Tags:
Node Thumbnail

ก่อนหน้านี้รัฐบาลของประเทศฝรั่งเศส ที่นำโดยพรรคสังคมนิยม ได้ออกมาประกาศว่าเพื่อเป็นการปกป้องร้านค้าที่มีที่ตั้งขายของอยู่ตามท้องถนนซึ่งได้รับผลกระทบจากร้านค้าออนไลน์ รัฐบาลจะห้ามไม่ให้บริการออนไลน์อย่าง Amazon สามารถขายหนังสือลดราคาโดยไม่คิดค่าขนส่ง ล่าสุดกฎหมายดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ววันนี้

อย่างไรก็ตาม Amazon ได้ออกมาประกาศอย่างรวดเร็ว ว่าเพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมาย ทาง Amazon จะเริ่มคิดค่าขนส่งหนังสือเป็นเงิน 0.01 ยูโรสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Amazon Prime ส่วนผู้ที่เป็นสมาชิก จะยังคงไม่ต้องเสียค่าส่งสินค้าเช่นเดิม

เช่นกัน กฎหมายนี้ยังบังคับไม่ให้ Amazon และร้านค้าหนังสือออนไลน์อื่น ๆ ตัดราคาหนังสือร้านหนังสือทั่วไป ทำให้ Amazon ต้องยกเลิกโปรโมชั่นลดราคาหนังสือให้กับลูกค้า 5% อย่างไรก็ตาม ร้านค้าหนังสือทั่วไปตามท้องถนนยังสามารถลดราคาหนังสือเพื่อแข่งกับ Amazon ได้

ในขณะนี้ดูเหมือนว่าร้านค้าหนังสือทั่วไปตามท้องถนนในฝรั่งเศสอาจจะได้เปรียบ แต่ Amazon เองยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาล EU ด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลฝรั่งเศสมีพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันของตลาด

ที่มา - Engadget, WSJ

Get latest news from Blognone

Comments

By: pasuth73
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 11 July 2014 - 19:58 #721019

ในเมื่อคุณไม่ต้องเสียค่าตีพิมพ์หนังสือ คุณก็เอากำไรไปเยอะๆสิจะขายถูกแข่งกับหนังสือธรรมดาทำไม พรคคสังคมนิยมไม่ได้กล่าว:P

By: originalBlueSin
Windows PhoneWindows
on 11 July 2014 - 20:09 #721021 Reply to:721019
originalBlueSin's picture

หนังสือของอเมซอนต่างจากหนังสือธรรมดายังไงครับ เขาไม่ได้กล่าวถึง ebook ไม่ใช่เหรอครับ

By: kajokman
ContributorAndroidIn Love
on 11 July 2014 - 22:38 #721035 Reply to:721019
kajokman's picture

ร้านหนังสือตามท้องถนนก็ไม่ได้ตีพิมพ์หนังสือนะครับ ;P

By: EXTREAM
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 11 July 2014 - 21:32 #721031

โห ค่าส่งแพงมากก

By: SANE
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 July 2014 - 23:19 #721040
SANE's picture

ที่ญี่ปุ่นก็โดน ตอนนี้หนังสือใน Kindle ญี่ปุ่นไม่มีลดราคาแล้ว แต่ว่าถ้าซื้อ Kindle Paperwhite แล้วจะแถมคูปองหนังสือฟรีเท่าราคาเครื่อง (7,890) เยน

เกรียนสุดๆ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 12 July 2014 - 00:10 #721046 Reply to:721040
hisoft's picture

เอ่อ ขนาดหนังสือใน Kindle ยังโดนอีกเหรอครับ - -"

แล้วหนังสือของโซนี่ล่ะครับ?

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 12 July 2014 - 00:24 #721047 Reply to:721040
Thaitop_BN's picture

555+ เอาคืนได้เงิบดีจริงๆ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 12 July 2014 - 00:10 #721045
hisoft's picture

ค่าส่ง...

By: tirakarn
AndroidUbuntuWindows
on 12 July 2014 - 00:52 #721049

แบบนี้เขาเรียกว่า "หัวหมอ" หรือเปล่าครับ
ผมว่ากฏหมายของประเทศเขาก็มีเจตนาดีเพื่อช่วยผู้ค้ารายย่อยนะครับ

By: illusion
ContributorAndroid
on 12 July 2014 - 01:33 #721053 Reply to:721049
illusion's picture

แล้วไม่สนใจจะช่วยผู้บริโภค (ด้วยการปล่อยให้เกิดการแข่งขันในตลาด) หรือครับ?

