Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยจาก Technical University of Denmark (DTU) ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลผ่านท่อใยแก้วนำแสง (fiber optics) ที่อัตราเร็ว 43Tbps (T นะครับ ไม่ใช่ G) โดยใช้ใยแก้วเพียงเส้นเดียวและตัวส่งข้อมูล (transmitter) เพียงตัวเดียว

สถิติก่อนหน้านี้เป็น Karlsruhe Institute of Technology จากเยอรมนีทำไว้ที่ 26Tbps ในปี 2011 ส่วน DTU เองก็เคยทำสถิติไว้ก่อนหน้านั้นคือ 1Tbps ในปี 2009

เทคนิคที่ DTU ใช้งานคือออกแบบใยแก้วให้มีหลายแกน (core) โดยในกรณีนี้คือ 7 แกนในใยแก้วเส้นเดียว ในอดีตการผลิตใยแก้วแบบหลายแกนทำได้ยากและแพง แต่เมื่อเทคนิคการผลิตพัฒนาขึ้นมากก็ทำให้การส่งข้อมูลผ่านใยแก้วหลายแกนเป็นไปได้มากขึ้น

ตอนนี้เทคนิคของ DTU ยังอยู่ในห้องทดลอง และคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าเราจะได้เห็นเทคนิคนี้ถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์ครับ

ที่มา - ExtremeTech

Get latest news from Blognone

Comments

By: jaideejung007
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2014 - 19:22 #728087
jaideejung007's picture

ถามเป็นความรู้ครับ

หากนำมาใช้งานจริง ความเร็วแบบนี้ มันจะเหมาะกับงานอะไรบ้างครับ

ยกตัวอย่างให้ฟังหน่อยนะครับ

By: LinkWii1GT
iPhoneAndroidWindows
on 4 August 2014 - 19:34 #728099 Reply to:728087
LinkWii1GT's picture

(คาดการณ์) NSA สามารถดึงข้อมูลจากคนทั่วโลกทั้งหมดภายใน 1 สัปดาห์ แทนที่จะเป็น 1-6 เดือนครับ

By: Jai_Magical
iPhoneWindows
on 5 August 2014 - 15:06 #728524 Reply to:728099
Jai_Magical's picture

โครตฮา

By: Bigta
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 4 August 2014 - 19:43 #728104 Reply to:728087
Bigta's picture

ผมคิดออกอย่างนึงคือเอามาใช้ในการส่งข้อมูลของ CERN LHC ครับ

By: darkfaty
AndroidWindows
on 4 August 2014 - 19:44 #728105 Reply to:728087
darkfaty's picture

Internet Backbone ครับ เชื่อมระหว่าง node ใหญ่ ๆ เพราะเวลาทุกคนใช้เน็ตพร้อมกันมันก็กินแบรน์วิซมหาศาล ถ้า Backbone เร็วขึ้นการใช้งานของทุกคนก็จะไม่มีอาการสะดุด (lag) ครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2014 - 19:47 #728106 Reply to:728087
hisoft's picture

สายเคเบิลเชื่อมทวีป-ประเทศ-ศูนย์ข้อมูลล่ะมั้งครับ

By: 100dej
AndroidWindows
on 4 August 2014 - 21:11 #728146 Reply to:728087

โฮโลกราฟฟิค​ น่า​จะ​เป็น​ไป​ได้​เร็ว​ขึ้น​

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 5 August 2014 - 15:25 #728535 Reply to:728087
Perl's picture

Internet Backbone ครับ

บ้านเราเห็นแบบนี้ก็ใช้งานระดับ Tengig หลายเส้นวิ่งระหว่างภูมิภาคเหมือนกันนะครับ

By: Remma
AndroidWindows
on 4 August 2014 - 20:05 #728119
Remma's picture

เรื่อง​ความ​เร็ว​เริ่มพอกับการใช้แล้ว​ น่าจะพัฒนา​ให้ทนทานขึ้น​ด้วยดีกว่า​ เรื่องสายเคเบิลขาดอยู่บ่อยๆ​นี่เป็น​ปัญหา​มากกว่า​เรื่อง​ความ​เร็ว​นะ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2014 - 20:11 #728123 Reply to:728119
hisoft's picture

