นักศึกษาหนุ่มวัย 18 ปี ทำโครงงานส่วนตัวด้วยการผ่ากล้องฟิล์มยุคปี 1970 มาประกอบร่างกับเซ็นเซอร์รับภาพดิจิทัลจากกล้อง Sony NEX5 โดยใช้การพิมพ์สามมิติ (3d printing) สร้างกรอบฝาหลังใหม่ ผลงานทดลองครั้งแรกเผยแพร่ผ่านบล็อกเร็ว ๆ นี้
เรื่องราวจากบล็อกชื่อ FrankenCamera ของ Ollie Baker กำลังเป็นสิ่งฮือฮาในแวดวงคนรักการถ่ายภาพ ด้วยว่านายเบเกอร์ นักศึกษาวัย 18 ปี สร้างโครงการในฝันของนักถ่ายภาพทั่วโลกด้วยการนำกล้อง Konica Auto S3 ซึ่งเป็นกล้องฟิล์มชนิดเร็นจ์ไฟน์เดอร์ (rangefinder) ติดเลนส์คุณภาพสูง (38mm, F1.8) ในอดีต มาประกอบร่างกับเซ็นเซอร์รับภาพของ Sony NEX5 โดยสร้างชิ้นส่วนฝาหลังขึ้นใหม่ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
ผลที่ได้คือ กล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ที่ปรับโฟกัสด้วยมือ และถ่ายภาพด้วยระบบ Shutter Priority เซลวัดแสงแบบดั้งเดิม แต่บันทึกภาพเป็นดิจิทัลโดยตรง ไม่ต้องล้างฟิล์มและสแกนภาพอีกต่อไป มันคือกล้องที่ทำงานแบบเดียวกับกล้อง Leica M ยุคดิจิทัลราคาหลายแสนบาท
นับเป็นตัวอย่างการประยุกต์งานพิมพ์สามมิติเพื่อความเป็นไปได้ของจินตนาการที่ดีมากชิ้นหนึ่ง จึงคิดว่าแฟนข่าวบล็อกนันน่าจะได้อ่านเรื่องราวนี้ด้วยกัน รายละเอียดที่เหลือ เชิญตามไปอ่านจากที่มาครับ
ที่มา : FrankenCamera
Comments
นี่มันนวัตกรรมชัดๆ
โหดสลัด
เข้า kickstarter เหอะ!
my blog
สุดยอดเลย. Wow มากๆๆ
สงสัยครับว่า สีที่ได้จะได้สีแบบกล้องฟิล์มไหมครับเพราะผมชอบสีแบบกล้องฟิล์มมาก
ผมคิดว่าตัวฟิล์มมีผลต่อลักษณะสีของภาพด้วย พอเราตัด Factor นี้ไป สีมันคงไม่เหมือนกล้องฟิล์ม
แต่คิดว่าคงพอจะใช้ post processing ช่วยได้บ้างนะ
โทนสีจากกล้องฟิล์มแตกต่างกัน ขึ้นอยู้กับฟิล์มสีทั่ใช้ครับ
เพราะฟิล์มสีแต่ละยี่ห้อ จะมีลักษณะโทนสีที่แตกต่างกันไป
อ่ะฮ้า..... เดี๋ยวไปค้นก่อน คุ้นๆ ว่าที่บ้านเคยมีกล้องรุ่นนี้ !!!...
38mm, F1.8 นี้สิที่ตำนานกล่าวขาน
ตอนแรกนึกว่าเอามาแต่เซ็นเซอร์แล้วสร้าง logic board เอง แต่นี่ยกมาหมดเลย
แต่ทำแค่นี้ก็ยากแล้วนะ
โอย ตายๆๆ
ทำขายเลยไอ้น้อง
ราคาว่ามาเลย รูด Paypal ให้เดี๋ยวนี้เลย
สุดยอดเลย นวัตกรรมชิ้นนี้ เปิดความคิดให้ต้องกลับไปมองของเก่า ๆ รอบตัวเลย