Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Microsoft AI (อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ที่ย้ายมาจาก Inflection AI) ให้สัมภาษณ์สื่อ CNBC มีประเด็นที่ดราม่าคือ Suleyman บอกว่าเนื้อหาใดๆ บนเว็บสามารถนำมาใช้เทรน AI ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของก่อน
เขาบอกว่าเนื้อหาที่อยู่บนเว็บแบบเปิดอยู่แล้ว เป็นข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่อินเทอร์เน็ตยุค 90s ว่าสามารถนำมาใช้แบบ fair use ได้ ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกไปใช้งาน นำไปสร้างสรรค์ผลงานใหม่ มันคือฟรีแวร์
ส่วนเนื้อหาอีกจำพวก ที่ระบุบนเว็บไซต์หรือโดยผู้จัดพิมพ์ สำนักข่าว อย่างชัดแจ้งว่าห้ามดูดข้อมูลไปใช้งานในทุกกรณี ยกเว้นนำไปทำดัชนีค้นหา เขามองว่าเป็นพื้นที่สีเทาที่ต้องหาทางออกผ่านกระบวนการศาล
กลุ่มค่ายเพลงในสหรัฐฯ นำโดยสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริก (RIAA) ยื่นฟ้องบริษัทปัญญาประดิษฐ์สร้างเพลง Suno และ Udio ที่ให้บริการสร้างเพลงตามพรอมพ์ที่ผู้ใช้ใส่เข้าไป
แม้คดีจะคล้ายกัน แต่ค่ายเพลงก็ยื่นฟ้องคนละศาล โดย Suno ถูกฟ้องที่ศาลแขวงรแมสซาชูเซตส์ ขณะที่ Udio ถูกฟ้องที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
ก่อนหน้านี้แอปเปิลประกาศว่า App Store จะเปิดให้แอปอีมูเลเตอร์ลงสโตร์ได้ ซึ่งนักพัฒนาต้องรับผิดชอบส่วนซอฟต์แวร์เกมที่ให้ดาวน์โหลดทั้งหมด จึงคาดเดาว่านินเทนโดน่าจะดำเนินการฟ้องแอปอีมูเลเตอร์ที่มีอยู่บ้าง
ล่าสุดมีกรณีการเกือบถูกฟ้องร้องของผู้พัฒนาแอปอีมูเลเตอร์แล้ว แต่คนฟ้องไม่ใช่นินเทนโด โดย Delta แอปอีมูเลเตอร์ยอดนิยมตัวหนึ่งบน App Store ตอนนี้ ถูกทนายของ Adobe ยื่นคำเตือน ว่าโลโก้แอปนั้นคล้ายกับโลโก้ตัว A ของ Adobe และให้เปลี่ยนโลโก้ นอกจากนี้ Delta ก็ได้รับคำเตือนจากแอปเปิล ซึ่งอ้างเหตุผลของ Adobe เช่นเดียวกัน
Sony Music หนึ่งในค่ายเพลงรายใหญ่ของโลก ได้ทำหนังสือไปยังบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทให้บริการเพลงสตรีมมิ่งมากกว่า 700 แห่ง เพื่อเตือนว่าห้ามนำเพลงที่บริษัทดูแลลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย ไปใช้เทรน AI โดยไม่ได้รับอนุญาต
ในเอกสารดังกล่าวนี้ Sony Music บอกว่าบริษัทสนับสนุนศิลปินและนักแต่งเพลง ในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยสนับสนุนการผลิตผลงาน เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนแปลงวงการความคิดสร้างสรรค์ได้ ซึ่ง AI ก็ดูเป็นกระแสที่กำลังมาในตอนนี้ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมย่อมต้องมาพร้อมกับคุ้มครองสิทธิของศิลปินและนักแต่งเพลงด้วยเช่นกัน
หนังสือพิมพ์ The New York Times (NYT) ยื่นฟ้องไมโครซอฟท์และ OpenAI ฐานใช้งานบทความของหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งการใช้งานไปในชุดข้อมูลสำหรับฝึก LLM และตัว ChatGPT/Copilot เองก็ตอบบทความแทบทั้งบทความของ NYT ออกมาให้ผู้ใช้ได้
ดราม่าระหว่างบริษัท dbrand กับ Casetify ยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจาก dbrand ออกมาแฉว่า Casetify นำภาพของตัวเองไปใช้ทำเคสมือถือขาย
