จากข่าว BBC เปิดโปง สภาพชีวิตคนงานผลิต iPhone 6 ของ Pegatron ย่ำแย่มาก เมื่อผู้บริหารของแอปเปิลทราบเรื่องนี้ก็ส่งอีเมลชี้แจงถึงพนักงาน อีเมลฉบับที่หลุดออกมาสู่สาธารณะเป็นของ Jeff Williams ผู้บริหารแอปเปิลด้านปฏิบัติการ โดยเขาระบุว่าซีอีโอ Tim Cook รู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก (deeply offended) กับการที่ BBC บอกว่าแอปเปิลผิดสัญญาต่อพนักงานในสายการผลิต
Williams ยังบอกว่าแอปเปิลให้ข้อมูลหลายอย่างกับ BBC แต่กลับไม่ถูกนำไปพูดถึงในรายการ และเขาชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังนี้
Williams ขอให้พนักงานแอปเปิลมั่นใจว่าแอปเปิลใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ และจะพยายามปรับปรุงแก้ไขอย่างเต็มที่จนกว่าแรงงานในสายการผลิตทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ฝั่งของทีมสารคดี BBC Panorama ออกมาให้ข้อมูลอีกด้านในประเด็นเรื่องเหมืองแร่ว่า แอปเปิลเคยให้ข้อมูลว่าใช้แร่จากอินโดนีเซีย แต่ไม่เคยยืนยันว่าใช้แหล่งแร่ที่ถูกกฎหมาย ทีมงานของ BBC เป็นฝ่ายพบหลักฐานเรื่องนี้ และแจ้งแอปเปิลไปเมื่อ 2 เดือนก่อน ซึ่งแอปเปิลให้ข้อมูลพื้นฐานกับ BBC จริง แต่ปฏิเสธไม่ยอมให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ออกหน้ากล้อง
ที่มา - Business Insider, BBC
Comments
โธ่ มามัวแต่จับผิด apple อยู่ได้ ที Samsung ไม่เห็นไม่จับผิดมั่ง ชาวบ้านเขาก็ไม่เห็นว่าจะดีกว่า apple เลย เขาไม่เคยลอกใครเลยนะ คิดเองตลอด เป็นผู้นำเสมอไม่ว่ายามหลับยามตื่น
สาวกเกรด D ได้เคยกล่าวไว้ในเวปบอร์ดคุณตะพาบ
อันนี้ตอบจริงๆล่ะ พวก Supply chain นี่ดูแลยากมากๆครับ มันมีวิธีหลบเยอะมากเพราะไปฝากคนโน้นคนนี้เข้าได้ แต่ผมว่ามันมีวิธีดูอยู่แล้วครับ ถ้าคนในไม่ยอม คนนอกจะยัดเข้ามาได้ยังไง
พูดยากครับ ต่อให้คุมจริง ตอนตรวจเค้าก็แค่ผักชีโรยหน้าให้เห็น พอไม่ได้ตรวจก็กลับเป็นเหมือนเดิม ตราบใดที่ไม่ได้เป็นบริษัทตัวเองคุม 24 ชม มันคุมไม่ได้อยู่แล้วครับ
ตรรกะเหมือนกับที่ Apple ฟ้อง Samsung อยู่ได้ มือถือจีนเหมือนทุกสัดส่วนกลับไม่ฟ้อง ก็ทำแล้วมันคุ้มค่ากว่า เค้าเลยมาจับผิด Apple นะสิครับ
แล้วถ้าซัพพลายเชนดูแลยาก ตั้งโรงงานเองทำเองเลยสิ ไม่ใช่ปากก็บอกตัวเองดูแลดีแต่ตอดจนโรงงานเจ๊ง
ขอขำคำว่าคิดเองตลอด อันนี้ประชดหรือเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ ครับ
เข้าใจว่าคุณ jakapong ประชดนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
"ถ้าซัพพลายเชนดูแลยาก ตั้งโรงงานเองทำเองเลยสิ ไม่ใช่ปากก็บอกตัวเองดูแลดีแต่ตอดจนโรงงานเจ๊ง"