ผมเข้าใจว่าที่ขาดส่วนมากนี่โดนเรือเกี่ยวนะครับ - -" ถ้าจริงนี่ไม่รู้จะแก้ยังไงเหมือนกัน

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 4 August 2014 - 20:18 #728127 Reply to:728119
TeamKiller's picture

แถว Office ผมขาดบ่อย เป็นเน็ทเคเบิลธรรมดา ช่างบอกโดนรถชนสายขาดประจำ สงสัยต้องใช้สายหุ้มเหล็กแล้วละครับ

By: Remma
AndroidWindows
on 4 August 2014 - 23:31 #728202 Reply to:728127
Remma's picture

คือถ้าเป็นสายโลหะเหมือนสายโทรศัพท์ก็น่าจะทนทานกว่านะครับ เทียบกับใช้โทรศัพท์บ้านมาเป็นสิบๆปีไม่เคยมีเหตุการณ์สายขาด แต่เน็ตเคเบิลที่บ้านเดือนที่แล้วขาดไปสองครั้ง ชักเริ่มสงสัยถึงความทนทานของสายหรือวิธีเดินสายแล้วล่ะครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 August 2014 - 23:55 #728215 Reply to:728202
hisoft's picture

เอ ผมเข้าใจว่าเน็ตเคเบิลนี่ไม่ได้ใช้ไฟเบอร์ออปติกนะครับ ไม่แน่ใจว่าท่านติดเป็น DOCSIS หรือ FTTx

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 August 2014 - 00:37 #728227 Reply to:728215
Holy's picture

DOCSIS เข้าบ้านเป็น RG6 แต่สายจาก ISP มาถึงชุมสายนี่เป็น Fiber Optic รึเปล่าครับ? แต่ถ้าอันนั้นขาด ADSL มันก็น่าจะปลิวไปด้วย?

By: takz1977
iPhoneUbuntu
on 5 August 2014 - 05:20 #728284 Reply to:728202
takz1977's picture
  • ใยแก้วหรือทองแดงก็ขาดเหมือนกันครับ ในกรณีรถเกี่ยว,เฉี่ยวชน ซึ่งปกติจะเป็นรถใหญ่ประเภทรถทัวร์ รถบรรทุกเพราะมีน้ำหนักมาก อึกอย่างสายพวกนี้จะเป็นเคเบิ้ลเส้นใหญ่มีลวดสลิงในตัวหรือคู่ขนานกันไปอยุ่แล้วก็ยังขาดครับ (ส่วนใหญ่แค่สิบล้อธรรมดาพวกรถพ่วงไม่ต้องสืบครับ)
  • อึกกรณีจะเป็นขาดจากไฟไหม้ครับ ทั้งสายทองแดงและใยแก้วไม่สามารถทนความร้อนได้ทั้งคู่ครับ
  • เพิ่มเติมอีกกรณี ฝังลงดิน แนวเคเบิลฝังดินส่วนใหญ่ก็ขาดเพราะโดนขุด กรณีงานก่อสร้างขยายพื้นผิวถนน และงานก่อสร้างอื่นๆ ใกล้เคียง

สายทองแดงที่ไม่ค่อยมีแจ้งเหตุรถเกี่ยวขาดมักจะเป็นดร็อปไวร์ (ปลายสายก่อนเข้าตัวบ้านขนาดเล็กกว่านิ้วก้อย ดำๆ ขยุกขยุย มักติดตั้งต่ำกว่าสายไฟเพื่อหลีเลี่ยงสัญญาณกวน) ก็มีเหตุโดนลักขโมยตัดไปขายอยู่บ่อยๆ ครับ (ตัดไปเผาเอาทองแดงไปขาย)

By: Kittichok
Contributor
on 5 August 2014 - 01:53 #728250 Reply to:728127

ลงดินไม่ง่ายกว่าหรือครับ

By: pakiat
Android
on 5 August 2014 - 11:30 #728420 Reply to:728250
pakiat's picture

ผมว่ายากกว่า แต่ปลอดภัยกว่า ต้นทุนสูงกว่า