ผมเป็นนักเขียนใหม่ เพิ่งสมัครเข้ามาเมื่อคืน
ผมมาจาก blog.middleware.co.th พยายามตามกฏ mk เหมือนกันครับ แต่ยังไม่เข้มเท่า
เห็นว่า blognone มีมาตรฐานการเขียนที่สูงครับ ผมชื่นชม
จึงอยากขอเสริม ขอเสริมกฏ mk เรื่องการใช้ไม้ยมกครับ
อ้างอิงจาก wikipedia ครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81
หนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 ระบุหลักเกณฑ์การเว้นวรรคไว้ว่า "ให้เว้นทั้งข้างหน้าและข้างหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมกหรือยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ" หากแต่การเรียงพิมพ์ในเล่มกลับเว้นวรรคเฉพาะหลังไม้ยมก เช่น "หน่วยราชการต่างๆ เข้าร่วมประชุม" รวมทั้งชื่อหนังสือเอง ซึ่งชิดหน้า เว้นหลัง ("เครื่องหมายอื่นๆ") [3] อย่างไรก็ตาม ใน หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าให้ "เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ..." และการเรียงพิมพ์ในเล่มสองคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น "วันหนึ่ง ๆ เขาทำอะไรบ้าง" [4]
ปัจจุบันเราพบว่าสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ต พิมพ์ไม้ยมกในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังนี้
ไม่เว้นวรรคเลย เช่น "ต่างๆกัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "ต่าง ๆ กัน" ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และ
เขียนไม้ยมกติดคำหน้า แต่เว้นวรรคด้านหลัง เช่น "ต่างๆ กัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
ที่คัดลอกมาอ่านยากจังเลยครับ ^^"
เพิ่งทราบครับว่า จริงๆ แล้วเขาต้องเขียนเว้น ยมก เว้น
เพราะส่วนใหญ่ผมก็เห็นเขียนแบบ ยมก เว้น เท่านั้นเอง
ผมเลยเขียนอย่างนี้มาตลอดเลย ^^"
บล็อกของผม: http://sikachu.blogspot.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ในช่องพิมพ์ Comment: ของผมก็มีลักษณะตัวอักษรแบบนั้นแหละ คือตัวมันจะห่างๆ กัน
ตอนแรกว่าจะเข้ามารายงานปัญหาหลังจากทนอยู่นาน พอดีมาเจอกระทู้นี้ซะก่อน เลยขอแจมซะเลย
ปัญหานี้พบบน Firefox + Ubuntu ครับ
คือปกติเมื่อพิมพ์ลงคอมแล้วจะนิยมใช้แบบ "ต่างๆ กัน" ครับ เพราะแบบ "ต่าง ๆ กัน" จะมีปัญหาเรื่องการตัดคำ แต่ผมก็สนับสนุนแบบ "ต่าง ๆ กัน" กันนะครับ ก็เพิ่มความเอาใจใส่อีกนิดหนึ่ง เพื่อภาษาไทยที่ถูกต้องครับ
เข้ามายืนยันครับ คือตามหลักราชการจะใช้เป็น คำ ยมก คำ แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางชนิดมักจะมีปัญหา เช่น ปลาดาว OpenOffice.org จึงเกิดการพิมพ์แบบใหม่เป็น คำยมก คำ ครับ
ตรงนี้ผมคิดว่าแบบที่สามได้รับความนิยมมากอย่างมีนัยยะ ดังนั้นก็ให้ทั้งแบบที่สอง (เว้นหน้าหลัง) กับแบบที่สาม (เว้นหลัง) ครับ
ชัดเจน, รับทราบครับ
ภาษาไทยไม่มี ,
:) อย่าจริงจังนะครับ
ภาษาไทยมี , ครับ ยกตัวอย่าง
คนที่หน้าตาดีใน blognone คาดว่าจะมี คุณsugree ,คุณKeng,คุณlew,คุณMK และคุณplynoi
เอากะเขาด้วย ตามหลักภาษาไทยสมัยเก่า หากมีคำว่าและ จะเขียนลักษณะนี้ครับ
คนที่หน้าตาดีใน blognone คาดว่าจะมี คุณsugree และ คุณKeng คุณlew คุณMK คุณplynoi