งั้นเครื่องอาจจะแพงขึ้นเกือบเท่าตัวแล้วจะมีคนซื้อมั๊ยครับ ? ไม่แค่ Apple แต่ทุกยี่ห้อ ถ้าไม่ซื้อเพราะแพงแสดงว่าผู้ใช้สนับสนุนให้มีการกดขี่แรงงานเหมือนกันสินะครับ? ถ้าจะอ้างแบบนี้ก็ควรถามตัวเองด้วยว่าถ้าเครื่องมันแพงกว่านี้เท่าตัวหรือหลายเท่าตัว คุณจะซื้อของถูกที่กดขี่แรงงานหรือซื้อของแพงที่ไม่กดขี่แรงงาน
"การกดขี่แรงงาน" ไม่ใช่คำตอบทุกอย่างของ "การทำให้สินค้าราคาถูก" นี่ครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ข้างหนึ่งก็ ad ว่าเราทำใด้แล้ว
พอตรวจสอบก็บอกว่าถูกทำร้าย ... เราส่งคนไปดูรู้แล้ว แต่ก็ทำดีที่สุดแล้ว ??? โม้เต็มๆ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ตอนอ่านพาดหัวผมเข้าใจว่า Tim Cook เจ็บปวดเพราะสงสารแรงงานนะ แต่พอมาอ่านเนื้อข่าวนี่คือเจ็บปวดจากการนำเสนอของ BBC นี่นา
+1 ตอนแรกเข้าใจว่าอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เฉลียวใจเลยเข้ามาอ่านรายละเอียด ' w')a
deeply offended แปลว่าถูกล่วงเกินถูกก้าวร้าวใส่ อะไรแบบนั้นแหละครับ
ซึ่งอ่านตอนแรกก็เข้าใจว่าทิมคุกรวดร้าวสงสารแรงงานอะไรประมาณนั้นแหละ
ควรแก้หัวข่าวมั้ยครับ @mk
+1 deeply offended ควรแปลว่ารู้สึกรังเกียจ(สิ่งที่bbcทำ)เป็นอย่างมาก --offensive=น่าเกลียด น่ารังเกียจ ไม่น่าจะใช่เจ็บปวด(hurt)นะครับ
ปรกติครับ ไม่มีใครอยากโดนเปิดโปงหรอก ส่วนใหญ่อยากให้ไช้ข้อมูลเท่าที่ตกแต่งมาแล้วเท่านั้นในการเสนอข่าว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Deeply offended นี่ผมนึกภาพเป็นโดนดูถูกหรือว่าร้ายอย่างรุนแรงแฮะ (น่าจะใกล้ๆกันเนอะครับ)
+1 ครับ
โดนจับได้ก็คงรู้สึก offended แหละครับ เพราะตัวเองเป็นคนพูดเองว่าด้านนี้ดีกว่าเจ้าอื่นๆ
ถ้าอยากแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง แอปเปิ้ลควรส่ง ผู้ตรวจการแอปเปิ้ล ให้พวกเขาเหล่านั้นออกไป นอน กิน ทำงานร่วมกับคนงานของแต่ละโรงงานเลย จะไปเป็นแบบสายลับ หรือเปิดเผยก็ได้ ขอแค่ให้แอปเปิ้ลมีหูมีตาอยู่ในทุกจุด จะได้แก้ปัญหาเรื่องเอาเปรียบแรงงานได้ฉับไวและทั่วถึง
แต่จะว่าไป 1400 คนนี้ก็เยอะแล้วนะ BBC เลือกโรงงานที่แอปเปิ้ลหละหลวมได้แม่นมาก
ไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไรนี่ครับ เขาให้เปลี่ยนพอร์ตชาร์จให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมนี่แอปเปิลยังเฉย โซนี่ี่โนเกียมือถือจีนเขาก็ตามหมด
แซมซุงกับโมโตโรล่าฟ้องที่แอปเปิ้ลลอกเลียนแบบสิทธิบัตรในอเมริกา แต่ก็ไม่ชนะ
สายชาร์ตของแอปเปิ้ลก็ไม่ยอมทำตามค่ายอื่น
แรงงานทาส
คดีกีดกันทางการค้าอื่นๆของแอปเปิ้ลอีกหลายอย่าง อย่างหนังสือกับเพลง
ถ้าติดตามใน blognone.com ตลอดน่าจะเข้าใจ
ไม่เส้นใหญ่จริงคงทำไม่ได้ครับ
ปล.ผมไม่ได้เกลียดแอปเปิ้ลนะครับ ซื้อไอแพดมาสองรุ่นแล้ว แค่รู้สึกว่าหลายๆอย่างมันไม่ถูกต้อง
ความจริงก็คือเสียใจที่ไม่ทำพอร์ต micro usb เหมือนกัน