อ่อ ลืมไป สังคมไทยเป็นสังคมสนับสนุนผู้ประกอบการนี่นา ผู้ค้ามาก่อน ผู้บริโภคไว้ทีหลัง ^^"

By: dajazzkitten
AndroidWindows
on 12 July 2014 - 04:46 #721066 Reply to:721053

ถูกครับ มันคล้ายๆกฏหมายห้ามทุ่มตลาด(ขายสินค้าต่ำกว่าทุน)ของอเมริกา แต่อันนี้เจาะจงลงไปถึงรายละเอียด แต่ผมว่าตัวกฏหมายมันคงมีอะไรมากกว่า แค่บังคับเรื่องค่าส่งหนะครับ

การที่จะต้องปกป้องผู้ค้ารายย่อย เพื่อไม่ให้รายใหญ่ฆ่ารายย่อยหมดและตลาดหมดสภาพการแข่งขัน
เมื่อถึงเวลานั้น รายใหญ่จะตั้งราคาอย่างไรก็ได้

By: Hoo
AndroidWindows
on 12 July 2014 - 11:19 #721096 Reply to:721053

ลองอ่าน เศรษฐศาสตร์ ก่อนนะครับ
มันเป็นขั้นๆไป
Monopoly ผู้ค้ารายเดียว
Oligopolies ผู้ค้ารายใหญ่ไม่กี่เจ้า
Perfect Competition ผู้ค้ามากมาย

การที่ถ้ารัฐปล่อยปละละเลย ให้รายย่อย(ซึ่งจะทำให้ระบบตลาดเป็น Perfect Competition) ตาย
ระบบจะเริ่มเข้าสู่ Oligonomy ที่มี ผู้ค้ารายใหญ่ไม่กี่เจ้า
ทุกประเทศ(ที่เจริญ,และจะเจริญ) จึงมีการปกป้องผู้ค้ารายย่อยทั้งสิ้น

ในขณะที่บ้านเรา ไร้การปกป้อง
อย่างกรณี โชวห่วย,ยี่ปั๊ว ที่ตอนนี้กลายเป็น 7, Macro ครองเมืองแบบนี้

ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์จริงๆ จะไม่มองว่า
ควรให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ได้ซื้อของถูกๆ
แล้วปล่อยให้ระบบวิ่งเข้าหา Oligopolies/Monopoly ครับ

By: P' Lek
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 12 July 2014 - 12:20 #721101 Reply to:721096

หมายความว่านักเศรษฐศาสตร์ไม่สนใจจะให้ผู้บริโภคได้ของราคาถูกที่สุดหรือครับ

แล้วความคิดเรื่อง AEC หรือตลาดร่วมทั้งหลายที่ให้แต่ละประเทศทำสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด เพื่อให้ราคาถูกที่สุดก็ผิดสิครับ แบบนี้เปิด AEC รายเล็กๆก็เตรียมตัวตายจริง ๆ สิครับ

By: Bugbear
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 12 July 2014 - 12:55 #721102 Reply to:721101
Bugbear's picture

นักเศรษฐศาสตร์มองที่สวัสดิการรวมของระบบเศรษฐกิจครับ ไม่ได้แยกเป็นส่วนๆ
ราคาที่ถูกที่สุดจึงอาจไม่ใช่ราคาที่ทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดในระยะยาวครับ

โดยพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ AEC เป็นแค่การลดการกีดกันไม่ให้สินค้าและบริการข้ามแดนเฉยๆครับ
เป็นการลดความคุ้มครอง เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจที่เคยได้รับความคุ้มครองปรับตัวให้แข่งขันได้
ไม่อย่างนั้นธุรกิจเหล่านี้จะไม่ยอมปรับตัวเสียที หลายครั้งที่ต้องเอาเงินภาษีไปอุ้ม ซึ่งเป็นภาระของสังคมครับ

แล้วการเปิดก็ไม่ได้เปิดปุบปับ มีการแจ้งล่วงหน้านานหลายปี
รายเล็กถ้าอยากอยู่รอดจริงๆ ก็ต้องช่วยตัวเองด้วยการปรับตัว ไม่ใช่รอให้รัฐป้อนเข้าปากครับ

By: takichi12
iPhone
on 12 July 2014 - 16:50 #721144 Reply to:721101

ถ้าเน้นราคาถูกอย่างเดียวก็มีแต่ล่มจ่มนะครับ ถ้าเกิดวันไหนทำราคาถูกไม่ได้อีกแบบนี้เจ้าของกิจการก็เจ๊งกันหมดสิเพราะแข่งแต่กับราคาแต่ไม่แข่งคุณภาพ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 12 July 2014 - 18:06 #721150 Reply to:721101

มันจะถูกที่สุดชั่วคราวครับ ถ้ารายเล็กเริ่มตายทีนี้เค้าอยากตั้งอะไรเท่าไหร่ก็ได้แล้วหละครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 12 July 2014 - 20:08 #721161 Reply to:721150
Thaitop_BN's picture

