อมมีคนวิจารณ์ แต่สุดท้าย กระแส
การพัฒนาของสังคมโลก ก็ต้องทำให้ การศึกษาของเรา ปรับตัวเข้าไปหาอยู่ดี
วันนี้ ไม่ยอมรับ และ คัดค้าน วิจารณ์ วิพากย์ได้ ดีครับเห็นด้วย เพราะสุดท้าย
เราก็ต้อง หยิบจับ ปัดฝุ่นสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาอีกครั้งอยู่ดี ตามการพัฒนาของโลก
โดยใช้คำวิพากย์ วิจารณ์ และคัดค้านทั้งหลาย มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
เราหยุดอยู่กับที่ได้ไม่นานหรอกครับ เดินต่อไป เปลี่ยนแปลงต่อไป คือความจริงครับ
เห็นการบริหารงานและโกงกินของประเทศไทยแล้วเหนื่อยใจจริงๆ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวการเมืองจิงดิ เพื่อการศึกษาของเด็กไทยจิงดิ 55+
โครงการสวย ดูดีนะ แต่ . . ทุจริต สินค้าคุณภาพต่ำ ผมไปจับของจริงมาละ ห่วยแตกมาก ค้างบ่อยมั่ง วัสดุแตกหักง่ายมั่ง
เพื่อนผมเป็นครู โรงเรียนได้ tablet จากโครงการนี้ ประสบมาโดยตรง รัฐเอามาแจกให้เหมือนพอให้มีตามนโยบายเฉยๆ ไม่กี่เครื่อง ยังไม่รวมเครื่องที่พังรายสัปดาห์ จากความไร้คุณภาพของสินค้า ไม่ต้องหวังเรื่องการรับประกันสินค้าไม่มีจ๊ะ ตามหา สนง.บริษัทนำเข้าให้ได้ก่อนดีกว่านะ 55 เหมือนได้ข่าวปิดหนีไปแล้ว
แถมจะว่าไป เห็นเขาตรวจสอบกันนานแล้วนี่ โครงการนี้มันฮั๊วประมูล แถมบริษัทที่ได้ยังมีส่วนได้เสียกับ บริษัทของชินอีกทีหนึ่ง ประมาณว่า ถ้าบริษัทนี้ได้โครงการนี้ บริษัทของชิน ก็จะได้ผลประโยชน์จากธุรกิจอื่นที่ทำร่วมกัน แนวๆนี้แหละเท่าที่เคยตามข้อมูลมา
มันฮั๊วกันตั้งแต่ต้นแล้ว นโยบายที่มันคิดมามันก็หาบริษัทคู่ค้ามารองรับไว้อยู่แล้ว แล้วก็ฮั๊วประมูลให้บริษัทนั้นได้
มโนสวยหรูกันจัง รัฐบาลเพื่อไทย ก้าวไกลใช้ tablet แทนหนังสือ
ไปดูของจริงสิ จับของจริงก่อนนะ จะมาฝอยกันก็ยังไม่สาย ยกเลิกอ่ะดีแล้ว มันทุจริตซะจนมาแทบจะไม่ถึงมือเด็กอยู่แล้ว
ผมเล่าไปตามสิ่งที่ได้ประสบมา เอามาแลกเปลี่ยนกัน
ผมติดตามอยู่ไม่เคยได้ยิน ชิน เคยได้ยินแต่ ซิม ครับ ตั้งแต่แรกคุยกันยังว่าได้ถูกจนไม่น่าเชื่อ ปัญหาน่าจะเกิดจากกดราคาเกินไปมากกว่าครับ และถึงตอนนี้ ควรจะซื้อแบรนไม่ควรสั่งทำแล้ว สุดท้ายผมมองว่า เดี๋ยวเด็กก็ซื้อกันเองครับ อาจต้องไปโฟกัสเด็กที่ไม่มีกำลังซื้อแทน
ผมว่าโครงการนี้ดีนะ แต่กระบวนการคิดการใช้มันไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง และไม่เหมาะกับเด็กเล็กที่อยู่ในระหว่างพัฒนาการทางสมองและการขยับร่างกาย เช่น
เทคโนโลยี Touch Screen ณ ตอนนี้ ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นที่จะทำให้เวลาเราลากเขียนแล้วตัวเส้นไปพร้อมกับปลายจุดที่เราเขียนเหมือนกับเราลากปากกาจริงๆ ได้ และยังมีเรื่อง Space ระหว่าง Panel แสดงผลภาพกับปลายปากกาด้วย (อาจจะมีระยะอยู่ที่ 0.05 - 0.1 มิลลิเมตร)กับจุดที่แสดงผลบนจอที่ไม่เที่ยงตรงอีกด้วย
เทคโนโลยีหน้าจอที่จะเอามาให้เด็กได้เรียนได้ใช้ ควรจะเป็นเทคโนโลยีหน้าจอถนอมสายตาแบบอย่างเครื่อง Kindle มิฉะนั้นก็จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องสายตาตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ เอาได้