เพราะที่จริงแล้วภาษาไทยเก่า จะไม่มีคอมม่า , เพิ่งจะมีตอนที่กวีหัวสมัยใหม่ในยุค ร.๖ นำมาใช้เท่านั้นเอง แล้วจึงนำมาใช้กันเรื่อยมาครับ :)
โห ร.๖ (ผมไม่เคยพิมพ์เลขไทย)
ภาษาไทยมีเครื่องหมายจุลภาค ( , )
วิธีใช้เครื่องหมายจุลภาค อ่านได้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้า (๕)
---------
อ๋อ อยู่บน "ล" นี่เอง
เอ เครื่องหมายจุลภาค เพิ่งจะมีใช้ยุคหลังๆ นี่เองหรือเปล่าครับ? เหมือนเครื่องหมายอัศเจรีย์ แต่ถ้าราชบัณฑิตกำหนดว่ามีแล้ว ก็ต้องถือว่ามีแหละครับ :)
ภาษามีการพัฒนาเรื่อยๆ เนอะ ต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลง :)
ในบรรดาหนังสือราชการยังมีใช้กันอยู่ครับ
โดยทั่วๆไปแล้วการใช้ภาษาไทยของผู้คนต่างๆก็มักจะเว้นวรรคหลักการใช้ไม้ยมกกันมากๆ
เออแฮะ ผมไม่เคยเว้นน่ะ
เว้นหน้าหลัง ผมว่ามันอ่านยากอ่ะ ยากกว่าแบบติดกันหมดอีก อีกอย่าง บนคีย์บอร์ดมันไม่มีปุ่ม 'เว้นวรรคเล็ก' ด้วยเนี่ยซิ
---------- iPAtS
iPAtS
เพิ่งทราบนะเนี่ยว่า ต้องเว้นรอบยมกเลย ปกติก็มักจะต่อว่าคนรู้จักที่มักจะพิมพ์ยมกแล้วไม่วรรคเพราะมันอ่านยากมากเวลาข้อความอยู่รวมๆ กัน
ezybzy.info blog
โดยส่วนตัวนะ ผมคิดว่าการใส่เครื่องหมายเว้นวรรค มันมีผลต่อความหมายและความรู้สึกอยู่บ้าง
ยกตัวอย่างเช่น
ว่าง ๆ
ว่างๆ
ผมเห็นว่าคำแรกนั้น ผู้พูดได้พูดเสียงเอื่อยเฉื่อย เรียบเชียบ แต่ในคำที่สองนั้นผู้พูดต้องการพูดโดยไว และดูห้วนเล็กน้อย
PoomK
เคยส่งหนังสือราชการแล้วโดนส่งกลับให้มาแก้เรื่องไม้ยมก ก็เลยจำและใช้มาถึงทุกวันนี้ครับ (เนื่องจากเข็ด)
เลยแนะนำว่าหากเขียนอะไรที่เป็นทางการน่าจะเว้นทั้งหน้า และหลังไม้ยมกครับ
BioLawCom.De
เคยเรียนพิมพ์ดีด เลยติดนิสัยต้องเว้นวรรคอยู่แล้ว
ที่มา : หลักเกณฑ์การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย
ขนาดของการเว้นวรรค
นึกภาพแป้นคีย์บอร์ดหรือพิมพ์ดีดนะครับ ขนาดของการเว้นวรรคก็คือ การที่เราเคาะแป้น Space Bar นั่นเอง ซึ่งราชบัญฑิตยสถานระบุไว้เป็น 2 ขนาด คือ
วรรคเล็ก ซึ่งมีขนาดเท่ากับตัว ก หรือเท่ากับ 1 เคาะพิมพ์ดีด วรรคใหญ่ มีขนาดเท่ากับ 2 เท่าของตัว ก คือ กก หรือเท่ากับ 2 เคาะ พิมพ์ดีด
ตัวอย่าง
สำหรับ วรรคเล็ก นั้น ในเอกสารทางราชการไม่ได้ระบุว่า เว้นอย่างไร แต่ผมมาเข้าใจภายหลังว่า วรรคเล็ก หรือเว้น 1 เคาะนั้น จะเป็นการเว้นของประโยคต่อเนื่อง หรือความต่อเนื่อง เช่น
สำหรับ วรรคใหญ่ หรือการเว้น 2 เคาะนั้น ในเอกสารต่าง ๆ ผมหาอ้างอิงไม่ได้ (ใครมีขอด้วยนะครับ) แต่ผมทำความเข้าใจจากประสบการณ์ยาวนานว่า ส่วนใหญ่ เว้นวรรคใหญ่จะเว้นก็ต่อเมื่อ
ส่วน ไม้ยมก อยู่ตรงนี้ครับ หลักเกณฑ์การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย (2)
ผมมีแผนจะอัพเดต guideline และ glossary ใหม่ในเร็วๆ นี้ (พร้อมกับการ redesign เว็บ) ถ้ามีข้อเสนออะไรก็ส่งมาได้ครับ
เรื่องการวรรคใหญ่ วรรคเล็กนี่ผมสังเกตว่า เป็นเรื่องตั้งแต่สมัยใช้เครื่องพิมพ์ดีดนะครับ ปัจจุบันการพิมพ์ข้อความบนอินเทอร์เน็ตทั่วไป ไม่มีความแตกต่างระหว่างวรรคเล็กหรือวรรคใหญ่ (ยกเว้นว่าจะพิมพ์ source code)
ที่จริงราชบัณฑิตยสถานน่าจะ revise เรื่องนี้นะ
Don't think, Just read
pittaya.com