จะเรียกว่าเป็นการตรวจสอบความโปร่งใสในรูปแบบหนึ่งก็ได้ เมื่อแอคเคาท์ทวิตเตอร์ @parliamentedits ซึ่งเป็นแอคเคาท์บอทที่คอยทวีตหากมีใครสักคนในรัฐสภาของอังกฤษ เข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนวิกิพีเดีย ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาที่ชื่อว่า Tom Scott โดยใช้คำสั่งในลักษณะของ IFTTT (If This Then That)
และเมื่อ Ed Summer นักพัฒนาเว็บโอเพนซอร์สไปพบเข้า จึงจุดประกายให้เขาเลียนแบบและสร้างแอคเคาท์ @congressedits สำหรับทวีตการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ผ่าน IP address ของสภา Congress ของสหรัฐ
ทั้งนี้ Summer ยังโพสต์โค้ดที่ใช้นี้บน GitHub เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาในประเทศอื่นๆ นำไปทำในรูปแบบเดียวกันและเท่าที่ผมดูจากจำนวนแอคเคาท์ที่ @congressedits กำลังติดตาม พบว่า ณ ตอนนี้มีทวิตเตอร์ในลักษณะนี้เกือบ 30 แอคเคาท์ในหลายๆ ประเทศแล้ว
ที่มา - ArsTechnica
Robert Hurt (politician) Wikipedia article edited anonymously by US House of Representatives http://t.co/R4cqHa6eY6
— congress-edits (@congressedits) July 10, 2014
Comments
โพสท์ => โพสต์
พาดหัวข่าวมันไม่เป็นประโยคน่ะครับ เป็นแค่วลีลอย ๆ
น่าจะตัดคำว่า ที่ ทิ้งนะครับ
เพราะอะไรถึงต้องคอยจับตาดูการแก้ไขวิกิพีเดียจากรัฐสภาอะครับ? เพื่อไม่ให้เขียนเข้าข้างตัวเอง?
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
คงจะอย่างนั้นครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
U.S. Congressional staff edits to Wikipedia
บางครั้ง คนในรัฐสภาก็ต้องการจะลบข้อความที่ไม่ดีไม่งามของตัวเองบนวิกิครับ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียของตนเอง โครงการที่พรรคของตนเองทำไม่สำเร็จ ทั้งที่หลักของสารานุกรมคือข้อเท็จจริงทั้งหมดและมีอ้างอิง แต่ก็อาจจะเพื่อให้ภาพลักษณ์องค์กรดูดี เป็นที่ศรัทธาของประชาชนต่อไป ยิ่งเป็นสื่อที่รัฐควบคุมไม่ได้ รัฐก็ยิ่งกลัวว่าจะมีด้านลบออกไป และอยากเข้าไปควบคุม แน่นอนการจะให้รัฐบาลตั้งหน่วยงานมาตรวจสอบพวกนี้มันก็จะไม่พ้นเรื่องเข้าข้างพวกพ้อง ดังนั้นประชาชนจะมีบทบาทอย่างมาก ที่จะเข้าตรวจสอบการทำงานของรัฐสภาครับ
ปล.ผมพูดถึงสหรัฐอเมริกานะครับ
http://www.theverge.com/2014/7/18/5917099/russia-spotted-editing-wikipedia-page-of-downed-malaysia-air-jet
ของรัสเซียก็มีนะ ผมก็พึ่งรู้
ผมอ่านเป็น "แอคเคาท์ทวิตเตอร์ 'บอยคอท' ทวีต"
#ห๊ะ