พัฒนาการของเด็ก หากผู้ปกครองหรือคุณครูผู้สอน หากปล่อยให้เด็กอยู่กับแต่ Tablet ก็จะกลายเป็นว่า เด็กไม่เข้าสังคมกับใครเลย นอกจากการยุ่งอยู่กับหน้าจออยู่อย่างเดียว และจะส่งผลทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีเรื่องพัฒนาการในการใช้สิ่งรอบตัวที่ไม่ใช่บนหน้าจอ Tablet มาใช้งานในชีวิตการเรียนด้วย เช่น วาดภาพระบายสีจากสีเทียน สีน้ำ สีไม้ การวาดภาพที่มีขนาดใหญ่ (Tablet มีขนาดแค่ 7 นิ้วจะไปวาดภาพใหญ่กว่านั้นได้ไง ยังมีเรื่อง Pixel ต่อตารางนิ้วที่มีต่ำอีก ทำให้ภาพที่ได้หยาบ) การเลือกใช้ดินสอ ปากการ ยางลบต่างๆ ฯลฯ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก
เสป็คเครื่องที่นำมาใช้ ก็ไม่ได้โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ 7 กับความละเอียดหน้าจอที่ 1024x600 ซึ่งทำให้ภาพและอักษรที่ได้ดูหยาบ ความเร็วของเครื่องที่ตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควร และอาจมีเครื่องแฮงก์ในระหว่างการเรียนการสอนด้วย ซึ่งหากนักเรียนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ครูผู้สอนก็จะต้องเป็นผู้มาเป็นผู้แก้ไข หรืออาจจะก็ต้องมีครูผู้ช่วยคอยช่วยเหลืออีกคนในห้องด้วย ไม่ฉะนั้นก็จะทำให้การเรียนสะดุด
อีกเรื่องก็คือเรื่องการบำรุงรักษา หนังสือหลุดมือตกพื้นกับ Tablet หลุดมือตกพื้นมันต่างกันนะ หากหนังสือตกพื้นก็แค่เก็บขึ้นมาอ่านต่อ แต่หากเครื่องตกพื้นก็ลุ้นเอาว่าเครื่องจะเสียหายขนาดไหน หากใช้งานต่อไม่ได้ไม่ก็จบกันเลย ซึ่งหากมีการจดโน้ตเล็กๆ เอาไว้ หรือไม่ไฟล์การบ้านบันทึกเอาไว้ก็จบกันเลยครับ
ยังมีเนื้อหาที่จะนำมาลง Tablet ให้นักเรียนเรียนอีก ตรงนี้ระบบจะต้องใหญ่มาก และจะต้องมีหนังสือเรียนที่ครอบคลุมแต่ละชั้นเรียน และวิชาที่จะเรียนด้วย หากไม่มีการอัพเดตเนื้อหาตรงนี้แล้วไซ้ มันจะต่างอะไรกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกกองหนึ่ง
และอีกหลายๆ เรื่องที่ผมนึกไม่ออก
การใช้ Tablet เรียกจะต้องใช้เรียนควบคู่ไปกับสมุดจดด้วย หากไม่มีการใช้สมุดหรือสมุดการบ้าน แล้วทำทุกอย่างบน Tablet ทั้งหมดก็จะทำให้เกิดปัญหาในข้างต้นขึ้นมาได้
เราไม่ควรจับเด็กในยุคนั้นๆ มาเป็นตัวประกันเพื่อไว้ทดลองโครงการ แต่ควรให้การเรียนการสอนดำเนินการควบคู่ไปกับระบบปกติด้วย เพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนในอนาคต
ส่วนตัวก็คิดว่าด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างในะรบบการศึกษาไทย เรายังไม่พร้อมที่จะใช้อุปกรณ์พวกนี้หรอก
เน้นมาพัฒนาหลักสูตร บุคลากร ให้มันดีขึ้นดีกว่า หลายๆอย่างเราล้าหลังไปมากแล้ว แต่อย่างแรกเลยที่อยากให้ปรับเปลี่ยนกันใหม่คือการเรียนพิเศษทำการบ้านของเด็ก ปัญหาการสอนไม่เต็มที่ของครู(จะเรียกได้เต็มปากมั้ยเนี่ย) แล้วมาสอนต่อในการเรียนพิเศษ อะไรพวกนี้ มันเป็นภัยเงียบของการศึกษาทุกวันนี้จริงๆนะ