ล่าสุด dbrand ออกมาแฉซ้ำสองว่า Casetify ไม่ได้ขโมยภาพจาก dbrand เพียงรายเดียว แต่ยังขโมยภาพจาก iFixit บริษัทขายอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
กรณีนี้คือเคสรุ่น X-Ray Case ของ Casetify ที่เป็นลายเหมือนภาพเอ็กซ์เรย์ภายในของโทรศัพท์มือถือ นำภาพมาจากภาพเอ็กซ์เรย์ในบทความของ iFixit แล้วกลับด้านซ้ายขวาเอา (แถมยังเป็นภาพของมือถือคนละรุ่นกันอีกต่างหาก)
dbrand บริษัทผลิตเคสโทรศัพท์ ประกาศฟ้อง Casetify ในข้อหา ลอกเลียนแบบเคสและสกิน Teardown ที่มียูทูบเบอร์อย่าง JerryRigEverything เป็นผู้ร่วมออกแบบ ที่นำเอาองค์ประกอบภายในของโทรศัพท์รุ่นต่าง ๆ มาใส่เป็นด้านหลังของเคส ซึ่ง Casetify จะใช้ชื่อเคสว่า Inside Out
กลุ่มนักเขียนนิยายชื่อดัง 17 ราย ร่วมกับสมาคมนักเขียน (Authors Guild) ยื่นฟ้อง OpenAI ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ นำนิยายของนักเขียนเหล่านี้ไปเทรน AI โดยไม่ได้รับอนุญาต
ตัวอย่างนักเขียนชื่อดังที่เข้ามาร่วมฟ้องได้แก่ George R. R. Martin ผู้เขียน Game of Thrones, John Grisham, Guild President Scott Turow, Jodi Picoult เป็นต้น ในคำฟ้องระบุว่า OpenAI นำงานเขียนไปเทรน AI โดยไม่ได้รับอนุญาต ผลคือ AI สามารถสรุป เลียนแบบ ปรับแต่งงานของนักเขียนเหล่านี้ได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของนักเขียนกลุ่มนี้
ทาง OpenAI ออกแถลงการณ์ว่าเคารพในการตัดสินใจของกลุ่มนักเขียน บริษัทพยายามพูดคุยทำความเข้าใจกับนักเขียนทั่วโลก และหวังว่าจะหาวิธีทำงานร่วมกันได้
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Copilot Copyright Commitment ปกป้องลูกค้าที่ใช้บริการในกลุ่ม Copilots จากการฟ้องร้องลิขสิทธิ์ ครอบคลุมตั้งแต่ Bing Chat Enterprise, Microsoft 365 Copilot, และ GitHub Copilot
ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะช่วยจ่ายค่าเสียหายทั้งจากการตัดสินคดีหรือการตกลงนอกศาล หากผู้ใช้ใช้งาน Copilot โดยเปิดฟีเจอร์ป้องกันต่างๆ เช่น guardrails และ content filter ครบถ้วนแล้ว โดยฟีเจอร์เหล่านี้ควรกรองผลคำตอบต่างๆ ที่อาจจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ออกไปแล้วก่อนใช้งาน
Sony Music Entertainment ยื่นฟ้องต่อศาลเมืองฮัมบูร์ประเทศเยอรมนีให้สั่งให้ Quad9 ผู้ให้บริการ DNS แบบไม่หวังผลกำไร บล็อคโดเมน Canna.to ที่เป็นเว็บแชร์ไฟล์ระเมิดลิขสิทธิ์ชื่อดัง ออกจากบริการทั้งโลก แม้ทาง Quad9 จะยอมบล็อคโดเมนนี้สำหรับผู้ใช้ในเยอรมนีแล้วก็ตาม
คดีนี้อยู่ระหว่างการต่อสู้กับ และทาง Quad9 บล็อคโดยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (injunction) โดยบล็อคจากข้อมูล geo IP เพื่อตรวจว่าผู้ใช้นั้นใช้งานจากเยอรมนี แต่ทาง Sony ก็ฟ้องว่าผู้ใช้ในเยอรมนียังเข้าถึงโดเมนนี้ได้ หากใช้ VPN และหากใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบางราย
ทาง Quad9 พยายามต่อสู้ว่าตนเองเป็นเพียงบริการ DNS ไม่ได้โฮสต์คอนเทนต์ผิดลิขสิทธิ์ใดๆ ไว้กับตัวเอง
นักเขียนนิยาย 2 คนคือ Mona Awad และ Paul Tremblay ยื่นฟ้อง OpenAI ในข้อหานำนิยายไปใช้เทรนโมเดลโดยไม่ได้รับคำอนุญาต
นักเขียนทั้งสองคนระบุในคำฟ้องว่า ChatGPT สามารถสรุปเนื้อหาในนิยายของพวกเขาออกมาได้อย่างแม่นยำ (ตัวอย่างจากในคำฟ้อง) จึงเชื่อว่านิยายถูกนำไปใช้เทรนโมเดล และกลายเป็น OpenAI ได้รับผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้สร้างเนื้อหา ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
