Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในปัญหาของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัลทั้งหลายต้องเผชิญกันแทบทุกรายคือเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้บางกลุ่ม วงการอีบุ๊กก็เช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าวจึงผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊กบางรายเริ่มนำเทคโนโลยีลายน้ำดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือป้องกันปัญหาการระบาดของอีบุ๊กที่ผิดลิขสิทธิ์

HarperCollins Publishers และ LibreDigital สองผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊กได้ประกาศว่าจะนำเอาเทคโนโลยีลายน้ำดิจิทัลที่มีชื่อว่า Digimarc Guardian Watermarking (พัฒนาโดย Digimarc) มาใช้งาน โดยลายน้ำดังกล่าวจะไม่แสดงผลหรือรบกวนการอ่านอีบุ๊ก (ทั้งที่ผู้ใช้ได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตามที) หากแต่มันจะเป็นเครื่องมือที่ผู้จัดจำหน่ายสามารถใช้ติดตามแกะรอยแหล่งเผยแพร่อีบุ๊กโดยวิธีการที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเข้ายับยั้งปัญหาอีบุ๊กเถื่อนได้โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการไล่ตามจับและสืบสวนย้อนจากผู้ใช้ที่ถือครองอีบุ๊กเถื่อน

ทั้ง HarperCollins Publishers และ LibreDigital ต่างก็ตั้งความหวังไว้กับเทคโนโลยีลายน้ำ Digimarc Guardian Watermarking นี้ไว้มาก ก็ต้องรอดูกันว่าในการใช้งานจริงจะช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อีบุ๊กได้ขนาดไหน

ที่มา - Ubergizmo

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 17 September 2014 - 01:20 #743144
panurat2000's picture

หนึ่งในปัญหาของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัลทั้งหลายต้องเผชิญกันแทบทุกราย

ของผู้ผลิต => ที่ผู้ผลิต

ด้วยเหตุดังกล่าวจึงผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊กบางรายเริ่มนำเทคโนโลยีลายน้ำดิจิทัลมาใช้

ด้วยเหตุดังกล่าวจึงผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊กบางรายเริ่ม => ด้วยเหตุดังกล่าวผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊กบางรายจึงเริ่ม

By: Adios2nd
iPhoneWindows PhoneWindows
on 17 September 2014 - 02:30 #743154
Adios2nd's picture

ข่าวต่อไป ชุมชนโจรสลัดออกเครื่องมือถอดลายน้ำดิจิตัล

By: jaideejung007
ContributorWindows PhoneWindows
on 17 September 2014 - 09:57 #743199 Reply to:743154
jaideejung007's picture

ไม่แน่นะ

By: 44244
iPhone
on 17 September 2014 - 02:56 #743156

Print to PDF printer...

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 September 2014 - 03:33 #743159 Reply to:743156
mr_tawan's picture

น่าจะทำได้เฉพาะกับไฟล์ pdf แต่ว่ากับพวกไฟล์ epub นี่คงใช้ไม่ได้ผล

แต่ไฟล์ epub นี่ก็ถอดออกง่ายมากอยู่ดี (มันเป็น html ใน zip)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: gosol
AndroidWindows
on 17 September 2014 - 10:06 #743206
gosol's picture

กด printscreen(หรืออะไรที่ดีกว่านี้) แล้วรวมเล่มเวอร์ชั่นไร้ลายน้ำก็จบแล้ว

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 17 September 2014 - 10:36 #743225 Reply to:743206
tekkasit's picture

อันนั้นน่าจะไม่รอดครับ ส่วนใหญ่ watermark แบบนี้มีหลายวิธีผสมผสานกัน เช่น ฝังรหัสประจำตัวใน metadata ที่มองไม่เห็น เช่น ชื่อรูปภาพ/ไฟล์เอกสาร ฝังไว้ในคอมเมนต์ แก้ชื่อลิงก์ หรือใส่ไว้ใน EXIF ซึ่งวิธีนี้กันกรณีก็อปไฟล์ไปแจกๆ ซึ่งพวกนี้ทำแบบที่ว่าก็อาจจะรอดครับ

อีกวิธีคือ แอบเอารหัสไปโปรยๆ แทรกๆ ในเอกสาร ตามขอบๆ หรือแม้แต่ซึ่งวิธีนี้ถ่ายรูปเอาก็ติดไปด้วยครับ โดยอาจจะเลือกที่ไปโปรย ให้ไม่โจ่งแจ้งนัก ก็อาจหลุดรอดสายตาคนธรรมดาได้ครับ

By: jane
AndroidUbuntu
on 17 September 2014 - 10:30 #743227 Reply to:743206
jane's picture

อาจจะเป็นการดัดแปลงรูปตัวอักษรบางตัว ให้บิดเบี้ยวเล็กน้อยจนเราสังเกตไม่ได้

ถ่ายเอกสารมา ก็ image processing กลับได้อยู่ดี

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 17 September 2014 - 12:45 #743328 Reply to:743227
hisoft's picture

OCR เลยครับ!

เมื่อวานผมลองใช้ Office Lens ถ่ายภาพเอกสารหน้านึง หาจุดผิดไม่เจอเลยครับ - -"