กลุ่มนักวิจัยจาก University of Central Florida ในสหรัฐอเมริกาและ Eindhoven University of Technology ของเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมมือกันทำงานวิจัยทดสอบการส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิลใยแก้วและทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 255Tbps ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากพอจะรองรับปริมาณการไหลเวียนสูงสุดของข้อมูลในอินเทอร์เน็ตของทั้งโลกได้เลย
ความเร็วที่ว่าสูงของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเส้นใยนำแสงนั้นอยู่ที่ราว 100Gbps เท่านั้น แต่การทดสอบนี้ให้ความเร็วที่สูงกว่าเป็น 2,550 เท่า ซึ่งในการทดสอบได้มีการส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิลใยแก้วแบบ 7 แกน (หมายถึงสายเคเบิลเส้นเดียวมีเส้นใยนำแสง 7 เส้นแยกออกจากกันอยู่ภายใน) ที่จัดเรียงกันเป็นภาพหน้าตัดแบบหกเหลี่ยม โดยมีความยาวของสายเคเบิล 1 กิโลเมตร
ทีมวิจัยได้อาศัยเทคนิคการส่งข้อมูล spatial multiplexing เพื่อเพิ่มปริมาณข้อมูลที่คลื่นพาหะรองรับได้จนถึง 5.1Tb และใช้เทคนิค wavelength division multiplexing เพื่อบีบคลื่นพาหะจำนวน 50 ชุดให้มีขนาดเล็กลงและเคลื่อนที่ผ่านแกนทั้ง 7 ของสายเคเบิลใยแก้ว
ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีเครือข่ายที่สักวันคงได้นำมาใช้งานจริงเพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณการใช้ข้อมูลของผู้คนทั่วโลก
ที่มา - ExtremeTech
Comments
ผมนี้ยืนขึ้นเลย
ของผมอยากให้มันวิ่ง up10down10 แบบนิ่งๆก็ดีใจแล้วครับ
เทคโนโลยีพวกนี้แหละครับที่จะช่วยให้มันเป็นแบบนั้นได้
bandwidth ทำไมถึงเรียกว่าความเร็ว
อยู่ที่ว่ามองคำนี้ในบริบทไหนครับ
ถ้า ดิจิตอลมันจะมีความหมายเป็น data rate จะใช้ความเร็วก็ไม่ผิดครับ
ถ้า อนาลอก มันจะกลายเป็นความกว้างของช่องสัญญาณไป ประมาณนี้ครับ
มาลงชื่อไว้ก่อน
อีก 10 ปีข้างหน้า ถ้า blognone ไม่หายไปไหน จะกลับมาดูอีกรอบว่ามีการนำไปใช้จริงได้แล้วยัง
ขอลงชื่อไว้ด้วยคน อีก10ปีค่อยมาเปิดดูอีกที เคยฮาตอนHi5 ไปแล้ว
ขอลิ้งคราบ
oh my god!!!!!
แล้วจะรอครับ
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