The National Music Publishers' Association (NMPA) ซึ่งเป็นสมาคมผู้จัดจำหน่ายเพลงของสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นฟ้องร้อง Twitter เรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่าราว 250 ล้านดอลลาร์ จากประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง
NMPA ได้ทำการฟ้องร้องในนามของบริษัทผู้จัดจำหน่ายเพลง 17 แห่ง ซึ่งต่างก็เป็นตัวแทนของศิลปินชื่อดังมากมายในอุตสาหกรรมเพลง โดยทำการฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางใน Tennessee
Generative AI ถูกนำมาสร้างสรรค์ผลงานทั้งในวงการศิลปะ, ภาพยนตร์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเพลง แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอัลบั้มเพลงที่ถูกสร้างจาก AI ให้เลียนแบบเสียงของศิลปินชื่อดัง ที่มีชื่ออัลบั้มว่า UTOP-AI มีเพลงอยู่ในอัลบั้ม 16 เพลง ซึ่งรวมเสียงของศิลปินอย่าง Travis Scott, Drake, Baby Keem, และ Playboi Carti เป็นต้น ได้ถูกอัปโหลดขึ้น Youtube และ SoundCloud
ประเด็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานกับ AI สร้างเนื้อหาหรือ Generative AI ในมุมมองการถูกละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ถูกขยายผลไปในหลายวงการ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นในวงการเพลง เมื่อ AI สามารถเลียนแบบเสียงศิลปินไปได้ไกลมากขึ้น
เรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อในโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีการปล่อยเพลง Heart on My Sleeve ที่ร้องด้วยศิลปินที่สร้างเสียงขึ้นด้วย AI โดยอาศัยข้อมูลเสียงของ Drake และ The Weeknd ตอนนี้เพลงดังกล่าวถูกลบออกแล้วทั้งจากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ และ TikTok แต่อาจพอหาฟังได้จากคลิปที่ยังไม่ได้ลบ โดยตัวเลขนั้นเพลงถูกสตรีมไปเกือบล้านครั้ง
ต่อจากข่าว Getty Images ยื่นฟ้องศาลอังกฤษ ต่อบริษัท Stability AI ข้อหานำภาพไปเทรน AI โดยไม่ขอลิขสิทธิ์ ล่าสุด Getty Images ฟ้องคดีแบบเดียวกันในสหรัฐอเมริกาด้วย
ในคำฟ้องของ Getty Images ระบุว่าบริษัท Stability AI ขโมยภาพ 12 ล้านภาพรวมถึงข้อความอธิบายภาพ (เพื่อนำไปสอน AI) จากเว็บไซต์ Getty Images และ iStock ไปใช้งานเทรนโมเดล Stable Diffusion โดยไม่ขออนุญาต
Getty Images ประกาศยื่นฟ้องบริษัท Stability AI ผู้สร้างโมเดล Stable Diffusion ต่อศาลลอนดอน ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพในสังกัดของ Getty Images นับล้านภาพ เพื่อนำไปใช้เทรนโมเดลของตัวเอง
Getty Images ยังแสดงจุดยืนว่าเทคโนโลยี AI มีอนาคตต่อวงการสร้างสรรค์ แต่ถ้าอยากได้ภาพไปเทรนก็มีแพ็กเกจเฉพาะงานลักษณะนี้ขายด้วย ซึ่ง Stablility AI ตั้งใจเพิกเฉยและนำภาพมาใช้โดยไม่มีลิขสิทธิ์
คดีนี้เป็นอีกคดีต่อเนื่องจาก กลุ่มนักวาดรวมตัวกันฟ้อง Stability AI ด้วยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพเช่นกัน
ที่มา - Getty Images
ศิลปินและนักวาดกลุ่มหนึ่ง ยื่นฟ้องบริษัทด้าน AI สายวาดภาพคือ Stability AI, DeviantArt, Midjourney ที่ใช้อัลกอริทึม Stable Diffusion สร้างภาพวาด ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
