ทุกวันนี้เราใช้ระบบการจองตั๋วเครื่องบินผ่านคอมพิวเตอร์เกือบหมดแล้ว แต่ก็ใช่ว่าการทำงานจะสมบูรณ์แบบเสมอไป เมื่อ Luxuo เว็บไซต์ข่าวไลฟ์สไตล์ อ้างรายงานข่าวสำนักข่าว AFP และนิตยสาร Forbes ว่า ระบบการจองตั๋วของสายการบิน Etihad สายการบินของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำงานผิดพลาด ทำให้แสดงราคาตั๋วผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา
ราคาตั๋วที่ระบบแสดงแล้วผิดไปจากความจริงนั้นเป็นราคาที่อยู่ในข่าย "ถูกมาก" เช่น เส้นทางบินระหว่างกรุงอาบูดาบี (เมืองหลวงหลักของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) กับท่าอากาศยาน John F. Kennedy นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อยู่ที่เที่ยวละ 187 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,100 บาท) เป็นต้น ซึ่งทำให้มีบล็อกเกอร์และเว็บไซต์จำนวนหนึ่งเผยแพร่ข่าวออกไป โดยตอนแรกระบุว่าเป็นการ "ลดราคา" ก่อนจะพบว่าเป็นความผิดพลาดของระบบ
ด้านสายการบิน ออกมาระบุกับ Forbes ว่า เป็นความผิดพลาดจากระบบคอมพิวเตอร์ (ไม่ได้เปิดเผยสาเหตุเบื้องลึก) ทำให้ระบบแสดงราคาตั๋วผิดพลาดในบางเส้นทาง และทางสายการบินได้แก้ไขปัญหาแล้ว ส่วนลูกค้าที่จองตั๋วไปแล้ว "ทุกราย" ทางสายการบินจะไม่มีการยกเลิกตั๋วแต่อย่างใด โดยจะยอมรับ (honor) ตั๋วที่เกิดจากความผิดพลาดในครั้งนี้
Comments
ยอมรับตั๋วเพื่อแสดงความผิดพลาด >< ยกนิ้วให้เลย
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
จองตรงกับสายการบิน/มีความผิดพลาดเพราะเว็บ/ระบบของสายการบินเอง ปกติเขาก็ไม่ยกเลิกกันนะครับ
AirAsia ระบบเคยผิดพลาดไม่คิดค่าอาหารที่สั่งล่วงหน้า/ค่าโหลดกระเป๋า/ตั๋วโดยสารสำหรับเด็กเหมือนกัน และก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรนะ
Jusci - Google Plus - Twitter
เหมือนการ์ต้าปีที่แล้วหรือเปล่าคำนวณราคาพลาดเพราะสนามบินที่ขึ้นผมเลือกขึ้นจากเวียดนาม ผมได้ เวียดนาม-ซูริค-กทม14000เดินทางปีนี้ ต่อมามีบิสสิเนสคลาสไปชิคาโก้หลุดออกมา25000บาทเองมีคนรู้จักจองไปเหมือนกันแต่เขาก็ไม่แคนเซิลนะให้บินได้
สหรัฐอาหรับเอมิเรส => สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นครนิวยอร์ค => นครนิวยอร์ก
สมเป็นสายการบินอันดับต้นๆครับ (y)
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในหลายประเทศเค้าเข้มแข็งกว่าบ้านเราครับ
อย่างในอเมริกา ถ้าร้านค้ายังติดป้ายประกาศโปรโมชันลดราคาอยู่แม้ว่าจะหมดช่วงเวลาไปแล้ว (ซึ่งปกติมักจะเขียนตัวเล้กจิ๋ว) แต่ถ้าไม่เอาเก็บไป ถ้าลูกค้าเห็นป้ายและเอามาซื้อ ต้องให้โปรโมชันนั้น แม้ว่าจะหมดอายุไปแล้วก็ตาม (คือเป็นความรับผิดชอบของร้านที่ไม่เอาไปเก็บ)
แต่บ้านเราสิ ที่เคาท์เตอร์คิดเงิน บอกสั้นๆ โปรโมชันหมดไปเมื่อวานนี้ค่ะ แล้วยืนยิ้ม (จบป่ะ)
จบครับ วางของแล้วเดินออกจากร้าน
Jusci - Google Plus - Twitter
กฏหมายไทยมีไว้คุ้มครองคนเสียงดังครับ อยากให้เสียงทุกคนดังเท่ากันเสียที
พันทิพครับ แม้มีดราม่าขุ่นคลั่กแต่ก็เป็นเครื่องมือให้อำนาจผู้บริโภคตามแนวประชาธิปไตยที่ดีพอสมควร
ผมยืนยันว่าไม่ใช่ทั้งหมดครับ
ประสบการณ์ตรงส่วนตัว อัตราอยู่ที่ 60% ทางร้านจะ honor กับ price mistake ให้ครับ ที่เหลือ ถ้าไม่ยืนยันราคาใหม่ ก็จะ cancel order ไปเลย Amazon จะค่อนข้างรับผิดชอบให้ครับ แต่ถ้าเป็นหน้าร้านอย่าง Best Buy, Staple พอหยิบของเดินไปจ่ายตังค์ พนักงานขายบอกว่ายืนยันตามราคาจากเครื่อง scan อย่างล่าสุด Staples เนี่ยผมลากพนักงานไปดูที่ป้ายราคา สิ่งที่เขาคือฉีกป้ายราคาเก่าออก แล้วหันมาถามว่าจะยังเอาอยู่ไหม?
พนักงาน Staples โหดมาก -*-
สิงคโปร์ตอนแรกก็ออกมาไม่ยอมที่จะ Honour ลูกค้าเรื่องนี้นะ จนกระทั่งไป ๆ มา ๆ แต่พอรู้ว่าเรื่องถึง Australian Consumer Commission เลยยอม
@TonsTweetings
พอโดนทักท้วงก็บอกว่าโบรชัวร์ผิด
บ้านเราติดประกาศราคานี้พอไปคิดเงินอีกราคา ทางร้านก็บอกติดราคาผิดแค่นี้ ความรับผิดชอบไม่มี
จำได้ว่าเคยมีที่ Lenovo ใส่ราคาผิด ให้กับ laptop รุ่นที่ใส่ SSD 256 GB ราคาแค่ 1000$ เค้าก็ขายไปไม่เรียกคืนนะคับ ถือว่าดี