ครั้งแรกที่ทราบข่าวก็เสียใจนะที่ไม่เอามาตรฐาน แต่พอได้จับของแม่แล้วก็เข้าใจเลยว่าใช้ง่ายกว่าของ Micro USB จริงๆ ไม่ต้องเล็งก็เสียบชาร์จได้ง่ายๆ ผมจึงยอมรับได้นะสำหรับเรื่องนี้
เพิ่งมาเป็นยุคทิมคุกสินะ
ถ้าตั้งใจจะแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงๆนะ ตั้งกล้องที่โรงงานนั่งดูที่ออฟฟิศยังได้เลย
ข่าวต่อไป: Apple เตรียมตอบโต้โดยการไม่ส่งอุปกรณ์ให้ BBC ทดสอบ รวมทั้งไม่อนุญาตให้นักข่าวของ BBC เข้าร่วมงานแถลงข่าวและงานสัมนาใดๆ ของ Apple อีก
ถ้าแอปเปิ้ลย้ายฐานการผลิตมาเป็น USA แทนรับรองหมดปัญหานี้ เพราะใช้แรงงานเกิน กม. กำหนดก็โดนแรงงานรวมตัวกันฟ้องเลยทันที แต่แน่นอนปัญหาที่ตามมาก็คือ กำลังผลิตหายวับ ค่าใช้จ่ายการผลิตพุ่ง อาจมีการตบตีแย่งไอโฟนกันอย่างบ้าเลือดกว่าเดิมแทน ตามด้วยกำไรลดฮวบ เจ๊งต่อ
เอาจริงๆก็นึกไม่ออกนะครับ ว่าทำไงให้คุมได้ดี เพราะดีมานไอโฟน เพิ่มสูงทุกปี จะจ้างผลิตแบบกระจายหลายๆแห่งก็คุมคุณภาพลำบาก พอดีมานสูง แรงงานเท่าเดิม จะไปจ้างแรงงานเข้าๆออกๆตามความเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ก็คงทำไม่ได้เพราะพนักงานส่วนเกินที่จ้างเพิ่มมาอาจทำให้ค่าใช้จ่ายไม่คุ้มทุนเวลาอุปสงค์ต่ำ บ.รับผลิตก็คงไม่ทำแน่ๆ คนคุมต่อให้มีมากแค่ไหนมาเจอสถานการณ์ที่ต้องเร่งทำของให้ทันขาย ก็คงไม่ยอมให้หยุดสายการผลิตหรอก
หรือให้ Apple ขาย iOS ให้คนอื่นผลิตแทนก็คงทำไม่ได้เพราะเหมือนทุบหม้อข้าวตัวเอง
ไม่งั้นอีกแบบก็คือไปทำตัวเหมือน Windows สมัยก่อน คือกินแต่ไลเซน iOS แต่เพิ่มเติมการคุมการผลิตและออกแบบผู้ผลิตที่ซื้อ iOS ไปทำอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ดีไซน์ไปจนถึงลูกเล่นต่างๆ อาจบังคับให้ซื้อชิ้นส่วนประกอบจาก Apple ด้วยก็ได้เหมือนธุรกิจเฟรนชายส์ เราอาจได้เห็นรูปทรงที่เป็น ไอโฟนไอพอดไอแพด เหมือนเดิมที่ออกรุ่นใหม่มาทุกปี แต่ผลิตโดย ผู้ผลิตท้องถิ่น แล้วอาจตราว่า ไอโพน by huawei หรือ iMobile โดยจะมีรูปทรงลูกเล่นเหมือนกันทั่วโลก อาจเป็นการแก้ปัญหาการคุมแรงงานของ Apple ได้ (โยนบาปให้ผู้ผลิตท้องถิ่นเอง)
ผมว่าทำได้นะ ถ้ายอมลด margin ลง
ขอแย้งเรื่อง " ไม่มีบริษัทไหนทำเรื่องสภาพชีวิตแรงงานเยอะเท่าเรา " ขี้โม้ มากครับ ซึ่งมันเป็นเรื่องข้อกำหนดปฎิบัตินอกประเทศของบริษัทจากUS (บรรษัทภิบาล) อยู่แล้ว
แฟนผมทำกับบรษัทใหญ่จากUS และมีหน้าที่ตรวจสอบตรงนี้อยู่ครับ ทำเยอะมากไปทุกที่ที่มีการจ้างหรือซื้อ(จนบางช่วงแทบไม่ได้เจอกัน) ทุกซัพพลายเออร์เบื่อขี้หน้าหมดแล้ว เพราะต้องขอเอกสารทุกอย่างต้องถูกต้อง แต่ที่ต่างคือไม่เคยกดราคาและค่าแรง(ฝ่ายขายรัก) แต่ถ้าแก้ไขไม่ได้ตัดทิ้งอย่างเดียว(ฝ่ายอื่นเกลียด)
ซึ่งผมว่า บริษัทแฟนผมก็ทำเรื่องนี้ไม่น้อยกว่าApple และน่าจะมีผลลัพท์ที่ดีกว่าด้วย