Stable Diffusion เป็นเอนจิน AI ของบริษัท Stability AI ออกมาในเดือนสิงหาคม 2022 โดยเรียนรู้จากภาพวาดนับล้านบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้บอกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนำภาพไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้วาดก่อน
ผู้ฟ้องคดีนี้ประเมินว่า Stable Diffusion เรียนรู้จากภาพจำนวน 5 พันล้านภาพ หากคิดความเสียหายภาพละ 1 ดอลลาร์ มูลค่าจะสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ และเชิญชวนให้ศิลปินคนอื่นๆ มาร่วมฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ด้วยกัน
Riot Games ฟ้องบริษัทเกมจีน NetEase ในข้อหาลอกหลายอย่างของเกม Valorant ไปใช้กับเกม Hyper Front ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร แผนที่ อาวุธ เป็นต้น
Hyper Front เป็นเกมยิงแบบ 5v5 เหมือน Valorant แต่มีเฉพาะบนมือถือ
Riot Games ยื่นฟ้องศาลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมนี บราซิล สิงคโปร์ ฯลฯ ซึ่งคำฟ้องระบุว่าเคยติดต่อ NetEase ให้แก้ไขแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนนิดๆ หน่อยๆ แต่ภาพรวมยังเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดิม ในคำฟ้องจึงขอให้ศาลสั่งปิดเกม Hyper Front ไปเลย
ระบบตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และเพลงของ Twitter ใช้งานไม่ได้ ทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากโพสต์เธรดภาพยนตร์ทั้งเรื่องลงบนแพลตฟอร์ม ซึ่ง The Verge คาดว่าที่ระบบใช้ไม่ได้ส่วนหนึ่งมาจากที่มีพนักงานลาออกจากบริษัทหลายร้อยคน
มีผู้ใช้รายหนึ่งโพสต์เธรดภาพยนตร์ Avatar (2009) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน จนมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน Twitter ก็ยังไม่ได้จัดการกับโพสต์ดังกล่าว รวมถึงมีผู้โพสต์ภาพยนตร์เรื่อง The Fast and the Furious: Tokyo Drift ด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้ Avatar ได้ถูก Twitter ลบไปแล้วเพราะปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ส่วนบัญชีที่โพสต์ The Fast and the Furious ถูกระงับชั่วคราวซึ่งไม่แน่ว่ามาจากเรื่องลิขสิทธิ์หรือไม่
Adrian Kwiatkowski แฮคเกอร์ชาวอังกฤษถูกตัดสินจำคุก 18 เดือน โดยยอมรับผิดใน 19 กระทงฐานขโมยทรัพย์สิน และละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หลังจากแฮคเอาเพลงที่ยังไม่ปล่อยในขณะนั้นของ Ed Sheeran และเพลงของ Lil Uzi Vert แรปเปอร์อเมริกันอีก 12 เพลง นำไปขายในเว็บมืดเพื่อแลกกับเงินคริปโตมูลค่า 131,000 ปอนด์
อัยการสหราชอาณาจักรระบุว่า Kwiatkowski ได้แฮคบัญชีใช้งานของศิลปินที่ใช้สำหรับระบบเก็บข้อมูลบนคลาวด์ โดยจากการตรวจค้นหลังการจับกุม พบว่าแฮคเกอร์มีเพลงที่ยังไม่ปล่อยของศิลปิน 89 คนรวมกัน 1,263 เพลงอยู่ในครอบครอง ทั้งนี้ไม่มีการระบุชื่อว่าผู้ให้บริการคลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับการแฮคครั้งนี้คือรายใด
OpenSea เว็บไซต์ซื้อขาย NFT รายใหญ่ของโลก ประกาศปรับปรุงระบบการตรวจสอบไฟล์ภาพที่ถูกทำสำเนาหรือดัดแปลงอย่างไม่ถูกต้องเพื่อมาทำ NFT (copyminting) รวมถึงระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ที่ดีกว่าเดิม