..: เรื่อยไป
ผมโขคดีมากๆๆที่ได้ทำงานอยู่ใน บริษัทนานาชาติที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ออนไลน์มากๆ บริษัทมีระบบการสอนออนไลน์แบบภายในซึ่ง creative และ intuitive มาก
ทำให้เห็นด้วยว่า ถ้าเราทำให้คอนเทนท์มันดีได้ มันจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ต้องตั้งใจทำจริงๆ ไม่ใช่แค่เอาเงินมาเสียให้กับค่าเครื่องอย่างเดียว
ช่อง Youtube ของผมครับ รีวิวและชวนคุยนู่นนี่
เรื่องนี้เห็นด้วยนะ แต่อยากให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ Kindle แทนที่จะยกเลิกไป
แต่ก็อย่างว่า ยังไงบ้านเราก็ยังติดปัญหาเรื่อง Content อยู่
เราควรทดลองสอนโดยใช้แท็ปเล็ตกับโรงเรียนสักหนึ่งร้อยแห่งก่อน ค่อยๆแก้ไขจุดผิดพลาดและพัฒนาเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ได้หลักสูตรที่มันใช้ได้จริงๆ และเมื่อเห็นว่าพร้อมแล้ว จึงทำโครงการขนาดใหญ่แจกแท็บเล็ตให้กับเด็กทั้งประเทศ
จริง ๆ ผมว่า กับเด็กเล็กขนาดนั้น ควรให้ความสำคัญกับโลกใบเล็กขนาดใหญ่ มากกว่าโลกใบใหญ่ขนาดเล็กนะครับ ;-)
ผมว่า tablet ไม่เหมาะกับเด็กป.1 ด้วยประการทั้งปวง ทั้งเรื่องการดูแลบำรุงรักษา ทั้งเรื่องการนำมาใช้งานจริง ทั้งเรื่องการกีดขวางพัฒนาการทางด้านอื่น ๆ ของเด็ก
tablet น่าจะเหมาะกับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่า ส่วนเรื่องที่ว่าเด็กแบกหนังสือเรียนหนัก ก็ควรแก้ด้วยการหาช่องทางที่เหมาะสมให้เด็กเก็บหนังสือเรียนไว้ที่โรงเรียน วิชาไหนมีการบ้านหรือต้องการศึกษาเพิ่มเติมค่อยเอากลับบ้าน ไม่ใช่มองว่า tablet คือทางแก้ปัญหาทุกอย่าง เพราะอันที่จริงในทางแก้ปัญหาเหล่านั้นก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกอยู่ดี จะกลายเป็นว่าแก้ปัญหาหนึ่งได้แต่ก็ต้องคอยแก้ปัญหาอื่นต่อแทน
That is the way things are.
คุณเล่นเกมแฟมมิคอมตั้งแต่อายุเท่าไหร่
ผมน่าจะอายุน้อยกว่าเขา ผมจับครั้งแรกตอนราว ๆ ป.4-5 แน่นอนว่าชอบมาก อยากได้ มาได้จริง ๆ ตอน ป.6 (ทำตามข้อเสนอคือเรียนให้ดี)
ผมไม่คิดว่าเอามาเทียบกันได้เท่าไหร่นะ famicom มันอยู่บ้าน เล่นทุกครั้งแม่เห็น ถูกจำกัดได้ง่าย เอาไปแอบเล่นไม่ได้ แท็บเล็ตคนละเรื่อง พกติดตัวได้ตลอด ลงแอ็พอะไรก็ได้หลายอย่าง ผู้ปกครองอาจไม่รับรู้ (หรือแอบทำไม่ให้รับรู้ได้หลายทาง) ดังนั้นเนื่องจากมันทำอะไรได้หลายอย่างมันเลยเป็นดาบสองคมกว่า famicom คือเด็กจะมีข้ออ้างในการพกพามากกว่า ผู้ปกครองควบคุมได้ยากกว่า และทำให้เด็กเสียสมาธิได้มากกว่า
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เคยได้ฟังเซลขายของยี่ห้อตัวเองไหมครับ เกือบเคลิ้ม อย่างที่เห็นที่เป็นอยู่ยกเลิกดีแล้วครับ
ซื้อให้เด็กใช้ = เกรดทหารครับถึงจะทนมือทนเท้าเด็กได้
แต่พิมพ์จนขี้เกียจละ หลานใช้ Tablet แล้วโคตรสมาธิสั้นกว่าเดิมอีก ก้าวร้าวกว่าเดิมด้วย
สงสัยต้อง ซื้อ iPad เป็นอย่างต่ำ ถึงมีคุณภาพ ฮ่าๆ แพงๆ ไม่ก็ Toughpad จาก Panasonic คงถึกพอ อายุยาวๆ