ถ้าตั้งแพงเวอร์มันก็จะมีรายใหม่เกิดขึ้นมาแข่งไงครับ ไม่เห็นเป็นปัญหา

By: Hoo
AndroidWindows
on 12 July 2014 - 21:28 #721171 Reply to:721161

อ่านเศรษฐศาสตร์หน่อยสิครับ

มันเป็นปัญหาแน่ๆ ครับ
แทนที่ระบบจะเป็น Free Competition ตลอด
เมื่อปล่อยให้ ระบบกลายเป็น Oligopoly

มีแนวโน้มว่าระบบจะกู้กลับไปไม่ได้ด้วยตัวเอง
เพราะทรัพยากรต่างๆ และ รูปแบบตลาด จะถูกจับจองโดยรายใหญ่
ซึ่งไม่มีวันที่รายย่อยจะได้ผุดได้เกิดอีก
และมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็น Monopoly ด้วย

หรือถ้าได้ผุดกลับขึ้นมาจริง ระยะเวลากู้กลับมา
จะยาวนานกว่า ช่วงปล่อยให้รายย่อยตายมาก
ซึ่งผลในรวมแล้ว ผู้บริโภคจะเสียประโยชน์ครับ

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 13 July 2014 - 01:31 #721209 Reply to:721171
Thaitop_BN's picture

แต่ถ้ารายย่อยไม่พัฒนา ยังไงก็ไม่รอดไม่ใช่เหรอครับ และในข่าวนี้มันไม่ใช่แค่รายใหญ่กับรายเล็กนะครับ แต่มันมีประเด็นร้านค้าธรรมดากับร้านค้าออนไลน์ด้วย

เช่นกัน กฎหมายนี้ยังบังคับไม่ให้ Amazon และร้านค้าหนังสือออนไลน์อื่น ๆ ตัดราคาหนังสือร้านหนังสือทั่วไป

ซึ่งนี่ละผู้บริโภคเสียประโยชน์เห็น ๆ ไม่ต้อง "จะ" เลย ควบคุมรายใหญ่ไม่ให้ส่งฟรีนี่ผมเข้าใจ แต่ควบคุมระบบใหม่นี่ผมไม่เข้าใจ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 12 July 2014 - 22:34 #721183 Reply to:721161

รายใหม่มันไม่ได้เกิดง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อนหรอกครับ รายใหม่เข้ามายากเลย อำนาจต่อรอง การลงทุนด้านระบบ economy of scale ฐานลูกค้า ทำให้รายใหม่เข้ามาแข่งยากมาก ลองคิดดูว่าถ้ารายใหม่จะเข้ามาจาก 0 เลยต้องลงทุนอะไรบ้าง และต้องทำให้ต้นทุนสู้ Amazon อย่างไร ทำยังไงให้ลูกค้ารู้จัก สร้างความน่าเชื่อถือ และถ้าทำได้จริง Amazon ลดราคาสู้ก็คางเหลืองแล้วครับ เพราะมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว และเป็นที่รู้จัก สุดท้ายต้องพับกลับบ้าน ถ้ายังไม่มี innovation ใหม่อะไร หรืออะไรที่ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไป ผมว่ารายใหม่เข้ามายากมากๆ

คือผมก็ไม่รู้ว่าแบบไหนมันดีกว่านะครับ ผมเชื่อว่าทั้ง 2 ฝั่งก็มีเหตุผล แต่ที่ประเทศเค้าทำก็คงเพราะเค้าคิดแล้วว่าแบบไหนดีกว่า ก็ต้องสู้กันต่อไป


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 13 July 2014 - 01:59 #721215 Reply to:721183
Thaitop_BN's picture

ขอบคุณครับ มาคิดดูแล้ว ยังไงคนในระบบขายหนังสือแบบเก่านั่นก็พลเมืองเขา เขาก็ต้องดูแลอ่ะนะ จะปล่อยให้ระบบพัฒนาเร็วเกิน ลากคนวิ่งตามไม่ทันหกล้มปากแตกมันก็คงไม่ได้

By: vitnu
iPhone
on 13 July 2014 - 02:52 #721222 Reply to:721101

ยุโรปคนตกงานเยอะครับ ยังไงก็ต้องช่วยสร้างงานผ่านธุรกิจรายย่อยบ้าง จะให้รายย่อยปรับตัว มันก็ปรับได้ครับ แต่มันก็ไม่ถึงขนาดเปลี่ยนจากแมวให้เป็นราชสีห์ เพื่อให้ไปสู้กับรายใหญ่ๆได้อย่างสูสีได้หรอกครับ