ฝั่งการป้องกัน copyminting ใช้ทั้งซอฟต์แวร์ image recognition ไล่ตรวจภาพทั้งหมดในระบบ และเช็คได้ว่าเป็นภาพที่กลับด้าน หมุน หรือดัดแปลงแบบอื่นๆ กับใช้แรงคนช่วยตรวจสอบว่าถูกต้องแค่ไหน การตรวจสอบจะมีผลกับทั้งภาพเก่าในระบบ และภาพใหม่ที่ถูกส่งเข้ามา
DuckDuckGo เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวได้ถอดเว็บไซต์ปล่อยคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube หลายเว็บออกจากผลการค้นหา
TorrentFreak รายงานว่า เว็บไซต์ที่ถูกถอดจากผลการค้นหา DuckDuckGo มีทั้ง The Pirate Bay, 1337x, Fmovies และ youtube-mp3 โดยทางเว็บไซต์ระบุว่า DuckDuckGo ถอดเว็บเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาทุกประเทศ
นอกจาก DuckDuckGo แล้ว Google เองก็ต้องลบผลการค้นหาเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน (แต่กรณี Google เป็นแค่บางประเทศ) และคาดกันว่า DuckDuckGo น่าจะโดนแจ้งเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จึงทำให้ต้องนำเว็บไซต์กลุ่มนี้ออกจากผลการค้นหา
Wired UK มีบทความเล่าถึงปัญหาของ OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ แต่การเติบโตที่รวดเร็วก็ตามมาซึ่งปัญหามากมาย ทั้งเรื่องชิ้นงานปลอม-ก๊อปปี้มา, พนักงานทุจริต และช่องโหว่ความปลอดภัย
Wired ชี้ว่าเหตุผลสำคัญเกิดจาก OpenSea เติบโตเร็วมาก เพราะเลือกแนวทางเร่งโตจากการเปิดให้สร้าง (mint) NFT ฟรี จนเจอปัญหาการสเกลทั้งโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรคนไม่ทัน บริษัทเพิ่งมีผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัย (Chief Security Officer) คนแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2021 นี้เอง
Cent แพลตฟอร์มประมูล NFT (เคยเป็นที่ประกาศขาย NFT ข้อความทวีตแรกของโลก) ประกาศหยุดการทำธุรกรรมเกือบทั้งหมดชั่วคราว หลังเจอปัญหาว่างาน NFT ส่วนใหญ่เป็นของปลอม ของก๊อปปี้ ของละเมิดลิขสิทธิ์
Cameron Hejazi ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Cent ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่านี่เป็นปัญหาระดับโครงสร้างของวงการ NFT เลยทีเดียว โดยปัญหาแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ขาย NFT ที่ก็อปปี้มา, นำเนื้อหาที่ไม่ใช่ของตัวเองมาทำ NFT, และขายชุดของ NFT ที่มีลักษณะคล้ายหลักทรัพย์
Hejazi บอกว่า Cent พยายามแบนบัญชีผู้ใช้ที่มีปัญหา แต่ก็เป็นเกมแมวไล่จับหนูไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น แม้ว่า Cent เป็นแพลตฟอร์ม NFT รายเล็กที่มีผู้ใช้ราว 150,000 คนเท่านั้น
บริษัทสำนักพิมพ์การ์ตูนรายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง โคดันชะ, ชูเอชะ, โชกะคุคัง และ คาโดคาวะ เตรียมรวมตัวกันฟ้องผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง Cloudflare ที่ศาลเขตโตเกียวในสัปดาห์นี้ ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฮสต์เว็บไซต์ที่เปิดให้อ่านการ์ตูนเถื่อน มียอดวิวรวมกันกว่า 300 ล้านวิว และมีการ์ตูนกว่า 4,000 เรื่อง โดยจะเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านเยน หรือราว 115.5 ล้านบาท